WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

“เลือกซื้อหุ้นพื้นฐานดีจังหวะอ่อนตัว”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
      ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ตลาดพลิกเป็น Sideway down หลังจากไม่สามารถยืนเหนือ 1600 จุด และไหลลงมาจนหลุดแนวฟิวเตอร์ที่ 1590 มาปิดตลาดที่ 1575.55 จุด (-22.21 จุด) โดยมีแรงขายกระจายไปยังหุ้นหลากหลายกลุ่ม ปัจจัยกดดัน คือ ดัชนีไม่สามารถยืนเหนือ 1600จุดได้จึงมีการขายทำกำไรออกมา หุ้นพลังงาน (PTTEP, PTTGC) ร่วงแรงตามคำแนะนำลดน้ำหนักลงทุนของโบรกเกอร์รายใหญ่ และกังวลข่าวลือปฎิวัติซ้อน ทั้งนี้กลุ่มที่นำขายสุทธิคือพอร์ตบล. ตามมาด้วยรายย่อย ขณะที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 1.8 พันล้านบาท ส่วนสถาบันในประเทศซื้อ-ขายใกล้เคียงกันสำหรับวันนี้ Sentiment ตลาดยังอยู่ในแดนลบ โดยการดิ่งลงแรงของราคาน้ำมันดิบกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยได้อิรักประกาศลดราคาขายน้ำมันให้กับลูกค้าในเอเชียและสหรัฐ หลังจากซาอุฯได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นยังวิตกกับเศรษฐกิจที่ซบเซาของยูโรโซน, ญี่ปุ่น และจีน รวมถึง Fund Flowที่อาจผันผวนมากขึ้นในปีหน้า อันเกิดจากนโยบายการเงินที่สวนทางของประเทศต่างๆ (สหรัฐจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวดี ขณะที่ยูโรโซนจีน ญี่ปุ่น และประเทศเกิดใหม่รวมถึงไทย ยังต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม เป็นต้น)

     อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งของบจ.หลายแห่งและการเดินหน้าลงทุนในโครงการขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ภาครัฐจะช่วยให้กำไรบจ.ในปี 58 ขยายตัวได้ดีขึ้นจากปีนี้ ส่วนในระยะสั้นมีปัจจัยหนุนนจากแรงซื้อ LTF สำหรับกลยุทธ์ลงทุนเดือนธ.ค.57 เราแนะนำเลือกซื้อหุ้น Large Cap พื้นฐานดีเพื่อการลงทุน หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น CKการวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดในระยะสั้นมากเป็นลบ โดยการอ่อนตัวต่อจะมีแนวเด้งที่ 1570 หรือ 1550 จุด สำหรับการรีบาวด์ ถ้ามีระยะทางน้อยและไม่ผ่าน 1590 จุดให้ขายออกไปก่อน สำหรับการ Scan หาหุ้นที่ราคามีโอกาสทำ New High พบว่าหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ UV, AKR ส่วนหุ้นที่เข้ามาใหม่ ได้แก่ KC, ABC, IRCP ส่วนหุ้นที่หลุด List คือ RATCH สำหรับหุ้นที่แนะนำไปแล้วและราคาขึ้นมาในพื้นที่ขายทำกำไร คือ INTUCH,IFEC, WORK

 

ปัจจัยต่างประเทศ & ราคาโภคภัณฑ์
- กลุ่ม OECD : ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนต.ค.ทรงตัวที่ 100.4ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวลง

- จีน : การส่งออกเดือนพ.ย.ชะลอลงเป็น +4.7%YoY ที่2.1166 แสนล้านดอลลาร์ (ต.ค. +11.6%YoY) ด้านนำเข้า-6.7%YoY สู่ 1.5719 แสนล้านดอลลาร์

- ญี่ปุ่น : GDP 3Q57 หดตัว 1.9% แย่กว่าที่ประมาณการไว้เบื้องต้นเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ว่าปรับตัวลง 1.6%

- ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลง 0.6-0.8% โดยดัชนี DJIA -106.31 จุดหรือ -0.59% ดัชนี NASDAQ -40.07 จุด หรือ -0.84% ดัชนีS&P500 -15.06 จุด หรือ -0.73% ปัจจัยกดดัน คือ แรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันดิบดิ่งแรง และความกังวลกับเศรษฐกิจที่ซบเซาของจีนและญี่ปุ่น

- อิรักประกาศลดราคาน้ำมันให้กับลูกค้าในเอเชีย & สหรัฐหลังซาอุฯประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยมีผลตั้งแต่ม.ค.58 ประเด็นนี้ฉุดราคาน้ำมันดิบดิ่งต่อ สัญญา WTI ส่งมอบม.ค.58 ร่วง 2.79ดอลลาร์ ปิดที่ 63.05 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ดิ่ง 2.88ดอลลาร์ ปิดที่ 66.19 ดอลลาร์/บาร์เรล

• สัญญาทองคำ COMEX ส่งมอบก.พ. +4.5 ดอลลาร์ หรือ+0.38% ปิดที่ระดับ 1,194.9 ดอลลาร์/ออนซ์

ปัจจัยในประเทศ & ข่าวหลักทรัพย์เด่น
• ไทย : แผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นล่าช้าไป 1 เดือนครึ่งโดยม.ร.ว.ปรีดียาธร รองนายกฯ กล่าวว่าเป็นเพราะติดขัดเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณ (การจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาปัจจุบันทำไปได้ 2.5 จาก 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเดิมคาดว่าจะจ่ายได้หมดภายในพ.ย.57) สำหรับเศรษฐกิจ 4Q57 ทางสภาพัฒน์ฯ ประเมินเบื้องต้นว่าจะเติบโต 2.5-3.0% (DBS คาดไว้ที่ 3.1% ทำให้ทั้งปี57 เศรษฐกิจจะขยายตัว 0.8%)

+ การรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและพลังงานลม ที่ประชุมกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเห็นชอบให้กฟภ.ลงนาม PPA รับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มที่คงค้างตั้งแต่มิ.ย.53 ในส่วนที่ไม่มีปัญหาสายส่ง 25โครงการ กำลังผลิต 138 MW โดยไฟฟ้าจะเข้าระบบภายในปี 58ส่วนที่เหลืออีก 153 โครงการ กำลังผลิต 875 MW ที่ยังมีปัญหาสายส่ง, ที่ดิน และเทคนิค ให้ย้ายที่ตั้งโครงการในเสร็จภายในมี.ค.58 ถ้าไม่เสร็จจะถูกตัดสิทธิ์ และทั้ง 178 โครงการต้องจ่ายไฟ้เข้าระบบภายใน 31 ธ.ค.58 ถ้าไม่ทันก็ถูกตัดสิทธิ์เช่นกัน ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานลม 1,800 MW ขณะนี้หยุดการรับซื้อแล้วเพราะผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าประเภทนี้เข้ามาอยู่ที่ 1,900 MW ซึ่งเกินเป้าหมายแล้ว

• การอ่อนตัวลงของราคาน้ำมันดิบเป็นผลดีกับดุลการค้าและ GDP ของไทยเนื่องจากประเทศไทยอยู่ในสถานะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงสุทธิ จากตัวเลขสถิติของธปท. & สภาพัฒน์ฯ เราพบว่าในปี 2556 ไทยนำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงสุทธิ(นำเข้าหักส่งออก) 1.176 ล้านล้านบาท คิดเป็น 9.9% ของ Nominal GDP นับว่าสูงมาก ซึ่งหากมูลค่านำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงสุทธิลดลง 10% GDP ก็จะเพิ่มขึ้น 1%มูลค่านำเข้าน้ำมัน & เชื้อเพลิงสุทธิและเทียบเป็น % ของ GDP

• การลดลงของราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นแค่ไหน? เราได้ทำการวิเคราะห์ Sensitivity จากตัวเลขยอดรถยนต์จดทะเบียนในประเทศไทย ณ สิ้นต.ค.57 ที่ 35.7 ล้านคัน และให้การประหยัดค่าใช้จ่ายในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ของผู้บริโภคอยู่ที่เดือนละ 200-500 บาท/เดือน พบว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 8.6-21.4 หมื่นล้านบาท/ปี ซึ่งคิดเป็น 0.7%-1.8% ของ GDP โดยเราประเมินว่าส่วนที่ผู้บริโภคประหยัดได้จะไม่ได้นำไปลงทุน โดยคาดว่าใช้ในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันเป็นหลัก ซึ่งเป็นบวกกับการบริโภคภายในประเทศ(Domestic Consumption)

วิเคราะห์ความอ่อนไหว...กำลังซื้อผู้บริโภคเพิ่มเมื่อราคาน้ำมันค้าปลีกลดลง
Registered Vehicle (Unit)* Saving / Mth Saving / Year Total Saving Total Saving35,737,232 (Bt/Unit) (Bt/Unit) (Btm/Year) as % of GDPGDP-Current Price (Btm) 2 00 2 ,400 85,769 0.72%11,898,710 3 00 3 ,600 128,654 1.08%* As of 31 Oct 2014 4 00 4 ,800 171,539 1.44%5 00 6 ,000 214,423 1.80%ที่มา : www.insure.co.th, DBSV Retail Research
+ เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า : ก.คมนาคมจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เข้าพิจารณาในครม.ภายในม.ค.58 ส่วนสายสีชมพูและเหลืองเข้าครม.กลางปี 58 สำหรับสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคตเปิดซองราคาประมูลงานโยธาวันนี้ …เป็นข่าวบวกกับกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่น CK และ STEC) รวมถึงวัสดุก่อสร้างในระยะยาว (หุ้นเด่น SCC)
+ MINT เป็นหลักทรัพย์ใหม่ที่เข้าไปคำนวณในดัชนี FTSE SET Large Capแทนที่ BAY โดยจะมีผลตั้งแต่ 22 ธ.ค.57 เป็นต้นไป...เราชอบ MINT ที่มีการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจที่ดี โดยมีทั้งธุรกิจอาหารและโรงแรม และมีการลงทุนทั้งใน &ต่างประเทศ คาดกำไรปี 58 เติบโตแข็งแกร่ง 28% แนะนำซื้อ MINT และให้เป็นหุ้นTop Pick ในกลุ่มอาหาร ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 41 บาท 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!