- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 31 July 2020 21:08
- Hits: 7314
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 31-7-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วานนี้ SET ปรับตัวลงตามภูมิภาค จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยภาคบ่ายเยอรมนีรายงาน GDP 2Q63 ติดลบ 10.1%QoQ โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,315.74 (-22.61 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 5.6 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 1,962 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 1,459 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 9,013 สัญญา)
GLOBAL (ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 19 บาท) กำไรสุทธิ 2Q63 ดีกว่าตลาดคาด 33% โดยอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น เป็น 23.8% (New high) และคาดครึ่งปีหลังจะยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับสูงได้ ผสานยอดขายฟื้นตัวหลังปลด Lockdown
แม้ 2Q63 GDPโลกอ่อนแอ แต่คาดเป็นจุดต่ำสุดของปี : ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วง 2Q63 หดตัวแรง โดยวานนี้ เยอรมนี รายงาน 2Q63 GDP ที่ -10.1%QoQ (ตลาดคาดที่ -9%) ส่วนทางด้านสหรัฐฯรายงาน 2Q63 GDP ที่ -32.9%QoQ (ตลาดคาดที่ -34.5%) ถือเป็นการหดตัวมากสุดตั้งแต่มีการบันทึกตัวเลขตั้งแต่ปี 1947 กดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ย่อตัว -0.85% แต่อย่างไรก็ดีเราคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเป็นจุดต่ำสุดของปี และคาดฟื้นตัวขึ้นใน 3Q63 (Bloomberg consensus ประเมิน 3Q63 US GDP กลับมาฟื้นตัว +18%QoQ) ส่วนสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย วานนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ลงสู่ระดับ -8.5%YoY และประเมินว่า 2Q63 จะติดลบมากกว่า 10%YoY ซึ่งมุมมองดังกล่าวถือว่าใกล้เคียงกับ เรา และ ธปท.ที่คาด GDP ปีนี้จะอยู่ที่ -7.3% และ -8.1%YoY และจะเป็นจุดต่ำสุดเช่นเดียวกับสหรัฐฯ โดยตัวเลขของไทยจะรายงานวันที่ 17 สค.นี้ ดังนั้นจึงประเมินเป็นปัจจัยกดดันเพียงระยะสั้นเท่านั้น และเชื่อว่าในช่วงถัดไปตลาดจะยังมีโอกาสแกว่งขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลัง
กลยุทธ์การลงทุน
มีหุ้น : รอจังหวะที่ดัชนีเด้งกลับ แล้วทยอยลดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้
ไม่มีหุ้น : เน้นเป็นลักษณะ Trading เก็งกำไรระยะสั้นบนหุ้นที่ยังแนวโน้มเป็นบวกเท่านั้น
GLOBAL ครึ่งแรกกำไรยังโต มาร์จิ้นฟื้นดัน EBITDA พุ่ง (ทันหุ้น)
ความเห็น : แม้ปิดสาขาบางส่วนในช่วงล็อกดาวน์ แต่กำไร 2Q63 ลดลงเพียง 3% YoY ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ 33% เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 426bps YoY เป็น 23.8% แนวโน้ม 2H63 กำไรดียิ่งขึ้น เนื่องจากสาขากลับมาเปิดตามปกติและอัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง แนะนำ Trading Buy
ออมสินป่วน!ทำวงแตก หุ้นรูดปรื๊ดจำนำรถทรุด KTC-SAWAD-MTC ร่วงระนาว/SINGER ลั่น!ไม่กระทบ (ข่าวหุ้น)
ความเห็น : เรามองประเด็นนี้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอย่างจำกัด โดยเฉพาะ SINGER ที่ปัจจุบันคิดดอกเบี้ยจำนำทะเบียนรถที่ 15% ใกล้กับโครงการของธนาคารออมสิน ขณะที่อิงลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า Non-bank อื่นในกลุ่ม เรายังคงมุมมองบวกต่อผลประกอบการใน 2Q63 ที่คาดรายงานกำไรสูงสุดสถิติใหม่ โดยเฉพาะยอดขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเหมาะสม 17.70 บาท
Berli Jucker (BJC)
กำไร 2Q63 มีแนวโน้มต่ำกว่าที่เคยคาด
Results Preview
ประเด็นการลงทุน
การล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของ BJC มากกว่าที่เราเคยคาด ทั้งธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และบิ๊กซี อย่างไรก็ดี กำไรมีแนวโน้มฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q63 เป็นต้นไป เนื่องจากคำสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์แก้วและกระป๋องกลับมาเป็นปกติ ยอดขายของบิ๊กซีและรายได้ค่าเช่าฟื้นตัวขึ้น อัตรากำไรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเน้นขายสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงและประสิทธิภาพการผลิตกระป๋องสูงขึ้น เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF) 48 บาท
คาดกำไร 2Q63 ลดลง 69% YoY
ในช่วงล็อกดาวน์บิ๊กซีไม่ได้ปิดสาขา แต่มีการปิดโซนที่ขายสินค้าไม่จำเป็น และได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง คาดว่าจะทำให้ SSSG ติดลบประมาณ 16% รายได้ค่าเช่า (มีอัตรากำไรสูง) ลดลงจากการปิดพื้นที่เช่า ขณะที่ BJC มียอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วและกระป๋องชะลอตัวลง เช่นเดียวกับยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย แต่ยอดขายในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่เวียดนามฟื้นตัวเร็วหลังการระบาดของโควิด-19 เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นของ BJC ลดลง 140bps Yoy เป็น 18.6% จากยอดขายที่ลดลงและการที่บิ๊กซีขายสินค้าอัตรากำไรต่ำได้เพิ่มขึ้น เช่น สินค้าที่ขายให้ลูกค้า B2B และเครื่องใช้ไฟฟ้า เราจึงคาดว่ากำไรสุทธิ 2Q63 ลดลง 63% QoQ และ 69% YoY เป็น 468 ล้านบาท
บิ๊กซีฟื้นตัวจากทั้งยอดขายและอัตรากำไร
เราคาดว่ายอดขายของบิ๊กซีฟื้นตัวดีขึ้นใน 2H63 หลังคลายล็อกดาวน์และเปิดเทอม โดยในเดือน ก.ค. SSSG ติดลบน้อยลง มีการปรับเปลี่ยนประเภทสินค้ามาเน้นสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงซึ่งจะทำให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับมีการเปิดสาขาใหม่ 2 สาขา ส่วนธุรกิจให้เช่าพื้นที่ยังไม่กลับสู่ปกติ แต่แนวโน้มค่อยๆฟื้นตัว โดยอัตราเข้าเช่าเพิ่มขึ้นมาสูงกว่า 90% และให้ส่วนลดค่าเช่าน้อยลง
คำสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์แก้วและกระป๋องกลับมาในช่วง 2H63
ธุรกิจกระป๋องมี Momentum ค่อนข้างดีจากการมีลูกค้ารายใหม่ ผลิตสินค้ากลุ่มใหม่ เช่น เบียร์ กาแฟ น้ำมะพร้าว และมีการผลิตกระป๋องขนาดใหญ่ อีกทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีอัตรากำไรดีและประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นจากการผลิตปริมาณมาก ทำให้อัตรากำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วได้รับคำสั่งซื้อกลับมาปกติใน 2H63
ความเสี่ยง: การระบาดโควิด-19 รอบ 2 ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web