- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 25 November 2014 15:47
- Hits: 1643
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
SET ยังมีผันผวน ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งก็ดูจังหวะทำกำไรบ้าง เพื่อรอซื้อลบ!
กลยุทธ์ : แม้ว่า SET จะดีดบวกขึ้นต่อ จากข่าวทางการจีนประกาศลดดอกเบี้ย และการที่หลายๆ ประเทศยังคงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แต่ FSS คาดว่า SET จะมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนและย้อนลงให้เห็นเป็นระยะๆ ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งสั้นตามรอบก็ควรดูจังหวะขายบวกบ้าง เพื่อรอลงค่อยซื้อใหม่ลดความเสี่ยงจากการผันผวนของตลาด อย่างไรก็ตาม FSS ยังมีมุมมองเชิงบวกกับภาวะหุ้นระยะกลาง-ยาวอยู่ ดังนั้นสามารถแบ่งส่วนถือต่อเนื่องได้เช่นเดิม
หุ้นเด่นทางเทคนิค : AP, LOXLEY , BAY(short)
แนวโน้ม : เมื่อวานนี้ SET ยังขยับขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ที่แล้วอีก หลังมีข่าวการลดอัตราดอกเบี้ยของจีนและการยืนยันจากประธาน ECB ว่าพร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แต่หลังจากดัชนีหุ้นไทยดีดขึ้นมาตั้งแต่เปิดทำการแล้ว จากนั้นก็เน้นหนักทางด้านแกว่งผันผวนในกรอบจำกัดมากกว่า เนื่องจากยังมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมากดดันตลาดอยู่พอควร ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศเช้านี้เริ่มไร้ทิศทางอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะแกว่งบวก-แกว่งลบแคบๆ โดยถูกแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานกดดัน เนื่องจากนักลงทุนคาดว่ากลุ่มโอเปคอาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตในการประชุมที่จะมีขึ้นวันพฤหัสที่ 27 พ.ย.นี้ ดังนั้นแม้ว่าวานนี้ SET ยังมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาหนุน แต่ค่าเงินบาทที่กลับเริ่มอ่อนตัวอีกครั้ง และความไม่มั่นใจในภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ น่าจะส่งผลกดดันให้ SET ยังมีโอกาสแกว่งตัวผันผวนและย้อนลบให้เป็นจังหวะในการเลือกหุ้นเข้าซื้อเพิ่มเติมได้ ดังนั้นถ้าเทรดดิ้งตามรอบจึงยังน่าแบ่งส่วนขายทำกำไรช่วงบวก เพื่อรอกลับเข้าซื้อใหม่ช่วงลบมากกว่า
แนวรับ 1587-1585 , 1582-1578 จุด แนวต้าน 1592-1595 , 1598-1602 จุด
Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคทุกตลาดในปริมาณที่หนาแน่น โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ US$293.6 ล้าน ไต้หวัน US$174.1 ล้าน ไทย US$44.8 ล้าน ฟิลิปปินส์ US$25.7 ล้าน อินโดนีเชีย US$11.8 ล้าน และเวียดนาม US$1.4 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่ง Flow น่าจะไหลเข้าต่อ
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) จับตาการประชุม OPEC 27 พ.ย. มีการคาดการณ์ว่า OPEC จะลดกำลังการผลิตของกลุ่มลง 6 แสนบาร์เรล/วัน ให้กลับมาอยู่ที่โควต้าคือ 30 ล้านบาร์เรล/วัน หลังตัวเลขการผลิตของกลุ่มเดือน ต.ค. อยู่ที่ 30.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นการลดเฉพาะส่วนเกิน ไม่ใช่การปรับลดเพดานการผลิต ดังนั้น หาก OPEC ลดกำลังผลิตจริง จะช่วยราคาน้ำมันให้กระเตื้องเพียงระยะสั้น แต่ระยะยาวยังถูกกดดันจากเศรษฐกิจของประเทศหลักในโลกที่ชะลอ หากไม่ลดการผลิต ราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป ทำให้โรงกลั่น (TOP, BCP, IRPC, PTTGC, ESSO) ขาดทุนสต็อกใน 4Q14 เราเชื่อราคาน้ำมันจะต่ำกว่า US$100 ถึงปีหน้าซึ่งดีต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันถึง 9% ของ GDP สูงสุดในเอเชีย
(-) ส่งออกของไทยน่าจะยังอ่อนแอในเดือน ต.ค. Bloomberg consensus คาดส่งออกจะเพิ่มเพียง 0.6% Y-Y ในเดือน ต.ค. (ทำให้งวด 10M14 -0.7% Y-Y) ส่วนนำเข้าลดลง 3.1% Y-Y และจะทำให้ขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 4 เราคาดว่าส่งออกทั้งปีจะลดลง 0.5% และฟื้นตัว 4% ในปี 2015 ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพปกติ เราประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2015 จะถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยในประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะการลงทุนทั้งภาคเอกชนและรัฐ หุ้นกลุ่มรับเหมา อสังหาฯ และธนาคาร ยังเป็นกลุ่มที่เราชอบ
(0) MC แม้ว่ากำไร 3Q14 จะน่าผิดหวัง (-22% Q-Q, -24% Y-Y) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับธุรกิจอื่นที่มีฐานลูกค้าในต่างจังหวัด เพราะการบริโภคในต่างจังหวัดที่ยังไม่ฟื้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่ากำไรใน 4Q14 จะดีขึ้นตามฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยแต่ยังดีไม่เต็มที่ โดยคาดว่ายอดขายสาขาเดิมจะยังติดลบ แต่ติดลบน้อยลง (SSSG 3Q14 -6.8% Y-Y) และเชื่อว่าผลการดำเนินงานในปี 2015 จะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้น โดยยังคาดกำไรเติบโต 26% Y-Y ราคาหุ้นปรับลงมาจาก PE 18.4 เท่าจนเหลือ 14.2 เท่าถือว่าสะท้อนผลประกอบการที่แย่ไปแล้ว จึงยังคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 20.50 บาท
การปรับหุ้นเข้า-ออกจาก MSCI Semi-Annual Index Review มีผล 25 พ.ย. นี้ ดัชนี MSCI Global Standard มีหุ้นเข้า 3 ตัวคือ DELTA, EA, TUF ไม่มีหุ้นออก ส่วนดัชนี MSCI Small Cap Index มีหุ้นเข้า 7 ตัวคือ AIRA, EFORL, ICHI, KTIS, PCSGH, SAWAD, SUPER หุ้นเอาออกมี 8 ตัว CENTEL, DELTA, DRT, EA, MCOT, M, PS, TFD
คาดการณ์รายชื่อหุ้นที่จะถูกนำเข้า-ออกจากการคำนวณ SET50 และ SET100 งวด ม.ค.-มิ.ย. 2015 สำหรับ SET50 หุ้นที่คาดว่าจะเข้า CK, HEMRAJ, KTIS, SPALI หุ้นเอาออก BAY, GLOBAL, KKP, THCOM ส่วน SET100 หุ้นที่คาดว่าจะเข้า ANAN, ASP, DEMCO, HANA, ICHI, IFEC, KTIS, MAX, SAWAD, SGP หุ้นเอาออก BAY, DCC, EARTH, ESSO, MCOT, NYT, SRICHA, STA, TASCO, THRE ทั้งนี้ ตลท.จะใช้ข้อมูลถึง 28 พ.ย. จะประกาศรายชื่อกลาง ธ.ค. และเริ่มใช้คำนวณจริงตั้งแต่ 5 ม.ค.2015
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมายังขยับตัวขึ้นได้อีกเล็กน้อยโดยยังคงได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางทั่วโลกที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้นักลงทุนบางส่วนคาดว่าราคาน้ำมันที่ร่วงลงจะส่งผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลวันหยุดมากขึ้น
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนส่วนใหญ่ปิดในแดนบวกหลังดัชนีความเชื่อมั่นของเยอรมนีเดือน พ.ย. ปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในกรอบแคบๆตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นๆที่ไม่ได้ปรับตัวขึ้นมากนัก
ค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวออกทางข้าง ล่าสุดแกว่งตัวในกรอบ 32.73-32.88 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ม.ค. ลดลง 0.73 ดอลลาร์/บาร์เรล มาปิดที่ 75.78 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีคาดการณ์ว่า OPEC อาจไม่ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในการประชุมสัปดาห์นี้
ราคาทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ขยับลง 2.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาปิดที่ 1,195.70 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่การปรับลงจำกัดหลังธนาคารกลางจีนลดดอกเบี้ยซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่ออุปสงค์ของทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
25-พ.ย. - สหรัฐ: 3Q14 GDP, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ย.)
26 พ.ย. - ไทย: ดุลการค้า (ต.ค.), MTLS เริ่มเทรด (ราคา IPO 5.50 บาท)
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน, ยอดขายบ้านใหม่ (ต.ค.)
27-พ.ย. - ฟิลิปปินส์: 3Q14 GDP
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พ.ย.)
- สหรัฐ: ตลาดการเงินปิดทำการ Thanksgiving Day
- การประชุม OPEC
28-พ.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ต.ค.
- ไต้หวัน: 3Q14 GDP
- อินเดีย: 3Q14 GDP
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (พ.ย.)
1-ธ.ค. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (พ.ย.)
- จีน: Manufacturing PMI (พ.ย.)
- สหรัฐ: ISM Manufacturing (พ.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (พ.ย.)