- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 July 2020 13:46
- Hits: 4245
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 2-7-2020
“ดัชนีภาคการผลิตดีขึ้น,วัคซีนคืบหน้า,STGT เข้าซื้อขาย”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัยก่อนหน้า : SET วานนี้ปรับขึ้นตัวเลขภาคการผลิตจีน-ยุโรปออกมาดี ปิด +10.41 จุด ที่ 1349.44 จุด มูลค่าซื้อขาย 53.4 พันลบ. บวกเหมือนหุ้นแถบนี้ ตลาดฯตอบรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นเฟดและก.คลังพร้อมพยุงเศรษฐกิจแต่ผู้ติดเชื้อทั่วโลกสูงมาก ตัวเลขภาคการผลิตยูโรโซนมิ.ย.ดีขึ้น นอกจากนี้จีนมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยเหลือกิจการ ซื้อสุทธิมาก-สถาบัน ขายสุทธิมาก-ต่างชาติ YTD ต่างชาติขายสุทธิเพิ่มเป็น 219 พันลบ.
# ปัจจัยและกลยุทธ์:
SET มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ ตัวเลขภาคการผลิตสหรัฐ-จีน-ยุโรป มิ.ย.ดี ราคาน้ำมันปรับขึ้น แต่ต้องระวัง Second Wave ปัจจัยบวกคือ นอกจากภาคการผลิตดีแล้ว การจ้างงานภาคเอกชน มิ.ย. และทบทวน พ.ค.ก็ออกมาดี ไฟเซอร์อิงค์มีความคืบหน้าทดสอบวัคซีน ราคาน้ำมันดิบโลกสูงขึ้น มีแรงขายทองคำสู่สินทรัยพ์เสี่ยงดัชนีกังวลลดลงเป็น 28.6 จุด ส่วนเช้านี้ตลาดเพื่อนบ้านบวก สำหรับไทย ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเพิ่ม สมาคม ธ.ไทยมั่นใจแบงก์ไทยมีเงินกองทุนแข็งแกร่ง และนายกฯชี้แจงงบปี 64ใช้ 3.3 ล้านล้านบาท ด้านปัจจัยลบคือ เฟดยังไม่ชัดเจนเรื่องกำหนดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว และกังวลผู้ติดเชื้อรอบ 2 เพิ่ม นโยบายการคลังไม่เพียงพอ ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สเช้านี้ปรับลง และ กกร.ปรับลด GDP ไทยปีนี้เป็นลบ 5-8%กลยุทธ์ระยะสั้น เข้าไว-ออกไว เล่นรอบเมื่อปรับลง คาดดัชนีซื้อ-ขายในกรอบ 1320-1370 วันนี้ปัจจัยต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเรื่องผู้ติดเชื้อ ด้านกลยุทธ์ระยะกลาง-ยาว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและไทยยังย่ำแย่ แต่มีสัญญาณ PMI ดีขึ้น จึงแนะนำทยอยถอยรับหลักทรัพย์พื้นฐานดีที่แนะนำซื้อ หุ้นกลุ่มการแพทย์เข้าไฮซีซัน- BCH,BDMS,CHG,RJH,RPH หุ้น Defensive- ADVANC,CHG ปันผลสูง-KKP,TISCO,LHเติบโต-ฟื้นตัว- MTC,DELTA,TASCO กลุ่มพาณิชย์เด่นจากการคลายล็อกดาวน์ เพิ่มระยะเวลาปิดห้างฯ- CPALL,HMPRO ราคาเนื้อสัตว์ดี- CPF ขนส่ง- หุ้นกลับมาฟื้นตัวเร็ว BEM,BTS หุ้นกลุ่ม REITs & IFFs ปันผลสูง ดอกเบี้ยในตลาดต่ำ- DIF,AIMIRT,HREIT ติดตามหุ้นพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบกลับมาผันผวน แนวรับคือ1300-1280 จุด และ แนวต้าน 1360-1370 จุด ส่วนตัดขาดทุนต่ำกว่า 1340 จุด ปัจจัยที่น่าติดตาม คือ คาดการณ์กำไร PTTEP 2Q63 ไม่สดใส ปรับลงมากเทียบ y-oyและ q-o-q จากปริมาณและราคาขายที่ปรับลง แต่คาดว่า 2H63 ราคาน้ำมันฟื้นตัวหลังคลายล็อกดาวน์ และโรงกลั่นใช้มากขึ้น แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 101 บาท# Stock Pick Today : STGT ปีนี้มีโอกาสกำไรโตก้าวกระโดด เป็นระดับ 5 เท่าตัวจากปี 62 หรือมากกว่า 3 พันล้านบาท การเป็นผู้ผลิตถุงมือยางอันดับ 3 ของโลก ทำให้ได้ประโยชน์จากโควิด-19 เพราะปริมาณการใช้ที่สูงขึ้นมาก ซึ่งใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขณะที่ทางด้านราคาวัตถุดิบปีนี้ก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำตามน้ำมัน มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง มีข้อได้เปรียบจากการมี STA เป็นบริษัทแม่ จึงมีแหล่ง Supply วัตถุดิบที่แน่นอน และรายใหม่เข้ามาได้ยาก ประโยชน์การเพิ่มทุนคือ จะชยายกำลังการผลิตไต้อีกเท่าตัวในอนาคต ราคาพื้นฐานConsensus เป็น 45-56 บาท ด้วย P/E เฉลี่ย 21 เท่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของ 4 ผู้นำตลาดถุงมือในมาเลเซียก่อนเกิดโควิด-19
การวิเคราะห์ทางเทคนิค: สั้น...ภาพกลับเป็นบวกเล็กๆ อาจมีรีบาวด์...แต่ยังให้น้ำหนักกับการลงในระยะกลาง ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicatorsเปลี่ยนเป็นบวกเล็กๆอีกครั้ง {“ปิดบวก”เหนือ“SMA10วัน”อีกครั้ง (โดยมี“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”กดดัน)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบมีลุ้นรีบาวด์ฯสั้นๆ(แรงหนุนของ“SMA10”)ก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1360 (หรือ 1370 – 1380) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1340” (แนวรับย่อย “1300 – 1280” จุด)}
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Single stock futures : รายสัปดาห์
Flash Note : PTTEP (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 101.00)
In The News : AEONTS (ราคาปิด 111 บาท) : ราคาหุ้นร่วงรับปัจจัยลบไปแล้วพอควร
BTSGIF (ราคาปิด 7.20 บาท) : จำนวนผู้โดยสาร BTS เพิ่มขึ้นหลังเปิดเทอม
ข่าวเด่นวันนี้
Turnover List Watch : ติดตาม IP และ DOD
New Listing : STGT
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ: ผลการประชุมเฟด มิ.ย.ไม่ได้บ่งชี้นโยบายระยะใกล้ และยังกังวลการติดเชื้อรอบสอง
# นักวิเคราะห์จากบริษัทแคปิตอล อิโคโนมิกส์กล่าวว่า รายงานการประชุมเดือนมิ.ย.ของเฟดไม่ได้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินในระยะใกล้ และยังแสดงให้เห็นว่า เฟดยังต้องใช้เวลาอีกนานในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว
# รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มองว่า มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดการแพร่ระบาดรอบสองของไวรัสโควิด-19 และยังระบุว่า มีความเสี่ยงที่มาตรการการคลังในการให้ความช่วยเหลือภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลท้องถิ่น อาจจะไม่เพียงพอ
+ สหรัฐ: ไฟเซอร์ อิงค์เผยผลทดสอบวัคซีนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
# ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนบวก หลังจากไฟเซอร์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทยาใหญ่ที่สุดของสหรัฐเปิดเผยว่า ผลการทดลองใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในมนุษย์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยไฟเซอร์ได้ดำเนินการทดลองดังกล่าวร่วมกับBioNTech ซึ่งเป็นบริษัทยาของเยอรมนี และคาดว่าบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสภายในปลายปีนี้ และมากกว่า 1.2 พันล้านโดสภายในสิ้นปีหน้า
+ สหรัฐ: การจ้างงานของภาคเอกชน มิ.ย. (รวมทบทวน พ.ค.) เพิ่มขึ้นดี เช่นเดียวกับดัชนีภาคการผลิต
# ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น2.369 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ขณะเดียวกัน ADP ได้ปรับตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนในเดือนพ.ค. โดยรายงานว่ามีการจ้างงานพุ่งขึ้น 3.065 ล้านตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่า การจ้างงานลดลง 2.76 ล้านตำแหน่ง
# ทางด้านผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ52.6 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว จากระดับ 43.1 ในเดือนพ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 49.5
+ จีน-ยุโรป: ดัชนีภาคการผลิต มิ.ย.63 ฟื้นตัวดีขึ้น
# ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ของจีนพุ่งขึ้นแตะระดับ 51.2 จากระดับ 50.7 ในเดือนพ.ค. และแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 50.5 โดยดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัว
# ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 47.4 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 39.4 ในเดือนพ.ค.
-/+ ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดาวโจนส์ปิดลบ 77.91 จุด แต่ S&P500,Nasdaq บวกรับความหวังวัคซีนต้านโควิด
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนมิ.ย.ซึ่งนักลงทุนมองว่า เฟดไม่ได้ให้รายละเอียดมากนักเกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารให้ตลาดรับรู้เรื่องสัญญาณชี้นำทิศทางนโยบายการเงิน (Forward Guidance) อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 ปิดในแดนบวก ขณะที่ดัชนีNasdaq ปิดทำนิวไฮ ขานรับความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
+ น้ำมัน: WTI ปิดบวก 55 เซนต์ รับสต็อกน้ำมันดิบร่วง,ข้อมูลศก.แข็งแกร่ง
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) ขานรับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ร่วงลงกว่า 7ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน
• ทองคำ: แรงขายทำกำไรฉุดทองปิดร่วง 20.6 ดอลลาร์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 20 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาทองคำทะยานขึ้นเหนือระดับ 1,800 ดอลลาร์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.,จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, อัตราว่างงานเดือนมิ.ย., ดุลการค้าเดือนพ.ค., ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนมิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
- เศรษฐกิจไทย: กกร.ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัว GDP ปี 63 ลงมาเป็น -8.0 ถึง -5.0%
# ที่ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 63ลงมาเป็น -8.0 ถึง -5.0% (จากเดิม -5.0 ถึง -3.0%) แม้ในเดือน พ.ค.และ มิ.ย. ภาครัฐจะทยอยคลายล็อกให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเปิดดำเนินการ แต่เครื่องชี้เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะหดตัวจากกำลังซื้อที่อ่อนแอของครัวเรือนและภาคธุรกิจ ส่งผลต่อบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะเดียวกันการส่งออกและการท่องเที่ยวยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยและสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศที่ยังไม่ยุติ จึงได้ปรับลดกรอบประมาณการการส่งออกปีนี้มาเป็น -10.0 ถึง -7.0% (จากเดิม -10.0 ถึง -5.0%) และปรับลดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมาที่ -1.5 ถึง -1.0% (จากเดิม -1.5 ถึง 0.0%)
-เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า จากเงินดอลลาร์ที่อ่อนตามเศรษฐกิจและมี QE เพิ่ม
# นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร. มีความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่เร็วกว่าสกุลเงินภูมิภาคในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาและยังมีความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกในระยะข้างหน้า จากเงินดอลลาร์ฯ ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอกว่าคาดและการดำเนินนโยบายอัดฉีด QE ของสหรัฐฯ
+ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมิ.ย.63 ปรับเพิ่มขึ้นดี
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมิ.ย.63 พบว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 38.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 34.4 ในเดือนพ.ค.63 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดัชนีฯปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 50
+ สมาคมธนาคารไทยมั่นใจระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนในระดับสูง และเกินกว่าเกณฑ์
# ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนในระดับสูง และเกินกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้นต่ำของ ธปท.ที่ 11.0% (ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ 8.5% และ Conservation Buffer ที่ 2.5%) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ที่ 10.5% โดย ณ เดือนเม.ย.63 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 2.19 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.84% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง และเงินกองทุนทั้งสิ้นอยู่ที่ 2.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 18.90% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
# ผลกระทบ: คาดว่าธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะมีเงินกองทุนเพียงพอ และธนาคารที่อาจจะมีไม่พอก็จะสามารถหาแนวทางในการเพิ่มเงินกองทุนไว้รองรับล่วงหน้าได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนได้แก่การทยอยสะสมเพื่อลงทุนระยะยาวในช่วงที่ราคาหุ้นอ่อนตัว หลักทรัพย์พื้นฐานดี แนะนำ ซื้อคือ KBANK,KKP,TISCO และ TMB
+ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงงบประมาณรายจ่ายปี 64 ที่ 3.3 ล้านล้านบาท
# นายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 ที่มีวงเงินรายจ่าย 3.3 ล้านล้านบาท ประมาณการรายได้สุทธิ 2.67 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้ที่หดตัว -5 ถึง -6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อหดตัวตามราคาพลังงาน
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web