- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 12 June 2020 12:33
- Hits: 2921
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 12-6-2020
การรปรบลดลงแรงของตลาดหุ้นต่างประเทศ น่าจะกดดันให้ SET Index ปรับตัวลดลงแรงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการเลือกหุ้น Dividend & Defensive พร้อมการรักษาวินัยเรื่อง Stop Profit จะช่วยรักษามูลค่าของพอร์ตได้เป็นอย่างดี วานนี้ได้ทำการ Stop Profit หุ้น BDMS รับกำไร 9% ให้นำเงินพักไว้ใน BTSGIF ส่วน Top Pick เลือก DCC และ EGCO
Dividend & Defensive Stock ตัวช่วยที่ดีช่วงตลาดปรับฐาน
SET Index ปรับฐานลงมาตามที่ฝ่ายวิจัยคาด และวันนี้ก็น่จะเห็นการปรับตัวลดลงได้อีกจากแรงกดดันที่มาจากตลาดหุ้นต่างประเทศ กลยุทธ์การลงทุนที่ได้คัดสรร Dividend และ Defensive Stock บวกกับการให้ความสำคัญกับการทำเรื่อง Stop Profit น่าจะช่วยทำให้นักลงทุนสามารถรักษากำไรไว้ในพอร์ตการลงทุนได้เป็นอย่างดี โดยวานนี้พอร์ตจำลองได้ทำการ Stop profit หุ้น BDMS (น้ำหนัก 15% ของพอร์ต) รับกำไร 9% ในวันนี้ให้นำเม็ดเงินดังกล่าวเข้าไปพักไว้ใน BTSGIF ซึ่งมี Beta ต่ำและราคามีส่วนลดจาก NAV สูง ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ปลอดภัย สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้ เลือก DCC และ EGCO ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามในวันนี้เป็นเรื่องการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ระยะที่ 4 โดยน่าจะเห็นการกลับมาเปิดดำเนินงานของภาคธุรกิจต่างๆ เกือบครบ และคาดว่าจะประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแม้ยังห่างไกลจากสถานการณ์ปกติ ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมธนาคารกลางหลายประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเห็นการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างเข้มข้น โดยประเทศที่ Real Interest Rate เป็นบวก ก็มีโอกาสลดดอกเบี้ย แต่หากติดลบก็จะใช้การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสุ่ระบบโดยตรง
ตลาดหุ้นโลก และ ราคาน้ำมันดิบปรับฐานแรง จากประเด็น COVID
ตลาดหุ้นโลกปรับฐานลงแรงวานนี้ โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี Dows Jones ลดลง 6.9%, S&P 500 ลดลง 5.9% เป็นต้น สาเหตุสำคัญมาจากความกังวลการระบาดของไวรัส COVID-19 2nd wave ในสหรัฐ หลังรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่วานนี้พุ่งขึ้น 21,557 ราย สูงกว่า ต้นสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 18,500 ราย โดยเชื่อว่าวันนี้น่าจะสร้าง Sentiment ลบต่อตลาดหุ้น Asia รวมถึง SET index ต่อ
เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบโลกปรับฐานแรง หลุด 40 เหรียญฯ หรือลงราว 8% สะท้อนจาก Brent 38.55 เหรียญฯ/บาร์เรล เกิดจากความกังวลกดดัน Demand น้ำมันอีกครั้ง โดยรวมราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแรงกดดันสำคัญต่อ
หุ้นกลุ่มน้ำมันในวันนี้ทั้ง PTTEP (FV@B100) และ PTT (FV@B42) แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้นำเสนอในช่วงต้นสัปดาห์ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นแรงในช่วงที่ผ่านมาและทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ต้นเดือน มิ.ย. คาดเป็นเพียงช่วงสั้นจากประเด็นบวกมติที่ประชุมกลุ่มโอเปกขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรล/วันไปอีก 1 เดือน คือ ก.ค. (จากเดิมที่จะสิ้นสุด มิ.ย.) และ ASPS ยังคงมุมมองเดิมคือ คาดราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไปมีโอกาสจะอ่อนตัวลงได้ ตามอัตราการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ที่จะทยอยลดลงตามแผน ยังคงเน้นให้หาจังหวะเข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัวเช่นเดิม
ส่วนกลุ่มโรงกลั่น TOP (FV@B43) ; BCP ([email protected]) PTTGC (FV@45) IRPC ([email protected]) ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวขึ้นแรงสวนทางกับพื้นฐานปกติที่ยังอ่อนแอ สะท้อนได้จากค่าการกลั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำมาก (อ้างอิงค่าการกลั่นตลาดสิงคโปร์ที่ยังคงติดลบราว 0.5-2 เหรียญฯต่อบาร์เรล) โดยปัจจัยบวกปัจจัยเดียวที่โรงกลั่นจะได้รับในงบงวด 2Q63 คือการพลิกกลับมาบันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกน้ำมัน ดังนั้นเชื่อว่าช่วงสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับฐานมาสอดรับพื้นฐานที่แท้จริงได้ ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีนั้นราคาน้ำมันที่ลดลงถือเป็นบวกต่อต้นทุนผู้ประกอบการโดยภาพรวม ภายใต้ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังทรงตัวได้ ดังนั้นคาดผลกระทบต่อราคาหุ้นจะไม่รุนแรงเท่ากลุ่มน้ำมัน โดยยังให้น้ำหนักธุรกิจปิโตรเคมีมากกว่าโรงกลั่น และคาด IVL (FV@B32) ซึ่งประกอบธุรกิจปิโตรเคมีเพียงอย่างเดียวไม่มีธุรกิจโรงกลั่นน่าจะได้รับผลกระทบน้อยสุดในกลุ่ม โดยคาดทิศทางกำไรปกติงวด 2Q63 น่าจะเห็นการเติบโตจาก 1Q63 ตามผลของฤดูกาล สะท้อน spread กลุ่ม PET ของ IVL ในเดือน เม.ย. และ พ.ค. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในงวด 1Q63
ในประเทศติดตามการคลาย Lockdown เฟส 4 ดีต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ
วันนี้ให้น้ำหนักรัฐบาล นำโดย ศบค. จะพิจารณาการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศณษฐกิจ 2 ประเด็น คือ
1.) การยกเลิก Curfew จากปัจจุบัน ห้ามประชาชนออกจากบ้าน ฯลฯ 5 ทุ่ม- ตี 3
2.) ผ่อนคลายให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ(Reopen) เฟส 4 ให้กับธุรกิจสีแดง อาทิ สถานบันเทิง, สถานศึกษา, ระบบขนส่งสาธารณะ ฯลฯ การขายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้
ASPS ประเมินการผ่อนคลายดังกล่าวสามาถช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว แต่ยังให้น้ำหนักความเสี่ยงการระบาด COVID-19 รอบที่ 2 ซึ่งยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้(คล้ายต่างประเทศ) หากกลับมาเพิ่มแรงอีกครั้งคาดจะกดดัน Set index ขณะที่หุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกาปรเดธุรกิจ เช่น กลุ่มโรงแรม (ERW, MINT, CENTEL) ส่วนใหญ่มี Upside จำกัด จึงแนะนำเก็งกำไรด้วยความระมัดระวัง
สัปดาห์หน้าตามผลการประชุมหลายธนาคารกลาง คาดใช้นโบบายการเงินผ่อนคลายสุดตัว
ตลอดสัปดาห์หน้าประเด็นที่มีผลต่อการลงทุน หลักๆ คือ การประชุมธนาคารกลางในหลายทั่วโลก อาทิ 16 มิ.ย. ญี่ปุ่น(BOJ), 17 มิ.ย. บราซิล, 18 มิ.ย. อังกฤษ(BOE), (ดังตาราง) โดย Hightlight คือ ตลาดคาดหลายประเทศยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ และบางประเทศมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อ (อาทิ คาดจะลดดอกเบี้ยลงเป็นรั้งที่ 9) รวมถึงจะปรับเพิ่มวงเงินเข้าซื้อ QE (อังกฤษ BOE ประชุมรอบนี้คาดจะเพิ่มวงเงินเข้าซื้อ QE
ASPS คาดว่าประเทศที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก คือ ประเทศที่ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest rate) เป็นบวก แต่ในประเทศที่ Real Interest rate เหลือน้อย หรือติดลบ คาดจะพิจารณามาตรการอัดฉีดทางการเงิน (QE) เพิ่มเติม
ขณะที่ไทย ยังมีช่องว่างในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ แต่ปปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการร์แล้ว ASPS คาด หาก กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกครั้งหนึ่ง คือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่อาจจะหดดตัวแรงกกว่าคาดการณ์ปัจจุบัน Consensus คาด GDP ปี 2563 –5% หรือ ลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่าจนเกินไป
Loan Payment Holiday หยุดการตกชั้นชั่วคราว ?
ประกาศ ธปท. เกี่ยวกับการชะลอการชำระหนี้ (หรือ loan payment holiday และ ธ.พ. สามารถคงชั้นลูกหนี้ไว้ตามเดิม) ให้กับกลุ่มลูกค้า SME (ธปท. เผยแพร่ประกาศเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 63) ที่ยังไม่ตกชั้นเป็น NPL ภาพรวมไม่ได้แตกต่างจากแนวทางพักชำระหนี้เดิม โดยมีการเพิ่มเงื่อนไขสำหรับกลุ่มสินเชื่อกลุ่มเงินทุนหมุนเวียน (packing credit, floorplan) ในกรณีที่คู่ค้าของลูกหนี้ชำระเงินค่าสินค้า ผ่านระบบของสถาบันการเงิน ให้ ธ.พ. สามารถนำเงินดังกล่าว ไปชำระหนี้ ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้เพิ่มข้อกำหนดของผู้เข้าเงื่อนไขได้รับการชะลอการชำระหนี้ ต้องไม่ประกอบธุรกิจการเงิน
ทั้งนี้ แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำ ของ ธปท. (กล่าวคือ ธ.พ. สามารถให้ความช่วยเหลือเกินกว่าที่ ธปท. กำหนดได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร) เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือนหรือพักเฉพาะเงินต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนกลุ่มลูกค้า SME ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และสุดท้ายกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคาร
โดยในเบื้องต้น ณ 29 พ.ค. 63 มีลูกหนี้ของทุกสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 ล้านราย คิดเป็นยอดภาระหนี้ราว 6.7 ล้านล้านบาท (เฉพาะสินเชื่อของ 9 ธนาคาร ณ สิ้นงวด 1Q63 ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ที่ราว 12 ล้านล้านบาท ) แบ่งเป็นลูกหนี้รายย่อยราว 3.8 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 57% ของผู้เข้าร่วม) ตามด้วย SME ราว 2.1 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 32%) และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ราว 0.74 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 11%)
แม้ภาพดังกล่าวชะลอการไหลตกชั้นช่วง 2Q63 – 3Q63 แต่ช่วงหมด Loan payment holiday ต้องจับตาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังเปิดเมือง ว่าจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงความสามารถในการชำระหนี้ หากฟื้นตัวช้าและไม่มีมาตรการช่วยเหลือต่อมีโอกาสเห็นการไหลตกชั้นเป็น Stage 2 และ Stage 3 ในช่วง 4Q63 ย่อมส่งผลถึงค่าใช้จ่ายสำรองของธนาคาร (Expected Credit Loss : ECL)
โดยกลุ่มสินเชื่อรายย่อย ต้องติดตามอัตราว่างงานหรือกลุ่มที่ยังมีอาชีพ แต่ถูกปรับลดเงินเดือน (เช่น ทำงานใน Sector โรงแรม) ตามนโยบายการบริหารค่าใช้จ่ายแต่ละบริษัท สวนทางกับภาระหนี้ที่ผ่อนชำระต่อเดือน ที่อาจไม่ปรับลงตาม และภาพรวมถือว่าอยู่ในระดับสูง อิงจากหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นงวด 4Q62 ที่ระดับ 80% ของ GDP สำหรับ SME และ ธุรกิจรายใหญ่ ต้องติดตามการฟื้นตัวของรายได้ (ส่งผลต่อ EBITDA หรือ CFO ที่ใช้ในเป็นกระแสเงินสดในการชำระหนี้) โดยในช่วงที่ผ่านมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ เริ่มมีการกล่าวถึง Exit plan สำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ Loan payment holiday หลังหมดมาตรการ 30 ก.ย. 63 ในเบื้องต้นคาดเห็นการขยายระยะเวลาออกไปอีกสักระยะ ซึ่งทำให้ ธ.พ. มีเวลาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้แต่ละราย หรือบริหารจัดการโดยการรวมหนี้ไว้ที่เดียว เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
คงน้ำหนัก น้อยกว่าตลาด ตามแนวโน้มเศรษฐกิจ ประกอบกับสภาวะสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกมีแนวโน้มผันผวน ติดตาม SET Index ณ 30 มิ.ย. 63 สามารถยืนเหนือ 1,125.86 (ดัชนีปิด ณ 31 มี.ค. 63) ได้หรือไม่ หากปิดต่ำกว่า สร้างแรงกดดันต่อกลุ่มเงินลงทุนในหุ้นสามัญ ทั้งในส่วน FVTPL และ FVTOCI เหมือนช่วง 1Q63 ขณะที่ราคาหุ้นในกลุ่มช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นเร็ว จน Upside เทียบ FV ปี 2563 เช่น KBANK(FV@B120) และ KKP (FV@B52) มีไม่ถึง 10% เริ่มไม่จูงใจให้ลงทุน แนะนำทยอย Take profit ส่วน BBL (FV@B154) แนะนำ lock กำไร โดยกำหนดจุด Stop profit ที่ 119 บาท
ตลาดปรับฐานแรง หลังจากมีสัญญาณเตือนในทุกมิติ ตามที่ ASPS ได้กล่าวไว้ หุ้นเด่นแนะนำ EGCO, DCC
วานนี้ตลาดหุ้นโลกปรับฐานแรงมาก อาทิ ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 ลดลง 5.9% หลังตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาเยอะจน Valuation ตึง ผนวกกับความกังวลการระบาดระลอก 2 ของไวรัส Covid-19
อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนติดตามบทวิเคราะห์ Market Talk มาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า ฝ่ายวิจัยแนะนำให้โฟกัสและบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนมากขึ้น เพื่อรองรับในกรณีที่ตลาดมีดอกาสปรับฐานสูง ซึ่งมีสัญญาณเตือนจากฝ่ายวิจัย ASPS ในช่วงก่อนหน้า ทั้ง 5 มิติ คือ
1. ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงจนเกินมูลค่าเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประเมินทุกวิธีการ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาเร็วกว่า 50% (จากกลางเดือน มี.ค. จนถึงวันที่ 9 มิ.ย. 63) และทำจุดสูงสุดที่ 1448.13 จุด ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายดัชนีที่ฝ่ายวิจัยประเมิน ทั้งปี 2563 และ ปี 2564 ที่ 1164 จุด และ 1407 จุด ตามลำดับ รวมถึงยังสูงกว่าดัชนีเป้าหมายที่กำหนดให้หุ้นทุกตัวเต็มมูลค่าพื้นฐานปี 63 และคิดกลับด้วยวิธี Implied Market Cap. ได้ดัชนีเป้าหมายที่ 1441 จุด
2. ตลาดหุ้นอยู่ในภาวะเก็งกำไรเต็มตัวจากมูลค่าซื้อขายตลาดหุ้นไทยที่กระโดดขึ้นไปสูงเกิน 1 แสนล้านบาท/วัน 4 วันติดต่อกัน (ในช่วง 4 – 9 มิ.ย. 63) ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนมากขึ้น
3. สัดส่วนหุ้นไทยกว่า 30% จากทั้งหมด มี RSI อยู่ในโซน Overbought ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าตลาดมีโอกาสปรับฐาน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยฟื้นขึ้นมาเร็วและแรงเกือบ 50% จากจุดต่ำสุดในช่วงเดือน มี.ค. และเป็นการฟื้นขึ้นมาเร็วกว่าตลาดหุ้นอื่นๆในภุมิภาค จนทำให้มีจำนวนหุ้นเกินกว่า 30% ของหุ้นทั้งหมดในตลาด ปรับตัวขึ้นมาจนมีสัญญาณ RSI อยู่ในโซน Overbought ถือว่ามากสุดในรอบหลายๆปีที่ผ่านมา
4. ตลาดหุ้น S&P500 ปรับตัวขึ้นแรง พร้อมกับดัชนีความกลัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ปกติจะสวนทางกัน) คือ 2 - 9 มิ.ย. ดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.2% ขณะเดียวกัน VIX Index ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกว่า 2.7% แสดงให้เห้นว่าตลาดหุ้นสหรัฐเอง แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเรี่อยๆ แต่ก็แฝงไปด้วยความระแวงในการปรับฐานในระยะถัดไป
5. ตลาดหุ้นไทยถูกซื้อขายกันบน P/E ที่สูงถึง 22 เท่า (แพงสุดในภูมิภาค) ด้วยความคาดหวังว่าจะมีสภาพคล่องส่วนเกินมาหนุนเรื่อยๆ แต่จากการประเมินของฝ่ายวิจัยฯ พบว่า แม้ทุกครั้งที่มีการอัดฉีดสภาพคล่องแรงๆเข้าระบบ เช่น ปี 2551 และ 2554 มี M2 เพิ่มขึ้นถึง 9.4%yoy และ 17.5%yoy ตามลำดับ (เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6.5%yoy) จะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไปจริง แต่หากพิจากรณา Valuation ของตลาดพบว่า ตอนที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2551 และ 2554 ตลาดหุ้นไทยมีค่า P/E อยู่ในระดับต่ำมากเพียง 11.6 เท่า และ 15.2 เท่า ตามลำดับ แต่ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายกันบน P/E ที่ 22 เท่า สูงสุดในรอบหลายปี แสดงว่าสภาพคล่องส่วนเกินในช่วงนี้อาจไม่ได้ผลักดันดัชนีให้ปรับขึ้นร้อนแรงเหมือนในอดีต
ดังนั้นถ้านักลงทุนติดตามมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะป้องกันผลตอบแทนพอร์ตของนักลงทุนในได้กำไรอย่างสม่ำเสมอ จากกลยุทธ์ตั้งจุดล็อคกำไรในพอร์ตลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงยามที่ตลาดผันผวน ตามพอร์ตจำลองที่มีการล็อคกำไร ไป 5 บริษัท ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา คือ LH, AMATA, STEC, CPALL, BCPG และ BDMS ได้กำไรทั้งสิ้น ถือการขยับจุด ล็อคกำไร ทำงานได้เป็นอย่างดี
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
_________
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web