- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 30 June 2020 11:33
- Hits: 5550
บล.เออีซี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 30-6-2020
AECS Daily Focus
Market Outlook
วันนี้คาด SET Index รีบาวด์ช่วงสั้น หลังได้ปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจจีน และสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว ขณะที่ปัจจัยในประเทศผ่านมาตรการล็อกดาวน์เฟส 5 ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจหากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1,325-1,345 จุด
Market Factor
- • (+) ยอดขายบ้านรอการขายของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. ออกมาดีกว่าคาดมาก เพิ่มขึ้น 44.3% MoM สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวหลังมีการคลาย Lockdown
- • (+) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมจีนปรับตัวขึ้น 6% ในเดือน พ.ค. แตะที่ระดับ 5.8234 แสนล้านหยวน (8.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2562 และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของการชัตดาวน์ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19
- • (+) ดัชนี PMI ภาคการผลิต และบริการของจีน เดือน มิ.ย. ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อยที่ 50.9 และ 54.2 ตามลำดับ
(-) ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 160,468 ราย โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่สหรัฐฯ ติดเชื้อเพิ่ม 44,450 ราย และมีเคสรักษาไม่หายสะสมสูงถึง 1.44 ล้านราย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ฝั่งอินเดียรายงานติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่ม 1.8 หมื่นราย ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เป็นปัจจัยกดดันตลาดจากความกังวลการระบาดระลอก 2 ทำให้ความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจลดลงหากมีการชะลอหรือปิดเมืองอีกครั้ง ซึ่งได้เห็นแล้วในบางเมืองของสหรัฐฯ
(Watch) ปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ : การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฮ่องกง จากจีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความ ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนตามมา, เวลา 21.00 น. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.ของสหรัฐฯ
(+) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ลงนามออกประกาศคลายล็อกน่านฟ้า เปิด 11 กลุ่มเดินทางเข้าไทย เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ก.ค.63 นี้ (thebangkokinsight)
(+) ที่ประชุมใหญ่ ศบค.ยืนยันจำเป็นต้องขยายเวลาการยังคับใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน รวมทั้งให้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เฟส 5 ให้กับกลุ่มธุรกิจ หรือกิจกรรมเสี่ยงกลับมาดำเนินการได้ (อินโฟเควสท์)
(-) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมMPI เดือน พ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 80.31 หดตัว 23.19%YoY ถือเป็นอัตราการหดตัวต่ำสุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก สะท้อนผ่านภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 52.84% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้อัตรากำลังการผลิตเพียง 26.86% (แนวหน้า)
รายงาน สธ.ประจำวันที่ 29 มิ.ย.พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย ยอดสะสมผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 3,169 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย
- • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยล่าสุดรุ่น 5 ปี อยู่ที่ 0.82% (UnChg.DoD) และรุ่น 10 ปี อยู่ที่ 1.27% (UnChg.DoD) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 0.63% (UnChg.DoD)
- • ปรับลดประมาณการ EPS โดยข้อมูลจาก Bloomberg Consensus พบว่าเมื่อต้นปี EPS ปี 63 ที่ 101.9 บ. ขณะที่ปัจจุบันเหลือ 65.3 บ. หรือลดลง 35.9%YTD
- • Update Flow เมื่อวานนี้ต่างชาติขายสุทธิ 642.55 ลบ.ส่งผล MTD .ขายสุทธิที่ 21,543.06 ลบ. ขณะที่ นลท. สถาบันซื้อสุทธิ 1,852.18 ลบ.ส่งผล MTD. พลิกเป็นซื้อสุทธิอยู่ที่ 3,064.52 ลบ.
Investment Strategy
สัปดาห์นี้ คาด SET Index มีโอกาสแกว่งพักตัว โดยแม้จะมีปัจจัยหนุนจาก 1) แรงหนุนด้านสภาพคล่องในตลาดจากมาตรการทางการเงินของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงมาตรการด้านการคลังเพื่อฟื้น หรือเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจ 2) การปลดล็อกดาวน์เฟส5 เปิดให้กลุ่มธุรกิจเสี่ยงมากกลับมาดำเนินการได้ การยกเลิกมาตรการเคอร์ฟิว และการออกมาตการฟื้นธุรกิจภาคท่องเที่ยว และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศต่อเนื่อง ให้เกิดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบบมากขึ้น แต่คาดถูกกลบด้วย 4 ปัจจัยลบ ดังนี้ 1) ความกังวลสถานการณ์การระบาด COVID-19 ระลอกที่ 2 ทั้งในสหรัฐฯ หลังรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว 2) ประเด็นการปรับลดมุมมองเศรษฐกิจโลกของ IMF มีแนวโน้มหดตัวรุนแรงและฟื้นตัวได้ช้า และ 3) การปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิของ SET จากข้อมูล Bloomberg Consensus อยู่ที่ 65.34 บ.ลดลง 35.92%YTD ส่งผลต่อ Valuation ตลาดที่ตึงตัว ณ ระดับดัชนี ปจบ.ที่เทรดอยู่ระดับ P/E 18.6X (สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 17.0X) 4) การปรับมุมมองเศรษฐกิจของ ธปท.ลง โดยปรับลดประมาณการ GDP ปี 63 เป็น -8.1% (จากเดิมคาด -5.3%) นอกจากนี้ยังต้องติดตามประเด็นการปรับขึ้นภาษีศุลกากรใหม่ของฝั่งสหรัฐฯ ต่อประเทศยูโรโซน มูลค่ากว่า 3.1 พันล้านเหรียญฯ รวมถึงรายตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตของทั้งสหรัฐฯ จีน ยูโรโซน รวมถึงไทย ประเมินกรอบเคลื่อนไหว 1,300-1,350 จุด ฉะนั้นแนะนำเลือกเก็งกำไรช่วงสั้น เล่นเทรดดิ้งตามกรอบเน้นซื้อเมื่ออ่อนตัวใกล้โซนแนวรับ และทยอยลดพอร์ตเมื่อเข้าใกล้แนวต้าน พร้อมแนะนำหุ้นที่คาดมีผลประกอบการดีในหุ้น 2 กลุ่ม ดังนี้
หุ้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากแผนกระตุ้น ศก.และงานประมูลภาครัฐฯ: แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์และมี Upside ได้แก่ SEAFCO (รายงาน 1Q63 กำไร 94.41 ลบ +11%QoQ และ -21.4YoY ) ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 63 ทำ New High ปจบ.มี Backlog กว่า 2.7 พัน ลบ.บวกกับได้อานิสงส์บวกจากร่าง พรบ.งบประมาณฯ ที่ผ่านสภา และยังมี Upside จากงานประมูลใหม่ จากโครงการลงทุนทั้งจากรัฐและเอกชน), CPALL รายงานกำไร 1Q63 ที่ 5.64 พัน ลบ. (-2%YoY, -8%QoQ) ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ลูกค้าลดลง และมาตรฐาน บช.ใหม่เรื่องสัญญาเช่ามีต้นทุนเพิ่ม 308 ลบ. อย่างไรก็ดีรายได้รวมยังโต 5%YoY จากการเปิดสาขาใหม่ และรายได้ Banking agent ที่เติบโต รวมถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้นของ MAKRO ที่ได้ประโยชน์จากช่วง COVID-19 ทั้งนี้การกลับมาผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐจะช่วยให้ 2H63 กำลังซื้อจะฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งการเข้าซื้อ TESCO LOTUS ในระยะยาวมองเป็นบวกจาก Synergy ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้กลุ่ม CP มีทั้งค้าส่ง ค้าปลีก และสะดวกซื้อครบวงจร , TACC กำไร 1Q63 ที่ 42.64 ลบ. โต 18.9%YoY หนุนด้วยยอดขายกลุ่มสินค้า High margin เพิ่มขึ้น โดยแม้ช่วง 2Q63 ได้รับผลกระทบจากมาตรการเคอร์ฟิว แต่เริ่มให้สัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนช่วง 2H63 หลังภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ นำไปสู่การยกเลิกเคอร์ฟิวและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง บวกกับบริษัทเดินหน้าออกผลิตภัณฑ์ใหม่เจาะตลาด Healthy drink รักษาระดับอัตรากำไรที่สูงตามแผน (ปจบ.PER เทรดอยู่ระดับ 16.6X ต่ำกว่าทั้งระดับกลุ่มอุตสาหกรรมและตลาดที่53.8X และ 21.7X ตามลำดับ, พร้อมให้ Dividend Yield ราว 5.11%)
กลุ่มที่คาดผลดำเนินงานมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง: เหมาะกับการทยอยซื้อสะสมโดยเน้นหุ้นที่กำไรทั้งปี 62 โตดีและ ปี 63 โตต่อ แนะนำ TPAC ผู้ผลิตบรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภค บริโภค ชั้นนำของไทย รายงานกำไรสุทธิช่วง1Q63 90.6 ลบ.เพิ่มขึ้น 92%QoQ และ 45%YoY เป็นกำไรรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัท หลักๆมาจากอัตรากำไรที่ดีขึ้น GPMเพิ่มขึ้น 650bp YoY และ 460bp QoQ ได้รับอานิสงส์จากราคาวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก) ที่ลดลง และการรวมงบกิจการที่UAE ซึ่งมีGPMสูงกว่า และ NPM เพิ่มขึ้น 240bp YoY และ 370bp QoQ จากประสิทธิภาพการผลิตรวมถึงการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น โดยแนวโน้มวัตถุดิบที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็นปัจจัยสนับสนุนผลประกอบการช่วง 2Q63 , SSP ช่วง 1Q63 มีกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 161.2 ลบ. โต 24.3%YoY ผบห.คาดรายได้และกำไรปี 63 ทำ New high จากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าที่เวียดนามและมองโกเลีย ขนาดรวม 55 MW ซึ่ง COD ตั้งแต่ มี.ค. 62 และ ก.ค. 62 ตามลำดับ ขณะที่ 2H63 เริ่ม COD โครงการยามากะที่ญี่ปุ่นขนาด 30 MW. หนุนกำลังผลิตรวม ปจบ.กว่า 160 MW.พร้อมวางแผนขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 2 ในเวียดนาม และเตรียมเข้าลงทุนโครงการโซลาร์รูฟท็อปในอินโดนีเซีย ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้า 400 MW.ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ล่าสุด SSP ประกาศจ่ายปันผล 0.11 บ/หุ้น (Yield1.5%)
- •
- • Trading Idea
- • กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง: งานประมูลใหม่ๆ เริ่มเดินหน้า ล่าสุดรถไฟฟ้าสายสีส้มหลัง รฟม. เห็นชอบประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม วันที่ 3 – 9 ก.ค.นี้ ยื่นข้อเสนอภายใน ก.ย. 63 โดยคาดว่าจะลงนามได้ ธ.ค. 63 เป็นสัญญาณบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง แนะนำเก็งกำไร CK เนื่องจากเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน อีกทั้ง BEM ที่เป็นบริษัทลูกกำลังฟื้นตัวจากการคลาย Lockdown ในประเทศ
29-Jun-20 Change (pts.) 26-Jun-20
SET Index 1,329.76 -0.58 1,330.34
SET50 Index 878.64 0.03 878.61
SET100 Index 1,944.37 0.47 1,943.90
High 1,329.94 Gainers 450
Low 1,312.59 Unchanged 388
Value (Bt m) 48,903.24 Losers 885
Volume (*000) 14,703,991
Market Valuation
SET Data 2019F 2020F Long Term
Fwd PER (x) 20.3 16.0 16.0
EPS Growth (%) 13.9 9.3 -20.8
EV/EBITDA (x) 12.8 11.1 10.1
FWD PBV (x) 1.5 1.4 1.4
Dividend Yield (%) 2.8 3.1 3.4
ROE 6.7 8.1 8.6
Net Buy/Sell by Investor Types
Unit : M Bt 29-Jun-20 WTD MTD YTD
Institution 1,852.18 1,852.18 3,064.53 70,650.62
Proprietary 1,069.57 1,069.57 3,069.57 540.06
Foreign (642.55) (642.55) (21,543.04) (215,472.15)
Individual (2,279.20) (2,279.20) 15,408.94 144,281.47
AECS ( Fundamental and Strategic Team )
ภัทรพล จันทร์อินทร์ (ID. 089932) [email protected]
ธีรยุทธ ฤทธิเผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ชัยรัตน์ คงสุนทร
สุวรรณา อัศวเหล่าวรพงศ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
Data Support / Secretary
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web