WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 20-7-2020ASP

MARKET TALK

กลยุทธ์การลงทุน

แรงกดดันที่มีทั้งการระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกที่รุนแรง ข้อจำกัดในการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อาจทำให้การฟื้นตัวล่าช้า และปัจจัยการเมืองในประเทศ น่าจะทำให้เงินลงทุนยังกระจุกตัวในสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นอุปสรรคต่อการปรับขึ้นของ SET Index กลยทธ์การลงทุนวันนี้ ไม่มีการปรับพอร์ต เลือก MCS, INSET และ DCC เป็น Top Pick

ภาพใหญ่มีแรงกดดัน หลบเข้าหุ้นเล็กอย่าง MCS, INSET, DCC

ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ การเมือง ดูเหมือนมีแรงกดดันอยู่หลายประการ โดยในทางเศรษฐกิจเริ่มต้องหันกลับมาดูว่า การทุ่มเม็ดเงินผ่านมาตรการการเงิน-การคลังในช่วงที่ผ่านมาสร้างภาระต่อฐานะของแต่ละประเทศมากเพียงใด และจะมีความพร้อมในการที่จะอัดฉีดมาตรการต่างๆ ในช่วงที่ Covid-19 กำลังระบาด รวมถึงช่วงหลังจากนี้มากเพียงใด หากมีข้อจำกัดก็อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอยในปัจจุบันเกิดขึ้นได้ช้า ส่วนประเด็นทางการเมืองในประเทศ ปัจจุบันดูเหมือนมีแรงกดดันจาก ทั้งรอยร้าวภายในของแต่ละพรรคการเมือง, รอยร้าวระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และ การออกมาชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาพร้อมข้อเรียกร้องที่รัฐบาลยากจะทำตาม อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้เร็วที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการปรับ ครม.ซึ่ง คาดว่าจะได้ข้อยุติภายในเดือน ส.ค. 63 ส่วนสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกยังรุนแรง ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวคาดว่าน่าจะดทำให้เม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ SET index ปรับขึ้นไปได้ยาก วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต ส่วน Top Pick เลือกหุ้นขนาดเล็กที่มีจุดแข็งเฉพาะตัวอย่าง MCS, INSET และ DCC

เริ่มต้องระวังเรื่องข้อจำกัด ในการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของหลายประเทศ หรือความเสี่ยง หน้าผาทางการคลัง

ตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากลงไปทำจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค.63 และปรับขึ้นมาต่อเนื่อง หากวัดผลตอบแทนจาก Low พบว่า Dow jones +47%, SET index +40.5% และปัจจุบัน แกว่งตัวในระดับสูง เชื่อว่าปัจจัยหนุนตลาดหุ้น หลักๆ ยังมาจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ

   ความคาดหวังพัฒนาการวัคซีน Covid-19 มีทั้งหมด 4 เฟส ปัจจุบัน หลายบริษัท เดินหน้าแถลงรายงานพัฒนาการเชิงบวก ของ การทดลองในเฟส 2-3 อาทิ บริษัท Moderna ฯลฯ และเกิดความคาดหวังจะสมบูรณ์ได้ภายในปลายปี หรือ กลางปี 2564 เป็นอย่างเร็ว

   นโยบายการเงิน : ในปัจจุบัน ทุกประเทศทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ อาทิ 1.) ทุกประเทศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ (Fed ดอกเบี้ยฯ ล่าสุด อยู่ที่ 0.25% ,ไทย ปีนี้ลงดอกเบี้ยฯ 3 ครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 0.5%) และ 2.) กลับมาเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือ QE อาทิ สหรัฐ, ยุโรป, ญี่ปุน ฯลฯ ใช้วงเงิน QE มากกว่ารอบวิกฤต Sub Prime หนุนให้สภาพคล่องในระบบปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจาก ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ (M2) คือ ธนบัตร + เหรียญ + เงินฝากทั้งหมด ในสหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปี M2 เพิ่มขึ้นราว 19.8% ขณะที่ไทย +5.7% และหนุนให้งบดุล Balance Sheet ของทุกประเทศทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นมาทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ดังรูปด้านล่าง)

นโยบายการคลัง   : คล้ายกับนโยบายการเงิน คือ 1H63 ทั่วโลกประกาศอัดฉีดเงินช่วยเหลือประชาชน อาทิ แจกเงิน, อุดหนุนเงินช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ฯลฯ และใช้เงินมากที่สุดเป็นประวัติการณ์   อาทิ สหรัฐ Package ช่วยเหลือรอบที่ 1 วงเงินราว 2.4 ล้านล้านเหรียญฯ   และอัดฉีดเงินใกล้จะหมดแล้วในสิ้นเดือน ก.ค. 2563 หรือ เหลือเวลา 1-2 อาทิตย์

ทำให้ในช่วงสัปดาห์นี้ จนถึงสิ้นเดือน ก.ค.2563 ตลาดหุ้นให้น้ำหนักสภาคองเกรสจะพิจารณา Package กระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ตลาดคาดวงเงินราว 1-1.5 ล้านล้านเหรียญฯ หรือ 6.7 %GDP หากผ่าน และวงเงินกระตุ้นมากกว่าคาด เชื่อว่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐ แต่หากไม่ผ่าน คาดว่าจะมีผลทางลบ

ขณะที่ไทย วงเงินกระตุ้นทางการคลัง จะผ่าน พรก. 1 ล้านล้านบาท ซึ่ง ASPS Update การเบิกจ่ายวงเงิน ล่าสุด วันที่ 17 ก.ค. มีการเบิกจ่ายวงเงินจากทั้งหมดเท่าเดิม คือ 1.23 แสนล้านบาท หรือเพียง 12.3%GDP

โดยรวม ASPS ให้น้ำหนักทั่วโลกจะมีการเพิ่มวงเงิน Packkage กระตุ้นหรือเบิกจ่ายได้อีก มากน้อยเพียงใด

โดยประเมินการกระตุ้นการคลังของรัฐบาลทั่วโลกจะคล้ายกัน คือ จะเผชิญข้อจำกัด คือ หนี้สาธารณะ”   ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดขั้นสูงสุดของเพดานหนี้สาธารณะ อาทิ ไทย คือ Public debt to GDP จะต้องไม่เกิน 60% GDP เป็นต้น (ดังรูป)

หนี้สาธารณะเทียบกับ GDP ของแต่ละประเทศ สิ้นปี 2562 VS. เดือน มิ.ย. 2563

ที่มา: US debtclock.org, IMF, ASPS รวบรวม

ASPS ประเมินแต่ละประเทศที่ใช้วงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมากในปี 2563 หากผ่านพ้น COvid-19 ในอนาคตภาครัฐมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายลง หรือเพิ่มการเก็บภาษีบางประเภทได้ และเศรษฐกิจปีถัดไปจะขาดแรงส่งเพราะมีวงเงินใช้จ่ายน้อยลง หรือ เผชิญกับภาวะ หน้าผาทางการคลังหรือ Fiscal cliff

แรงกดดันทางการเมืองสูงขึ้น จาก 3 แรงที่เข้ามาพร้อมๆ กัน

สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันถือว่าได้มีแรงกดดันที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น แรงกดดันที่เกิดจากรอยร้าวภายในของแต่ละพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล , แรงกดดันจากกลไกความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และ ล่าสุดมีเรื่องการออกมาชุมนุมของนักศึกษา โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ ให้ยุบสภาฯ , ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ หยุดคุกคามประชาชน ภายใต้ภาวะดังกล่าวถือได้ว่าอุณหภูมิทางการเมืองน่าจะมีแนวโน้มร้อนแรงมากขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเห็นได้ในช่วงเวลาไม่นานจากนี้น่าจะเป็นการ ปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนว่าน่าจะมีการปรับในหลายตำแหน่ง ทั้งส่วนที่อยู่ภายใต้โควต้าของพรรคพลังประชารัฐ , โควต้าของนายกรัฐมนตรี และ โควต้าของพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ทั้งนี้นักลงทุน จะให้ความสนใจเป็นพิเศษสำหรับตัวบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการในกระทรวงเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการคลัง เนื่องจากจะต้องทำหน้าที่สำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอย และมีแนวโน้มกำลังย่ำแย่ลงไปอีก ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่าการปรับ คณะรัฐมนตรีน่าจะได้ข้อยุติภายในเดือน ส.ค. 2563

เชื่อว่าปัจจัยทางการเมืองนับจากนี้จะถูกมองในฐานะที่สร้างแรงกดดันต่อ Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งภาวะดังกล่าวเมื่อรวมกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจแล้ว น่าจะทำให้การกระจุกตัวของเม็ดเงินที่เป็นสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังอยู่ในสินทรัพย์ปลอดภัยต่อไป อาทิ   เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย     (ดังรูปด้านล่าง)   ซึ่งจะทำให้ SET Index ขาดแรงขับเคลื่อนให้ปรับตัวขึ้นไปได้ต่อ หรือจะกล่าวได้ว่า SET Index มี Upside ที่จำกัด และมีโอกาสที่จะถูกขายทำกำไรออกมาได้

งบธนาคารงวดนี้ ต้องจับตาตัวเลข NPL และลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้

วันศุกร์ที่ผ่านมา TISCO (SWITCH : FV@B>73) รายงานกำไรสุทธิงวด 2Q63 เท่ากับฝ่ายวิจัยคาดที่ 1.33 พันล้านบาท (ต่ำกว่าตลาดคาด 15%) ลดลง 10% QoQ (-26% YoY) กดดันจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ โดย NIM ลดลงเหลือ 4.32% จาก 4.6% ในงวดก่อน และต่ำกว่าที่คาดการณ์ 4.56% จากทั้งการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ และสินเชื่อ High yield ในกลุ่มจำนำทะเบียนลดลง ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมติดลบ 22% QoQ ตามกิจกรรมที่หยุดชะงักลงในช่วง เม.ย. พ.ค. ภาพรวมทำให้รายได้รวมต่ำคาด 5% และลดลง 11% QoQ แต่ชดเชยด้วย Credit Cost ที่ 1.5% ต่ำกว่าที่ประเมิน 1.7% และลงจาก 1.8% สวนทาง NPL เร่งตัว เนื่องจากงวด 1Q63 มีการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) ไปล่วงหน้า ตาม TFRS 9 แล้ว

ด้านมูลหนี้ NPL เร่งตัวขึ้นจาก 2.56% ณ สิ้นงวดก่อนมาอยู่ที่ 3.28% ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและไหลตกชั้นตามความเป็นจริง เนื่องจากธนาคารเปิดเผยว่ามีลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้เพียง 10% ของพอร์ตสินเชื่อธนาคาร แบ่งเป็นสัดส่วน 3% ของพอร์ตสินเชื่อพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งส่วนนี้ได้รับการยกเว้นการจัดชั้น จึงเป็นส่วนที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และที่เหลือ 7% พักชำระเฉพาะเงินต้น ทาง ธ.พ. เปิดเผยจัดชั้นตาม TFRS 9 แล้ว ภาพรวมลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการของ TISCO ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่อยู่ที่ราว 40% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งระบบ โดยฝ่ายวิจัยคาดทิศทาง NPL ยังเป็นขาขึ้น สู่ระดับ 4.7% ณ สิ้นปี 2563 จาก 2.4% ณ สิ้นปี 2562  

คงน้ำหนักน้อยกว่าตลาด ตัวเลข NPL ของ TISCO ที่เร่งตัวขึ้น มีโอกาสสร้าง Sentiment ลบต่อหุ้นในกลุ่มฯ ช่วงสั้นแนะนำชะลอลงทุนเพื่อประเมินงบการเงินของแต่ละธนาคารที่จะประกาศวันนี้ นำโดย KBANK (หลังปิดตลาดช่วงเช้า), KKP, TMB และ SCB คาดส่วนใหญ่รายงานกำไรสุทธิอ่อนตัว QoQ และ YoY กดดันจาก NIM มีแนวโน้มลดลง ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ คาดชะลอตัวจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลงในช่วง 2Q63 ส่วน TMB แม้คาดการณ์กำไรเติบโต 67% YoY อยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท จากการรวม TBANK แต่หากพิจารณาในเชิงกำไรต่อหุ้น (EPS) หลังรวมหุ้นเพิ่มทุนในช่วง 4Q62 อยู่ที่ 0.03 บาทต่อหุ้น ติดลบ 24% yoy          

โดยประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและติดตามสำหรับงบการเงินในงวด 2Q63 ประกอบด้วย ตัวเลข NPL และสินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็น Stage 2 ของแต่ละธนาคาร, ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ของแต่ละธนาคาร ตามด้วยมูลหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ (Loan payment holiday) ของแต่ละธนาคาร หากคิดเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อและยังไม่ได้จัดชั้นตาม TFRS 9 อาจทำให้งบการเงินยังไม่สะท้อนความจริง , เป้าหมายทางการเงินปี 2563 ของแต่ละธนาคาร รวมถึงผลกระทบต่ออัตราส่วนเงินกองทุน (CAR) และการจ่ายเงินปันผลในปี 2563          

RESEARCH DIVISION

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!