- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 July 2020 13:59
- Hits: 1072
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 30-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจะมีแนวโน้มไม่สดใส แต่ด้วยสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่จำนวนมากในระบบ ช่วยทำให้ Downside ของ SET Index จำกัด และมีโอกาสที่จะช่วยขับเคลื่อนตลาดฯ ในระยะต่อไป วานนี้พอร์ตจำลองได้ Cut Loss หุ้น BGRIM แนะนำให้ย้ายเงินเข้าลงทุนใน CPALL ส่วน Top Pick เลือก AP, CPALL และ SCCC
สภาพคล่องส่วนเกิน ช่วยจำกัด Downside ให้ SET Index
ผลการประชุม Fed ยังมีท่าทีใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบต่อเนื่อง ทำให้เงิน USD อ่อนค่าโดย Dollar Index ลงมาอยู่ที่บริเวณ 93.4 - 93.5 และยังมีโอกาสที่จะอ่อนค่าลงได้อีก สถานการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ Fund Flow ไหลออกจากสกุล USD โดยที่ผ่านมาไหลเข้าทองคำ ส่วนในระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็น่าจะเป็นเป้าหมายหนึ่งได้เช่นกัน ทั้งนี้จากการตรวจสอบสถานะการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยพบว่า ณ สิ้นเดือน มิ.ย.63 อยู่ที่ระดับ 26.13% (แยกเป็นสัดส่วนที่ปิดโอน 20.64% และถือผ่าน NVDR 5.5%) ซึ่งถือระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนภาพนักลงทุนต่างชาติที่ Underweight ตลาดหุ้นไทยมากเกินจริง ส่วนเม็ดเงินของนักลงทุนในประเทศก็มีโอกาสที่จะค่อยไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเพิ่มได้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เชื่อว่า Downside ของตลาดหุ้นไทยมีอยู่จำกัด พอร์ตการลงทุนวานนี้ได้ Cut Loss หุ้น BGRIM ให้นำเงินที่ได้เข้ามาลงทุนใน CPALL ส่วน Top Pick เลือก AP, CPALL และ SCCC
Fed ยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง กดเงิน USD อ่อนค่า
เศรษฐกิจทั่วโลกปี 2563 ชะลอตัว ผลจาก Covid-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลงและคาดว่าจะใช้เวลานานกว่าจะกลับไปที่เดิม โดยปัจจุบันสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกยังน่ากังวล สะท้อนจาก เดือน ก.ค. เฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 แสนรายต่อวัน เทียบกับช่วงเดือน เม.ย.– พ.ค. 2563 ที่เฉลี่ยวันละประมาณ 80,000 ราย และการระบาด 2nd wave เริ่มกระจุกตัวอยู่ในแถบเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, และเวียดนาม ฯลฯ
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ดังกล่าว ทำให้ทุกประเทศยังมีความจำเป็นใช้นโยบายทางการเงิน และการคลัง กระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐ เมื่อคืนผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ
อัตราดอกเบี้ย : Fed คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0-0.25%(ต่ำสุดเป็นประวัติการร์) และประธาน Fed เน้นย้ำว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง
มาตรการด้านการอัดฉีดสภาพคล่อง ได้ประกาศขยายระยะเวลาไปจนถึงเดือน มี.ค. 2564 จากเดิมที่จะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2563 แบ่งเป็น :
มาตรการ QE : ขยายระยะเวลาการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 8 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยค้ำประกัน 4 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน และขยายมาตรการ Dollar swap lines (ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน Dollar กับธนาคารกลางประเทศอื่นๆ)
โดยภาพรวมจากปัจจัย 1.) ประธาน Fed ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในระยะยาวดังกล่าว 2.) Covid-19 ในสหรัฐที่นังเพิ่มขึ้น 3.)Trade war จีน-สหรัฐที่กลับมาร้อนแรงมากขึ้น ฯลฯ ส่งผลให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่นในค่าเงินสกุล USD และเกิดการเทขาย USD สะท้อนได้จาก Dollar Index อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง หรืออ่อนค่าราว 4%mtd และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ทำให้ในทางตรงกันข้ามสินทรัพย์ที่อิงกับดอลลาร์ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงเงินโยกย้ายไปอยู่ทั้งสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Heaven) และสินทรัพย์เสี่ยง แต่อยู่ใน (Safe Heaven) มากกว่า ดังนี้
ทองคำปรับขึ้น 10.35%mtd (ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์) อยู่ที่ 1965 เหรียญ
ราคาน้ำมันดิบ Dubai แกว่งตัวยืนเหนือ 40 เหรียญฯ อยู่ที่ 43.4 เหรียญฯ
สกุลเงินดิจิตอล อาทิ Bitcoin ปรับตัวขึ้นแรง 18.9%mtd เป็นต้น
ขณะที่ตลาดหุ้นโลก อย่าง MSCI ACWI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันราว 5.82%mtd และ SET index ที่ทรงตัว
อีกทางหนึ่งคืออัตราแลกเปลี่ยน :เงินสกุล USD ที่อ่อนค่าดังกล่าว และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อในอนาคต จะส่งผลให้สกุลเงินประเทศต่างๆมีแนวโน้มแข็งค่าต่อในช่วง 2H63
เงินล้นระบบ อาจเห็นการไหลกลับสินทรัพย์เสี่ยงบ้างในระยะถัดไป
การใช้นโยบายทางการเงินและการคลังของหลายๆประเทศ แบบจัดเต็ม รวมถึงเริ่มพัฒนาการวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดีขึ้นตามลำดับ หนุนสภาพคล่องส่วนเกินในช่วงนี้ล้นเข้ามาในระบบ ทั้งสินทรัพย์ปลอดภัยและสินทรัพย์เสี่ยง โดยน้ำหนักส่วนใหญ่ยังคงถูกเทไปที่สินทรัพย์ปลอดภัยเป็นหลัก (ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้า)
ฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่าหากประเมินความเสี่ยงจากผลกระทบ COVID-19 ที่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และกำไรบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจนขึ้น และอาจเห็นเม็ดเงินที่ล้นระบบไหลกลับสินทรัพย์เสี่ยงบ้างในระยะถัดไป ด้วย 3 เหตุผล ดังนี้
1. เดือน ก.ค. (mtd) เริ่มเห็น Fund Flow ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาค ในบางประเทศ หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องมานานนับตั้งแต่ต้นปี 2563 อาทิ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ถูกซื้อสุทธิ 665 ล้านเหรียญ และ ไต้หวัน 743 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
2. สัดส่วนการถือครองหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) อยู่ที่ 26.13% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และเริ่มชะลอการลดลงในช่วงเดือน ก.ค. นี้ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนการถือครองผ่าน NVDR อยู่ที่ 5.5% (ลดลงเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ที่ 5.53% ) และถือครองโดยตรงอีก 20.64% (ทรงตัวจากเดือน มิ.ย. )
3. มีโอกาสที่ดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำติดต่อกันยาวนาน เหมือนวิกฤติในอดีต เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.5% (คงที่ตลอด 2 ปี ครึ่ง), วิกฤติซับไพร์ม ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% (คงที่ตลอด 1 ปี)
อัตรดอกเบี้ยนโยบายของไทยตั้งแต่ปี 2542 – ปัจจุบัน
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา ช่วยสนับสนุนให้ช่วงถัดจากนี้ มีโอกาสเห็นการ Search For Yield ของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในตลาดหุ้นมากขึ้น โดยคาดว่า หุ้นที่เป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ของนักลงทุนต่างชาติ คือ หุ้นที่มีกำไรช่วง 2H63 เติบโตเด่น ชอบ CPALL รวมถึงปันผลสูง แนะนำ SCCC และ AP จึงถือเป็นโอกาสดี และแนะนำทยอยเข้าสะสมหุ้นดังกล่าว
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web