- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 23 June 2020 20:24
- Hits: 6095
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 23-6-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ผ่านมามาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นไปที่กระตุ้นการบริโภคครัวเรือน และท่องเที่ยว แต่เชื่อว่าจะเห็นการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น ทั้งรถไฟฟ้า และระบบโทรคมนาคม แนะนำปรับพอร์ตโดย Cut Loss หุ้น TVO (น้ำหนัก 5%) และเข้าลงทุนใน INSET ซึ่งได้ประโยชน์จากการลงทุนระบบโทรคมนาคมแทน Top Pick เลือก INTUCH, INSET และ SPVI
จะเห็นการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น
สถานการณ์ Covid-19 โดยภาพรวมทั่วโลกยังดูน่าเป็นห่วง แต่การตีความที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นมีน้ำหนักน้อยลง อาจเป็นเพราะว่า Fund Flow ที่เข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยเริ่มตึงตัว หลังราคาตราสารการลงทุนต่างๆ ปรับสูงขึ้น และกดดัน Yield ให้ลงมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น สำหรับในบ้านเรามี 2 ประเด็นที่ติดตาม เริ่มจากการประชุม กนง. วันพรุ่งนี้ ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2563 มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้งเหลือ 0.25% แต่อาจไม่ได้เป็นการปรับลงในรอบนี้ แต่หาก Surprise มีการปรับลดลงมาก็จะเป็นผลดีต่อ SET Index เพราะทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตลาดหุ้นกับพันธบัตรกว้างขึ้น ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่หุ้นเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นปันผล อีกประเด็นหนึ่งที่น่าติดตามก็คือ มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยที่ผ่านมาเน้นการกระตุ้นการจับจ่าย และการท่องเที่ยว ในช่วงจากนี้ไปน่าจะเห็นการเร่งตัวของการประมูลโครการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งในส่วนของรถไฟฟ้า และระบบโทรคมนาคม ซึ่งฝ่ายวิจัยเห็นว่าเป็นผลดีต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องอย่าง INSET แนะนำปรับพอร์ตโดย Cut Loss หุ้น TVO แล้วย้ายเงินเข้าลงทุนใน INSET ส่วน Top Pick เลือก INTUCH, INSET และ SPVI
Covid-19 ยังไม่จบ แต่ถูกตีความเป็นลบต่อตลาดหุ้นน้อยลง
ตลาดหุ้นทั่วโลกดูเหมือนว่าให้น้ำหนักการระบาดของไวรัส COVID-19 รอบที่ 2 (2nd wave) น้อยลง แม้จำนวนผู้ติดเชื้อหลายประเทศยังพุ่งขึ้นต่อ อาทิ สหรัฐ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3.14 หมื่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยต้นเดือน มิ.ย. อยู่ราว 2.7 หมื่นราย เกาหลีใต้ ล่าสุดออกมายอมรับ ประเทศติดเชื้อรอบ 2 ล่าสุดกลับมาเพิ่ม 17 ราย ฯลฯ แต่ตลาดหุ้นทั้ง 2 ประเทศยังทรงตัวสูง ทั้งนี้เชื่อว่าเนื่องจากตลาดให้น้ำหนักการผ่อนคลายประเทศ (Reopen) เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ASPS ให้น้ำหนักปัจจัยลบที่ยังรออยู่อื่นๆ อาทิ Trade war สหรัฐ-จีน , การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ คืนนี้ในสหรัฐ รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐงวดเดือน มิ.ย. 2563 (ประมาณการเบื้องต้น) ซึ่งตลาดคาดจะฟื้นตัวมาที่ระดับ 48 จุด จากเดือนก่อนที่ 39.8 จุด หรือเพิ่มขึ้น 20.6%mom ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และถ้านับจากจุดต่ำสุดที่ 36.1 จุด ในเดือน เม.ย. 2563 PMI จะฟื้นตัว 33%
พรุ่งนี้ให้น้ำหนักประชุม กนง.
วันพรุ่งนี้ให้น้ำหนักการประชุม กนง. ซึ่ง ASPS คาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) จากปัจจัยต่างๆดังนี้
- ไทยไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศติดต่อกันรวม 28 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2563 ส่งผลให้การผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆทำได้มากขึ้น โดยปัจจุบันดำเนินมาถึงระยะที่ 4 (ยกเลิก Curfew))เชื่อว่าการผ่อนคลายข่างต้น จะช่วยให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น ซึ่งจะลดบทบาทของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่นการลดดอกเบี้ย) ลง
- Consensus ของ Bloomberg พบว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด กนง. จะคงดอกเบี้ย โดยมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 ท่าน จากทั้งหมด 14 ท่าน มองว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 0.5% ส่วนอีก 4 ท่านคาดว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยเหลือ 0.25%
- ตลาดการเงินมองว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 0.5% สะท้อนจาก Bond Yield ไทย อายุ 1 ปี ล่าสุดแกว่งทรงตัวที่ระดับ 0.542% ซึ่งใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน บ่งชี้ว่าตลาดยังมีมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยยังทรงตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาท่าทีล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ธปท. ดูมีแนวโน้มกังวลต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น สะท้อนจาก ธปท. ออกคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อรักษาความแข็งแกร่งของเงินกองทุน จากท่าทีล่าสุดของ ธปท. ข้างต้น ASPS ประเมินว่าอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเริ่มเปิด Downside ให้ปรากฎขึ้นมาอีกครั้ง
โดยรวม ASPS คาดว่าในช่วงที่เหลือของปี 2563 กนง. ยังมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ราว 0.25% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยลงไปเหลือ 0.25% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์)
จะเห็นการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น
กระแสการรัฐออกมาตรกระตุ้นกลุ่มต่างและผ่อนคลายเศรษฐกิจของรัฐบาลยังมีต่อเนื่อง หลังจากไทยไร้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศติดต่อกัน 28 วัน หลังจากก่อนหน้าอัดฉีดเงิน 5000 บาทให้กับประชาชน หลายลุ่ม , มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ (ไปเที่ยวกัน , เที่ยวปันสุข ฯลฯ ล่าสุด การผ่อนคลายธุรกิจเฟส 5 อาทิ ผับ,บาร์ คาดจะเปิด 1 ก.ค., ประชุม ครม. วันนี้ ประเด็นที่ ครม. พิจารณาคือ เคาะเพิ่มเงิน ในกลุ่ม กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน
รัฐบาลยังเดินหน้าเร่งแผนโครงการลงทุนขนาดใหญ่กระแสการลงทุนเริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า อาทิ
รถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (งานโยธาสายสีส้มตะวันตก และงานเดินรถตลอดทั้งเส้น) มูลค่าราว 9.6 หมื่นล้านบาท หลังจาก ครม. อนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ TOR ภายใน ก.ค. 63 และเปิดให้เอกชนยื่นประมูล ต.ค. และคาดจะสรุปผลการประมูลได้ภายในสิ้นปี
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษบูรณะ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท กำหนดเปิดประมูลงานโยธาภายในเดือนก.ย.นี้ และคาดจะสรุปผลการประมูลได้ภายในสิ้นปี
ขณะที่โครงการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ EEC 3 จังหวัด ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา หลังจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือมาบตพุด และสนามบินอู่ตะเภา สถานะได้ผู้ชนะหรือเซ็นสัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างจัดทำแผนธุรกิจ ฯลฯ ดัง(ตาราง)
ASPS ประเมิน Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมา CK, STEC และ กลุ่มนิคมอุตสหกรรม อาทิ AMATA, WHA, FPT
INSET กำไรปีนี้แกร่งเกินกลุ่ม ขณะที่ราคาหุ้นที่ยัง Underperform
ภายหลังผ่านช่วงวิกฤติ COVID-19 ปัจจุบันพบว่า สถานะงานประมูลในส่วนงานโทรคมนาคม เริ่มทยอยกลับมาเช่นเดียวกับภาคก่อสร้าง จากการรวบรวมของฝ่ายวิจัยในกลุ่มที่แจ้งรับงานใหม่ผ่านระบบตลาดฯ (ITEL, ICN, ALT) พบว่า ในส่วน ICN, ITEL งวด 2Q63 มีการประกาศรับงานใหม่ต่อเนื่อง ดีขึ้นชัดเจนจากงวด 1Q63 ซึ่งไม่มีงานใหม่เลย
ITEL รับงานใหม่ได้ 413.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมีนัยฯจาก Backlog ราว 4.0 พันล้านบาท ช่วงสิ้นสุด 1Q63
ICN รับงานใหม่ใน 2Q63 ได้ถึงราว 1.07 พันล้าบาท เพิ่มขึ้นมีนัยฯ จาก Backlog สิ้น 1Q63 ของบริษัท ประเมินราว 1.0 พันล้านบาท
ส่วน ALT รับงานใหญ่ใน 1Q63 ไปราว 464 ล้านบาท หนุน Backlog สิ้นสุด 1Q63 อยู่ราว 1.5 พันล้านบาท จึงอาจสร้างข้อจำกัดรับงานเพิ่มเติมหลัง COVID-19
ขณะที่ INSET ที่ฝ่ายวิจัยติดตามในกลุ่มดังกล่าว ปัจจุบัน พบว่า เริ่มกลับมาสะสม Backlog เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยล่าสุดเซ็นสัญญารับงานใหม่ จากกลุ่มงานสร้าง Data Center ที่เชี่ยวชาญอีก 350 ล้านบาท เพิ่ม Backlog (ก่อนรับรู้รายได้ 9M63) เป็น 2.3-2.4 พันล้านบาท และคาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากพันธมิตรบริษัท ทั้งคู่ค้ารัฐฯ อาทิ TOT CAT และเอกชนกลุ่ม TRUE และกลุ่มที่บริษัทรับงานต่อในส่วนงานโครงสร้างพื้นฐาน (Subcontract) ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในกลุ่มทั้งสิ้น อาทิ FORTH, ICN, AIT ภาพรวมข้างต้นหนุนปัจจุบัน INSET มี Backlog ปัจจุบันสามารถรองรับการรับรู้รายได้ช่วงที่เหลือของปีที่ 1.2 พันล้านบาทไปแล้วเกือบ 70% ที่เหลือ 30% เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยากที่บริษัทจะรับงานใหม่เพิ่มพิจารณาจากพันธมิตรหลากหลายดังกล่าว ซึ่งไม่น่าจะมองข้าม INSET ที่มีความสามารถรับงานโครงสร้างพื้นฐานที่ครบเหนือรายอื่น
โดยรวมจึงเชื่อมั่นว่ากำไรปีนี้จะเติบโต 22% ตามคาด ถือว่าสูงกว่าผู้ประกอบธุรกิจรับงานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเป็นหลัก คือ ITEL ที่ Consensus คาดกำไรปี 2563 ลดลง 6.9% แต่อาจจะด้อยกว่า ALT ที่พลิกขาดทุนเป็นกำไร (ICN ไม่มีรายใดจัดทำบทวิเคราะห์) อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยชอบ INSET(FV@B>4.18) จากจุดเด่นที่หุ้นที่แทบไม่ตอบรับข่าวบวกเลย (YTD ปรับตัวขึ้น 1.5% vs ALT +114%, ICN +15.7% , ITEL +8.9%) ขณะที่ Valuation ปัจจุบันยังถูกกว่ากลุ่มมาก มี PER’63 เพียง 9.8 เท่า ขณะที่ ALT และ ITEL ซื้อขายเฉลี่ย 21.7 เท่า มูลค่าพื้นฐานอิง PER 16 เท่า ที่ 4.18 บาท ยังมี Upside สูงถึง 58.3% แนะนำ ซื้อ
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web