- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 September 2020 14:14
- Hits: 5825
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 17-9-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
Downside ของ คาดการณ์ GDP Growth โลกลดลงตามคาด และเริ่มเห็นการปรับเพิ่มประมาณการ ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังจะต่ำต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้ ดีต่อภาพรวมแต่มีน้ำหนักต่อบริษัทจดทะเบียนไม่มาก ปรับพอร์ตโดย ลดน้ำหนัก CRC และ BEM แล้วนำเงินเข้าลงทุนใน PTT หุ้น Top Pick เลือก PTT และ STGT
SET Index น่าจะพยายามทดสอบ 1300 จุด แต่คงผ่านยาก
Fed คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะทรงตัวระดับต่ำอย่างน้อยไปจนถึงปี 2023ขณะที่การคาดการณ์เรื่อง GDP โดยภาพรวมของทั่วโลกพบว่า Downside จำกัดลงชัดเจนและกลับเริ่มเห็นการปรับเพิ่มประมาณการในหลายสำนัก สำหรับในประเทศ ศบศ. เห็นชอบอัดฉีดเม็ดเงิน 5.1 หมื่นล้านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่าน 2 ช่องทาง คือ 1) เพิ่มเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน 500 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ใช้เงินรวม 2.1 หมื่นล้านบาท และ 2) โครงการคนละครึ่ง ให้สิทธิแก่ประชาชนที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป จำนวน 10 ล้านคน โดยจัดสรรวงเงินให้ 3000 บาท เบิกจ่ายได้วันละ 100 บาท ใช้งบประมาณรวม 3 หมื่นล้านบาท อีกส่วนหนึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถซื้อ คอนโดมิเนียม หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้ ภายใต้ข้อกำหนดห้ามจำหน่าย โอนฯ หรือ จำนอง ในช่วงระยะเวลา 5 ปี เชื่อว่าจะช่วยระบายสต๊อกคอนโดฯ ในส่วนที่เป็น Freehold ได้ดีขึ้น คาด SET Index น่าจะพยายามขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1300 จุด แต่ยังไม่ผ่านได้ง่ายๆ พอร์ตการลงทุนให้ ลดน้ำหนัก CRC และ BEM ลงอย่างละ 5% แล้วเข้าลงทุนใน PTT หุ้น Top Pick เลือก PTT และ STGT
GDP และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ
ที่มา: Bloomberg
Downside สำหรับประมาณการ GDP Growth ลดลงชัดเจน
ดังที่ ASPS เคยนำเสนอใน Invest+ ฉบับเดือน ก.ย. 2563 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุด (Bottom out) ไปแล้วในงวด 2Q63 ล่าสุดเห็นสัญญาณชัดเจนมากขึ้น Downside สำหรับประมาณการ GDP Growth โลกลดลง เพราะเห็นตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. คือ สำนักเศรษฐกิจและธนาคารกลางสำคัญๆทั่วโลกเริ่มทยอยปรับเพิ่มประมาณการ (Revise Up) GDP ปี 2563 กันอย่างต่อเนื่อง (ดังตาราง) ถือเป็นสัญญาณบวกต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
เดือน ก.ย.63 สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ และธนาคารกลางปรับเพิ่มประมาณการ GDP
ที่มา: ASPS รวบรวม
ส่วนผลการประชุม Fed เมื่อวานนี้เป็นไปตามที่คาด คือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 0-0.25%
โดยมี 2 ประเด็นสำคัญที่ Fed เผยมา คือ
1. อัตราดอกเบี้ยจะยังต่ำอีกนานอย่างน้อย 4 ปี คือ ดอกเบี้ยนโยบายคาดต่ำถึงปี 2566) สะท้อนได้จาก Dot plot ดังรูป ทั้งนี้ ASPS เปรียบเทียบกับช่วงวิกฤกติ Subprime พบว่า Fed คงดอกเบี้ยต่ำถึง 28 ไตรมาส หรือ 7 ปี (ดังรูป) อย่างไรก็ตาม จากการส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยต่ำที่ชัดเจนของ Fed ASPS ประเมินว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ Dollar Index มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะถัดไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และน้ำมันดิบได้
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ
ที่มา: Fed, 17 ก.ย. 2563
GDP และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ
ที่มา: Bloomberg
2. ปรับเพิ่มคาดการณ์มุมมองเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นทั้ง GDP ปี 2563 ,เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น และคาดอัตราการว่างงานสหรัฐจะลดลงอย่างต่อเนื่อง (ดังตาราง)
ประมาณการ GDP, อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานสหรัฐ ของ Fed
ที่มา: Fed, 17 ก.ย. 2563
ราคาน้ำมันดิบขึ้นแรง 4% ปรับขึ้นต่อวันที่ 2 จาก Hurricane อีกหลายลูก ดีต่อหุ้นน้ำมันชอบ PTT
ราคาน้ำมันดิบโลกเมื่อวานนี้ยังปรับขึ้นแรง โดยน้ำมัน Brent ขึ้นราว 4%ล่าสุดอยู่บริเวณ 42.2 เหรียญฯ โดยปัจจัยหนุนหลักๆจาก
ฝั่ง Supply จากประเด็น 1.) วานนี้รายงานสต็อคน้ำมันดิบจาก EIA ล่าสุด พลิกกลับมาติดลบ 4.3 ล้านบาร์เรล(ดีกว่าที่ตลาดคาด จะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล 2.) พายุ Hurricane เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องอีก 3 ลูก โดยอาทิตย์ก่อนหน้า Laura ต้นสัปดาห์คือ Sally และล่าสุดเข้ามาใหม่ Teddy และ Vicky(ดังรูป) กำลังพัดเข้ามาในแถวอ่าวเม็กซิโกซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันราว 17%ของการผลิตน้ำมันทั้งหมดในสหรัฐ จะทำให้มีการทยอยปิดโรงน้ำมัน ส่งผลให้ Supplyน้ำมันหายไปช่วงสั้น (*โดยปกติทุกปี ช่วงตลอดเดือน ก.ย. จะเป็นฤดูกาลที่พายุ Hurricane เข้าอ่าวเม็กซิโก)
ทิศทางพายุ Hurricane Sally, Teddy, Vicky ที่พัดเข้าชายฝั่ง Mexico
ที่มา: National Hurricane Center 16 ก.ย.2563
ฝั่ง Demandน้ำมัน มีปัจจัยหนุนจากสัญญาณบวกจากการทยอยปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ปี 2563 ดังกล่าว แม้ปัจจัยกดดันยังคงมาจากการเร่งตัวผู้ติดเชื้อ Covid รายใหม่ทั่วโลกที่ยังเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3 แสนราย/วัน ล่าสุด ผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 30 ล้านคน
โดยรวมราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นแรงดังกล่าว ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงานที่ยังแนะนำซื้อมี IVL(Buy: FV@B32) และ PTT(Buy: FV@B41) ซึ่งเลือกเป็น Toppicks ในวันนี้ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
PTT(FV @ 41.00) มุมมองเศรษฐกิจจากหลายสำนักฯที่ดูดีขึ้น บวกกับประเด็นพายุที่เข้ามาในชายฝั่งเม็กซิโก หนุนให้ราคาน้ำมันดิบในช่วงสั้นปรับตัวขึ้นมาเร็วและแรง ถือเป็นบวกต่อหุ้นน้ำมันอย่าง PTT ที่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองเชิงบวกเท่าที่ควร สะท้อนจากซึ่งในช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ราคาหุ้น PTT ปรับตัวขึ้นน้อย และยัง Laggard กว่าราคาน้ำมันดิบ (Brent Oil) ถึง 7% และยังได้ปัจจัยหนุนเสริมจาก ความคืบหน้า เรื่องการนำบริษัทลูกอย่าง OR เข้าซื้อขายในตลาดฯ โดยวานนี้ทาง กลต.ได้อนุมัติคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ OR เรียบร้อยแล้ว โดยมีจำนวนหุ้นที่ IPO ไม่เกิน 3,000,000,000 หุ้น คิดเป็น 25% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO
ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นเดือน 8 –ปัจจุบันของหุ้นในกลุ่มพลังงานและ Brent Oil
ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
เม็ดเงิน 5.1 หมื่นล้านบาทกระตุ้นเศรษฐกิจ รายใหญ่ได้ประโยชน์จำกัด
วานนี้ที่ประชุม ศบศ. เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 ส่วนก่อนที่จะเสนอให้ ครม. อนุมัติ 22 ก.ย. 2563 หลักๆ คือ 1.)กระตุ้นการบริโภค วงเงินรวม 5.1 หมื่นล้านบาท(ราว 0.46% ของ GDP ปี 2562) ระยะเวลาเริ่มในช่วง ต.ค. –ธ.ค.63 โดยมุ่งเน้นไปที่ประชาชนฐานราก คือ
• โครงการคนละครึ่ง วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท : รัฐจะร่วมจ่ายค่าสินค้า (Co-payment) 50% ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังค์ ไม่เกิน 100 บาท/คน/วัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท/คน ตลอดโครงการจำนวน 10 ล้านคน โดยสินค้าที่สามารถซื้อได้คือ อาหาร, เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป(ไม่รวมล็อตเตอรี่, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสูบ และการบริการ) *หลักๆมุ่งไปที่ร้านค้ารายย่อย อาทิ ร้านค้าทั่วไป ร้านหมูปิ้ง ไม่รวมร้านค้าที่จดทะเบียนนิติบุคคล, ร้านสะดวกซื้อ 7-11 และร้านเฟรนไชส์
• เพิ่มวงเงิน Topup ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 500 บาทเป็น 700-800 บาท/คน/เดือนรวม 14 ล้านคน วงเงินรวม 2.1 หมื่นล้านบาท:
โดยรวมแม้มาตรการ “คนละครึ่ง” ผู้ประกอบการรายใหญ่และร้านสะดวกซื้อจะไม่ได้ประโยชน์ทางตรง แต่คาดว่าจะได้ประโยชน์ทางอ้อม และจะได้ประโยชฯโดยตรงจากวงเงินขสกมาตรการบัตรสวสัดิการของรัฐแทนมากว่า โดยรวมยังเป็นบวกต่อ CPALL ([email protected])
งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ 12 ส.ค.63- ปัจจุบัน
ที่มา: ASPS รวบรวม
• อีกทางหนึ่ง คือมาตรการกระตุ้นการลงทุนจากต่างชาติ คือ การเพิ่มประเภทคำขอเพื่อเข้ามาลงทุนซื้ออาคารชุด ถือเป็นบวกต่อหุ้นคอนโดที่มีสัดส่วนลูกค้าเป็นชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งการพิจารณาเพิ่มประเภทคำขอเพื่อเข้ามาลงทุนซื้ออาคารชุดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามมูลค่าที่กำหนด โดยห้ามจำนอง จำหน่าย โอน ภายในระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งยกเว้นหลักเกณฑ์การกำหนดระยะเวลาการพำนักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนยื่นคำขอ ประเด็นดังกล่าวถือเป็นบวกต่อหุ้นอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโด ซึ่งปกติมีลูกค้าชาวต่างชาติราว 10 – 30% ของความต้องการรวม ดังนั้นเป็นการเพิ่มโดอกาสให้ลูกค้าชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในอสังหาฯไทยน่าจะช่วยระบายสต็อกคอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมโอน ซึ่งมูลค่ารวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าวขึ้นไปอีกระดับน่าจะเป็นบริษัทมีสัดส่วนลูกค้าเป็นชาวต่างชาติจำนวนมาก อาทิ NOBLE สะท้อนได้จากช่วงครึ่งปีแรกมีสัดส่วน Presale เป็นลูกค้าต่างชาติกว่า 34% เป็นต้น
ราคา SAWAD-W2 ตามสมมุติฐานทางทฤษฎี ที่เริ่มซื้อขายวันนี้
วันเริ่มซื้อขาย - 17 ก.ย. 2563
จำนวนวอร์แรนท์คงเหลือ (หน่วย) - 54,923,477
อัตราใช้สิทธิ (วอร์แรนท์ : หุ้นสามัญ) - 1 : 1
ราคาใช้สิทธิ (บาท) - 100
อายุคงเหลือ (ปี) - 5
วันใช้สิทธิครั้งแรก - 28 ก.พ. 2566
วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย - 29 ส.ค. 2568
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web