- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 06 October 2020 11:17
- Hits: 3086
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 6-10-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่า SET Index ยังน่าจะอยู่ภายใต้กรอบ 1250 จุดต่อไป โดยอาจมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น และความพร้อมที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ใน 4Q63 พอร์ตการลงทุนวันนี้ แนะนำให้ Cut Loss หุ้น BEM น้ำหนัก 10% ออก แล้วนำเบงินเข้าลงทุนใน TU ส่วนหุ้น Top Pick เลือก INSET, NER และ TU
รอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ในงวด 4Q63
4Q63 เชื่อว่าจะเห็นการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหญ่ โดยในส่วนของมาตรการทางการคลังมีความพร้อมมากขึ้นหลังได้ รมว.คลัง มาทำหน้าที่ ขณะที่งบประมาณปี 2564 ก็ใกล้จะมีผลบังคับใช้ อีกทั้งเม็ดเงินตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทก็พร้อมดำเนินการได้ เบื้องต้นเชื่อว่าในสัปดาห์นี้น่าจะเห็นแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคในกลุ่ม ช้อปช่วยชาติ หรือ ชิมช้อปใช้ ถูกนำเสนอออกมา ทางด้านนโยบายการเงิน ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่ามีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทั้งนี้ประเมินจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ดอกเบี้ยนโยบาย หักออกด้วยอัตราเงินเฟ้อ) ยังเป็นบวกอยู่ราว 1.2% ขณะที่ในหลายประเทศที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ยุโรป เป็นต้น ก็เริ่มเห็นสัญญาณในการใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน ส่วนราคาน้ำมันวันนี้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 5% หลังจาก Supply บางส่วนจากนอร์เวย์ หายออกไปจากตลาด แต่น่าจะเป็นการดีดตัวขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น ภาพรวม SET Index วันนี้ ยังน่าจะอยู่ภายใต้กรอบ 1250 ตามเดิม พอร์ตจำลอง ให้ปรับโดย ขาย Cut Loss หุ้น BEM นำเงินเข้าลงทุนใน TU ส่วน Top Pick เลือก INSET, NER และ TU
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย-เงินเฟ้อ) ของแต่ละประเทศ
ที่มา: Bloomberg , สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
โอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีมากขึ้น จากเงินเฟ้อที่ ติดลบ
ASPS ยังคงมุมมองความเชื่ออัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มอยู่ในทิศขาลงอยู่ โดยพิจารณาจาก 2 ประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(Net Interest Rate) คำนวณจาก อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ พบว่าในหลายประเทศยังมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก อาทิ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไทย เป็นต้น (ดังรูป) Net Interest Rate) เป็น + สะท้อนประเทศเหล่านี้ยังสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกได้
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย-เงินเฟ้อ) ของแต่ละประเทศ
ที่มา: Bloomberg
Bond Yield 1 ปีในบางประเทศปรับลงมาและต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศนั้นๆ ล่าสุด พบว่ามี อินโดนีเซีย, อินเดีย, อังกฤษ (ดังรูป) บ่งชี้ได้ว่าตลาดมีมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีแนวโน้มลดลงในอนาคต
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ Bond Yield 1 ปี ของอินเดีย และอินโดนีเซีย
ที่มา: Bloomberg
โดยรวมทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(Net Interest Rate) และ Bond Yield 1 ปีปรับลงมาและต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศ คือ อินโดนีเซีย, อินเดีย อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง (อินเดีย 4.0% และอินโดนีเซีย 6.5%) ทำให้เชื่อว่าประเทศเหล่านี้มีโอกาสปรับลงอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก
ส่วนไทย แม้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(Net Interest Rate) ล่าสุด เป็นบวก คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน 0.5% ลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด เดือน ก.ย. -0.7% เมื่อวานนี้ประกาศออกมาเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง โดย ASPS ประเมินว่าเป็นเหตุผลสนับสนุนความเชื่อให้ กนง. ยังสามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% อยู่ที่ 0.25% ในช่วงปลายปี ในการประชุมที่เหลือ 2 ครั้งของปีนี้ คือ 18 พ.ย. และ 23 ธ.ค. 2563
หาก กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% จะส่งผลให้ Market Earning Yield Gap ขยายตัวกว้างขึ้น ซึ่งจะหนุน P/E ของ SET Index เพิ่มขึ้นจาก 20 เท่า เป็น 21.05 เท่า หรือเทียบเท่าดัชนีราว 75 จุด
Target SET Index ตามประมาณการ EPS64F
ที่มา: Bloomberg,ฝ่ายวิจัย ASPS
ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นแรง 5.3% แต่น่าจะเป็น Technical Rebound
ราคาน้ำมันดิบโลกตลอดเดือน ต.ค. ผันผวนสูงมาก คือ ต้นเดือนราคาน้ำมันลงเฉลี่ย 4% เมื่อวานนี้ขึ้นแรงราว 5.3% โดยปัจจัยหนุนหลักๆมาจาก
(+) ตลาดเริ่มคลายกังวลหลังจากอาการของประธานาธิบดี Donald Trump ดีขึ้น หลังจากติด COVID-19 ซึ่งเผยว่าติดเมื่อวันที่ 2 ต.ค. ล่าสุด ออกจากศูนย์การแพทย์ทหารแห่งชาติและเดินทางกลับถึงทำเนียบขาว โดย ASPS ยังให้น้ำหนักอาการประธานาธิบดี Trumpต่อ
(+) ฝั่ง Supply น้ำมันที่หายไปช่วงสั้นจากประเทศ Norway ล่าสุด แรงงานหยุดงานประท้วง ส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งกำลังการผลิตราว 3.3 แสนบาร์เรล/วัน หรือ ราว 8% ของกำลังการผลิตของ Norway ถูกปิดช่วงสั้น ขณะที่ฝั่ง Demand ยังคงถูกกดดันจาก Covid-19 ในหลายประเทศที่ยังเพิ่มในอัตราเร่ง
โดยรวมราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นดังกล่าว ASPS ประเมินน่าจะเป็น Technical Rebound ช่วงสั้น โดยประเมิน ราคาน้ำมันดูไบจะผันผวนในกรอบ 40-45 เหรียญฯ/บาร์เรล ช่วงที่เหลือของปี หลักๆคือ ประเด็นการตัดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ตามแผนเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรล/วันในเดือน ส.ค.-ธ.ค.63 และ 5.8 ล้านบาร์เรล/วันในเดือน ม.ค.2564 -เม.ย. 2565
ในระยะสั้นถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน แนะนำให้หาจังหวะทยอยสะสม PTT (Buy: FV@B41) ส่วน PTTEP (Switch: FV@B100) นั้นแนะนำเพียง trading ช่วงสั้นตามทิศทางราคาน้ำมันรายวันเพราะยังมีแรงกดดันในประเด็นผลประกอบการที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดของปีไปแล้วใน 1Q63
ส่วนกลุ่มโรงกลั่น TOP (Switch: FV@B43), BCP (Switch: [email protected]), PTTGC (Switch: FV@45) และ IRPC (Switch: [email protected]) ราคาหุ้นช่วงที่ผ่านมาแม้จะผ่านการปรับฐานไปบ้างแล้ว แต่ upside ยังไม่จูงใจ เมื่อเทียบกับพื้นฐานโดยรวมที่ยังอ่อนแอ สะท้อนได้จากค่าการกลั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ดังนั้นช่วงสั้นจึงแนะนำเพียง trading
TU…ธุรกิจหลักฟื้นตัวดีกว่าคาด
คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 3Q63 เท่ากับ 1.8 พันล้านบาท (ดีกว่าที่คาดไว้เดิมมาก) เพิ่มขึ้น 5.6% qoq และ 31.9% yoy มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) คาดส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster ลดลงมาก หลังจากที่ร้านอาหาร Red Lobster ในสหรัฐฯ กลับมาเปิดให้รับประทานในร้านจนเกือบปกติแล้ว และ 2) แนวโน้มรายได้รวมงวด 3Q63 จะปรับเพิ่มขึ้น 3.2% qoq และ 7.2% yoy จากธุรกิจอาหารแช่เย็นแช่แข็ง (กุ้งและแซลมอน) ฟื้นตัว หักล้างแนวโน้ม gross margin งวด 3Q63 ที่อ่อนตัวลงมาที่ 17.6% ไปได้ทั้งหมด โดยรวมแล้ว คาดการณ์กำไรสุทธิงวด 9M63 เท่ากับ 4.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 64.7% yoy คิดเป็นสัดส่วนถึง 90% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้
ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2563-64 ขึ้นเฉลี่ย 10-15% จากปัจจุบัน หลังประกาศงบการเงินงวด 3Q63 สะท้อนผลการดำเนินงานงวด 9M63 ที่ดีกว่าคาด ทั้งนี้ ภายใต้ประมาณการปัจจุบัน คาดกำไรสุทธิปี 2563-64 จะเพิ่มขึ้นถึง 32.2% yoy และ 10.0% yoy จากธุรกิจทูน่ากระป๋องและอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตต่อเนื่อง
ภายใต้ประมาณการปัจจุบัน กำหนด Fair Value ปี 2563 เท่ากับ 17 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.34%) ราคาหุ้นปัจจุบันมี Valuation ที่น่าสนใจ มีค่า PER ที่ 13 เท่า และสามารถคาดหวัง div Yield ได้กว่า 4% p.a. จึงแนะนำซื้อ โดยฝ่ายวิจัยเตรียมปรับไปใช้ Fair value ปี 2564 หลัง TU ประกาศงบการเงินงวด 3Q63 ซึ่งจะทำให้ FV ปี 2564 สูงกว่า Fair value ปัจจุบัน
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web