- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 25 June 2020 13:02
- Hits: 4432
บล.เออีซี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 25-6-2020
AECS Daily Focus
Market Outlook
วันนี้คาด SET Index ปรับตัวลงตามภูมิภาคหลังเผชิญปัจจัยลบกดดันรอบด้าน ทั้งประเด็น 1)ความไม่แน่นอนการขึ้นภาษีศุลกากรรอบใหม่ของสหรัฐฯ ต่อสินค้าฝั่งยูโรโซน 2) การปรับลดมุมมองเศรษฐกิจโลกจาก IMF และการปรับลดประมาณการ GDP ปี63 ของแบงก์ชาติ นอกจากนี้ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯยังเร่งตัวต่อเนื่อง ประเมินการเคลื่อนไหวดัชนีที่ 1,300-1,340 จุด
Market Factor
- • (-) ตัวเลขผู้ติดเชื้อCOVID-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 172,997 ราย สูงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าโดยบราซิลพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 40,995 ราย ขณะที่สหรัฐฯ ติดเชื้อเพิ่ม 39,000 ราย สูงกว่าวันก่อนหน้า โดยเพิ่มสูงขึ้นในรัฐแคลิฟอเนีย เท็กซัส และฟลอริดา ขณะที่ยังมีเคสรักษาไม่หายสะสมสูงถึง 1.28 ล้านราย เป็นปัจจัยกดดันตลาดจากความกังวลการระบาดระลอก 2 ทำให้ความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจลดลง
- • (-) IMF ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ลงอีก โดยปรับลงจาก -3% เมื่อเดือน เม.ย. เป็น -4.9% คาดสหรัฐฯ -8% ยุโรป -10.2% ญี่ปุ่น -5.8% จีน 1% และไทย -7.7%(ต่ำสุดในอาเซียน) ขณะที่คาดการณ์หนี้สาธารณะต่อ GDP จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ หลังหลายประเทศออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง
- • (-) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ลดลง 5.3% จากตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ 1.44 ล้านบาร์เรล สูงกว่าคาดการณ์ที่ 3 แสนบาร์เรล ขณะที่การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงกว่า 5 แสนบาร์เรล/วัน เป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน
- • (-) USTR เตรียมขึ้นภาษีต่อสินค้าจากกลุ่มยุโรป รวมถึงอังกฤษ มูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมสินค้าเช่น เบียร์ ชิ้นส่วนเครื่องบิน ชีส โยเกิร์ต เป็นต้น สร้างแรงกดดันต่อการทำสงครามการค้าอีกครั้ง
- • (Watch) ปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้: เวลา 19.30 น. ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ เดือน พ.ค. (คาดเพิ่มขึ้น 2.5%), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ (คาด 1.3 ล้านคน)
- • (-) กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ย 0.5% แต่มีการปรีบลดประมาณการ GDP ปี 63 ลงเป็นติดลบ -8.1% จากเดิมที่คาดติดลบเพียง -5.3% และปรับลดการส่งออกปี 63 ติดลบ -10.3% จากเดิมคาดติดลบ -8.8% (กรุงเทพธุรกิจ)
- • (-) กระทรวงพาณิชย์ เผยภาวะการณ์ค้าไทย โดยยอดส่งออกเดือนพ.ค.63 มูลค่า 16,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบ 22.5%YoY สาเหตุจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ภาพรวมผู้บริโภคทั่วโลกมีกำลังซื้อลดลง ขณะที่ภาพรวมการส่งออกของไทยช่วง 5M63 มีมูลค่า 97,899 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบ 3.71%YoY (อินโฟเควสท์)
- • (+) โฆษก ศบค.เผย 5 กลุ่มต่างชาติ ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ แรงงานฝีมือ คนต่างด้าวที่มีครอบครัวไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในไทย บุคลากรทางการศึกษา และ Medical and wellness Tourism สามารถเดินทางเข้าไทยได้หลังตอบรับมาตรการ State Quarantine ส่วนกลุ่ม Travel Bubble ต้องรอสรุปมาตรการเพื่อบังคับใช้ช่วงเดือนส.ค.63นี้ ขณะที่พร้อมเตรียมผ่อนคลายเฟส 5 ให้กิจกรรม และกลุ่มกิจการความเสี่ยงสูงที่เหลืออยู่ ที่จะให้มีผล 1 ก.ค.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
- • รายงาน สธ.ประจำวันที่ 24 มิ.ย.พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย ยอดสะสมผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 3,157 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย
- • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยล่าสุดรุ่น 5 ปี อยู่ที่ 0.90% (2.3%DoD) และรุ่น 10 ปี อยู่ที่ 1.30% (-2.3%DoD) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 0.68% (-7.4% DoD)
- • ปรับลดประมาณการ EPS โดยข้อมูลจาก Bloomberg Consensus พบว่าเมื่อต้นปี EPS ปี 63 ที่ 101.9 บ. ขณะที่ปัจจุบันเหลือ 65.3 บ. หรือลดลง 35.9%YTD
- • Update Flow เมื่อวานที่ผ่านมาต่างชาติขายสุทธิ 3,589.77 ลบ.ส่งผล MTD .ขายสุทธิที่ 17,609.51 ลบ. ขณะที่ นลท. สถาบันซื้อสุทธิ 1,154.19 ลบ.ส่งผล MTD. เป็นขายสุทธิอยู่ที่ 667.68 ลบ.
Investment Strategy
ช่วงที่เหลือสัปดาห์นี้ เรามีมุมมองลบต่อ SET มีโอกาสปรับลงทดสอบแนวรับ1,300 จุด โดยแม้จะมีปัจจัยหนุนจาก 1) แรงหนุนด้านสภาพคล่องในตลาดจากมาตรการทางการเงินของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก 2) การปลดล็อกดาวน์เฟสที่ 4 เปิดให้กลุ่มธุรกิจเสี่ยงกลับมาดำเนินการได้ การยกเลิกมาตรการเคอร์ฟิว และการออกมาตการฟื้นธุรกิจภาคท่องเที่ยว และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศต่อเนื่อง ให้เกิดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบบมากขึ้น แต่คาดถูกกลบด้วย 4 ปัจจัยลบ ดังนี้ 1) ความกังวลสถานการณ์การระบาด COVID-19 ระลอกที่ 2 ทั้งในสหรัฐฯ และจีนหลังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เร่งตัวขึ้น 2) ประเด็นการปรับลดมุมมองเศรษฐกิจโลกของ IMF มีแนวโน้มหดตัวรุนแรงและฟื้นตัวได้ช้า และ 3) การปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิของ SET จากข้อมูล Bloomberg Consensus อยู่ที่ 65.92 บ.ลดลง 35.35%YTD ส่งผลต่อ Valuation ตลาดที่ตึงตัว ณ ระดับดัชนี ปจบ.ที่เทรดอยู่ระดับ P/E 19.1X (สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 17.0X) 4) ที่ประชุม กนง.ครั้งที่ 4/63 มีมติคงอัตรา ดบ.ไว้ที่ 0.5% แต่ปรับลดประมาณการ GDP ปี 63 เป็น -8.1%(จากเดิมคาด -5.3%) นอกจากนี้ยังต้องติดตามประเด็นการปรับขึ้นภาษีศุลกากรใหม่ของฝั่งสหรัฐฯต่อประเทศยูโรโซน มูลค่ากว่า 3.1 พันล้านเหรียญฯ ประเมินกรอบเคลื่อนไหว 1,300-1,350 จุด ฉะนั้นแนะนำเลือกเก็งกำไรช่วงสั้น เล่นเทรดดิ้งตามกรอบเน้นซื้อเมื่ออ่อนตัวใกล้โซนแนวรับ และทยอยลดพอร์ตเมื่อเข้าใกล้แนวต้าน พร้อมแนะนำหุ้นที่คาดมีผลประกอบการดีในหุ้น 2 กลุ่ม ดังนี้
หุ้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากแผนกระตุ้น ศก.และงานประมูลภาครัฐฯ: แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์และมี Upside ได้แก่ TEAMG: (แม้กำไรสุทธิ 1Q63 ทำได้ 24.6 ลบ.ชะลอตัว 3.4% YoY แต่ด้วยความเป็นผู้นำของธุรกิจออกแบบ ควบคุมงานโครงการ บ.มีศักยภาพสูง เดินหน้าคว้าโปรเจคใหม่ต่อเนื่อง ปี 63 คาด Backlog ทำ New High หนุนรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีจากนี้ มอง TEAMG น่าสนใจหลัง ปจบ.เทรดที่ PE ระดับ 12.8X (ขณะที่อุตสาหกรรมเทรดที่ระดับ 41.6X) ล่าสุดประกาศรับงานใหม่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.เพิ่มทั้งหมด 5 โครงการ เป็นงานจากภาครัฐทั้งหมดโดยแบ่งเป็นงานที่ปรึกษา 2 โครงการ และงานจัดหาติดตั้งเครื่องมือ 3 โครงการโดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 180 วัน – 68 เดือน รวมมูลค่างานที่ได้รับทั้งสิ้น 1.04 พัน ลบ.ขณะที่ความเสี่ยงภาระหนี้สินต่ำมาก โดยมีสัดส่วน Interest bearing debt/equity เพียง 0.02X นอกจากนี้ให้ Dividend Yield กว่า 5.05%), SEAFCO (รายงาน 1Q63 กำไร 94.41 ลบ +11%QoQ และ -21.4YoY ) ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 63 ทำ New High ปจบ.มี Backlog กว่า 2.7 พัน ลบ.บวกกับได้อานิสงส์บวกจากร่าง พรบ.งบประมาณฯ ที่ผ่านสภา และยังมี Upside จากงานประมูลใหม่ จากโครงการลงทุนทั้งจากรัฐและเอกชน), CPALL รายงานกำไร 1Q63 ที่ 5.64 พัน ลบ. (-2%YoY, -8%QoQ) ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ลูกค้าลดลง และมาตรฐาน บช.ใหม่เรื่องสัญญาเช่ามีต้นทุนเพิ่ม 308 ลบ. อย่างไรก็ดีรายได้รวมยังโต 5%YoY จากการเปิดสาขาใหม่ และรายได้ Banking agent ที่เติบโต รวมถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้นของ MAKRO ที่ได้ประโยชน์จากช่วง COVID-19 ทั้งนี้การกลับมาผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐจะช่วยให้ 2H63 กำลังซื้อจะฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งการเข้าซื้อ TESCO LOTUS ในระยะยาวมองเป็นบวกจาก Synergy ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้กลุ่ม CP มีทั้งค้าส่ง ค้าปลีก และสะดวกซื้อครบวงจร
กลุ่มที่คาดผลดำเนินงานมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง: เหมาะกับการทยอยซื้อสะสมโดยเน้นหุ้นที่กำไรทั้งปี 62 โตดีและ ปี 63 โตต่อ แนะนำ SABINA: รายงานผลประกอบการ1Q63 กำไร 70.4 ลบ -15.3%QoQ และ-12%YoY จากรายได้ที่ลดลง 16.3%QoQ และ 12.7%YoY เนื่องจากผลกระทบ COVID-19 ทำให้ช่องทางขายหน้าร้านที่เป็นช่องทางขายหลักถูกปิดไปในช่วง 22/3/63 ตามคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าของภาครัฐ อย่างไรก็ดียอดขายในส่วน NSR 99.8 ลบ +9%YoY ทำให้สัดส่วนขึ้นมาเป็น 15% ของยอดขายรวม รวมถึงช่องทางขาย Export +31.3%YoY ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 52.9% จากการผลิตที่น้อยลง และการชะลอนำเข้าสินค้าจากจีน และ SG&A/Sales ลดลง 10%YoY จากการควบคุมต้นทุนภายในที่ทำได้รวดเร็วหลังเกิดสถานการณ์ COVID แนวโน้ม 2Q63มีโอกาสอ่อนตัวต่อ โดยบริษัทจะมุ่งเน้นการขายแบบ NSR เพื่อชดเชยการขายหลักที่ถูกปิดไปในช่วงเมษ-พค และคาดยอดขายจะเริ่มฟื้นตัวในช่วง 2H63, SSP ช่วง 1Q63 มีกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 161.2 ลบ. โต 24.3%YoY ผบห.คาดรายได้และกำไรปี 63 ทำ New high จากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าที่เวียดนามและมองโกเลีย ขนาดรวม 55 MW ซึ่ง COD ตั้งแต่ มี.ค. 62 และ ก.ค. 62 ตามลำดับ ขณะที่ 2H63 เริ่ม COD โครงการยามากะที่ญี่ปุ่นขนาด 30 MW. หนุนกำลังผลิตรวม ปจบ.กว่า 160 MW.พร้อมวางแผนขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 2 ในเวียดนาม และเตรียมเข้าลงทุนโครงการโซลาร์รูฟท็อปในอินโดนีเซีย ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้า 400 MW.ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ล่าสุด SSP ประกาศจ่ายปันผล 0.11 บ/หุ้น (Yield1.5%)
- •
- • Trading Idea
- • หุ้นที่คาดฟื้นตัวเด่นจากการคลาย Lock Down : เลือก BTSGIF โดยได้ปัจจัยหนุนโดยตรงจากการผ่อน Lock Down และการกลับมาเปิดภาคการเรียน 1 ก.ค.63 นี้ตามประกาศของกระทรวงศึกษาฯ หนุนยอดผู้โดยสารรวมฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ(ค่าเฉลี่ยรายเดือนปี 62 ที่ระดับ 20.6 ล้านเที่ยวคน) คาด Ridership ช่วงเดือน เม.ย.ที่ 3.5 ล้านเที่ยวคนเป็นจุดต่ำสุดแล้ว บวกกับจ่ายผลสม่ำเสมอ ให้ Div.Yield ย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 6.7% นอกจากนี้ราคา ปจบ.มี Discount 18.7% จากราคาประเมิน NAV.ล่าสุดตามรายงาน ตลท.เมื่อ 14 พ.ค.ที่ผ่านมาที่ราคา 9.2273 บ./หน่วย
24-Jun-20 Change (pts.) 23-Jun-20
SET Index 1,333.43 -23.00 1,356.43
SET50 Index 880.20 -17.12 897.32
SET100 Index 1,948.06 -37.36 1,985.42
High 1,365.46 Gainers 385
Low 1,333.32 Unchanged 259
Value (Bt m) 60,885.82 Losers 1,065
Volume (*000) 16,339,735
Market Valuation
SET Data 2019F 2020F Long Term
Fwd PER (x) 20.4 16.0 16.0
EPS Growth (%) 13.9 9.3 -20.5
EV/EBITDA (x) 12.9 11.2 10.3
FWD PBV (x) 1.5 1.4 1.4
Dividend Yield (%) 2.8 3.1 3.4
ROE 6.7 8.1 8.5
Net Buy/Sell by Investor Types
Unit : M Bt 24-Jun-20 WTD MTD YTD
Institution 1,154.19 (3,159.52) (667.68) 66,918.41
Proprietary (1,623.68) (1,391.51) 2,988.82 459.31
Foreign (3,589.37) (7,468.49) (17,609.48) (211,538.59)
Individual 4,058.86 12,019.52 15,288.34 144,160.87
AECS ( Fundamental and Strategic Team )
ภัทรพล จันทร์อินทร์ (ID. 089932) [email protected]
ธีรยุทธ ฤทธิเผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ชัยรัตน์ คงสุนทร
สุวรรณา อัศวเหล่าวรพงศ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
Data Support / Secretary
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web