- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 17 August 2020 13:09
- Hits: 5247
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 17-8-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ภาพรวม SET Index ถูกปกคลุมด้วยหลายแรงกดดัน ทั้งกำไร 2Q63 ที่หดตัว 56%YoY นำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรปี 2563 ลง, GDP งวด 2Q63 ที่จะประกาศวันนี้ฝ่ายวิจัยประเมิน -15%YoY และสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรง คาด SET Index ปรับฐานต่อ กลยุทธ์การลงทุน วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตจำลอง ส่วนหุ้น Top Pick เลือก BEM, IVL และ TKN
การเมืองอาจเป็นตัวแปรที่กดดันเศรษฐกิจ รวมถึง SET Index
กำไรบริษัทจดทะเบียน พบว่ามีการประกาศตัวเลขออกมาแล้ว 497 บริษัท คิดเป็น 95% ของ Market Cap มีกำไรสุทธิ 9.1 หมื่นล้านบาท -10% QoQ และ -56% YoY ประเมินว่าเมื่อประกาศครบก็น่าจะได้ตัวเลขใกล้เคียง 1 แสนล้านบาทตามคาด ทั้งนี้ต้องรอติดตามว่าหลังการประชุมร่วมกับบริษัทจดทะเบียนแล้ว นักวิเคราะห์จะมีการปรับประมาณการอย่างไร จากฐาน EPS ปี 2563 เดิมที่ทำไว้ 64 บาท เบื้องต้นเป็นไปได้ที่จะเห็นปรับลดลงมาต่ำกว่า 60 บาท/หุ้น อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องติดตามเป็นเรื่องการเมืองในประเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าสถานการณ์โดยภาพรวมมีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา หลายสถาบัน รวมถึงภาคประชาชนอื่นๆ และได้มีการสร้างข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งดูเหมือนว่าจะตอบสนองได้ยาก ทั้งนี้หากพิจารณาในมุมมองทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงอย่างมาก เพราะหากเกิดเหตุปัจจัยที่ทำให้การดำเนินมาตรการต่างๆ ทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวไม่สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันเลวร้ายลงได้และจะกระทบต่อ SET Index ในที่สุด วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต Top Pick เลือก BEM, IVL และ TKN
คาดการณ์ GDP Growth รายไตรมาส (YoY)
ที่มา: ASPS Research
เลื่อนการประชุมข้อตกลงการค้า สหรัฐฯ-จีน ออกไป ลดแรงกดดัน
วันเสาร์ที่ผ่านมาสหรัฐ-จีนเลื่อนการประชุม(Review) ข้อตกลงการค้าเฟส 1 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากฝั่งสหรัฐต้องการให้เวลาจีนมากขึ้นในการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ (เศรษฐกิจจีนได้รับผล Covid-19 ทำให้นำเข้าสินค้าจากสหรัฐไม่เป็นไปตามเป้า) : ASPS ประเมินว่าเป็น (+) เพราะแรงกดดันจากกระแส Trade war ลดลงในช่วงสั้น โดยสิ่งที่ตลาดกังวลในครั้งนี้คือ ทั้ง 2 ฝั่งตกลงกันไม่ได้ และทั้ง 2 ฝั่งกลับมาขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่เหลือ คือ รอบ 4.2 ของทั้ง 2 ฝั่งที่ยังไม่มีการเก็บ แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าฝั่งสหรัฐหันกลับไปกดดันจีน และปลุกกระแส Tech war ขึ้นมาอีกครั้ง โดยยัง Focus ไปที่บริษัท Technology และ Ecommerce ของจีน ล่าสุด ในวันเดียวกันประธานาธิบดีทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่าตนกำลังพิจารณาแบนกิจการของบริษัทด้านเทคโนโลยีจีน (Tech จีน) เช่น Alibaba ฯลฯ (ผู้ให้บริการด้าน E-commerce รายใหญ่ของจีน) และอื่นๆ ในอนาคต หลังจากก่อนหน้าสั่งแบน Application Tik Tok และ WeChat โดยถือว่ายังเป็นความเสี่ยงต่อหุ้นกลุ่ม Technology อื่นๆ ที่อาจจะโดนหางเลข
Timeline ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนในปี 2563
ที่มา: ASPS รวบรวม
เช้านี้ .... ติดตามประกาศ GDP งวด 2Q63 คาด -15%YoY
ปัจจัยในประเทศวันนี้ช่วงเวลา 9.30 น. ประเด็นที่ให้น้ำหนัก 2 ประเด็นสำคัญ คือ
สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP งวด 2Q63 ของไทย : ASPS คาดหดตัว 15%yoy และหดตัว 18.9%qoq อยู่ที่ 2.26 ล้านล้านบาท(เทียบกับ Bloomberg Consensus คาดเฉลี่ย –13.7%yoy และ -12%qoq) โดย ASPS ประเมินงวด 2Q63 เป็นจุดต่ำสุดของปี (Bottom) ภายใต้สมมติฐาน 1.) ไม่มีการ Lockdown เศรษฐกิจรอบ 2 2.) สถานการณ์การเมืองยืดเยื้อ รุนแรง และกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยประเมินงวด 3Q-4Q63 เศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัว QoQ ผลจากรัฐผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ แต่ yoy คาดหดตัว 8.5%yoy และ 6% ตามลำดับ
คาดการณ์ GDP รายไตรมาสปี 2563
ที่มา: ASPS
รัฐมนตรีคลังท่านใหม่จะเข้ากระทรวงวันแรก และประชุมมอบนโยบายกับผู้บริหารระดับสูงแต่ละฝ่ายของกระทรวงการคลัง (อ้างอิงจาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ คือในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้บริการสูงสุดของหน่วยงานรัฐ อาท กลต. ธนาคารออมสิน ฯลฯ ทยอยเข้าพบ และ Update สถานการณ์)
ASPS ประเมินเป็น Sentiment เชิง + และคาดการณ์ว่าทีมเศรษษฐกิจชุดใหม่เตรียมจะผลักดันมาตรการกระตุ้นทุกภาคส่วน การบริโภค การท่องเที่ยว, ภาคอสังหาริมทรัพย์, ภาคยานยนต์, การพักชำระหนี้ และด้านตลาดทุน (ดังตาราง)
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังพิจารณา
ที่มา: ASPS รวบรวม
การเมือง Fund Flow และตลาดหุ้น
เหตุการณ์การเมืองที่มีความร้อนแรงขึ้น เริ่มเห็นการออกมาชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 63 เป็นต้นมา ถือเป็นหนึ่งประเด็นที่นักลงทุนให้ความสำคัญในตอนนี้
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ตอนช่วง 1 เดือนแรกของเหตุการณ์การชุมนุมสำคัญๆ ว่า การเคลื่อนไหวของ SET Index และ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติ ตอบสนองอย่างไร?
หลังการชุมนุม 1 เดือนส่งผลต่อ SET Index และเม็ดเงินต่างชาติอย่างไร
ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
Fund Flow ช่วงการชุมนุม นปช.ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ
ผลลัพธ์คือ การเริ่มต้นชุมนุนในอดีต ทั้งในช่วง พ.ค. 2551 , มี.ค. 2553 และ ต.ค. 2556 SET Index ตอบสนองเชิงลบในช่วง 1 เดือนหลังชุมนุม ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 3.87% โดย 1 เดือนหลังชุมนุมปี 51 SET Index ลดลง 12.2%, ปี 53 เพิ่มขึ้น 4.2% (เป็นช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อแก้ Humburger Crisis ทำให้มีสภาพคล่องส่วนเกินไหลเข้าตลาดหุ้นทั่วโลก) และ ปี 56 ลดลง 4.2% ขณะที่ภาพรวม Fund Flow ชะลอการไหล โดยมียอดซื้อสุทธิเฉลี่ยเพียง -2.08 หมื่นล้านบาท โดย 1 เดือนหลังชุมนุมปี 51 ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย -4.2 หมื่นล้านบาท, ปี 53 ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.9 หมื่นล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ) และ ปี 56 ต่างชาติขายสุทธิ -5.0 หมื่นล้านบาท
สรุปคือ นักลงทุนส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักกับประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง สะท้อนจากข้อมูลการเคลื่อนไหวของ SET Index และ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนใหญ่จะตอบสนองในเชิงลบ ดั้งนั้นการชุ่มนุมในปัจจุบันถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันการเคลื่อนไหวของดัชนี
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
_________
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web