- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 14 November 2014 21:38
- Hits: 2100
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
Sideways up
คาดวันนี้ดัชนีฯ Sideways up แนวรับ 1,565 ต้าน 1,580 จุด (ตลาดเริ่มฟื้นตัวเมื่อวานหลังจากพักตัวลงมาทั้งสัปดาห์)
ระยะสัปดาห์ 10-14 พย. เป็นช่วงของการพักฐาน คงแนะนำ Buy on dips หุ้นบูลชิพที่ Undervalue และหุ้นกลาง-เล็กที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว ปัจจัยลบ บจ.ส่วนใหญ่รายงานกำไร 3Q14 ต่ำกว่าคาดการณ์, ตลท.เล็งออกมาตรการสกัดการเก็งกำไรหุ้นร้อน, ปัจจัยบวก คาด GDP ยุโรปฟื้นตัวปลายสัปดาห์นี้, MSCI standard และ Small Cap index เพิ่มหุ้นไทย มีผล 25 พย.เป็นต้นไป
สัปดาห์หน้า 17-21 พย. คาดดัชนีฯซิ้กแซกขึ้น หลังจากพักฐานในสัปดาห์นี้
แนวโน้มเดือน พย.คาดดัชนีฯจะเริ่มฟื้นตัว แนวรับ 1,555 จุด แนวต้าน 1,600 จุด (ซื้อเมื่ออ่อนตัว) แนะนำ แบงก์ ค้าปลีก สื่อสาร บ้าน กลุ่มน้ำมัน เน้นหุ้นบูลชิพที่ Undervalue (PBV, PE ต่ำ, Upside สูง) เช่น BBL PTTEP (น้ำมันลุ้นรีบาวด์ก่อนการประชุม OPEC 27 พย.) และ หุ้นกลาง-เล็ก ที่มีประเด็นสนับสนุน
หุ้นแนะนำ SAMART TUF SOLAR IFEC (กรมพัฒนาพลังงานฯ พพ. สั่งเร่งล้างโครงการค้างท่อกว่า 1,073 MW ให้ยื่นยืนยัน PPA ภายใน 28 พย.นี้ ส่งผลให้มีการเร่งสร้างโรงไฟฟ้าที่ค้างท่ออยู๋ หุ้นที่เชื่อมโยงได้แก่ DEMCO SOLAR SPCG GUNKUL และ IFEC (ให้พันธมิตรจากจีนสร้าง))
รายงาน MS วันนี้
(0) MS ออกรายงานกลยุทธ์จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ยังคงให้น้ำหนักหุ้นไทยที่ Underweight และอันดับขยับลงเล็กน้อยจาก 24 ลงสู่อันที่ 25 จาก 27 ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และ Asia ex JP ที่ศึกษา และ Downgrade ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ลงเป็น Underweight / คาดไม่มีผลลบต่อหุ้นไทย เพราะ underweight มานานแล้ว
BLS รายงานพื้นฐานวันนี้ (ดูรายละเอียดฉบับเต็ม)
(+) SAMART รายงานกำไรสุทธิ 351 ล้านบาท ตามคาด และประกาศลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ คาดกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 50-70 MW และ เตรียมสรุปแผนลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินต้นปีหน้า คงแนะนำซื้อ จากโอกาสปรับกำไรขึ้นหลังรวมรายได้โรงไฟฟ้า
(+) KTC รายงานกำไรสุทธิ 3Q14 504 ล้านบาท ดีกว่าคาด 34% และเราปรับเพิ่มกำไรปี 2014-15 ขึ้น 32% และ 35% เป็น 1.68 และ 1.85 พันล้านบาท ตามลำดับ ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 81 บาท จาก 73 บาท Trading Buy
(+) TUF รายงานกำไรสุทธิ 3Q14 1.92 พันล้านบาท และกำไรหลัก 1.96 พันล้านบาท ดีกว่าคาด 12% และประกาศแตกพาร์ จาก 1 เหลือ 0.25 (ราคาหุ้นบนกระดานหาร 4) เราอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการกำไรปี 2014-15
(-) RML รายงานกำไรแย่ลง เป็นไปตามที่เราแจ้งเตือนก่อนหน้านี้ และ แนวโน้ม 4Q14 คาดยังคงแย่ลงต่ออีก โดย 3Q14 รายงานกำไร 361 ล้านบาท +142% y-y, -16% q-q แย่กว่าคาด 4% เป็นผลจากรายการพิเศษการตั้งด้อยค่ามูลค่าโครงการราว 135 ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่รวมรายการดังกล่าวกำไรหลักเป็นไปตามคาด ส่วนแนวโน้ม 4Q14 คาดยอดโอนคอนโดมีแนวโน้มชะลอลง อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการกำไรปี 2014-15 ใหม่
(-) MAKRO เรามีมุมมองเชิงลบหลังจากพบผู้บริหาร และการฟื้นตัวของกำไรที่ช้ากว่าคาด ขณะที่แนวโน้มกำไร 4Q14-1Q15 มีแนวโน้มชะลอต่อเนื่อง เราปรับลดคาดการกำไรปี 2014-15 ลง 6-15% และปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 42 บาท
(0/-) SST พลิกมีกำไรสุทธิ 417 ล้านบาท จากรายการพิเศษขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ SSTSS และผลขาดทุนจากบ.น้ำมันพืชทิพลดลงอย่างมีนัยยะ แต่รายได้หลักยังฟื้นตัวช้ากว่าคาด และ ดอกเบี้ยจ่ายยังคงสูงอยู่ (หากยิ่งขาย น้ำมันพืชทิพช้า รายจ่ายดอกเบี้ยที่สูง ยิ่งกดดันกำไรให้ฟื้นตัวช้ากว่าที่เราประเมิน) เราอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการณ์ โดยกำไรปีนี้มีโอกาสปรับลง
(-) AAV รายงานพลิกขาดทุนสุทธิ 209 ล้านบาท และขาดทุนจากผลการดำเนินงานปกติ 293 ล้านบาท แย่กว่าคาด 11% แต่คาดการกำไรปี 2014 ยังคงไว้ที่ 136 ล้านบาท โดยเรามองว่ามีโอกาสทำกำไรได้ดีขึ้นใน 4Q14 จากตัวเลขปริมาณขนส่งผู้โดยสารที่พบว่าฟื้นตัวดีขึ้นตามตัวเลขนักท่องเที่ยว คงคำแนะนำ ซื้อ TP 5.4 บาท
หุ้นมีข่าว
(+) SAMART บอร์ดมีมติให้ บริษัท สามารถ ยู -ทรานส์ จำกัด (SUT) จัดตั้งบริษัทใหม่ 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท สามารถ เวสท์ทูเพาเวอร์ จำกัด ทำธุรกิจบริหารจัดการกำจัดขยะมูลฝอยให้กับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทำการคัดแยกขยะ และผลิตเชื้อเพลิงขยะ ทำการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) และบริหารจัดการขยะในส่วนที่เหลือโดยการฝังกลบ, บริษัท สามารถ ยู ทรานส์ (ลาว) จำกัด เพื่อขยายธุรกิจไอทีในลาว และ บริษัท สามารถ ยู -ทรานส์ (เมียนมาร์) จำกัด ทำธุรกิจที่ปรึกษาด้านการค้าในเมียนมาร์
ความเห็น คาดโรงไฟฟ้าขยะจะมีกำลังผลิตรวมประมาณ 50-70 MW มีนัยยะต่อผลการดำเนินงาน และจับตาโครงการใหญ่โรงไฟฟ้าถ่านหินในกัมพูชา คาดประกาศครึ่งแรกของปี 2558 และเราคาดแจกวอแรนต์ (เทคนิคสัญญาณรีบาวด์จาก Oversold)
(+) SUPER จัดให้ ผจก.กองทุน และ นักวิเคราะห์ เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าโซล่าร์ฟาร์ม ที่ปราจีนฯ วันที่ 18 พย.นี้ (แนะ ซื้อเก็งกำไร หลุด 18 Stop loss แนวต้าน 19.7/20 บาท)
(+) EMC กระแสข่าวประกาศการเปลี่ยนโฉมธุรกิจใหม่ ในเดือน พย.นี้ (ซื้อเก็งกำไร หลุด 1.16 Stop loss แนวต้าน 1.29 บาท)
(+) MSCI review (มีผล 25 พย.เป็นต้นไป) หุ้นเพิ่มคำนวณในดัชนี MSCI Thailand รอบนี้ได้แก่ DELTA EA และ TUF (ไม่มีหุ้นถูกถอดออก) ส่วนหุ้นที่น้ำหนักลงทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่ PTT (เพิ่ม +1.17%) และหุ้นที่น้ำหนักลงได้แก่ KBANK-F (-0.43%), SCB (-0.42%), ADVANC (-0.36%), PTTEP (-0.31%), CPALL (-0.30%), KBANK (-0.23%), SCC-F (-0.20%) / BBL ไม่ได้กลับมาเพิ่มน้ำหนัก อย่างที่คาด แต่ก็ไม่โดนลด น้ำหนัก ขณะที่ KBANK SCB กลับโดนลดน้ำหนัก คาด BBL ที่โดนลดน้ำหนักไปก่อนหน้าจะ Outperform กลุ่ม จากแรงซื้อทดแทน KBANK SCB
MSCI THAILAND Small Cap เพิ่มหุ้น AIRA EFORL ICHI KTIS PCSGH SAWAD SUPER ถอดออก DELTA EA (ย้ายไป Standard) CENTEL M MCOT PS TFD DRT
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) GPIF (Japan's government pension fund) รายงานการเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินลงทุนรอบใหม่ / ผลกระทบคาดเงินในพันธบัตรญี่ปุ่นราว 68.3 ล้านล้านเยน (ณ.สิ้นเดือน กย.) และเงินที่ครบอายุไถ่ถอนจะไหลออกราวปีละ 10 ล้านล้านเยน และจะมีสัดส่วนที่ไหลเข้าตลาดหุ้นใน และต่างประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ จากนำหนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น (ดูตาราง) Overseas ต่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 25% จากเดิม 12% เท่ากับสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่นที่ 25% (จาก 12%)
(+) วันศุกร์ EU GDP 3Q14 รอบแรก คาดกลับมาบวก +0.1% จาก 0% q-q sa. เยอรมนี GDP +0.1% จาก -0.2%, US retail sale (ตค.) +0.4% จาก -0.2% m-m, US import price (ตค.) คาด -1.8% จาก -0.5% m-m, มาเลเซีย GDP 3Q14 คาด +5.6% จาก 6.4% ส่วน HK GDP 3Q14 คาด +1.5% จาก 1.8% กระทบจากเหตุการณ์ประท้วง
หุ้นในกระแส
(+) MSCI add DELTA EA TUF เพิ่มน้ำหนัก PTT มีผล 25 พย.เป็นต้นไป
(+) กระแสข่าว M&A: SST IFEC
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
สำรวจชี้นักลงทุนมองเศรษฐกิจโลกปีหน้าแผ่ว
สำนักข่าว Bloomberg ได้มีการสำรวจนักลงทุนทั่วโลกเผย ห่วงเศรษฐกิจยุโรปและประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาถดถอย และเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด ผลจากการสอบถาม 38% มองเศรษฐกิจแผ่วลง ผู้ถูกสอบถาม 89% ชี้นโยบายการเงิน และการคลังที่เข้มงวดเกินไปกำลังทำให้เศรษฐกิจยุโรปแย่ลงอย่างรวดเร็ว (Bloomberg)
ธปท.ชี้ควรหยุดกระตุ้นการก่อหนี้ เน้นท่องเที่ยว
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบัน ไม่น่าห่วงว่าจะบั่นทอนเศรษฐกิจ เพราะระดับหนี้ครัวเรือนเริ่มลดลง โดยไตรมาส 2 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 83.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ระดับหนี้ครัวเรือนดังกล่าวเป็นจุดเตือนแล้วว่า ไม่ควรทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกู้หนี้ยืมสินหรือกระตุ้นให้คนกู้เงินโดยไม่จำเป็นเพิ่มขึ้นอีก (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
แบงก์ลุ้นกนง.ลดดอกธค.นี้ ช่วยกระตุ้นศก.รับปีหน้าโลกผันผวน
แบงก์ชาติโล่งระดับหนี้ครัวเรือนไม่อันตราย ปี'58 ค่อยๆ ลดระดับ 'กสิกร' คาด ธ.ค.นี้ กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 'ศุภชัย' เชื่อปีหน้าจีดีพีโต 5% ส่งออกกระเตื้อง เงินอัดฉีดรัฐเข้าระบบ 'กรุงศรี' ห่วงพิษยุโรป-ญี่ปุ่นทำตลาดการเงินโลกผันผวนสูง (หนังสือพิมพ์มติชน)
'ศรีสวัสดิ์' ตั้งบริษัททวงหนี้ซื้อหนี้เช่าซื้อ-สถาบันการเงิน
น.ส.ดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รายได้และกำไรในปี 2558 จะเติบโต 20-30% สอดคล้องการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีระดับหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ที่ 4.7% ถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2556 คาดว่าสิ้นปี 2557 ระดับเอ็นพีแอลจะลดลงเนื่องจากบริษัทจะตัดหนี้สูญ ส่วนปี 2558 มีแผนการขยายสาขาทั่วประเทศให้ครบ 1,200 สาขา จากในปัจจุบันอยู่ที่ 1,000 สาขา (หนังสือพิมพ์มติชน)
คอนโดฝั่งธนฯพุ่ง-นนท์ซบเซา
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 10 เดือนแรกปี 2557 ว่า มีโครงการจัดสรรเปิดใหม่รวม 218 โครงการ จำนวน 37,900 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8% โดยเป็นของบริษัทจดทะเบียนประมาณ 73% หากแบ่งตามพื้นที่พบว่ามีการเปิดขายในพื้นที่สมุทรปราการมากที่สุดคือ 8,500 ยูนิต ส่วนใหญ่อยู่ในย่านบางนา ขณะที่นนทบุรีเปิดโครงการใหม่ประมาณ 6,400 ยูนิต (หนังสือพิมพ์มติชน)
ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
รายงานวันนี้
หุ้น: THAI คำแนะนำ: ถือ ราคาเป้าหมาย (บาท): 15.00
THAI รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/57 ที่ 1,086 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3/56 และไตรมาส 2/57
ขาดทุนหลักอยู่ที่ 5,073 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ ตรงตามคาดการณ์ของเราและตลาด
ผลการดำเนินงานที่อ่อนตัว YoY เป็นผลจากจำนวนผู้โดยสาร, การขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ และรายได้จากพัสดุภัณฑ์เฉลี่ยต่อหน่วยที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น
สัญญาณการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้โดยสารเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ต้นไตรมาส 4/57 จนถึงปัจจุบัน เราจึงคาดว่าผลการดำเนินงานหลักของ THAI ในไตรมาส 4/57 จะยังคงขาดทุน (แต่ปรับตัวดีขึ้น QoQ, ลดลง YoY)
ขาดทุนสุทธิในช่วง 9 เดือนปี 2557 คิดเป็น 68% ของประมาณการขาดทุนสุทธิทั้งปีของเราที่ 13,498 ล้านบาท ในขณะที่กำไรหลักช่วง 9 เดือนคิดเป็น 78% ของประมาณการขาดทุนหลักทั้งปีที่ 20,497 ซึ่งเรายังคงประมาณการไว้ตามเดิม
แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทที่ยังไม่ดีนักส่งผลให้ไม่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้น
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: AAV คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 5.40
AAV รายงานผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/57 ที่ 209 ล้านบาท พลิกจากกำไรสุทธิในไตรมาส 3/56 และ ขาดทุนเพิ่มขึ้น QoQ ต่ำกว่าคาดการณ์ของเราและตลาด 11%
ขาดทุนหลักอยู่ที่ 293 ล้านบาท พลิกจากกำไรหลักในไตรมาส 3/56 และขาดทุนเพิ่มขึ้น QoQ
ผลการดำเนินงานที่อ่อนตัวมาจากอัตราค่าโดยสารเฉลี่ยที่ลดลง รวมถึงต้นทุนในการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น
สัญญาณการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้โดยสารยังฟื้นตัวจนถึงเดือนพ.ย. เราจึงคาดว่าผลการดำเนินงานหลักของ AAV ในไตรมาส 4/57 จะพลิกฟื้นมาทำกำไร QoQ และเพิ่มขึ้น YoY
แม้ขาดทุนสุทธิช่วง 9 เดือนปี 2557 จะอยู่ที่ 246 ล้านบาท แต่เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2557 ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 136 ล้านบาท เนื่องจากเรามองว่ากำไรไตรมาส 4/57 จะแข็งแกร่ง
ช่วงไตรมาสที่อ่อนตัวที่สุดได้สิ้นสุดลงแล้ว แนวโน้มการเติบโตของกำไร QoQ ในช่วงไตรมาส 4/57 จนถึงไตรมาส 1/58 และปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะฟื้นตัวแข็งแกร่งในปีหน้าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้อีก
นักวิเคราะห์: สุพพตา ศรีสุข, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: MINT คำแนะนำ: ซื้อ ราคาเป้าหมาย (บาท): 41.50
MINT รายงานผลกำไรหลักไตรมาส 3/57 ที่ 746 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6% YoY และ 36% QoQ ตรงตามคาดการณ์ของเราและตลาด
แม้จะมีกฎอัยการศึก แต่กำไรไตรมาส 3/57 ของ MINT นั้นเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดในประวัติการณ์ของบริษัทในช่วงโลว์ซีซั่น
เราคาดว่ากำไรหลักไตรมาส 4/57 จะขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY และ 120% QoQ
กำไรหลักช่วง 9 เดือนปี 2557 คิดเป็น 61% ของประมาณการกำไรหลักทั้งปีของเราและตลาด เรามองเห็นอัพไซด์ต่อกำไรในปีหน้า
เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 ที่ 41.50 บาท เนื่องด้วยเรามองว่า MINT จะยังคงมีผลการดำเนินงานดีที่สุดในกลุ่ม
นักวิเคราะห์: นฤมล เอกสมุทร, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: SC คำแนะนำ: ซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย (บาท): 4.60
SC รายงานผลกำไรหลักไตรมาส 3/57 ที่ 518 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 109% YoY และ 63% QoQ ตรงตามคาดการณ์ของเราและตลาด
กำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมีปัจจัยจากรายได้โครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น 71% YoY และ 41% QoQ เป็น 3.7 พันล้านบาทในไตรมาส 3/57 รวมถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายที่ลดลง
เราคาดว่ากำไรไตรมาส 4/57 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น YoY แต่อาจลดลง QoQ จากรายได้ที่ต่ำลง
กำไรหลักช่วง 9 เดือนปี 2557 คิดเป็น 72% ของประมาณการทั้งปีของเราซึ่งยังคงเดิม แต่คิดเป็นเพียง 66% ของประมาณการตลาด
เรายังคงคำแนะนำ ซื้อเก็งกำไร ด้วยราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 ที่ 4.60 บาท
นักวิเคราะห์: นฤมล เอกสมุทร, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
หุ้น: KTC คำแนะนำ: ซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย (บาท): 81.00
KTC รายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส 3/57 ที่ 504 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 63% YoY และ 7% QoQ สูงกว่าประมาณการของเราที่ 376 ล้านบาทอยู่ 34%
พอร์ตสินเชื่อเติบโต 6% YoY และ 1.8% QoQ เป็น 51,700 ล้านบาท ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขยายตัว 52 bps YoY เป็น 22.5% ในไตรมาส 3/57 จากสินเชื่อที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่ำแนวโน้มของ KTC ตั้งแต่ไตรมาส 4/57 เป็นต้นไป เนื่องจากบริษัทมีการบริหารสินทรัพย์ที่มีคุณภาพแม้เศรษฐกิจจะอ่อนตัว
เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น 32% เป็น 1.68 พันล้านบาทสำหรับปี 2557 และ 35% เป็น 1.85 พันล้านบาทในปี 2558
และปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 จาก 73 บาทเป็น 81 บาทเพื่อสะท้อนประมาณการกำไรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มไตรมาส 4/57 และปีหน้าที่ดีขึ้นเช่นกัน
นักวิเคราะห์: สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์