- Details
-
Category: บทวิเคราะห์
-
Published: Wednesday, 22 July 2020 18:47
-
Hits: 5756
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 22-7-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เชื่อว่าต้องให้น้ำหนักกับภาคเศรษฐกิจในประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน ทำให้มีโอกาสเห็นการกลับมาของ ช้อปช่วยชาติ ส่วนผลประกอบการ 2Q63 คาดหดตัวแรง แต่ก็มีบางรายที่กำไรโตสวนตลาด พอร์ตการลงทุนแนะนำขายทำกำไร SCCC, DCC และเข้าลงทุนใน CRC และ AP เลือกเป็น Top Pick
หวังมาตรการกระตุ้นจับจ่ายหนุน CRC ส่วน AP กำไรก็ดีเหลือเกิน
USD อ่อนค่าลงแรง หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง ทองคำ และน้ำมันปรับตัวขึ้น ทำให้เกิดแรงเก็งกำไรเข้ามาในหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี สำหรับตัวเลขการส่งออกเดือน มิ.ย.63 ที่กำลังจะประกาศออกมา ตลาดคาดหมายว่าจะอยู่ที่ -6.4% YoY แต่ฝ่ายวิจัยเห็นว่ามีโอกาสที่จะติดลบมากกว่า เหตุเพราะเมื่อพิจารณาตัวเลขการนำเข้าของประเทศคู่ค้าหลักของไทยในช่วงเวลาเดียวกันพบว่าติดลบเป็นตัวเลข 2 หลัก สถานการณ์ดังกล่าวทำให้คาดว่าจะเห็นการออกมาตรการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจภายในประเทศ ล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกได้เสนอให้นำโครงการ ช้อปช่วยชาติ กลับมา ซึ่งจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก คาด CRC อยู่ในฐานะที่จะได้ประโยชน์ อีกทั้งราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาค่อนข้างแรงในช่วงที่ผ่านมา ส่วนผลประกอบการ 2Q63 ซึ่งล่าสุดกลุ่มธนาคารพาณิชย์ประกาศตัวเลขออกมาหดตัวรุนแรง ขณะที่ภาค Real Sector ก็น่าจะเห็นฐานกำไรระดับต่ำ ทำให้เกิด Downside ต่อประมาณการ อย่างไรก็ตามมีบางบริษัททำกำไรเติบโตสวนตลาดที่ชัดเจนเช่น AP พอร์ตการลงทุนวันนี้ ให้ขายทำกำไร SCCC และ DCC และนำเงินเข้าลงทุนใน AP และ CRC อย่างละ 10% พร้อมเลือกเป็น Top Pick
EU ออกแพ็คเกจกระตุ้น หนุนตลาดหุ้นและราคาน้ำมันดิบโลก หุ้นพลังงานแนะนำ Trading
ตลาดหุ้นโลก เมื่อวานนี้มี Pattern คล้ายๆกัน คือ เปิดสูง แต่ลงมาปิดต่ำ เชื่อว่าตอบรับปัจจัยบวกช่วงสั้น 1.)พัฒนาการวัคซีน Covid-19 และ 2.) สหภาพยุโรป (EU) 27 ประเทศ บรรลุข้อตกลงจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากเจรจากันมา 5 วันติด วงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร ผ่านการระดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้แล้ว (วงเงินใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด) แบ่งเป็น เงินช่วยเหลือ (ให้เปล่า) วงเงิน 3.9 แสนล้านยูโร และ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 3.6 แสนล้านยูโร ASPS ประเมินว่าเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นช่วงสั้นเท่านั้น เพราะ กว่าเม็ดเงินจากกองทุนฟื้นฟู EU ดังกล่าวจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจราวต้นเดือน ม.ค. 2564
ผลต่อตลาดเงินจากประเด็น EU ผ่านจัดตั้งกองทุนฟื้นฟู คือ ค่าเงินยูโรดอลลาร์ ยังคงแข็งค่า 0.77% และทำจุดสูงสุด ตั้งแต่ ม.ค. 2562 กดดัน Dollar Index อ่อนค่าต่อเนื่องและหลุดแนวรับสำคัญบริเวณ 96 จุด ลงมาอยู่บริเวณ 95.11 จุด ส่งผลให้เงินบาทพลิกกับมาแข็งค่า 0.6% ภายหลังจากที่เงินบาทอ่อนค่ากว่า 2.2% นับตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย. 2563
ผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แรงหนุนจาก Dollar Index อ่อนค่าหนุน 1.ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 1.5% ทำจุดสุงสุดใหม่ (New High) 2.)ราคาน้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นราว 3%จากวันก่อนหน้า ซึ่งเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มน้ำมัน เช่น PTTEP (FV@B>100) และ PTT (FV@B>42) แต่ราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ Upside เริ่มมีจำกัด จึงแนะนำ Trading
หวังมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายหนุนค้าปลีก เลือก CRC
เศรษฐกิจไทยปี 2563 ASPS ยังคงมุมมองหดตัว 8.4%yoy โดยประเมินเกือบทุกฝันเฝืองยังมีความเสี่ยงชะลอตัว โดยเฉพาะฟันเฟืองหลักๆ คือ
ภาคส่งออกคิดราว 68%GDP ชะลอตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยให้น้ำหนักวันพรุ่งนี้ 23 ก.ค. เวลา 10.30 น. กระทรวงพาณิชย์จะรายงานยอดส่งออก(X) เดือน มิ.ย. อิงผลสำรวจ Reuters คาดเฉลี่ย – 6.4%yoy, Bloomberg คาดเฉลี่ย -15%yoy ขณะที่นำเข้า(M) Reuters คาดเฉลี่ย – 18%yoy, Bloomberg คาดเฉลี่ย -17%yoy อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินว่ามีโอกาสที่เดือน มิ.ย. ยอดส่งออกไทย อาจจะหดตัวมากกว่าที่ Consensus คาดได้ พิจารณาจาก ยอดนำเข้าในเดือน มิ.ย. ของประเทศคู่ค้าหลักรายงานออกมาแล้วใน 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด พบว่าหดตัวแรงในทิศทางเดียวกัน อาทิ อินเดีย -47.6%yoy, เกาหลีใต้ -11.2% อินโดนีเซีย -6.4% ญี่ปุ่น -0.8% ยกเว้นจีนและเวียดนาม ที่นำเข้าเดือน มิ.ย. พลิกกลับมา +2.7% และ 5.3%ตามลำดับ (ดังรูป)
ทั้งนี้ให้น้ำหนักจะหดตัวมากกว่าคาด มากน้อยเพียงใด เพราะหากพิจารณา ส่งออก(X) 5เฉลี่ยเดือน 5M2563 -3.7%VS. สมมติฐาน ASPS คาดทั้งปี 2563 –10%yoy และนำเข้า(M)
การบริโภคครัวเรือน(C ) ราว 50%ของ GDP ในช่วง 2H63 การบริโภคคาดจะได้รับผลกระทบหลักจากกำลังซื้อที่หายไป จาก แนวโน้มผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากผลกระทบ Covid-19 โดย หลายหน่วยงานภาครัฐให้ความเห็นตรงกันจะมีผู้ตกงานมาก อาทิ สอท. คาดทั้งปี 2563 จะมีผู้ว่างงาน 3 ล้านคน ขณะที่เม็ดเงินเยียวยาจากมาตรการภาครัฐ จาก พรก. 1 ล้านล้านบาท อาทิ มาตรการแจกเงิน 5 พันบาท 3 เดือนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งจะหมดลง ในเดือน ก.ค.63 ทำให้การบริโภคมีโอกาสชะลอลง
อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่ชะลอดังกล่าว ทำให้หน่วยงานเอกชน และรัฐนำโดย สมาค้มค้าปลีกไทย ล่าสุดมีการพบปะ นายกรัฐบมนตรี และเสนอมาตรการกระตุ้นต่อนายก คือ “ช็อปช่วยชาติ” และ “ชิม ช็อปใช้” และ เสนอช่วงเวลา 3 ช่วง คือ ส.ค., ต.ค. และ พ.ย. ASPS คาดมีโอกาสรัฐบาลจะออกมาตราการดังกล่าว
หากพิจารณาในอดีต พบว่า ชิมช็อปใช้ สามาระกระตุ้นให้เงินสะพัดราว 1 แสนล้านบาท ขณะที่ ช็อปช่วยชาติ เงินสะพัดราว 9 พันล้าน- 2หมื่นล้านบาท
Earning Season กดดันภาพรวม แนะหุ้นกำไรเหนือคาด AP
ภาพรวมการรายงานผลประกอบการงวด 2Q63 ทั้งจากกลุ่ม ธ.พ. ที่ประกาศเสร็จสิ้นไป ลดลง 34% QoQ และลดลง 42% YoY บวกการทำ Earning Preview ของนักวิเคราะห์พื้นฐานไปแล้ว 44 บริษัท พบว่า กำไรสุทธิงวด 2Q63 ในหุ้นอุตสาหกรรมหลัก (Real Sector) มีลดลงแรง และหลายบริษัทอาจจะพลิกมาเป็นขาดทุน แต่ยังได้แรงหนุนจากกำไรของหุ้นกลุ่มพลังงานที่ฟื้นตัว QoQ จากการพลิกกลับมาเป็น Stock Gain ช่วยชดเชยอยู่ โดยวันนี้จะขอเสนอภาพรวมกำไรของกลุ่มหุ้นที่รายงานงบการเงินไปแล้ว กลุ่ม ธ.พ. และภาพรวม Earning Preview กลุ่มพลังงาน รวมถึงกลุ่มหุ้นที่มีกำไรเหนือคาด อย่างกลุ่มอสังหาฯ ดังนี้
กลุ่มธ.พ. กำไรกลุ่มงวด 2Q63 ต่ำกว่าคาดอยู่ที่ 2.96 หมื่นล้านบาท ลดลง 34% QoQ (-42% YoY) จากการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตฯ (Expected Credit Loss : ECL) ในระดับสูง ส่งผลให้ Credit Cost กลุ่มฯ สูงกว่าที่คาดไว้ 1.75% มาอยู่ที่ 2.34% และเร่งตัวจาก 1.69% ในงวด 1Q63 โดยเฉพาะ BBL ( Credit Cost ที่ 2.37% จาก 0.97% ในงวดก่อน) และ KBANK (Credit Cost 3.87% จาก 2.35% ในงวดก่อน) ขณะที่ NIM ลดลงมาที่ 2.95% จาก 3.25% ในงวดก่อน และต่ำกว่าที่คาดไว้ ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้
ขณะที่แนวโน้มการตั้งสำรองฯ (ECL) กลุ่มฯ ในช่วง 2H63 ยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเป็นช่วงทยอยหมดมาตรการพักชำระหนี้ (Loan payment holiday) คาดมีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของ Credit Cost สำหรับ ธ.พ. ที่ยังไม่ได้ตั้งสูงมากนักในงวด 1H63 โดย NPL Ratio ณ สิ้นงวด 2Q63 อยู่ที่ 3.4% จาก 3.37% ในงวดก่อน
ภาพรวมฝ่ายวิจัยฯ ยังคงให้น้ำหนักการลงทุน กลุ่มธ.พ. น้อยกว่าตลาด และมีการปรับลดประมาณกำไรปี 63 ของกลุ่มฯ ลง 1.1 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 1.27 แสนล้านบาท (ลดลง 36%yoy) ถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อการปรับประมาณการกำไรตลาดลงอีก
กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี แม้ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 จะฟื้นตัวจากไตรมาส 1 โดยสาเหตุหลักมาจาก การพลิกกลับมาเป็น Stock Gain จากที่ไตรมาส 1 ที่ต้องรับภาระ Stock Loss กว่า 3 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามภาพผลการดำเนินงานปกติยังคงย่ำแย่ รวมถึงทิศทางกำไรในไตรมาส 3 โดยปกติแล้วเป็น Low Season ของกลุ่มฯ หักล้างแรงหนุนระยะสั้นจากหลายประเทศคลาย lockdown ทำให้เริ่มมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มฯกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้น
โดยสรุป ช่วงสั้นฝ่ายวิจัยฯ ให้น้ำหนักกลุ่มปิโตรเลียม “เท่าตลาดฯ” ส่วนกลุ่มฯโรงกลั่นและปิโตรเคมี “น้อยกว่าตลาดฯ” สะท้อนการขาดปัจจัยบวกขับเคลื่อน บวกกับราคาหุ้นในกลุ่มฯปัจจุบันที่ค่อนข้างเต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว ดังนั้น แนะนำเก็งกำไรช่วงสั้นเท่านั้น
กลุ่มอสังหาฯ ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้ความต้องการคอนโดฯหายไป รวมถึงลดค่าใช้จ่าย และชะลอการลงทุน เพื่อรักษาสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามกลับเห็นสัญญาณยอดขายแนวราบฟื้นแข็งแกร่ง หนุน Presale หลายบริษัทกลับเพิ่มขึ้นตังแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา จากการที่ลูกค้าให้นำหนักต่อ Social Distancing หนุนกำไร ช่วง 1H63 ของกลุ่มฯ สูงกว่าสมมุติฐานเดิมที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน
กลยุทธ์เลือกลงทุนในหุ้นที่มีกำไรโดดเด่นสุดในกลุ่มฯ อย่าง AP(FV @ 7.70) เป็น Toppick ในวันนี้ โดยคาดกำไร 2Q63 สูงถึง 1.17 พันล้านบาท โดดเด่น 153% yoy และ 90% qoq หนุนจากส่วนแบ่งกำไร JV และยอดโอนฯ ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากยอดขายแนวราบที่แข็งแกร่ง หนุนภาพธุรกิจ 1H63 มีแนวโน้มดีกว่าคาด และนำไปสู่การปรับเพิ่มกำไรปี 2563 ขึ้นจากเดิม 22% สู่ระดับ 3.46 พันล้านบาท เติบโต 15% yoy และปรับมูลค่าทางพื้นฐานขึ้นจาก 6.30 เป็น 7.70 บาท พร้อมคาดหวัง Dividend Yield สูงเกือบ 7% ต่อปี
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web