- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 15 June 2020 13:46
- Hits: 3254
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 15-6-2020
MARKET TALK
กลยุทธ์การลงทุน
แม้จะปรับฐานลงมาแล้วกว่า 3.7% แต่เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการปรับฐานยังไม่หมดไป เฉพาะอย่างยิ่ง Valuation ที่ PER สูงถึง 21.6 เท่า Market Earning Yield Gap ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ส่วนการประชุมธนาคารกลางหลายประเทศสัปดาห์นี้ คาดใช้นโยบายผ่อนคลายต่อ ปรับพอร์ตโดยให้นำเงินที่ขาย TPIPL ลงทุนใน CPALL ส่วน Top Pick เลือก CPALL และ DCC
เงื่อนไขที่ทำให้ SET Index ปรับฐาน ยังไม่หมดไป
แม้สัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index จะปรับตัวลดลงมากว่า 53 จุด หรือราว 3.7% แต่เงื่อนไขที่จะทำให้ SET Index ต้องปรับฐานยังไม่หมดไป ไม่ว่าจะเป็น ความกังวลเรื่องการกลับมาระบาดรอบ 2 ของ Covid-19 ทั้งในสหรัฐฯ หลังการชุมนุมประท้วงทั้งประเทศ ในจีน รวมถึงญี่ปุ่น ถัดมาเป็นเรื่องแรงกดดันที่มีต่อภาพเศรษฐกิจรวมที่ยังถูกฉายภาพในทางลบมากขึ้น และสุดท้ายได้แก่ Valuation ของตลาดหุ้นไทย ที่ราคาปัจจุบันมีค่า PER สิ้นปี 2563 สูงถึง 21.6 เท่า กดดันให้ Market Earning Yield Gap ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี เชื่อว่า SET Index ช่วงสัปดาห์นี้ยังอยู่ในช่วงการปรับฐานต่อไป สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่ การประชุมธนาคารกลาง ในสัปดาห์นี้จะเกิดขึ้นหลายแหล่ง ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเห็นการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเต็มกำลัง ทั้งในรูปแบบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรง ส่วนการประชุม กนง. ของไทยในวันที่ 24 มิ.ย.63 ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามเดิม พอร์ตการลงทุนวันนี้ ให้นำเงินที่ได้จากการ Cut Loss หุ้น TPIPL เข้าลงทุนใน CPALL ส่วนหุ้น Top Pick เลือก CPALL และ DCC
ความกังวล Covid-19 กลับมารอบ 2 กดดันตลาดหุ้นโลก แต่น่าจะมีน้ำหนักไม่มากกับตลาดหุ้นไทย
ตลาดหุ้นโลกมีแนวโน้มปรับฐานแรงจากก่อนหน้าที่ปรับเพิ่มขึ้นมา โดยปัจจัยกดดันยังคงมาจากความกังวลไวรัส COVID-19 (2nd wave)
สหรัฐพบผู้ติดเชื้อใหม่ 25,540 ราย สูงกว่าช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 21,200 ราย, รัสเซียพบผู้ติดเชื้อใหม่ 8,961 ราย สูงกว่าช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 8,700 ราย
จีนพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 57 ราย ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สูงกว่าช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 7 ราย และผู้ติดเชื้อหลายรายมีความเกี่ยวข้องกับตลาดเนื้อในกรุงปักกิ่ง ส่งผลให้จีนสั่งปิดตลาดดังกล่าวทันที
ญี่ปุ่น ช่วงสุดสัปดาห์พบผู้ติดเชื้อใหม่ 47 ราย โดยกว่า 40 รายมีความเกี่ยวข้องกับย่านบันเทิงชื่อดังในกรุงโตเกียว ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในโตเกียวแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. 2563
ประชุมธนาคารกลางหลายประเทศสัปดาห์นี้ น่าจะเห็การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย
ตลอดสัปดาห์นี้ Hightlight สำคัญให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางทั่วโลก เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. ญี่ปุ่น(BOJ), 17 มิ.ย. บราซิล, 18 มิ.ย. อังกฤษ(BOE) และธนาคารกลางอื่นๆ อาทิ สวิตเซอร์แลนด์, รัสเซีย, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย เป็นต้น
โดยรวมคาดว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มดำเนินนโยบายผ่อนคลายมากขึ้นอีก โดยในประเทศที่ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest rate) เป็นบวก คาดจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อ แต่ในประเทศที่ Real Interest rate เหลือน้อย หรือติดลบ คาดจะพิจารณามาตรการอัดฉีดทางการเงิน(QE) เพิ่มเติม อาทิ BOE รอบนี้คาดจะมีการเพิ่มวงเงิน QE เพิ่มจากปัจจุบัน โดยรวมจะหนุนสภาพคล่องในระบบเพิ่ม
การประชุม กนง. สัปดาห์หน้า คาดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยฯ
การประชุมธนาคารกลางของไทย หรือ ประชุม กนง. คือ สัปดาห์หน้าวันที่ 24 มิ.ย. ASPS คาดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5%(ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) ในรอบนี้โดยมีปัจจัยสนับสนุนความเชื่อดังนี้
Bond yield ไทย อายุ 1 ปี ล่าสุด แกว่งทรงตัวอยู่ที่ 0.5% ใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% บ่งชี้ได้ว่านักลงทุนในตลาดยังมีมุมมองอัตราดอกเบี้ยฯ จะยังทรงตัวในระดับเดิมในครั้งนี้
ไทยไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ ติดต่อกันรวม 20 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. (ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานกักกันของรัฐ) ส่งผลให้รัฐมั่นใจผ่อนคลาย และออกมาตรการดึงดูดการลงทุน และการท่องเที่ยว อาทื 17 มิ.ย. เตรียมออกเสนอ ศบค.พิจารณา Travel Bubble คือเปิดรับนักท่องเที่ยวประเทศที่คุม Covid ได้ดี ไม่ต้องกักตัว 14 วัน ฯลฯ
รัฐบาลการผ่อนคลายธุรกิจเฟสที่ 4 และยกเลิก Curfew เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้เศรษฐกิจไทยค่อยๆฟื้นตัว รวมถึงเชื่อว่า กนง.จะเริ่มให้น้ำหนักนโยบายการคลังมากขึ้น คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ (ดังตาราง) เพื่อพยุงเศรษฐกิจ หลังจากปีนี้กระตุ้นผ่านนโยบายการเงิน คือ ลดอัตราดอกเบี้ยฯไปแล้ว 3 ครั้งๆละ 0.25%
อย่างไรก็ตามในช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสที่ กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก 1 ครั้ง หรือ 25 bps อยู่ที่ 0.25% จากการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้ง ( 5 ส.ค., 23 ก.ย., 18 พ.ย. , 23 ธ.ค.) หาก
1. เศรษฐกิจไทยหดตัวมากกว่าคาด (ASPS ประเมิน GDP ปี 2563 หดตัว -5.7%yoy โดยมีความเสี่ยงเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่คาดจะมาจาก 2nd wave ของ Covid-19, การ Lockdown ประเทศอีกครั้ง, สงครามการค้ารอบใหม่, ค่าเงินบาทหากแข็งค่าแรงกว่าคาด โดยล่าสุด แกว่งตัว 31 บาท ฯลฯ
2. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็น +
3. Key massage การประชุมรอบ ล่าสุด ยังเน้นย้ำถึง หากสถานกาณณ์เศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ยังมีโอกาสใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่ม
โดยรวมดอกเบี้ยฯลดลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น 0.79 เท่า ถือการเปิด Upside ของดัชนี SET index
แนะนำหุ้นเอาชนะ COVID-19 ชอบ DCC, CPALL
ความกังวลการกลับมาติดเชื้อ COVID-19 ทั้งประเทศที่ยังมีการเร่งตัว อาทิ รัสเซีย, บราซิล, สหรัฐ รวมถึงประเทศที่กลับมาเร่งตัว อาทิ ญี่ปุ่น, จีน กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกจากที่เคยถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่องส่วนเกินจนแพงเกินกว่าระดับปกติ มีโอกาสปรับฐานได้
และหากประเมินตลาดหุ้นไทยเชื่อว่ายังมีความเสี่ยงปรับฐานต่อจาก 3 กลไก คือ
กลไกที่ 1 ตลาดหุ้นไทยแพงกว่าตลาดหุ้นโลก หากพิจารณาจาก P/E ตลาดหุ้นไทยมีค่า 21.6 เท่า แพงกว่าตลาดหุ้นโลก (ดัชนี MSCI ACWI) ที่ 20 เท่า และแพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 16.3 เท่า
กลไกที่ 2 Valuation ตลาดหุ้นไทยยังแพงอยุ่เมือเทียบกับในอดีต หากพิจารณา Valuation จาก Market Earning Yield Cap. โดยเปรียบเทียบกับระดับ Bond Yield 1 ปี ที่ 0.49% พบว่า ยังมีค่า Market Earning Yield Cap อยู่ที่ 4.13% สูงกว่าระดับ เฉลี่ยที่ 4.25%
กลไกที่ 3 Fund Flow เริ่มชะลอการไหลเข้าตลาดหุ้นไทย สะท้อนได้จากค่าเงินบาทที่เริ่มชะลอการแข็งค่า จาก Dollar Index ที่กลับมาแข็งค่าแรง 1.3% ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา รวมถึงต่างชาติที่กลับมาสลับซื้อสลับขายหุ้นไทย โดยเฉพาะวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิถึง 2 พันล้านบาท และเป็นการขายมากสุดในเดือนนี้
ทั้ง 3 กลไก แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้อาจขึ้นไม่ได้ร้อนแรงอย่างช่วงที่ผ่านๆมา และมีโอกาสปรับฐานได้ในบางจังหวะ ตามปัจจัยต่างๆที่เข้ามากดดัน กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดในเวลาที่เกิด COVID-19 อย่าง DCC, CPALL มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
CPALL (FV@B78) มติที่ประชุมศบค.ยกเลิกเคอร์ฟิว (ช่วง 23.00 – 3.00 น.) เป็นบวกต่อกลุ่มร้านสะดวกซื้อ อย่าง CPALL มากสุด จากจุดเด่น มีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยรายส่วนใหญ่ 65%-70% ของรายได้รวมมาจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ บวกกับปริมาณการสัญจรกลางคืนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะถัดไปคาดว่าจะมาจากมาตรการสนับสนุนท่องเที่ยวในประเทศ จะหนุนสาขาในปั้ม PTT (15% ของยอดขาย) กลับมาคึกคักขึ้น
จึงเชื่อว่าระยะสั้นผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว และภาพรวมคาด CPALL ยังเป็นหุ้นค้าปลีก ที่ยังเห็นกำไรทรงตัวได้ ในปี 2563 ท่ามกลาง COVID-19 ขณะที่ระยะยาวยังแข็งแกร่งสุดในกลุ่ม จากการมีช่องทางค้าปลีกครอบคลุมมากสุด แนะนำ ซื้อ
DCC(FV @2.28) จุดเด่นหลัก คือ กลยุทธ์เชิงรุกด้วยการเข้าหาลูกค้าถึงบ้าน เห็นผลชัดและโดดเด่นว่าคู่แข่ง สะท้อนจากจำนวนบิลที่เพิ่มเป็น 8 พันบิล/วัน จาก 6 พันบิล/วัน ประกอบกับราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 3%QoQ เป็น 139 บาท/ตรม. จากสัดส่วนกระเบื้องพรีเมียม มากขึ้น รวมถึงราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลง 20%YoY ทำให้แนวโน้มกำไร 2Q63 มีโอกาสสร้าง Positive Surprise ได้อีกครั้ง หลังงวด 1Q63 DCC มีกำไรเติบโตทั้ง QoQ และ YoY สวนกระแสกำไรของตลาดฯ อีกทั้งการใช้สิทธิ์แปลง DCC-W1 ส่งผลให้ D/E สิ้นงวด 2Q63 น่าจะลดลงมาต่ำกว่า 0.6 เท่า เพิ่มโอกาสที่ DCC จะกลับมาจ่ายปันผลที่ Payout Ratio 100% อีกครั้ง หากพิจารณา Valuation ถือว่าดี โดยมี Upside สูงเกิน 20% และคาดหวัง Dividend Yield มากกว่า 6% ต่อปี
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web