- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 10 September 2020 18:57
- Hits: 2371
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 10-9-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ความกังวลต่อการฟื้นต่อเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่ผันผวนจะกดดันตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา แต่เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากบางหน่วยงานทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยปี 2563 กลยุทธ์แนะนำหุ้นที่ไม่ได้แปรผันตามราคาน้ำมัน และยัง Laggard พื้นฐานอยู่มาก อย่าง BEM และยังชื่นชอบ MCS, AP เป็น Top Picks
แรงกดดันตลาด ...ผ่อนลง
แม้ช่วงก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับหลายปัจจัยลบ ทั้งประเด็นการเมืองและราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรงกว่า 14%(mtd) อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแสงสว่าง จากหน่วยงานบางแห่งเริ่มทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยปี 2563 นั้นคือ ม.หอการค้าไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีโอกาสหดตัวน้อยลงที่ 7.5% จากก่อนหน้าที่คาดไว้ 8% ถึง 10% จากภาครัฐผ่อนคลายล็อคดาวน์ และเฝ้ารอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คาดว่ามีรายละเอียดมากขึ้น หนุนให้ Downside ของ SET Index ค่อนข้างจำกัด โดยฝ่ายวิจัยประเมินแนวรับของวันนี้ไว้ที่ 1276 ถึง 1308 จุด คาดทิศทางของดัชนีจะสามารถพยุงตัวและปรับขึ้นได้ต่อเล็กน้อย ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนกลยุทธ์แนะนำหุ้นที่ไม่ได้แปรผันตามราคาน้ำมัน และยัง Laggard เมื่อเทียบกับปริมาณผู้โดยสาร อย่าง BEM ขณะที่ผลประกอบการณ์งวด 3Q63 คาดโดดเด่นจากปริมาณผู้ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้า เดือน ส.ค. ฟื้นตัวดีต่อเนื่อง ส่วนพอร์ตจำลองวันนี้ แนะนำลดน้ำหนัก SVI 5% แล้วลงทุนเพิ่มใน BEM แทนในสัดส่วนที่เท่ากัน โดยเลือก MCS, BEM และ AP เป็น Toppicks
คืนนี้ให้น้ำหนักการประชุม ECB และตัวเลขแรงงานสหรัฐ
ปัจจัยต่างประเทศวันนี้สิ่งที่ตลาดหุ้นทั่วโลกน่าจะให้น้ำหนัก 3 ประเด็น คือ
การประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) เวลา 18.45 โมง ตลาดคาดยังนโยบายการเงินเหมือนเดิม คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% และอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility rate ที่-0.5% แต่ประเด็นสำคัญ คือ การรายงานคาดการณ์ GDP Growth และ Inflation และประธาน ECB จะมีการส่งสัญญาณผ่อนคลาย หรือคงดอกเบี้ยต่ำหรือไม่ (หลังจากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า สหรัฐ Fed ออกมาปรับเป้าเงินเฟ้อ Flexible จากเดิมกำหนดคงที่ 2%) หากออกมาโทนผ่อนคลายเหมือน Fed สิ่งที่เกิดกับตลาดคาด ASPS คาด ค่าเงินยูโรอ่อนค่า หนุนให้ Dollar แข็งค่า กดดันราคาน้ำมัน และทองคำ อีกทางหนึ่ง จะหนุนให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งจะดีต่อหุ้นส่งออก (กลุ่มชิ้นส่วน และส่งออกอาหาร)
ตัวเลขแรงงานสหรัฐ คือ Initial Jobless claim สัปดาห์ล่าสุด ตลาดคาดยังเพิ่มขึ้น 8.46 แสนราย แต่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า หากตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด จะหนุนให้ Dollar แข็งค่า
สต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐ EIA คาดจะออกมา –1.3 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า -9.3 ล้านบาร์เรล
เริ่มเห็นการทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยปี 2563 ถือเป็นสัญญาณบวก
เศรษฐกิจไทย GDP ปี 2563 ต้นปี Consensus คาดเฉลี่ย 3% และผลกระทบCovid-19 ทำให้เห็นการปรับลด GDP ลงมาเรื่อยๆ (ดังรูปด้านล่าง) ล่าสุด คาดเฉลี่ย -7.2%(IMF คาด –7%yoy ASPS คาด -8.4%) เมื่อเทียบกับ GDP 1H63 เฉลี่ย -7.1%
Consensus คาดการณ์ GDP Growth ไทยปี 2563 - 2564
ที่มา: Bloomberg, ASPS
ล่าสุด เริ่มเห็นบางหน่วยงานทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยปี 2563 คือ เมื่อวานนี้ ม.หอการค้าไทย รายงานคาดการณ์ GDP รอบใหม่ออกมาติดลบน้อยลงเหลือ -7.5%yoy จากเดิมคาด -9%
โดยปัจจัยหนุนหลักๆมาจากความเชื่อคล้าย ASPS ที่เคยนำเสนอก่อนหน้าคือ
รัฐผ่อนคลาย Lockdown เศรษฐกิจต่อเนื่อง และเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในส่วนของการบริโภค สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) ล่าสุด เดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน Sentiment บวกต่อหุ้นค้าปลีก CPALL, CRC
การผลักดันเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะขาดขุนพลสำคัญชั่วคราว คือ รัฐมนตรีคลัง แต่เป็นที่สังเกตว่ารัฐบาลยังเดินหน้า เตรียมแผนจะผลักดันเม็ดเงินกระตุ้นเศรษบกิจออกมาอย่างไม่ขาดช่วง ล่าสุด วานนี้สภาพัฒน์เผย Timeline การเร่งเบิกจ่าย พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน (ดังรูป) ที่จะออกมาในเดือน ก.ย.-ต.ค.63 (จากปัจจุบันนับตั้งแต่มีแผน พรก.1 ล้านล้านบาท พบว่ามีเม็ดเงินเบิกจ่าย + อนุมัติยังไม่เบิกจ่ายรวมราว 3.86 แสนล้านบาท ราว 38.6%ของวงเงิน 1 ล้านล้านบาท )
ความคืบหน้าของ พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน
ที่มา: สศช, 10 ก.ย. 2563
เยียวยาประชาชน: อนุมัติไปแล้ว 3.45 แสนล้านบาท เช่น โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชน และเกษตรกร 5,000 บาท, โครงการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการ, โครงการช่วยเหลือผู้สูงอายุ, ผู้พิการ และเด็กแรกเกิด
- • ฟื้นฟูเศรษฐกิจ: เป็น Hi-light ที่รัฐบาลจะเร่งอนุมัติและเบิกจ่ายเงินในส่วนนี้ในเดือน ก.ย.- ต.ค. หลักๆ จะเน้นไปที่การจ้างงาน และภาคการท่องเที่ยวสถานะล่าสุด คือ อนุมัติวงเงินไปแล้ว 4.31 หมื่นล้านบาท เช่น โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว (เราเที่ยวด้วยกัน และกำลังใจ), โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เช่น 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่, โคก หนอง นา โมเดล, โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ, โครงการพัฒนาป่าไม้ สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
- • สาธารณสุข: อนุมัติไปแล้ว 102 ล้านบาท เช่นโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19, โครงการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ในการป้องกันและการตรวจโรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นต้น และงบบางส่วนกันไว้ใช้สำหรับแจกจ่ายวัคซีน
โดยรวม ASPS ถือว่าการ Upgrade คาดการณ์ GDP Growth ดังกล่าวถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี + โดยเชื่อว่ามีโอกาสที่จะเห็นสำนักเศรษฐกิจอื่นอาจจะเริ่มปรับเพิ่มตาม ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ชื่นชอบ BBL (Buy: FV@B 122) Valuation จูงใจ PBV 0.44 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 ปี ราว 2 SD อีกทั้งมีจุดเด่นจากพอร์ตสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งกว่า SME ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและโลกยุคหลัง COVID-19
ค้นหาความสัมพันธ์หุ้นไทยกับราคาน้ำมัน
ช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกผันผวนมาก โดยปรับตัวลดลงไปถึง 14% ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา และวานนี้ฟื้นกลับขึ้นมาราว 3% โดยฝ่ายวิจัยเล็งเห็นถึงราคาน้ำมันที่อยู่ในภาวะที่ผันผวน จึงทำการศึกหาความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นไทยกับราคาน้ำมัน ผ่านการหาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เพื่อที่จะช่วยให้ตัดสินใจในการเข้าลงทุนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
เริ่มจากตลาดหุ้นไทยมีค่า Correlation กับราคาน้ำมันสูงถึง 0.86 (ยิ่งใกล้ 1 ยิ่งเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันมาก) เนื่องจาก SET Index มีสัดส่วนหุ้นที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ถึง 1 ใน 4 ส่วนของหุ้นทั้งหมด ทำให้ดัชนีมักจะแปรผันตามราคาน้ำมัน รวมราคาน้ำมันมักจะปรับตัวขึ้นในเวลาที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เช่นเดียวกับ SET Index เนื่องความต้องการใช้ที่มากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง SET กับราคาน้ำมัน WTI (ย้อนหลัง 5 ปี)
ที่มา: ฝ่ายวิจัย ASPS
และหากวิเคราะห์เจาะลึกค้นหาความสัมพันธ์หุ้นไทยกับราคาน้ำมันเป็นรายหุ้น สามารถแบ่งความสัมพันธ์ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
หุ้นที่มักปรับตัวขึ้นได้ดีในภาวะที่น้ำมันเป็นขาขึ้น (Correlation > 0.7) คือ PTTEP, IVL, PTT, PTTGC, TOP, IRPC และ BANPU (เรียงลำดับ Correlation จากมากไปน้อย)
หุ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบในยามที่ราคาน้ำมันผันผวน (0 < Correlation < 0.1) คือ BEM, BH, CPF, MAJOR, BTS และ TTW (เรียงลำดับ Correlation จากน้อยไปมาก)
หุ้นที่มักปรับตัวขึ้นได้ดีในภาวะที่น้ำมันเป็นขาลง (Correlation < 0) คือ TASCO, EPG, AAV, THAI (เรียงลำดับ Correlation จากน้อยไปมาก)
ดังนั้นในยามที่ราคาน้ำมันยังผันผวน ตามความไม่แน่นอนของตัวเลขเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นของโลก กลยุทธ์แนะลงทุนหุ้นในชุดที่ไม่ได้รับผลกระทบในยามที่ราคาน้ำมันผันผวน (0 < Correlation < 0.1) อย่าง BTS และ BEM ซึ่งราคาหุ้นยัง Laggard จำนวมผู้โดยสารที่กลับมาฟื้นตัวใกล้ภาวะปกติอยู่มาก
กลุ่มขนส่งทางบก นาทีนี้ต้อง BEM
ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าและทางด่วนเปรียบเทียบกับราคาหุ้น BEM และ BTS รวมถึงความน่าสนใจในมิติอื่นๆ ประเมินว่า BEM และ BTS ยังมีความน่าสนใจที่จะเข้าลงทุน แต่ BEM โดดเด่นกว่าหลักๆ พิจารณาจาก
ความสัมพันธ์ราคาหุ้น VS ปริมาณผู้โดยสาร จากกราฟด้านล่างจะเห็นว่าปริมาณผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ BEM ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือน มี.ค.-พ.ค. โดยล่าสุดสถิติเดือน ส.ค.63 ปริมาณผู้ใช้ทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินคิดเป็น 93% และ 85% ของปีก่อน ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวของ BTS ฟื้นตัวกลับมาเช่นกัน แต่อาจจะช้ากว่า อยู่ที่ราว 70% ของปีก่อน คาดว่าปัจจัยที่แตกต่างเกิดจากการที่ BEM เปิดส่วนต่อขยาย Section 3 (เตาปูน-ท่าพระ) รวม 10 สถานี ในเดือน มี.ค.63 ซึ่งทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้บริการครบโครงข่าย ขณะที่ BTS เปิดส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือเพิ่มเพียง 4 สถานี (สถานีกรมป่าไม้-วัดพระศรีฯ)
ราคาหุ้น BEM เทียบกับปริมาณการใช้ทางด่วน
ราคาหุ้น BEM เทียบกับจำนวนผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน
ที่มา: BEM, Bloomberg ที่มา: BEM, Bloomberg
ผลประกอบการณ์งวด 3Q63 : BEM โดดเด่นมาก โดยมีปัจจัยหนุนจาก
1.) ปริมาณผู้ใช้ทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้า เดือน ส.ค. ฟื้นตัวดีต่อเนื่องหลังจากเปิดให้ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติรวมถึงการเปิดภาคเรียน 2.) บันทึกเงินปันผลงวดครึ่งปีจากบริษัทลูก TTW ราว 220 ล้านบาท 3) ค่าตัดจำหน่ายทางด่วนศรีรัช ส่วน เอ บี ซี ตัดจำหน่ายหมดปีแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ.63 ช่วยประหยัดต้นทุนราว 500 ล้านบาท 3.) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่อยู่ระหว่างประมูล มีกำหนดยื่นซอง 6 พ.ย.63 หาก BEM เป็นผู้ชนะประเมิน Upside เพิ่มเติมจาก Fair value ปัจจุบันราว 2 บาท ส่วน BTS งบ 3Q63 เชื่อว่ายังโดนกดดันจากธุรกิจสื่อโฆษณาของ VGI และอสังหาริมทรัพย์ของยูซิตี้ที่ภาพการฟื้นตัวยังเป็นแบบค่อยเป็นค่อย ไป
Valuation พบว่า BEM ยังมี Upside ให้เข้าลงทุนได้ราว 11%(ยังไม่รวมUpside เพิ่มเติมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม) ขณะที่ BTS ยังมี Upside ให้เข้าลงทุนได้ราว 13.7%
ซื้อ SCC วันนี้ ไม่ได้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน SCGP แต่คาดผลกระทบต่อราคาหุ้นไม่มาก
การที่ SCC นำบริษัทลูกคือ SCGP ซึ่งเป็นให้บริการโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้น SCC จองซื้อหุ้น IPO ได้ในอัตราส่วน 7.095 หุ้น SCC : 1 หุ้น SCGP กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XB ( วันที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ) วันที่ 10 ก.ย. 63 ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าจะกระทบต่อราคาหุ้น SCC ไม่มาก บนสมมุติฐานว่าหุ้น SCGP น่าจะกำหนดราคา IPO โดยให้ส่วนลดจากมูลค่าเหมาะสมประมาณ 15% ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไป หากอ้างอิงจากราคาเหมาะสมของ SCGP ที่ฝ่ายวิจัยคำนวณภายใต้วิธี Discount Cash Flow ที่ 41 บาท (เทียบเท่า PER ปี 2564 ที่ 21.75 เท่า) ทำให้สิทธิประโยชน์ที่ผู้ซื้อหุ้น SCC วันนี้จะไม่ได้รับจากการไม่ได้สิทธิ์ซื้อหุ้น SCGP น่าจะกระทบต่อราคาหุ้น SCC ประมาณ 0.75-1 บาท/หุ้น ขณะที่ฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำซื้อ SCC (FV@B 424 ) ด้วยพื้นฐานธุรกิจที่มั่นคง และสามารถสร้างกำไรเติบโตในระยะยาวควบคู่กับการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web