- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 18 November 2014 16:44
- Hits: 2067
บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Market View : ผันผวนในกรอบ 1,560 - 1,580 จุด
Technical : แนวรับ 1,566 / 1550 แนวต้าน : 1,580*** / 1,590
หุ้นแนะนำพิเศษ : CK
หุ้นเด่นรายวัน : ESTAR
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลงจากตัวเลข GDP ไทย Q3/57 +0.6% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึง GDP ญี่ปุ่น Q3/57 -1.6% บ่งบอกถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแอ ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,569.07 (-6.81 จุด) Volume 4 หมื่นลบ โดย Foreign Net sell 304 ลบ. แต่ Net buy TFEX 490 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
แม้จะมีปัจจัยัยบวกจากคำแถลงของ ECB ที่พร้อมจะดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน แต่คาดว่า SET วันนี้จะแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1,560 - 1,580 จุด เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนประกาศงบ Q3/57 ไปแล้ว รวมถึงนลท.ยังคงระวังมาตรการสกัดหุ้นร้อนในการประชุมพรุงนี้วันที่ 19 พ.ย.
กลยุทธ์
แนะนำเก็งกำไรในกรอบ 1,560 - 1,580 จุด โดยเน้นหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากประเด็นข่าวคมนาคมเตรียมเสนอก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างไทย-จีน เข้า ครม.ในวันที่นี้ (18 พ.ย.) รวมถึงเก็งกำไรหุ้นที่ได้เข้า MSCI Thailand รอบใหม่ DELTA EA TUF และ Small cap AIRA EFORL ICHI KTIS PCSGH SAWAD SUPER
หุ้นแนะนำพิเศษ
CK (ปิด 26.75 บาท ซื้อเก็งกำไร ราคาพื้นฐาน consensus ที่ 32.53 บาท)
กำไร 9M14 ที่ 1.8 พันลบ. จากงานส่งมอบรฟฟ.สายสีม่วงสัญญา 1 และไชยะบุรี รวมถึงมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้น BMCL ราว 1 พันลบ. (ก่อน tax) และมีเงินปันผลรับราว 330 ลบ.
ปัจจุบันมี Backlog ในมือสูงถึง 9.85 หมื่นลบ. รองรับงานในอนาคตได้อีก 3 - 4 ปี
Q4/14 เตรียมบุ๊กกำไรพิเศษขายหุ้น CKP ราว160 ลบ.
หุ้นเด่นรายวัน
ESTAR (ราคาปิด 1.25 บาท ซื้อเก็งกำไร)
กำไร 9M57 = 102 ลบ. พลิกจาก 9M56 ที่ -59 ลบ. + ผ้บริหารรายงานซื้อหุ้นราว 8 ล้านหุ้นเมื่อวันที่ 12 พ.ย. และข่าวเล็งขายที่ดิน 600 ไร่ ฟันกำไรไม่ต่ำกว่า 1,400 ลบ. (ที่มาทันหุ้น)
มุมมองด้านเทคนิค - แนวรับ 1.22 แนวต้าน 1.30 , 1.35 จุด cut loss 1.18 กราฟเป็นขาขึ้น sideway up โดยราคายกตัวขึ้นเหนือเส้น EMA 10 วันต่อเนื่อง พร้อมกับ RSI + MACD ชี้ขึ้นเป็นสัญญาณซื้อ จึงคาดว่าจะปรับตัวขึ้นต่อได้
SIRI (ราคาปิด 2 ถือ เป้าหมาย 2.10 บาท) จากการเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์พบว่ากำไรใน Q4/57 มีแนวโน้มดีต่อเนื่องจาก Q3/57 ที่ทำได้ 794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48%qoq และ81%yoy เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จพร้อมโอนรวม 6 โครงการ โดยมี backlog รอโอนจำนวน 9.9 พันลบ.(ผู้บริหารคาดรายได้ 4Q57 ราว 1 หมื่นล้านบาท) ทำให้ผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายน่าจะสูงสุดรายไตรมาสสำหรับปี 57
ปัจจัยบวก
+ นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีกล่าวว่า อีซีบีจะดำเนินนโยบายกระตุ้นทางการเงินเพื่อหนุนเศรษฐกิจยูโรโซน โดยโครงการซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมอาจจะครอบคลุมถึงการซื้อพันธบัตรรัฐบาล
+ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนพ.ย.เพิ่มขึ้นแตะ 10.16 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 10.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ดัชนีเป็นบวกแสดงถึงการขยายตัว สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย.
ปัจจัยลบ
- สภาพัฒน์ คาดปี 57 GDP โต 1% จากเดิมคาดโต 1.5-2.0% และคาดปี 57 GDP โต 3.5 - 4.5%
- สหรัฐรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ลดลง 0.1%MoMสวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงสู่ระดับ 78.9% จาก 79.2% ในเดือนก.ย.
- วานนี้สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP Q3/57 ขยายตัวเพียง 0.6% แม้จะดีกว่าระดับ 0.4% ใน Q2/57 แต่เป็นอัตราที่ต่ำและต่ำกว่าคาด 9?57 GDP ขยายตัว 0.2% ทำให้ปรับลดประมาณการ GDP ทั้งปี 57 เหลือ 1% จากเดิม 1.5-2% โดย GDP ในไตรมาสสุดท้ายจะต้องขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 1% จากที่หวังว่าภาคการส่งออกจะฟื้นตัว สำหรับ GDP ปี 58 คาดว่าจะเติบโตราว 3.5-4.5%
- ธปท.เตรียมปรับลดคาดการณ์ GDP ลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ราว 1.5%แต่ยังต้องรอดูข้อมูลภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม รวมทั้งติดตามผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐในช่วงปลายปีนี้ก่อน
- นักวิเคราะห์ของญี่ปุ่นมองว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง Q3 (หดตัว 1.6%) เป็นผลงานที่แย่เกินคาด อาจจะส่งผลให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นชะลอแผนขึ้นภาษีการขาย พร้อมทั้งตัดสินใจยุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชนในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่ตัดสินใจว่าควรจะเดินหน้าแผนขึ้นภาษีนั้นต่อไปหรือไม่
- จีนเปิดเผยการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) สุทธิ ในช่วง Q3/57 ลดเหลือ 305 ล้านหยวน (49 ล้านดอลลาร์) จากระดับ 1.0592 หมื่นล้านหยวน (1.72 พันล้านดอลลาร์) ใน Q2/57
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
18 พ.ย. วันนี้มีการประชุม 5 ฝ่ายได้แก่ คสช. ครม. สนช. สปช. และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโรดแมปเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ / ธปท.นัดหารือสมาคมธนาคารไทยแก้ปัญหาแบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ / คมนาคมเตรียมเสนอก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างไทย-จีน เข้า ครม.
19 พ.ย. ตลท.หารือกับสมาคมบล.หาแนวทางการจัดการหุ้นร้อน
สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท.แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน / สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง
28 พ.ย. สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน / ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจ / กสทช. แจกคูปองทีวีดิจิตอลล็อต 2 ในอีก 21 จังหวัด / สนช.พิจารณาวาระถอดถอน "ยิ่งลักษณ์"
เดือน ธ.ค. รัฐบาลเตรียมแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือน / ธปท.เตรียมปรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 1.5% ซึ่งขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนต.ค.และผลนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปีนี้
9 ธ.ค. ประชุมร่วมครม.และคสช.
16 ธ.ค. กำหนดประชุมกนง. ครั้งที่ 8/2557 มีลุ้นว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หลังจากสภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP Q3/57 ต่ำเพียง 0.6%
25 ธ.ค. แถลงรายงานผลการประชุมกนง. เมื่อ 16 ธ.ค.
ต่างประเทศ
18 พ.ย. จีน เปิดเผยดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค
เยอรมนี เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนพ.ย.
สหรัฐ เปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ย. / สต็อกน้ำมัน
อังกฤษ เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค.
18-19 พ.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
19 พ.ย. ญี่ปุ่น เปิดเผยยอดการผลิตเหล็กกล้าเดือนต.ค. / ดัชนีภาวะทางธุรกิจเดือนก.ย./ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศต.ค.
ธนาคารกลางอังกฤษเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) เดือนพ.ย.
อียู เปิดเผยการผลิตภาคการก่อสร้างเดือนก.ย.
สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน-การอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. / สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ / คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) เผยแพร่รายงานการประชุม (เช้าวันที่ 20 พ.ย.)
20 พ.ย. ญี่ปุ่น เปิดเผยดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนต.ค./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย./คำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนต.ค./ ยอดขายซูเปอร์มาร์เก็ตเดือนต.ค.
จีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นพ.ย.
เยอรมนี เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค. / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นเดือนพ.ย.
ฝรั่งเศส อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นเดือนพ.ย.
อังกฤษ เปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนต.ค.
สหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์/ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค./ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย. / ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนพ.ย./ ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค. / ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนต.ค.
รายชื่อหลักทรัพย์ที่ติดเกณฑ์บัญชี Cash Balance
* MLINK มีผลบังคับใช้ 22 ก.ย. - 21 พ.ย. 57
* AJD / CGD / MILL มีผลบังคับใช้ 6 ต.ค. - 21 พ.ย. 57
* COLOR / SMART / EVER / RICH / SUPER / SOLAR / CWT / TMI / FVC มีผลบังคับใช้ 13 ต.ค. - 21 พ.ย. 57
* ACD / CIG / EMC / FOCUS / GENCO / NIPPON / SST / TAKUNI / TIES มีผลบังคับใช้ 20 ต.ค. - 28 พ.ย. 57
* BSM / PCA / SANKO / SVOA / TFI / WIN มีผลบังคับใช้ 27 ต.ค. - 4 ธ.ค. 57
* ABC / CCN / CSS / EVER / GENCO-W1 / KC / LOXLEY-W / RCI / RPC / WAT มีผลบังคับใช้ 3 พ.ย. - 12 ธ.ค. 57
* AEC/ AEC-W2 / CGD-W3 / CHOW / CKP / GEL-W4 / LIVE / MILL-W2 / PAE / PLE-W2 / RWI มีผลบังคับใช้ 10 พ.ย. - 19 ธ.ค. 57
SPA / TEAM / TSE
CEN / E / EE / IFEC / MAX / MIDA / NMG / TWZ / UWC / VTE / VTE-W1 มีผลบังคับใช้ 17 พ.ย. - 26 ธ.ค. 57
***เนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ + 13.01 จุด
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,647.75 จุด เพิ่มขึ้น 13.01 จุด หรือ +0.07% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,671.00 จุด ลดลง 17.54 จุด หรือ -0.37% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,041.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.50 จุด หรือ +0.07% เพราะได้แรงหนุนหลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่หดตัวลงในไตรมาส 3
ตลาดน้ำมัน NYMEX - 0.18 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 18 เซนต์ ปิดที่ 75.64 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่น หดตัวลงในไตรมาส 3 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ชัยยศ จิวางกูร
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์