- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 27 May 2014 14:37
- Hits: 3626
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Roadmap ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดบวก หลังการเลือกตั้งอียูและยูเครนหนุนตลาดหุ้นยุโรปบวกแรงวานนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : USA ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เม.ย. คาด -0.2% m-m (Vs +2.5%) ราคาบ้าน S&P Case-shiler composite 20 เมือง มี.ค. คาด +11.85%y-y (Vs 12.86%) Germany: ยอดค้าปลีก เม.ย. คาด +0.9%y-y (Vs-1.1%)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายต่อ -3.36 พันลบ. (ขายสะสม 5 วันรวม -2.34 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาขาย -440 ลบ. (จากที่ซื้อสะสม 10 วัน รวม +1.49 หมื่นลบ.)
+/-การเมือง ตลาดยังจับตาใครจะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ หลังเริ่มมีรายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หวังครึ่งปีหลังฟื้น ตั้งเป้าจีดีพี 3%
คาดดัชนีฯ วันนี้ แกว่งแคบ แนวต้าน 1395/1405 จุด แนวรับ 1380/1375 จุด เริ่มมีความชัดเจนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดจับตาใครจะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวกหลังการเลือกตั้งยูเครน และอียู
กลยุทธ์: เน้นซื้อเก็งกำไรที่แนวรับ 1370/1380จุด กลุ่มอิงการส่งออก (จากค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) รับเหมา (ITD CK TTCL STEC) ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวเน้นเก็งกำไรเมื่ออ่อนตัว AOT
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.5%) ได้แก่ CK SYNTEC SINGER GLOBAL SAWAD STEC ITD EA หุ้นที่ลงกว่า 3.0% SUPER SUTHA VIBHA OFM CENTEL SAMART NWR MINT
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTTEP+149 CPF+75 PTT+72 ด้านขาย KBANK-1,096 BTS-158 AOT-107
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ PTT 241 ADVANC 125 AOT 54
Market Outlook
คาดดัชนีฯ แกว่งแคบ แนวต้าน 1395/1405 จุด แนวรับ 1380/1370 จุด หลังมีพัฒนการการเมืองเกี่ยวกับแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ คงคำแนะนำ เก็งกำไร กลุ่มอิงการส่งออก (ค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) เก็งกำไร AOT รับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC)
คาดดัชนีฯ วันนี้ แกว่งแคบ แนวต้าน 1395/1405 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1380/1370 จุด แรงขายต่างชาติยังคงเป็นปัจจัยถ่วงตลาดผ่านแรงขายหุ้นบลูชิพกลุ่มแบงก์ พลังงาน แต่คาดว่าแรงขายเริ่มเบาบาง ขณะที่แรงซื้อนักลงทุนในประเทศ ยังคงเน้นเก็งกำไรรายตัว โดยเฉพาะกลุ่มอุตฯรับเหมา วัสดุฯ จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช. ส่วนด้านลบยังเป็นเรื่องของการต่อต้านรัฐประหารที่ยังมีให้เห็น เพิ่มแรงกดดันหากคสช. ต้องใช้มาตรการที่หนักขึ้น ส่งผลการยกเลิกเคอร์ฟิวต้องล่าช้าออกไปอีก ด้านต่างประเทศ กลับมาเป็นปัจจัยบวกหลัง sentiment จากยุโรปหนุน หลังเลือกตั้งยูเครนผ่านไปด้วยดี ท่าทีรัสเซียมีท่าทีเชิงบวก ระบุพร้อมพูดคุย เราคงคำแนะนำเลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์ (CPALL) เก็งกำไรกลุ่มอิงการบริโภคและนโยบายรัฐ KBANK SCB SPALI STEC ITD CK TTCL และหุ้นท่องเที่ยวที่ดิ่งลงแรง AOT ที่แนวรับ 1380-1370 จุด
ปัจจัยในประเทศ – แม้การเมืองยังไม่นิ่ง จากภาพของการประท้วงที่ยังมีให้เห็น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรายชื่อนายกฯ คนใหม่ แต่เราเริ่มเห็น พัฒนาการที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจ จากนโยบายเร่งด่วนที่ สคช. ออกมาแก้ไข ซึ่งหลายนโยบายมีความสำคัญ ไม่ว่าเป็นการจ่ายเงินจำนำข้าว (ที่มีผู้ประเมินว่าจะช่วยหนุนจีดีพี +0.2%) การต่ออายุ VAT ที่ 7% การคงนโยบายลดภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ รวมทั้งการเร่งทำงบประมาณปี 58 โดยจะมีการประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจสัปดาห์หน้า โดยจะเน้นดูแลผู้มีรายได้น้อยและ SMEs ด้านสศค. ตั้งเป้าจีดีพีปีนี้ขยายตัวถึง 3%
ปัจจัยต่างประเทศ – ได้รับแรงหนุนจากข่าวการเลือกตั้งในยูเครนที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้งรอบ 2 หลังผู้ชนะ คือนายเปโตร โปโรเชนโก ได้คะแนนเสียง 55% (หากต่ำกว่า 50% ต้องเลือกใหม่) นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของอียู หลังพรรครัฐบาลบางประเทศได้ที่นั่งมากกกว่าที่ประเมินไว้โดยเฉพาะอิตาลีที่ปรับขึ้น 3.6%
กลยุทธ์: ระยะสั้น selective buy เน้นกลุ่มอิงการส่งออก (จากค่าเงินบาทอ่อนค่า) อาหาร และค้าปลีก (KCE HANA DELTA TUF CPF GFPT CPALL) รับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC) ส่วนหุ้นเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แนะนำเก็งกำไร AOT หลังศสช.เตรียมแผนคงเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวเท่าปีก่อน
ระยะกลาง ลงทุนหุ้นรวมที่ 60% ของพอร์ต ประเมินการอ่อนตัวของดัชนีฯ เป็นโอกาสในการซื้อสะสม แนะนำหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ (STEC CPN QH SPALI KBANK SCB) (คาดการบริโภคและความเชื่อมั่นในประเทศค่อยๆ ฟื้นตัว หลังมีความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่)
ทางเทคนิค การสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้เมื่อวันศุกร์ สะท้อนตลาดยังคงมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1370-1460 จุด แนวต้านต่อไปอยู่ที่ 1405 จุด 1416 จุด 1426 จุด 1439 จุด และ 1460 จุดตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1370 จุด ขณะที่ โอกาสขึ้นหรือลง ยังคงมีความเป็นไปได้เท่ากัน อิงการเข้าเขตระดับ Neutral ของเครื่องชี้นำ Slow Stochastic, RSI
ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจหลังรับโปรดเกล้าฯ
ประเด็นการเมือง (Update):
"ประยุทธ์"เผยจะมีนายกฯ-ครม.ในช่วงต่อไป,จะจัดเลือกตั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชากล่าวหลังได้รับการโปรดเกล้าฯ ว่าจะมีนายกฯ และ ครม.ในช่วงต่อไปอย่างแน่นอน ส่วนจะให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)เมื่อใดนั้น ยังไม่มีกำหนดเวลาแน่ชัดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบ้านเมืองเป็นหลัก
คลังส่งหนังสือถึงสถาบันการเงิน 32 แห่ง กู้เงิน 5 หมื่นลบ. จ่ายจำนำข้าว กระทรวงการคลัง ส่งหนังสือถึงธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์ รวมจำนวน 32 แห่ง เพื่อให้ยื่นข้อเสนอเงินให้กู้ยืม ภายใต้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในปีการผลิต 56/57 ในวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท จะทำในลักษณะ Term loan โดยกำหนดอายุเงินกู้ไว้ที่ 3 ปี
สถิติจากการรัฐประหารในปี 2549 หากอิงสถิติในการทำรัฐประหารปี 2549 ดัชนีฯ ปรับลงในวันทำการแรก -1.4% และปรับลง -1.4% และ -2.1% ใน 1 และ 2 สัปดาห์หลังรัฐประหาร ดัชนีฯ ปรับขึ้น +2.6% และ+3.4% ในช่วง 1 และ 2 เดือนหลังรัฐประหาร เนื่องจากไม่มีเหตุรุนแรงหลังการรัฐประหาร ความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศฟื้นตัว เราคาดเหตุการณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใกล้เคียงในอดีตจึงมีความเป็นได้สูงที่ตลาดหุ้นจะตอบรับในทิศทางใกล้เคียงเดิม โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 1 เดือนหลังรัฐประหารปี 49 ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร และกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 3 เดือนแรกได้แก่ โรงพยาบาล ค้าปลีก และอาหาร
2. Fund flow: ยอดขายสะสมในกองทุนไทยเข้าใกล้จุดต่ำสุดในเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว
Recommendation : แนะนำสะสมเมื่ออ่อนตัว BH BJCHI TTCL(ถูกเพิ่มใน MSCI Thailand Index) และหลักทรัพย์ที่มีปันผลสูงกว่า4% รายได้มั่นคง BTS INTUCH ADVANC TTW BECL
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (15-21 พ.ค. 57) เงินทุนไหลเข้า Bonds และออกจาก Equities แต่ไหลเข้าเพิ่มใน GEM
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนโลกยังคงไหลเข้าตลาดพันธบัตร อีก +$6.6bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$6.7bn. สะสม YTD +$85bn. -14%y-y) แต่กลับมาขายตลาดหุ้น-$7bn.(Vs สัปดาห์ก่อน +$11bn. สะสม YTD +$46bn.-66%y-y). โดยมีแรงขายตลาดหุ้น USA -$8bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +$9.7bn.) แต่ยังคงมีแรงซื้อตลาดหุ้นยุโรป ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 47 จำนวน +$1.6bn.(Vs สัปดาห์ก่อน+$1.9bn.)
เอเชียฯ มีแรงซื้อเพิ่ม ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน อินโดฯ แต่ขายสุทธิเพิ่มอย่างมีนัยในไทย
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเป็น +$2.9bn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$1.46bn.) ส่วนใหญ่เข้าลงทุนอินเดียอีก +$1.0bn.(สัปดาห์ก่อน +$1.4bn) เกาหลีใต้ +$1.4bn.(Vs +$138mn.) ไต้หวัน +$301mn. Vs +$19mn.) ขณะที่กลุ่ม TIPs พบว่ามีแรงซื้อยังคงมีสูงสุดในอินโดนีเซีย +$437mn.(Vs +$177mn.) . รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ +$76mn. Vs +$68mn.) ส่วนไทยมีแรงขายสุทธิสูงสุด-$379mn. (Vs -$54mn. MTD -$490mn. หรือ -0.6% ของ Market Cap)
กองทุนไทยยังถูกขายเป็นสัปดาห์ที่ 7, ยอดขายสะสมเข้าใกล้จุดต่ำสุดที่เคยเกิดในเดือนก.ย. 2013
กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่ออีก -$31mn จากสัปดาห์ก่อนที่ -$64mn (ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 รวม -$165mn) หากนับจากต้นปี 2013 ยอดสะสมลดลงมาเหลือ -$138mn ใกล้ระดับต่ำสุดที่เคยเกิดในช่วงเดือนก.ย. 2013 ที่ -$143mn โดยหลังจากนั้น มีแรงซื้อกลับเข้ากองทุนไทยค่อนข้างมากต่อเนื่องจนถึงเดือนม.ค. ของปีนี้รวม +$325mn
ด้านกองทุนอื่นในเอเชียมีแรงขายสุทธิในสัปดาห์นี้ยกเว้น จีน สิงคโปร์และออสเตรเลีย
ต้นทุนเฉลี่ยต่างชาติรอบนี้ที่ 1,387 จุด
การคำนวณของ KTZmico จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในปีนี้ (ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2014) พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติรอบนี้ (ถ่วงน้ำหนักด้วยดัชนีฯ) อยู่ที่ 1,387 จุด และมีปริมาณหุ้นในมือเหลืออีกประมาณ 8.5 พันล้านบาท
3.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : วันอังคาร US Durable goods orders คาดเติบโตลดลง วันพฤหัสฯ 1Q57F GDP USA ครั้งที่สอง คาดแย่ลง และวันศุกร์ Japan Core CPI เม.ย. คาดพุ่งขึ้นแรง
วันอังคาร: USA ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เม.ย. คาด -0.2%m-m(Vs +2.5%) ราคาบ้าน S&P Case-shiler composite 20 เมือง มี.ค. คาด +11.85%y-y (Vs 12.86%) Germany: ยอดค้าปลีก เม.ย. คาด +0.9%y-y (Vs -1.1%)
วันพุธ: EU Economic confidence พ.ค. คาด 102(Vs 101.9) Thai ส่งออก เม.ย. คาด -0.4%y-y (Vs -3.12%) ดุลการค้า ขาดดุล 600 ล้านดอลล์ (VS เกินดุล +1.46 พันล้านดอลล์) ผลผลิตภาคอุตฯ เม.ย. -4.8%y-y (Vs -10.4%)
วันพฤหัสฯ: USA 1Q57F GDP ครั้งที่สอง เติบโต -0.6%q-q (Vs ครั้งแรก +0.1%) Pending Home Sales เม.ย. คาด +1%m-m(Vs 3.4%) Philippines 1Q57F GDP คาด +2%q-q (Vs 1.5%)
ศุกร์ : Japan Core CPI เม.ย. +3%y-y (Vs 1.3%) USA: U of Michigan Confidence พ.ค. คาด 82.8 (Vs 81.8) Thailand: ดุลบัญชีเดินสะพัด เม.ย. คาด +110 ล้านดอลล์ (Vs 2.89bn) และจีน วันเสาร์ PMI Mfg พ.ค. คาด 50.7 (Vs 50.4)
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวัน Memorial Day
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการ เนื่องในวัน Memorial Day
+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดสูงขึ้น DAX ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดสูงขึ้น FTSE ปิดตลาด เนื่องในวันหยุดธนาคารฯ ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่ม 33.78 จุด หรือ 0.75% สู่ 4,526.93 จุด และ DAX ปิดบวก 124.81 จุด หรือ 1.28% สู่ 9,892.82 จุด ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบางในวันจันทร์ โดยตลาดหุ้นอิตาลีพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ หลังจาก ผู้ลงคะแนนเสียงในอิตาลีสนับสนุนพรรคเดโมแครตซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่าย กลาง-ซ้ายของนายกรัฐมนตรีแมตตีโอ เรนซีในการเลือกตั้งรัฐสภา ยุโรป โดยผลการเลือกตั้งจากอิตาลีแสดงให้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีเรนซีจะสามารถดำเนินโครงการปฏิรูปของเขาได้ต่อไป
"พรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคล ของเยอรมนีชนะที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งในเยอรมนี และปัจจัยนี้มีส่วนช่วยหนุนดัชนี DAX ให้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในระหว่างวัน
ผลการเลือกตั้งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 28 ประเทศแสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ซ้ายและกลาง-ขวาที่มีนโยบายสนับสนุนอียู จะยังคงครองที่นั่งได้ราว 70 %ในรัฐสภาอียูที่ประกอบด้วยที่นั่ง 751 ที่นั่ง อย่างไรก็ดี สมาชิกรัฐสภาที่มีนโยบายต่อต้านอียูจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า
*ราคาน้ำมันดิบ ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากวันหยุด USA-UK
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบกค. และ Nymex ส่งมอบ มิย. ปิดทำการ
*ราคาทองคำ ไม่เปลี่ยนแปลง จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการ
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาด เพิ่มขึ้น 6.90 ดอลล์ หรือ 0.54% สู่ 1,295 ดอลลาร์ต่อออนซ์
*ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากวันหยุดของ UK
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลง 22 จุด หรือ -2.23% เป็น 966 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุด เมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270