- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 September 2020 16:25
- Hits: 1631
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 11-9-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
แม้เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากกระแสการปรับเพิ่ม GDP ปี 2563 แต่หักล้างด้วยราคาน้ำมันที่ลงแรง รวมถึงประเด็นการเมืองที่เข้มข้นขึ้น ส่วนสัปดาห์หน้ารอติดตามการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง กลยุทธ์หลบความผันผวน แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง และต่างชาติถือครองน้อย อย่าง BEM, MCS เป็น Top Pick
หลีกการเมือง...หลบความผันผวน เข้าหุ้นแกร่งต่างชาติถือน้อย
วานนี้ธนาคารกลางยุโรป ให้มุมมองเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึง Downside ต่อ GDP ปี 2563 ค่อนข้างจำกัด ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ถูกหักล้างด้วยราคาน้ำมันดิบปรับฐานแรง (ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน) จากสต๊อกน้ำมันสหรัฐฯพุ่ง ขณะที่ในประเทศ ยังมีประเด็นการยกเลิก LTV ของ ธปท. รวมถึงประเด็นทางการเมืองในประเทศที่มีความร้อนแรงมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้การขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกมุมหนึ่งฝ่ายวิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบในอดีตช่วงเวลาที่มีเหตุร้อนแรงทางการเมือง พบว่ามักจะทำให้เงินบาทอ่อนค่า โดยภาวะดังกล่าวมักจะทำให้ Fund Flow ไหลออก กดดันให้ SET Index ผันผวนมากกว่าภาวะปกติ และปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.87% ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม สำหรับกลยุทธ์แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่สำคัญคือ ต่างชาติถือครองน้อยกว่าค่าเฉลี่ยตลาดฯ เพื่อลดความผันผวนจากแรงขายของต่างชาติ อย่าง SVI, DCC, MCS, BEM, STGT และ DCC โดย Top pick ในวันนี้ยังชื่นชอบ BEM, MCS และประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ไว้ที่ 1276 ถึง 1300 จุด
ผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองกับตลาดหุ้นไทย
ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
หมายเหตุ : ช่วงการชุมนุม นปช. เป็นช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อแก้ Humburger Crisis ทำให้มีสภาพคล่องส่วนเกินไหลเข้าตลาดหุ้นทั่วโลก
เห็นการปรับเพิ่ม GDP ปี 63 ล่าสุด คือ ยุโรป ส่วนสัปดาห์หน้าประชุม Fed และ กนง. 23 ก.ย.จะปรับเพิ่ม/ลด GDP หรือไม่??
Downside ในการปรับลด GDP Growth ทั่วโลกและไทยลดลง ดังที่ ASPS นำเสนอใน Paper กลยุทธ์เดือน ก.ย. คือ เศรษฐกิจงวด 2Q63 เป็นจุดต่ำสุด และงวด 3Q-4Q63 จะค่อยๆฟื้นตัว ผลจากการรัฐบาลทั่วโลกคลาย Lockdown โดยการ Upgrade GDP (คือ ปรับ GDP ติดลบน้อยลง) เริ่มจาก
ไทย เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ม.หอการค้าไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 63 คือคาด -7.5%yoy (เดิมคาด -9%)
สหภาพยุโรป ล่าสุด เมื่อวานนี้การประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ปรับเพิ่ม GDP ปี 63 เหลือ -8%yoy จากรอบ มิ.ย.คาด -8.7% และปรับเพิ่มคาดอัตราเงินเฟ้อปี 2564 เป็นขยายตัว 1%yoyเดิมคาด 0.8%yoy(ดังรูป) แต่ยังคง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ตามที่ตลาดคาด ส่วนประเด็นเป้าเงินเฟ้อ ECB ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือ คงเป้าที่เดิม 2% ทำให้ตลาดผิดหวังเพราะคิดว่า ECB จะเปลี่ยนรูปแบบใกล้เคียง Fed
ประมาณการเศรษฐกิจยุโรปของ ECB
ที่มา: ECB รอบวันที่ 10 ก.ย.2563
ในช่วงที่เหลือของปี ASPS เชื่อว่าอาจจะเห็นการ Upgrade GDP Growth จากธนาคารกลาง, สำนักเศรษฐกิจอื่นๆทั่วโลก รวมถึงไทย โดยให้น้ำหนักสัปดาห์หน้าการประชุมธนาคารกลางสำคัญ
ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ระหว่าง16-17 ก.ย. รอบนี้ Fed จะมีรายงานคาดการณ์ GDP Growth และอัตราเงินเฟ้อเช่นเดียวกับ ECB ASPS ให้น้ำหนักว่าจะมีการ Outlook GDP อย่างไร หรือไม่ ?? พิจารณาจากปัจจัยแวดล้อม พบว่า ดัชนีช้ำนำเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้ง อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. ลดลงเหลือ 8.4% จากจุดสูงสุดที่ 14.7% ในเดือน เม.ย. 2563, ยอดค้าปลีกฟื้นตัว 2.7%yoy ในเดือน ก.ค. 2563 จากจุดต่ำสุดที่ -19.9% ในเดือน เม.ย. 2563, ดัชนี PMI ภาคการผลิตฟื้นมาที่ระดับ 53.1 จุด จากจุดต่ำสุด 36.1 จุด ในเดือน เม.ย. 2563 เป็นต้น
ปัจจัยต่างประเทศที่ให้น้ำหนักสัปดาห์หน้า
ที่มา: Bloomberg
ราคาน้ำมันดิบปรับฐานแรงอีกรอบ จากสต็อกน้ำมันสหรัฐพุ่ง
ราคาน้ำมันดิบโลกปรับฐานแรงอีกครั้ง คือ ราคาน้ำมัน Brent ปรับลงราว 2.6% และนับตั้งแต่ต้นเดือนลงราว 14% โดยถูกปัจจัยกดดันหลักๆ จาก
ฝั่ง Supply คือ เมื่อวานนี้ EIA รายงานสต็อคน้ำมัน พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 2 ล้านบาร์เรล และผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะ ติดลบ 1.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่ OPEC+ ทำข้อตกลงลดลงตามแผนเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรล/วันระหว่าง ส.ค.-ธ.ค.โดยให้น้ำหนักวันจันทร์หน้ารายงาน OPEC Monthly report ประเทศผู้ผลิตจะตัดลดน้ำมันมาก/น้อย
ฝั่ง Demand แม้หลายประเทศทั่วโลกจะผ่อนคลาย Lockdown และการบริโภคน้ำมันเริ่มฟื้น แต่ 1.) บางประเทศอาจจะมีปัญหาชั่วคราว เช่น จีน ผู้บริโภคน้ำมันหลัก เผชิญพายุไต้ฝุ่นเจออุปสรรคน้ำท่วม และบางประเทศที่กลับมา Lock down เมืองหลวง เช่น อินโดนีเซีย ฯ 2.) ซาอุฯประกาศปรับลดราคาขายน้ำมันดิบ OSP ของเอเชียสำหรับเดือน ต.ค.บ่งชี้ว่า Demand ยังไม่ฟื้น
โดยรวมราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นกลุ่มพลังงานที่ส่วนใหญ่ราคาเกินมุลค่าพื้นฐานไปแล้ว ยกเว้น PTT(Buy: FV@B41) และ IVL ที่ยังแนะนำซื้อ
ดับฝัน LTV จากแบงค์ชาติ….รอลุ้นมาตรการอื่นจากภาครัฐ
วานนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงการณ์ยืนยันว่า มาตรการสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน หรือ Loan-to-value ratio (LTV) ยังมีความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ได้ผ่อนคลายเกณฑ์ดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ การผ่อนปรนเกณฑ์สำหรับผู้กู้ร่วม และการซื้อบ้านหลังแรกในราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท สามารถกู้ได้เท่ากับราคาบ้านและยังสามารถกู้ได้เพิ่มอีก 10% เพื่อใช้เป็นค่าตกแต่งหรือซ่อมแซม ส่วนบ้านหลังที่ 2 สามารถกู้ได้ 90% (หากสัญญาที่ 1 ผ่อนเกิน 2 ปี) นอกจากนี้ยังพบว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 2Q63 ขยายได้ 4.4% สูงกว่าไตรมาสก่อน แม้อยู่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นการซื้อบ้านหลังแรก สะท้อนว่ามาตรการ LTV ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนที่ต้องการซื้ออยู่จริง อย่างไรก็ดีในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน ทำให้ ธปท. จะยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
แม้ข้อเสนอการยกเลิกเกณฑ์ LTV ซึ่งเป็น 1ในประเด็นที่ผู้ประกอบการภาคอสังหาฯ นำเสนอต่อนายกฯ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้รับการปฏิเสธจากแบงค์ชาติ (เรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธปท. เป็นหลัก) อาจสร้างความผิดหวังให้กับผู้ประกอบการกลุ่มฯ แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมอสังหาฯ ไปมากกว่านี้ ขณะที่ข้อเสนอด้านอื่น อาทิเช่น การขอขยายเงื่อนไขการลดค่าธรรมเนยีมการโอนฯ และจดจำนองในอัตรา 0.01% จากเดิมที่ให้สิทธิเฉพาะอสังหาฯ ไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาท ซึ่งเป็นมาตรการของภาครัฐ คงต้องรอติดตามว่าจะออกมาในรูปแบบใด
อย่างไรก็ดีภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่มีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพิ่มเติม ฝ่ายวิจัยคงเชื่อว่าผลประกอบกลุ่มอสังหาฯ 2H63 จะฟื้นตัวดีขึ้นจาก 1H63 ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ 3Q63 และต่อเนื่อง 4Q63 หลังสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น จนทำให้ทุกภาคธุรกิจทั้งอสังหาฯ และธุรกิจอื่น โดยเฉพาะธุรกิจศูนย์การค้า, ค้าปลีก และโรงแรม กลับมาดำเนินกิจการตามปกติ โดยภาคอสังหาฯ จะเห็นการเปิดตัวโครงการใหม่มากขึ้นจาก 1H63 ประกอบกับรอบธุรกิจอสังหาฯ ที่โดยปกติช่วงครึ่งหลังของปีจะดีกว่าครึ่งปีแรก สืบเนื่องจากมีหลายโครงการคอนโดฯ ใหม่มีกำหนดสร้างเสร็จพร้อมโอนฯ ในช่วง 2H โดยเฉพาะไตรมาส 4 ก็น่าจะหนุนให้การดำเนินงาน 4Q63 เป็นจุดสูงสุดของปี
ด้วยราคาหุ้นในกลุ่มที่ Underperform ตลาดฯ พิจารณาจาก SETPROP YTD ปรับลดลง 26% (เทียบกับ SET Index ลงไป 18%) ทำให้ Valuation ยังมีความน่าสนใจ และอัตราเงินปันผลสูงเฉลี่ยกว่า 5% ต่อปี ถือเป็นปัจจัยหนุนต่อการลงทุน ภายใต้ภาวะดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง โดยฝ่ายวิจัยเลือกลงทุนหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ได้แก่ AP ([email protected]) จากจุดเด่นที่มีพอร์ตสินค้าทั้งแนวราบและคอนโดฯ ครอบคลุมทุกระดับราคา และมี Backlog สูง 4.6 หมื่นล้านบาท คาดผลประกอบการ 2H63 ยังมีแรงหนุนจากแนวราบและการโอนฯ คอนโดฯ ใหม่ ด้านราคามี PER ซื้อขาย 5-6 เท่า และ Div Yield สูง 6.8% นอกจากนี้ยังแนะนำเก็งกำไร NOBLE (อ่านเพิ่มเติม NEWSPLUS ฉบับวันที่ 3 ก.ย. 2563) จากแรงสนับสนุนของปัจจัยพื้นฐานที่คาดกำไร 2H63 จะฟื้นตัวเด่นชัดจาก 1H63 ผลจากการส่งมอบ 3 คอนโดฯ ใหม่ รวมถึงการเข้าถือหุ้นของนักลงทุนรายใหญ่ ด้านราคาหุ้นยัง Undervalue มี PER ซื้อขาย 3-4 เท่า และคาดเงินปันผล 2H63 อย่างน้อย 1 บาท (1H63 จ่ายไปแล้ว 1.1 บาท และทั้งปีผู้บริหารคาด 2-2.5 บาท/หุ้น) คิด Div Yield ทั้งปีสูงกว่า 10%
รายละเอียดมาตรการ LTV
ที่มา: ASPS รวบรวม
หลบการเมืองที่ผันผวน ด้วยหุ้นเด่นต่างชาติถือน้อย BEM MCS
หนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือ สถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงขึ้น ซึ่งใกล้ถึงการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษา ในวันที่ 19 ก.ย. 63 ขณะที่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ดูเป็นเรื่องยากที่ทางฝั่งรัฐบาลจะตอบสนอง
ปัจจัยดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับตลาดหุ้น ฝ่ายวิจัยจึงทำการศึกษาข้อมูลอดีตในช่วงเวลา 1 เดือนแรกของเหตุการณ์การชุมนุมสำคัญๆ พบว่า มีหลายปัจจัยที่กดดัน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากกว่าปกติ ดังนี้
• ค่าเงินบาทมักอ่อนค่า ในช่วงเวลา 1 เดือน หลังมีการชุมนุม ค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 2.2% แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท มีส่วนกดดันให้ Fund Flow มีโอกาสชะลอการไหลเข้า เนื่องจากทำให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
• ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยหนัก ในช่วงเวลา 1 เดือนหลังมีการชุมนุมต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ย -2.08 หมื่นล้านบาท แสดงให้เห็นว่าต่างชาติไม่ชอบความเสี่ยง และมักจะลดน้ำหนักลงเวลาเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง
• เบี้ยประกันความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ไทย (CDS Spread 5 ปี) เร่งตัวขึ้นทุกรอบที่มีการชุมนุม ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุมเฉลี่ยราว 25 bps. สะท้อนให้เห็นถึงภาพความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสูงตามขึ้นไปด้วย
• SET Index ตอบสนองเชิงลบ ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.9% ในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม ประเด็นทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา เป็นตัวกดดันให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนและปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ
ผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองในแต่ละครั้ง
ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
หมายเหตุ : ช่วงการชุมนุม นปช. เป็นช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อแก้ Humburger Crisis ทำให้มีสภาพคล่องส่วนเกินไหลเข้าตลาดหุ้นทั่วโลก
สรุปคือ ตลาดหุ้นไม่ค่อยชอบความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเหตุการณ์ทางการเมือง ที่หัวเรือในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกมุมหนึ่งฝ่ายวิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบในอดีตช่วงเวลาที่มีเหตุร้อนแรงทางการเมือง พบว่า เงินบาทอ่อนค่า ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะทำให้ Fund Flow ไหลออก และกดดันให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ
ดังนั้นนักลงทุนจะต้องติดตามประเด็นการเมืองอย่างใกล้ชิด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน เพื่อที่จะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่สำคัญคือ ต่างชาติถือครองน้อยกว่าค่าเฉลี่ยตลาดฯ เพื่อลดความผันผวนจากแรงขายของต่างชาติ อย่าง SVI, DCC, MCS, BEM, STGT และ DCC โดย Top pick ในวันนี้ยังเลือก BEM, MCS
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web