- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 12 November 2014 17:02
- Hits: 1682
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังอยู่ในภาวะปรับฐาน ยังแนะนำปรับพอร์ต ขายหุ้นแพง และสลับมาซื้อหุ้นที่ลงลึก เช่น กลุ่มปิโตรเคมี/พลังงาน หลังผ่านจุดต่ำสุด (PTTGC และ TOP) วันนี้เลือก PTTGC(FV@B75) เป็น Top pick เพราะมี P/E ต่ำมาก ขณะที่มี Dividend Yield เฉลี่ย 5% ต่อปี
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า อาจต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำนานขึ้น
ในงานสัมมนาอนาคตเศรษฐกิจไทย : ก้าวต่อไป วานนี้ จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีนักเศรษฐศาสตร์บางค่ายมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 อาจจะต่ำกว่าคาด โดยจะเติบโตราว 1% เพราะการส่งออกอาจจะไม่เติบโต และแม้ในปี 2558 จะดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มากนัก แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะดีขึ้น แต่อีกหลายประเทศยังไม่ฟื้นตัว ได้แก่ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ขณะที่การบริโภคในประเทศอาจจะไม่ดีนัก จากราคาพืชผลเกษตรที่ตกต่ำ เช่น ราคายาง ดังนั้นจึงฝากความหวังไว้ที่การใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ รวมถึงการกระตุ้นภาคท่องเที่ยว
ทั้งนี้หากพิจารณาผลประกอบการตลาดหลักทรัพย์ในงวด 3Q57 ไม่ค่อยสดใสนัก (ดังจะกล่าวย่อหน้าถัดไป) เป็นการตอกย้ำถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในงวด 3Q57 อาจจะไม่เติบโตอย่างที่คาดกันไว้ (กล่าวคือ ASP คาด GDP Growth ปี 2557 1.5% ขณะที่งวด 3Q57 ราว 2.7% และ 3.3% งวด 4Q57 เทียบกับ 1H57 -0.1%) สะท้อนจาก ภาคส่งออกสินค้าและบริการ ที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (70% ของ GDP) มีแนวโน้มต่ำกว่าประมาณการ โดยงวด 9M57 ติดลบ 0.8%yoy เทียบกับที่ ASP คาดว่าในปี 2557 จะขยายตัวได้ 1% นั่นคืออีก 3 เดือนที่เหลือของปี 2557 ต้องขยายตัวไม่ต่ำกว่า 2.8% ซึ่งเป็นไปได้น้อย เนื่องจากคู่ค้าหลักของไทย ยังประสบภาวะชะลอตัว ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
สรุปว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับการฟื้นตัวล่าช้า บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเพียง 1.48% ในเดือน ต.ค. และเพียง 1.3% จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย กนง. จะต้องยืดระยะเวลาในการใช้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำต่อไป ซึ่งจากเดิมที่ ASP เคยคาดว่า กนง. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี 2558 ในอัตรา 0.75-1% (จากปัจจุบันที่ 2.00%) เพราะเดิมเคยคาดว่าความต้องการใช้เงินลงทุนของภาครัฐ อาจจะมาเป็นตัวแย่งเงินฝากประชาชน แต่สถานการณ์ปัจจุบัน อาจจะทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 0.25-0.5% เท่านั้น
ขาดแรงหนุนจากกองทุนและต่างชาติ
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 12 แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 32% เหลือราว 389 ล้านเหรียญฯ เริ่มจาก ไต้หวัน ยังซื้อสุทธิสูงสุด แต่ลดลงถึง 64% จากวันก่อนหน้า เหลือราว 190 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 12) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 115 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 9 เท่าตัว) ในทิศทางเดียวกับอินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 77 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว) ส่วน ฟิลิปปินส์สลับมาซื้อสุทธิราว 23 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิเบาบางใน 2 วันก่อนหน้า) สวนทางกับไทยที่สลับมาขายสุทธิอีกครั้งราว 16 ล้านเหรียญฯ (527 ล้านบาท, ซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วันก่อนหน้า) ทั้งนี้แม้นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นไทยอีกครั้ง แต่ยังถือว่าปริมาณเบาบางหากเทียบกับยอดซื้อก่อนหน้า ที่ซื้อสุทธิเฉลี่ยกว่าวันละ 1 พันล้านบาท จึงเชื่อว่าเป็นเพียงการสลับซื้อขายรายวันเท่านั้น ขณะที่ฝั่งสถาบัน แม้จะขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่แรงขายเบาบางลงอย่างมาก เหลือเพียง 41 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ระยะสั้นเชื่อว่าอาจจะเห็นแรงซื้อของนักลงทุนกลุ่มนี้เข้ามาดันดัชนีอีกครั้ง
เตรียมปรับลดกำไรตลาดปีนี้และปีหน้า งบงวด 3Q57 ต่ำกว่าคาด
ขณะนี้บริษัทจดทะเบียนทยอยรายงานผลประกอบการงวด 3Q57 แล้วประมาณ 200 บริษัท ส่วนใหญ่จะทรงตัว หรือต่ำกว่าคาดโดยเฉพาะในกลุ่ม Global เริ่มจาก พลังงานและปิโตรเคมี (30%ของกำไรทั้งตลาด) ลดลงราว 45% จากงวดก่อนหน้า (qoq) เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการที่ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันโลกอ่อนตัวเกือบ 30% เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้าตามมาด้วยกลุ่มเดินเรือ ทั้งธุรกิจเดินเรือเทกองที่งวด 3Q57 ผลดำเนินงานมีแนวโน้มอ่อนตัว qoq ตามดัชนี BDI ที่ยังแกว่งตัวลง และธุรกิจเรือคอนเทนเนอร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากฤดูมรสุม และ supply เรือใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ยกเว้นกลุ่มส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลดำเนินงานเติบโตจาก ฤดูกาลส่งออกตาม demand ที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่กลุ่ม Domestic ที่ผลประกอบการชะลอตัวคือ กลุ่มค้าส่ง-ปลีก, วัสดุก่อสร้าง และประกัน (แต่ละกลุ่มมีสัดส่วนราว 5% ของตลาด) คาดอ่อนตัวลง qoq ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่กลุ่มสื่อสาร (10%) อาจทรงตัวจากงวดก่อนหน้า แต่มีผิดหวังหุ้นรายตัวเช่น DTAC และ THCOM เป็นต้น และ consumer finance ค่อนข้างแตกต่างกัน กล่าวคือ LIT ดีกว่าคาด แต่ SINGER แย่กว่าคาด และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (สัดส่วน 5%) ผลกำไรน่าจะใกล้เคียงกับคาดหรือกว่าคาด จากการส่งมอบคอนโดฯ และมียอดโอนฯ แนวราบปรับเพิ่มขึ้น เช่น SPALI รวมถึงหุ้นรับเหมาที่ออกมาตัวแรกคือ SYNTEC ออกมากดีกว่าคาด ติดตามอ่านรายละเอียดใน Equity Talk เช้านี้ (ธนาคารพาณิชย์ รายงานงบตั้งแต่กลาง ต.ค. กำไรเพิ่มขึ้น 3% จากการตั้งสำรองฯ ที่ลดลง
ทั้งนี้ คาดว่างวด 3Q57 คาดกำไรสุทธิตลาดจะอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท ทรงตัวจากงวด 2Q57 (qoq) เบื้องต้นฝ่ายวิจัยจึงปรับลดกำไรตลาดปี 2557 และ 2558 ลง จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท และ 9.83 แสนล้านบาท หรือ จาก EPS เดิมที่ 98.14 และ 110.47 บาท (EPS Growth 7.46% และ 12.57%) ตามลำดับ ลงราวเหลือ 8.44 แสนล้านบาท และ 9.76 แสนล้านบาท หรือ EPS 93.4 บาท และ 108.09 บาท (EPS Growth 2.11% และ 15.74%) ตามลำดับ นั่นหมายความว่าตลาดหุ้นไทยมีค่า Expected P/E ราว 16.7 เท่า ณ สิ้นปี 2557 และ 14.4 เท่า สิ้นปี 2558 ตามลำดับ เทียบกับ current P/E ที่สูงกว่า 16.9 เท่า จึงทำให้ยังโอกาสที่ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงมาอีกครั้ง กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นถือหุ้นเพียง 30% และเลือกลงทุนหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง มีค่า P/E ต่ำ เงินปันผลสูง และแนวโน้มผลดำเนินงานเติบโต
ค่าการกลั่นยืนเหนือ 7.6 เหรียญฯ ดีต่อ BCP, TOP, PTTGC
เช้านี้ค่าการกลั่นสิงคโปร์ ยังคงยืนเหนือ 7.6 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับวานนี้ และเป็นระดับที่สูงใกล้เคียงกับช่วงต้นปี 2557 ซึ่งเป็นผลของราคาน้ำมันดิบที่ลดลงในอัตราเร็วกว่าน้ำมันสำเร็จรูป และ เป็นผลของฤดูกาล ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจะสูงในช่วงฤดูหนาวปลายปี และต่อเนื่องถึงต้นปีถัดไป ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนหุ้นโรงกลั่น ระยะสั้น ๆ โดยเฉพาะหุ้นมีโครงสร้างรายได้มาจากโรงกลั่นในสัดส่วนที่สูงสุดคือ BCP (FV@B36) เป็นต้น รองลงมาคือ TOP (FV’58@B52) ซึ่งมีโครงสร้างรายได้จากโรงกลั่นสัดส่วน 70% ส่วนที่เหลือ 25% เป็นอะโรเมติกส์ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะถูกหักล้างจาก ธุรกิจอะโรเมติกส์ยังเผชิญกับภาวะตกต่ำของพาราไซลีน (Px) จากปริมาณผลิต Px ที่เกินความต้องการในตลาดโลก แต่หากพิจารณา Spread ระหว่างผลิตภัณฑ์ขั้นกลาง PTA - Px เริ่มทรงตัว เมื่อเทียบกับงวด 3Q57 และคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในงวด 4Q57 ต่อเนื่องปี 2558 และขาดทุนจากstock ที่ยังมีอยู่
ส่วน PTTGC(FV@B75) แม้จะมีโครงสร้างรายได้จากโรงกลั่นเพียง 25% แต่มีอะโรเมติกส์ 25% และที่เหลือส่วนใหญ่ 50% มาจากโอเลฟินส์ ซึ่งธุรกิจโอเลฟินส์อยู่ในช่วงขาขึ้น สะท้อนจากราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก LDPE และ HDPE ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และหนุนให้ Spread ทั้ง ผลิตภัณฑ์ HDPE-Naptha และ LDPE-Naptha เพิ่มขึ้นจนล่าสุดมาอยู่ที่ 826 เหรียญ/ตัน (ทำระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี) และ 836 เหรียญ/ตัน (ทำระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี) ตามลำดับ (เทียบกับเฉลี่ยในงวด 3Q57 ที่ราว 613 เหรียญ/ตัน เท่ากันทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์) และคาดแนวโน้มจะดีขึ้นตามลำดับ นับจากงวด 4Q57 จนถึงปี 2558 โดยรวมคาดว่า ESP Growth ในปี 2558 จะกลับมาอยู่ที่ 15% หลังจากหดตัว 16.3% ในปี 2557 ซึ่งจะทำให้ PTTGC มีค่า Expected P/E ที่ต่ำเพียง 8.4 เท่าในปี 2558 ลดลงจาก 9.7 เท่า ในปี 2557ขณะที่มีเงินปันผลสูง 4.8% ในนี้ และเพิ่มเป็น 5.9% ในปีหน้า จึงเลือก PTTGC เป็น Top pick
ภรณี ทองเย็น, CISA
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล