- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 26 April 2021 13:29
- Hits: 9717
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 26-4-2021
AT THE OPEN (#ATO)
S T R A T E G Y R E P O R T / 26 เมษายน 2564
INVESTMENT STRATEGY
ย่อสร้างฐาน :
COVID ไทยยังกดดัน
วันนี้คาด SET ย่อตัว แนวรับ 1,540 จุด และแนวต้าน 1,560 จุด เน้นหุ้นที่คาดกำไร 1Q64 เด่นโดย ATO Picks วันนี้แนะนำ “GLOBAL, DCC”
GLOBAL
คาดกำไร 1Q64 เพิ่มขึ้นถึง 103% QoQ และ 24% YoY เนื่องจากทั้ง SSSG เติบโตสูง การขยายสาขา และอัตรากำไรสูงขึ้น แนวโน้มกำไรยังแข็งแกร่งต่อใน 2Q64 โดย SSSG เป็นบวกชัดเจนจากฐานต่ำในปีก่อนที่มีการล็อกดาวน์ อีกทั้งราคาเหล็กยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 24 บาท
DCC
คาดผลประกอบการ 1Q64 มีแนวโน้มทำสถิติสูงสุดใหม่ราว 460 ล้านบาท (+27%QoQ, +25%YoY) และภาพ ปี 2564 คาดจะเติบโตต่อแรงหนุนจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับราคาขึ้น ชดเชยต้นทุนก๊าซที่เพิ่มขึ้น เสริมด้วยรายได้ค่าเช่า และคาดอัตราปันผลที่สูงถึง 7.0% ต่อปี
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 3.18
INVESTMENT THEME
COVID ไทยยังกดดัน
ผู้ติดเชื้อในไทยยังอยู่ในระดับสูง : สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทะลุระดับ 2 พันราย 3 วันติดต่อกัน (จุดสูงสุดใหม่ที่ 2,839 ราย) ซี่งส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งสิ้น 55,460 ราย โดยยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด
ภาครัฐฯเริ่มใช้มาตรการเข้มข้นขึ้น : จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เร่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในหัวเมืองสำคัญ เช่น กทม. เชียงใหม่ ชลบุรี ซึ่งหากไม่รีบควบคุมอาจจะส่งผลให้ตัวเลขการติดเชื้อเร่งตัวขึ้นได้ต่อ และปัญหาที่ตามมาเช่น เตียงผู้ป่วยขาดแคลน ซึ่งจะนำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิตที่มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นภาครัฐฯใช้มาตรการควบคุมที่เข้มข้นขึ้น โดยล่าสุด กทม. มีการประกาศปิดสถานที่เสี่ยงเพิ่มอีก 31 ประเภท มีผล 26 เมษายนนี้ เป็นระยะเวลา 14 วัน และออกกฏการสวมหน้ากากอนามัย 100% ซึ่งหากมาตรการเบื้องต้นยังไม่สามารถสกัดการแพร่ระบาดได้ เราคาดว่าอาจจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในช่วงถัดไป
ความเสี่ยงที่สูงขึ้น กด SET ย่อสร้างฐาน : จากสถานการณ์การแพร่บาดดังกล่าวคาดยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนระยะสั้น คาดกดดัน SET ย่อสร้างฐาน โดยมีแนวรับระยะสั้นถัดไปที่ 1540 จุด สำหรับคนรับความเสี่ยงได้ต่ำ ยังคงแนะรอดูความชัดเจน ขณะที่คนรับความเสี่ยงได้สูง แนะทยอยสะสมหุ้นที่คาดแนวโน้มกำไร 1Q64 จะออกมาเด่น
MARKET SUMMARY
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET ย่อตัวจากความกังวลสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ โดย SET ปิดที่ 1,553.59 (-14.62) มูลค่าการซื้อขาย 8.6 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 9.3 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 1,833 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 2,851 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 11,881 สัญญา)
EYES ON
26 เม.ย. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน US
27 เม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค US
28 เม.ย. การประชุม FED, ดัชนี MPI ของไทย
29 เม.ย. US GDP 1Q64, ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก US
30 เม.ย. การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล US, รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม, PMI ภาคการผลิตและบริการของ จีน, Eurozone GDP
Kasikornbank (KBANK TB)
เริ่มต้นได้ดีในไตรมาส 1/64
BUY
Share Price THB 140.00
12 m Price Target THB 160.00 (+14%)
Previous Price Target THB 160.00
คาดการณ์ผลประกอบการมีอัพไซด์ แนะนำ ซื้อ
แม้จะมีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ แต่ CFO ไม่กังวลในประเด็นคุณภาพสินทรัพย์และยังคงเป้าหมายทางการเงินทั้งหมดของธนาคารในปีนี้ไม่เปลี่ยนแปลง เขาคาดว่าธนาคารจะกลับมาจ่ายเงินปันผลจากผลงานครึ่งปีแรก เรายังคงประมาณการกำไรเติบโต 8-11% สำหรับปี 2564-65 แต่มองเห็นอัพไซด์จากต้นทุนสินเชื่อที่ต่ำกว่าคาดและการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นในไตรมาส 1/64 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 160 บาท อิง P / BV ปี 64 ที่ 0.8 เท่า และ ROE 9.1% ความเสี่ยงหลัก คือ คุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอกว่าที่คาด
ผลประกอบการไตรมาส 1/64 เด่น
กำไรสุทธิไตรมาส 1/64 เพิ่มขึ้น 44% YoY เป็น 1.06 หมื่นล้านบาท เนื่องจาก non-NII ฟื้นตัวและต้นทุนสินเชื่อที่ลดลง สินเชื่อไตรมาส 1/64 ขยายตัว 2.6% QoQ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการสินเชื่อภาคเอกชนและสินเชื่อบ้าน รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SME ขณะที่ NIM เพิ่มขึ้น 8bps QoQ เป็น 3.20% CFO อธิบายว่า NIM ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำเนื่องจากธนาคารบันทึกสินเชื่อองค์กรในช่วงปลายไตรมาส 4/63 ขณะที่ Non-NII เพิ่มขึ้น 19% YoY จากค่าธรรมเนียมที่แข็งแกร่งจากตลาดทุน ต้นทุนต่อรายได้ลดลงเป็น 41.3% ในไตรมาส 1/64 จาก 45.9% ในไตรมาส 1/63 เนื่องจากการควบคุมต้นทุนที่ดี NPL Ratio ลดลง 6bps QoQ ที่ 4.44% ขณะที่ NPL Coverage เพิ่มขึ้น 4ppts QoQ เป็น 137% ใน 1Q64
คาด NPL เพิ่มขึ้นจากโควิด -19 รอบใหม่ แต่เอาอยู่
ในการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ CFO ชี้แนะว่าคุณภาพสินทรัพย์ไม่แย่อย่างที่คาดไว้ในไตรมาส 1/64 แต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่ในระดับสูงจากการระบาดของโควิด -19 ระลอกใหม่ในขณะนี้ เราเชื่อว่า NPL สินเชื่อด้อยคุณภาพขั้นที่ 2 และต้นทุนสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น QoQ ใน 2Q64 เนื่องจากจะมีลูกค้าบางส่วนออกจากโครงการผ่อนปรน เราคาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะลดลง 30bps YoY เป็น 175bps ในปี 64 เทียบกับ 152bps ใน 1Q64
สินเชื่อภายใต้มาตรการผ่อนปรนลดลงในไตรมาส 1/64
CFO กล่าวว่าสินเชื่อภายใต้โครงการบรรเทาหนี้ลดลงเหลือ 3.19 แสนล้านบาทหรือ 14% ของสินเชื่อรวมในไตรมาส 1/64 เทียบกับ 19% ในไตรมาส 4/63 จากทั้งหมด 90% สามารถชำระหนี้ได้และส่วนที่เหลือขอเลื่อนการชำระหนี้ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่า KBANK มีสินเชื่อ 6.2 หมื่นล้านบาทที่เกินกำหนดชำระมากกว่า 30 วันในไตรมาส 1/64 จากทั้งหมด 50% แต่ละรายการจัดอยู่ในขั้นที่ 2 และ NPL ประเด็นที่น่ากังวลคือ ภาคบริการ เช่น โรงแรมและร้านอาหาร
Jesada Techahusdin, CFA
(66) 2658 6300 ext 1395
- Karnchang (CK)
1Q64 จะขาดทุน ยังคาดหวังงานใหม่
BUY
Share Price THB 16.90
12 m Price Target THB 22.00 (+30%)
Previous Price Target THB 22.00
ประเด็นการลงทุน
คาด 1Q64 จะขาดทุน 150 ล้านบาท เนื่องจาก Backlog ต่ำ แต่กำไรช่วงที่เหลือของปีจะดีขึ้น แรงหนุนจากปันผลของ TTW และ CKP คาดจะมีกำไรดีจากเข้าสู่ฤดูฝนหนุนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ เราคาดหวังงานประมูลขนาดใหญ่หลายโครงการ จะหนุน Backlog เข้าสู่ New S-Curve CK มีเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำ คือ BEM, CKP และ TTW มีมูลค่าถึง 5.9 หมื่นล้านบาท หรือ คิดเป็น 35 บาทต่อหุ้น เราประเมินราคาเป้าหมาย โดยวิธี Sum of the Part เท่ากับ 22 บาท คงแนะนำ TRADING BUY
คาด 1Q64 จะขาดทุน 150 ล้านบาท
CK จะประกาศงบ 1Q64 ในวันที่ 17 พ.ค. เราคาดจะมีผลประกอบการที่ขาดทุนเท่ากับ 150 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขาดทุน 114 ล้านบาท และ ปีก่อนที่ขาดทุน 112 ล้านบาท ผลประกอบการถูกกดดันจาก ยอดรับรู้รายได้คาดจะอยู่ในระดับต่ำ 3,550 ล้านบาท (-2%QoQ, -34%YoY) เนื่องจาก Backlog ที่ต่ำ และ อัตรากำไรขั้นต้นคาดจะอยู่ในระดับไม่ดีนัก 7.8% เทียบกับ 7.6% ในไตรมาสก่อน และ 8.9% ในปีก่อน ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน BEM และ CKP คาดจะลดลงเหลือ 105 ล้านบาท (-58%QoQ, +580%YoY) โดย CKP คาดจะขาดทุนเล็กน้อยจากไซยะบุรีมีปริมาณขายไฟที่ลดลงเหลือ 1,179 GWh (-28%QoQ, +18%YoY) ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน ส่วน BEM กำไรจะลดลง จากการแพร่ระบาดของ Covid-19
คาดช่วงที่เหลือของปีกำไรจะดีขึ้น
แม้ว่า Backlog จะต่ำ เราคาดผลประกอบการช่วงที่เหลือของปีจะดีขึ้น เนื่องจากจะมีปันผลจาก TTW เข้ามาช่วยไตรมาสละ 232 ล้านบาท ในไตรมาส 2Q64 และ 3Q64 นอกจากนี้ส่วนแบ่งกำไรของ CKP คาดจะดีขึ้น จากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนในไตรมาสสองหนุนกำไรของโครงการไซยะบุรีดีขึ้นอย่างมาก โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 มีการเก็บน้ำไว้เต็มเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าในปีนี้ เราคงประมาณการคาดรายได้จากธุรกิจก่อสร้างจะลงเหลือ 15,000 ล้านบาท ลดลง 10%YoY อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน BEM และ CKP จะดีขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนจะเพิ่มเป็น 1,380 ล้านบาท เติบโต 61% ดังนั้น รวมแล้วปี 2564 คาด CK จะมีกำไรเท่ากับ 888 ล้านบาท เติบโต 45%YoY
ยังคาดหวังโครงการขนาดใหญ่จะหนุน Backlog เข้าสู่ New S-Curve
โครงการขนาดใหญ่ที่คาดจะเปิดประมูลในช่วงที่เหลือของปี คือ 1.) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – มีนบุรี มูลค่าโครงการ 1.27 แสนล้านบาท 2.) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 1 แสนล้านบาท 3.) รถไฟทางคู่สายใหม่สองเส้นทาง 1.2 แสนล้านบาท เริ่มเปิดประมูลแล้ว และ 4.) โรงไฟฟ้าหลวงพระบาง 1.35 แสนล้านบาท กำลังเจรจากับรัฐบาลลาว ซึ่งโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้จะช่วยเติม Backlog ให้ CK มีงานมากกว่าสองแสนล้านบาท และ เข้าสู่ New S-Curve
Surachai Pramualcharoenkit
(66) 2658 6300 ext 1470
Berli Jucker (BJC)
คาดกำไร 1Q64 ถูกกดดันจากโควิด
BUY
Share Price THB 36.00
12 m Price Target THB 44.00 (+22%)
Previous Price Target THB 44.00
ประเด็นการลงทุน
BJC มีการบริหารจัดการต้นทุนได้ดีและลดค่าใช้จ่าย แต่ผลกระทบของโควิด-19 รอบใหม่ทำให้ยอดขายลดลงเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ คาดว่าจะทำให้กำไร 1Q64 ลดลง หากไม่มีการล็อกดาวน์ คาดว่ากำไร 2Q64 ฟื้นตัว YoY จากฐานต่ำในปีก่อนและความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าราคาหุ้นจะถูกกดดันจากการระบาดของโควิด แนะนำ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลง ราคาเป้าหมาย 44 บาท (DCF, WACC 7.1%, G.3%)
แนวโน้มยอดขาย 1Q64 ลดลงทุกกลุ่มยกเว้นเครื่องมือแพทย์
SSSG ของบิ๊กซีใน 1Q64 คาดว่าติดลบ 21% ซึ่งมากขึ้นกว่า 4Q63 ซึ่งติดลบ 20.8% และลบ 5.3% ใน 1Q63 เนื่องจากฐานสูงในเดือนมี.ค. ปีก่อนที่ได้ผลบวกจากการที่ผู้บริโภคตุนสินค้าในช่วงการระบาดของโควิดรอบแรก อย่างไรก็ดี สัดส่วนลูกค้ากลุ่ม B2B เพิ่มขึ้นจากการที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปเพื่อขายต่อในโครงการคนละครึ่งและเราชนะ ส่วนยอดขายบรรจุภัณฑ์คาดว่าลดลง เนื่องจากในช่วงต้นปี 2563 ลูกค้ายังคงสั่งซื้อสินค้าไปเพื่อเตรียมขายในช่วงสงกรานต์ แต่ปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคคาดว่าลดลงเช่นกัน เนื่องจากปีก่อนได้อานิสงส์จากการตุนสินค้า แม้ยอดขายสินค้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์และเทคนิคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่สัดส่วนยอดขายไม่มาก เราจึงคาดยอดขาย BJC ลดลง 14% YoY
คาดกำไร 1Q64 ลดลง 8% YoY
ราคาอลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบน้อยต่อต้นทุนการผลิตกระป๋อง เนื่องจากบริษัทมีการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ไว้ตามสัญญาของลูกค้าเกือบครบทั้งหมด อีกทั้งยังได้ผลบวกจาก Economies of scale และการบริหารจัดการต้นทุน เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นใน 1Q64 เพิ่มขึ้น 30bps YoY เป็น 19.3% และคาดว่าค่าใช้จ่ายลดลง 12% YoY โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายพนักงานลดลงจากการปรับโครงสร้างองค์กรในปีก่อน อย่างไรก็ดี ยอดขายที่ลดลง และรายได้ค่าเช่าลดลงจากการให้สว่นลดค่าเช่า คาดว่าจะทำให้กำไรสุทธิ 1Q64 ลดลง 13% QoQ และ 8% YoY เป็น 1,177 ล้านบาท
กำไร 2Q64 มีโอกาสกลับมาเติบโต YoY
หากไม่มีการล็อกดาวน์ เราคาดว่ากำไร 2Q64 จะยังคงเติบโตได้ YoY จากฐานกำไรที่ต่ำมากใน 2Q63 ที่มีการปิดพื้นที่ขายบางส่วนของบิ๊กซี ประกอบกับธุรกิจกระป๋องมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากได้ลูกค้ารายใหม่และมีการผลิตกระป๋องขนาดใหม่ เช่น กาแฟกระป๋อง และเบียร์ 500 ml. ส่วนยอดขายขวดแก้วคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากลูกค้ากลุ่มสินค้าแอลกอฮอล์และ Functional drink นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายด้านพนักงานจะลดลง 220 ล้านบาท/ไตรมาส
ความเสี่ยง: โควิด-19 ระบาดเป็นวงกว้าง ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ
Surachai Pramualcharoenkit
(66) 2658 6300 ext 1470
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web