WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 1-7-2020ASP

MARKET TALK

กลยุทธ์การลงทุน

ตัวเลขเศรษฐกิจเชิงลบ บวกกับกระแสความกังวลเรื่อง Covid-19 ที่อาจทำให้บางประเทศต้องกลับมาเข้มงวดเรื่องการคลาย Lock และ Trade War ที่ร้อนแรง จะจำกัด Upside ของ SET Index ไว้ที่ไม่เกิน 1340-1350 จุด วานนี้พอร์ตจำลองได้ Stop profit รับกำไร 7% ใน DCC แนะนำย้ายเงินเข้า BGRIM ส่วน Top Pick เลือก BGRIM, INSET และ SEAFCO

การคลาย Lock เป็น Sentiment บวก แต่อาจไม่สร้างกำไร

การกลับมา Re-open ธุรกิจในหลายประเทศ ส่งผลทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ต้องกลับมาเข้มงวดมาตรการ หรือบางแห่งกลับมาทำ Lockdown เมือง อีกครั้ง สร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนพัฒนาการของสงครามการค้าซึ่งเชื่อว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการหาเสียงเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือน พ.ย.63 ล่าสุดคณะกรรมการสื่อสารของสหรัฐฯ (FCC) ประกาศว่า Huawei และ ZTE เป็นภัยคุกคามระดับประเทศ ทำให้ประเมินว่า Trade War จะเป็นปัจจัยเข้ามาซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจซึ่งปัจจุบันมีความเปราะบางอยู่แล้ว สำหรับในประเทศมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือน พ.ค.63 พบว่าอ่อนแอในทุกรายการ โดยประเด็นที่จะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดได้แก่ ตัวเลขการว่างงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นต่อ ส่วนมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ เราเที่ยวด้วยกันเชื่อว่าจะสร้างกระแสเชิงบวกในกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม แต่ไม่น่าจะสร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการ พอร์ตจำลองวานนี้ได้ Stop profit รับกำไร 7% ในหุ้น DCC แนะนำให้เข้าลงทุนใน BGRIM ด้วยน้ำหนักเท่ากัน Top Pick เลือก BGRIM, INSET และ SEAFCO

ความเข้มงวดในการ Re-open หรือ การกลับมา Lockdown สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐ หลักๆ เป็นผลจาก 1.) ตอบรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดี (29 มิ.ย. Pending Home sales เดือน พ.ค. + 44% และทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเมื่อวานนี้ 30 มิ.ย. ดัชชีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เดือน มิ.ย.กลับมาเพิ่มขึ้น ครั้งแรกในรอบ 4 เดือนและดีกว่าตลาดคาด อยู่ที่ระดับ 98.1 จุด   2.)ความคาดหวังสภาพคล่องส่วนเกินจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการคลัง ล่าสุด สหรัฐ เมื่อคืน การแถลงต่อสภาครองเกรส ของประธาน Fed เผยว่าพร้อมจะออกมาตรการทางการเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานในสหรัฐอัตรา 25 ล้านคน   และรัฐมนตรีคลังสหรัฐเผยเตรียมจะพิจารณามาตรการกระตุ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่กระทบ Covid-19

ASPS ประเมินว่ายังมีปัจจัยความเสี่ยง Downside risk ที่จะกดดันเศรษฐกิจทั่วโลก ในช่วง 2H63 และจำกัดการปรับขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก หลักๆ คือ

   การ Lock down กิจกรรมเศรษฐกิจ และมาตรการเข้มงวดการ Reopen ประเทศ เพิ่มขึ้น โดยเมื่อคืน Dr. Anthony Stephen Fauci ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ ให้ความเห็นต่อ สภาคองเกรส คือ คาดจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ในสหรัฐ อาจจะปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 2 เท่า คือ เกิน 1 แสนราย/วัน จากปัจจุบัน อยู่ราว 4 หมื่นราย/วัน ผลจากการคลาย Lockdown เร็วเกินไป และ ประชาชนไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำ คือ สวมหน้ากาก โดยมีความเห็นแนะนำคือ ชะลอการเร่งเปิดธุรกิจ   สอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่เห็นการเข้มงวด Lockdown และกลับมา Lockdown บางพื้นอีกครั้ง อาทิ ออสเตรีเลีย คือ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย สั่งปิดพรมแดนภายในประเทศ ประกาศยกเลิกการเปิดพรมแดน , อังกฤษ รัฐบาลสั่งปิดเมืองเลสเตอร์ ฯลฯ

ความเห็นของ ASPS คือ ประมาณการณ์เศรษฐกิจ GDP ของสำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังไม่ได้รวมผลกระทบ หากเกิดการ Lock Down รอบที่ 2 ( ล่าสุด IMFคาด World GDP ปี 2563 หดตัว -4.9%) ถือเป็น Downside risk หากหลายประเทศทยอย Lock ธุรกิจอีกครั้ง หากเกิดขึ้นคาดสร้าง Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้น

Trade War เพิ่มความร้อนแรง หลังสหรัฐฯ ยกระดับกีดกัน Huawei +ZTE

กระแส Trade warและ Tech war ระหว่างสหรัฐจีนเริ่มร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง ดังที่ ASPS นำเสนอใน Market talk เมื่อวานนี้ 30 มิ.ย. แล้วว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ คะแนนความนิยมลดลงชัดเจนตั้งแต่ ปลายเดือน พ.ค.2563 สะท้อนจากล่าสุด Bloomberg รายงาน Poll สำรวจพรรค Republican (พรรคของประธานาธิบดีทรัมป์) มีคะแนนเพียง 32% น้อยกว่าพรรค Democratic (มีนาย Joe Biden เป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนสำคัญ) คะแนนนำอยู่ที่ 68% เนื่องจากนโยบาย American First ของของประธานาธิบดีทรัมป์ และคะแนนความนิยมลดลงดัวกล่าว ทำให้เริ่มเห็นฝั่งสหรัฐเดินหน้ากดดันจีน ล่าสุด เมื่อคืนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐ (FCC) ออกรายงาน หรือ ขึ้นบัญชี 2 บริษัทโทรคมนาคมของจีน คือ Huawei และ ZTE เป็นภัยคุกคามความปลอดภัยระดับประเทศ   จุดประสงค์ คือ ผลักดันผู้ผลิตจีน Huawei และ ZTE ออกจากตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากในชนบทสหรัฐ มีการซื้อและบำรุงรักษาโดยต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครือข่ายราคาถูกของทั้ง 2 บริษัท   ทำให้หลังจากนี้เงินรัฐบาลกลางสหรัฐจะไม่สามารถใช้ซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตโดย 2 บริษัท อีกต่อไป โดยรวมเชื่อว่าจะมีผลต่อราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัท และสร้าง Sentiment เชิงลบต่อการลงทุนได้ในระยะสั้น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามหรือให้น้ำหนักต่อ

เราเที่ยวด้วยกัน สร้างกระแส แต่อาจไม่สร้างกำไร

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วง 1H63 หดตัวชัดเจนสอดคล้องรายงาน ภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค. ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวานนี้ พบว่าฟันเฟืองเศรษฐกิจเกือบทุกตัวยังหดตัวสูง เช่น การส่งออก, การท่องเที่ยว, การลงทุนเอกชน ยกเว้นเพียงการใช้จ่ายภาครัฐ สอดคล้องคล้องกับที่ ASPS เคยนำเสนอ

ทั้งนี้ ธปท. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยงวด 2Q63 จะเป็นจุดต่ำสุดของปี (Bottom) โดย ธปท. คาด GDP ไทยจะหดตัวมากกว่า -10%yoy แต่ไม่เกิน -20% ( ASPS คาดหดตัว -15%yoy)

อย่างไรก็ตาม ASPS ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง   2H63 (ASPS คาดหดตัว -8.5% และ -6% ในงวด 3Q63 และ 4Q63 ตามลำดับ) แต่ยังมี Downside หรือ หดตัวมากกว่าที่คาดได้ทั้งนี้เนื่องจาก

   แม้รัฐบาลจะ Repoen ธุรกิจให้กลับมาเปิดได้เฟสที่ 5 (เปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สถานบันเทิง)   แต่ทว่า หลายธุรกิจที่กลับมาเปิดดำเนินการในช่วง 2H63 อาจเผชิญความเสี่ยงจากกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ (ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะความไม่แน่นนอนในอนาคตยังมี) ส่งผลให้ภาคธุรกิจลดการผลิตลง สะท้อนได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตของไทย ล่าสุด เดือน พ.ค. มีการใช้กำลังการผลิตรวม 52.8% หรือลดลงถึง -21.6%yoy (ลดลงมากสุดในรอบ 8 ปี)

   ภาคบริการ หากมองใน 2H63 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ฟื้นตัวได้จำกัด เนื่องจากมาตรการข้างต้นเน้นไปที่การท่องเที่ยวในประเทศ ส่วนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติยังเผชิญข้อจำกัดหลายอย่าง ดังนี้

  1. จำกัดประเภทผู้เดินทาง: เช่นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ามารักษา, ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากไทย นักธุรกิจ, ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และนักลงทุน
  2. จำกัดจำนวนผู้เดินทาง: สำหรับ นักธุรกิจ, ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และนักลงทุน ในเบื้องต้นจำกัดวันละ 200 คนต่อวัน
  3. จำกัดประเทศของผู้เดินทาง: เบื้องต้นยังอนุญาตแค่บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, จีน และฮ่องกง
  4. จำกัดพื้นที่: เช่น ห้ามเดินทางไปในที่สาธารณะ และห้ามใช้ระบบขนส่งมวลชนในการเดินทาง เป็นต้น

จากประเด็นต่างๆข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปียังเผชิญกับความท้าทายอยู่มาก

ขณะที่ผลการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ มาตรการที่จะได้กระแสจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐ หลังวานนี้ ที่ประชุม ครม. เห็นชอบ มาตรการ "เราเที่ยวด้วยกัน-เที่ยวปันสุข" (รวมเป็นมาตรการเดียวกัน) โดยเป็นการอุดหนุนค่าที่พัก ซึ่งรัฐจะโอนเงินให้ผู้ประกอบการ 40% แต่ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/คืน , ค่าอาหารและเข้าชมสถานที่ อุดหนุนไม่เกิน 600 บาท/ห้อง/คืน, ค่าตั๋วเครื่องบิน 2,000 บาท/คน จำกัดจำนวน 2 ล้านใบ (เดิมเสนออุดหนุนค่ารถโดยสารประจำทาง และรถเช่าด้วย แต่ล่าลุดยกเลิกไป) โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน

   รายละเอียดคือ ค่าที่พักนั้น รัฐบาลจะโอนเงินให้ผู้ประกอบการ 40% แต่ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/คืน , ค่าอาหารและเข้าชมสถานที่ รัฐบาลอุดหนุนไม่เกิน 600 บาท/ห้อง/คืน , ค่าตั๋วเครื่องบิน 2,000 บาท/คน จำกัดจำนวน 2 ล้านใบ โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน

   วิธีการคือ ธนาคารกรุงไทยจัดทำ platform ให้ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ลงทะเบียน 1 ก.ค. ขณะที่ประชาชนลงทะเบียนขอใช้สิทธิ 15 ก.ค.63 ทาง App "เป๋าตัง

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในจีน...กระทบ CPF และ TFG จำกัด

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ามีการตรวจพบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (G4 EA H1N1) ในประเทศจีน พบในกลุ่มคนงานในโรงฆ่าสัตว์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหมูในจีน ทำให้คาดว่าเป็นการระบาดจากสุกรสู่คน โดยยังไม่มีหลักฐานว่ามีการระบาดจากคนสู่คนในปัจจุบัน แต่นักวิจัยกังวลว่าหากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีการระบาดจากคนสู่คน อาจกลายเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดในวงกว้างไปทั่วโลกได้

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผู้ประกอบการสุกรในไทยจะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะทั้ง CPF และ TFG ไม่ได้ทำธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรในจีน อีกทั้ง โรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบาดในไทยและเวียดนามด้วย แต่ยังต้องติดตามว่าประเด็นดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคเนื้อหมูหรือไม่ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักราคาสุกรและไก่ในไทยที่ฟื้นตัวชัดเจน หลังการคลายล็อกดาวน์มากขึ้น และราคาสุกรในเวียดนามยังยืนสูงต่อเนื่อง จึงยังคงประมาณการเดิม โดยคาดกำไรสุทธิปี 2563 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะเติบโต 17.6% yoy จากธุรกิจสุกรในไทย เวียดนามและธุรกิจยางพาราฟื้นตัว และเลือก CPF (FV@B>40) เป็น Top pick ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จาก Valuation ที่น่าสนใจ โดยมีค่า PER ปี 2563 เพียง 12 เท่า และพร้อม Div Yield 2-3% ต่อปี

แนะนำหุ้น Valuation เด่น มีแรงผลักดันเฉพาะตัว ยังชอบ INSET, SEAFCO และเพิ่ม BGRIM ในวันนี้

ยามที่ตลาดหุ้นมี Valuation ตึง และยังถูกปกคลุมไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งความกังวลในการระบาด COVID-19 รอบ 2, ไข้หวัดหมู G4 EA H5N1 และ Tech War คือ การระงับซื้อขายสินค้า Huawei, ZTE ในสหรัฐฯ ขณะที่ธุรกิจในประเทศจะเริ่มกลับมาดำเนินได้ตามปกติ แต่ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ความสามารถในการทำกำไรอีก

กลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกหุ้น เน้นหุ้นกำไรเด่น และมีแรงผลักดันเฉพาะตัว ยังชอบ INSET, SEAFCO และวันนี้เพิ่ม BGRIM เป็น Top Picks โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

SEAFCO (FV@B>8.20) ได้ Sentiment ความคืบหน้าโครงการลงทุนภาครัฐที่เริ่มทยอยออกมาเรื่อยๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง และล่าสุด SEAFCO ประกาศได้งานเสาเข็มใหม่ 3 โครงการ อาทิ รพ.จุฬาภรณ์ แจ้งวัฒนะ, โครงการปรับปรุงห้างเซ็นทรัล พลาซ่า พระราม 2, และ ห้างเซ็นทรัล เอ็มบาสซี (ส่วนต่อขยาย) มูลค่า 800 ล้านบาท หนุน Backlog ขึ้นทำจุดสูงสุดรอบ 7 ไตรมาส ขณะที่ราคาหุ้นยังน่าสนใจ PER เพียงแค่ 9.9 เท่า และ Div Yield สูงเกือบ 5% มี Upside เปิดกว้าง 46%

INSET (FV@B>4.18) ได้กระแสการประมูลในส่วนงานโทรคมนาคม เริ่มทยอยกลับมา และ ช่วงที่ผ่านมาได้ประกาศรับงานใหม่มูลค่า 339 ล้านบาท หนุน backlog เพิ่มสู่ระดับ 2.3พันล้านบาท ส่วนที่เหลือยังคาดหวังได้งานใหม่ในอุตสาหกรรมที่ทยอยออกมาต่อเนื่อง จากพันธมิตรหลายรายทั้งรัฐและ subcontract ต่อจากเอกชนรายอื่น ภาพรวมคาดกำไรปี 2563 เติบโต 22%yoy โดยราคาหุ้นปัจจุบันเด่นที่ซื้อขาย PER 63 ที่ 11.6 เท่า ต่ำกว่ากลุ่ม (ITEL, ALT) ที่ซื้อขายถึง 24.5 เท่า

BGRIM (FV@B>62.00) เป็นหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตสูงในระยะยาว โดยฝ่ายวิจัยคาดว่า จะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการนำเข้า LNG มากกว่าผู้ประกอบการอื่นในเวลานี้จากการนำมาใช้ใน SPP Replacement ทั้ง 5 โรงส่วนที่ขายให้ลูกค้าอุตฯซึ่งจะทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมีนัยฯ นอกจากนี้ยังคาดหวังได้กับโครงการใหม่ที่ BGRIM กำลังศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่ทิศทางกำไร 2H63 ก็จะโดดเด่นกว่า 1H63 จากราคาก๊าซฯที่จะลดลง 15-20% ตาม lag time ราคาน้ำมันดิบ หนุนกำไรปี 2563 เติบโต 11.9%

RESEARCH DIVISION

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!