- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 28 May 2020 12:25
- Hits: 3771
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 28-5-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วานนี้ SET แกว่งขึ้น สอดคล้องกับตลาดภูมิภาค แรงหนุนหลักจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ทยอยกลับมาเปิดหนุนแรงเก็งกำไร โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,345.11 (+9.02 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 7.9 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 7.4 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 1,823 ลบ. (นักลงทุนสถาบันซื้อ 1,669 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Futures ที่ 1,268 สัญญา)
KBANK (ราคาเป้าหมาย 100.0 บาท) ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลงตอบรับความเสี่ยงจากทั้งภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และธุรกิจที่เกิดการ disruption ไปในระดับหนึ่งจนเข้าสู่ภาวะ Underown + Laggards ผสานกับ Valuation ที่ไม่แพงนัก (PBV 0.5 เท่า) และปันผลราว 4% ต่อปี ดึงดูดการเก็งกำไรระยะสั้น
อยู่ในช่วงสลับมาเก็งกำไรกลุ่ม Underown & Laggards : ภาพรวมตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยจะเห็นว่าหุ้นขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มธุรกิจที่ชัดเจน ช่วยนำดัชนีขึ้นมาก่อนในช่วงแรก ในขณะที่ปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากประเด็นการทยอยปลด Lockdown หลังสถานการณ์ COVID-19 ผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นความคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงถัดไป ดังนั้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาด COVID-19 ก็จะเริ่มมีความหวังมากขึ้น โดยเราคาดว่าในระยะสั้นอาจเห็นเม็ดเงินสลับเข้าเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มที่ยังคงปรับขึ้นช้ากว่าตลาด (Laggards) และคาดเป็นกลุ่มที่นักลงทุนสถาบันยังมีหุ้นในสัดส่วนต่ำ (Underown) เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยจะเห็นได้ว่ากลุ่มดังกล่าวยังมีปัจจัยกดดันเฉพาะตัว เช่น ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ, ยอดสินเชื่อขยายตัวต่ำ, ส่วนต่างดอกเบี้ยลดลง, ยอดการซื้อบ้านที่ชะลอตัว จึงทำให้ในช่วงที่ผ่านมาทิศทางของราคาหุ้น Underperform แต่อย่างไรก็ดีเม็ดเงินที่คาดเข้าเก็งกำไรสั้น อาจมองประเด็นในเรื่องโอกาสในการผ่อนปรน LTV, การระบาย Inventory ซึ่งอาจทำให้ทั้งกลุ่มธนาคาร ที่สินเชื่ออาจฟื้นตัว และกลุ่มอสังหา ที่ได้อานิสงส์จากความต้องการสูงขึ้น เพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการมากขึ้น ก็เป็นได้
Investment Strategy :
วันนี้คาด SET แกว่งขึ้น ประเมิน แนวรับ 1,320 ต้าน 1,360 จุด เน้นหุ้นกลุ่ม Underown & Laggards โดยวันนี้แนะนำ “KBANK, AP, SCC, TISCO”
ปัจจัยในประเทศ :
ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19
29 พ.ค. ภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือนจาก BOT, MSCI Rebalance (อาจผันผวนช่วงท้ายตลาด)
แนวรับ : 1330/1323
แนวต้าน : 1360/1400
มีหุ้น : ถือต่อ รอทยอยทำกำไรที่บริเวณแนวต้าน 1360 จุด (รันเทรน) หากหลุด 1286 จุด แนะนำเก็บกำไร
ไม่มีหุ้น : สามารถซื้อเล่นตามโมเมนตัม ซื้อเมื่อเข้าใกล้แนวรับ 1330 จุด รอขายที่ 1360 จุด หลุด 1323 จุด ตัดขาดทุน
CRC ส่งบริษัทย่อย ซื้อหุ้นแฟมิลี่มาร์ท บริหารเต็มรูปแบบ (ทันหุ้น)
ความเห็น : เรามีความเห็นเป็นกลางจากการที่ CRC ถือหุ้นอยู่ 51% และมีการรวมงบการเงินของ Family Mart อยู่แล้ว ซึ่งมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ของยอดขาย CRC โดย Family Mart มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 5% ของตลาดร้านสะดวกซื้อในไทยซึ่งคาดว่ามีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 2-3% ต่อปี
เสถียร' ขายบิ๊กล็อต CBG นำเงินขยายธุรกิจในจีน (ทันหุ้น)
ความเห็น : คุณเสถียร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ CBG ได้ลงทุนด้านการตลาดและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มคาราบาวในจีนมา 2-3 ปี แต่ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย หากมีการลงทุนเพิ่มเติมและได้รับผลตอบรับดีจากการที่จีนเป็นตลาดใหญ่ ก็จะส่งผลบวกต่อการส่งออกของ CBG ด้วยเช่นกัน
MCS มีงานต่อคิวหมื่นตันฟัน 4 พันล.เป้า 14.40 บ. (ทันหุ้น)
ความเห็น : MCS มี Backlog ปัจจุบัน 117,800 ตัน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเหล็กโครงสร้างส่งไปญี่ปุ่นและมีกำไรดี นอกจากนี้ปัจจุบันกำลังเจรจาโครงการขนาดใหญ่ที่ญี่ปุ่นเพิ่มซึ่งเป็นงานเหล็กโครงสร้างประมาณ 70,000 ตัน และมีราคาดี คาดจะทราบผลในครึ่งปีหลัง คงแนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 11.50 บาท
คลังถกค่ายรถวันนี้ หั่นภาษีป้ายแดง 50% แบงก์เช่าซื้อ TMB-TCAP-KKP-TISCO ตีปีก (ข่าวหุ้น)
ความเห็น : ยอดขายรถยนต์ในประเทศมีแนวโน้มจะปรับลดลงเหลือ 500,000 – 700,000 คัน จากปี 2562 ที่มียอดขาย 1 ล้านคัน เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก Covid-19 ถ้าลดภาษีสรรพสามิตรถใหม่ลง 50% จะทำให้รถยนต์ถูกลง 30,000-100,000 บาท จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อรถยนต์ เราคงให้น้ำหนักกลุ่มยานยนต์ต่ำกว่าตลาด
ช่วยชีวิต BEC-WORK-RS ขยายเวลาจ่ายค่าไลเซนส์ (ทันหุ้น)
ความเห็น : เรามองการขยายเวลาชำระ 2 เดือน เป็นบวกเพียงในเชิง sentiment ต่อด้านสภาพคล่องเพียงระยะสั้น เนื่องจาก ไม่ได้ส่งผลต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และไม่กระทบต่อผลกำไร-ขาดทุน (ยังบันทึกค่าเสื่อม-ตัดจำหน่ายปกติ) โดย TRUE จะได้รับผลบวกมากสุดในกลุ่ม ICT และกลุ่ม TV คือ BEC,RS,WORK ตามลำดับ
Sabina (SABINA)
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดี
TP Revision
ประเด็นการลงทุน
จากการ Conference call กับ SABINA เรามีมุมมองเป็นบวกต่อบริษัทซึ่งสามารถปรับตัวทั้งด้านการผลิตและการขายให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดีในช่วงล็อกดาวน์ โดยเน้นขายสินค้าออนไลน์ และปรับไลน์ผลิตมาผลิตหน้ากากผ้า รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการตลาด แม้เราปรับลดประมาณการกำไรปีนี้ โดยคาดว่ากำไรจะต่ำสุดใน 2Q63 แต่จะฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q63 เป็นต้นไป หุ้นซื้อขายที่ PE 25.1 เท่า และจะลดลงเป็น 17.8 เท่าในปี 2564 แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF) 24.30 บาท จากเดิมที่ 32 บาท
ปรับด้านการผลิต : ไม่เพิ่มสินค้าคงเหลือ และได้กระแสเงินสด
จากมาตรการล็อกดาวน์ ร้านซาบีน่าต้องปิดสาขาตั้งแต่ 22 มี.ค. ส่งผลให้กำไรสุทธิ 1Q63 ลดลง 26% YoY เป็น 70 ล้านบาท ในช่วงปลายเดือน มี.ค. โรงงานได้ปรับไลน์การผลิตมาผลิตหน้ากากผ้าเพื่อบริจาคให้ศิริราช และรับจ้างผลิต (OEM) ทำให้ไม่ต้องปิดโรงงาน ไม่ต้องปลดพนักงาน และยังได้กระแสเงินสดเข้ามา ส่วนการผลิตชุดชั้นใน โรงงานหยุดผลิตตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา ทำให้สินค้าคงเหลือไม่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมาผลิตปลายเดือน มิ.ย. กำลังการผลิตปีนี้จะลดลง 21% เป็น 9.3 ล้านชิ้น
ปรับด้านการขาย : เน้นออนไลน์ชดเชยยอดขายทางร้านสาขา
ยอดขายทางออนไลน์เติบโตมากกว่า 100% ในเดือน เม.ย. โดยพนักงานจากโรงงานและร้านสาขามาช่วยสนับสนุนการขายโดยเฉพาะทาง Social media และยอดขายทาง NSR ยังมีแนวโน้มเติบโตสูง ส่วนร้านซาบีน่าได้กลับมาเปิดแล้วเมื่อ 17 พ.ค. โดยยอดขายกลับมา 60% เมื่อเทียบกับยอดขายปกติ และคาดว่าจะเกิน 80% ในเดือน มิ.ย. นอกจากนั้น บริษัทได้เริ่มผลิตหน้ากากผ้าแบรนด์ SABINA ออกขายในช่วงกลางเดือน พ.ค. และคาดว่าหน้ากากผ้าจะเป็นสินค้าที่บริษัทมีการผลิตออกมาต่อเนื่องเพื่อรองรับกับ New normal และการป้องกัน PM 2.5
ปรับลดประมาณการ แต่ยังแนะนำ ซื้อ
เราปรับประมาณการกำไรปี 2563-2564 ลง 42% และ 27% ตามลำดับ สะท้อนถึงการปิดสาขาในช่วงล็อกดาวน์ โดยคาดว่ากำไรปีนี้ลดลง 36% แต่จะฟื้นตัว 41% ในปีหน้า ขณะที่ฐานะการเงินยังแข็งแกร่ง คาดอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.1 เท่า คาดอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 3% ในปีนี้ ภายใต้สมมติฐาน Pay-out ratio 76%
ความเสี่ยง: โควิด-19 ระบาดรอบสอง เศรษฐกิจชะลอ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การนำเข้าสินค้าจากจีนมีปัญหา
Siam Wellness Group (SPA)
กำลังจะได้รับการยืนยัน ผ่านจุดต่ำสุด
Rating Change
ลุ้นมาตรการผ่อนคลายระยะ 3 เพื่อกำหนดจุดต่ำสุด (Bottom) ในปีนี้
เรามีมุมมองเชิง “บวก” ต่อแผนเตรียมตัวกลับมาให้บริการที่ดีเยี่ยมเหนือมาตรฐานของ SPA ซึ่งหาก ศบค. อนุมัติการเปิดกิจกรรมนวดไทย ในประชุมพิจารณาผ่อนคลายระยะ 3 วันศุกร์นี้ เรามองว่าจะทำให้ SPA เจอจุดต่ำสุดในการทำธุรกิจทันทีในไตรมาส 2/63 และต่อไปคือการฟื้นตัว ซึ่งหากมองข้ามไปปี 2564 แล้วอิงกับ P/E เฉลี่ยย้อนหลัง 33.7 เท่า ราคาเหมาะสมปีหน้า (2564) สามารถลุ้นได้ไกลระดับ 14 บาท บนเงื่อนไขว่า COVID-19 จะต้องไม่รบกวนบริษัทในปีหน้า เราจึงเพิ่มน้ำหนักเป็น “ซื้อเก็งกำไร” ราคาเหมาะสมปีนี้ 7.80 บาท/ หุ้น (DCF – WACC 11.6% g 5%)
โอกาสในการผ่อนคลาย Lock-down เด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ
ศบค.เผยวานนี้ว่า อยู่ระหว่างพิจารณาผ่อนคลาย Lock-down ระยะ 3 ซึ่งในเบื้องต้นคาดจะผ่อนคลายในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงให้กลับมาทำธุรกิจได้ ซึ่งเราประเมินว่า น่าจะประกอบด้วย สปานวดไทย รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย หลังก่อนหน้านี้ ศบค. ได้ผ่อนคลายบางกิจการในระยะที่ 2 เช่น ร้านตัดผม คลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นบริการที่ใกล้ชิดผู้บริโภคเช่นกันไปแล้ว ซึ่งหากแม้ว่าสปานวดไทยจะไม่ได้รับอนุมัติในรอบนี้ (29 พ.ค.) แต่เราก็เชื่อว่าในวงรอบถัดไปของการพิจารณา (14 วัน ตามระยะเวลาฟักตัวเชื้อ COVID-19) ก็ยิ่งมีโอกาสสูงในการอนุมัติ ซึ่งแปลว่า SPA กำลังจะผ่านจุดต่ำสุดในเชิงธุรกิจ หลังถูกคำสั่งห้ามบริการร่วม 2 เดือน
SPA มีความพร้อมสูงมาก กับหน่วยสาขาในไทย 58 แห่ง
ผู้บริหารเผยว่า ได้เตรียมมาตรการไว้ถึง 18 ขั้นตอน 3 กลุ่ม (สถานที่, บุคลากร, การรับบริการ) ดูหน้า 2 ซึ่งเรามองว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก และดูจะเหนือกว่ามาตรฐานโดยทั่วไปอีกด้วย ซึ่งเราเชื่อว่าจะทำให้ลูกค้าชาวไทยกล้าที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ดังนั้นประมาณการปี 2563 แบบ Worst Case ที่เราได้ปรับกำไรลงมาเป็น 190 ลบ. -23% YoY ก่อนหน้านี้ ดูเริ่มจะมีความเป็นไปได้มากขึ้น
Downside เริ่มปิด เพิ่มน้ำหนักเป็น “ซื้อเก็งกำไร” ปีหน้าได้ลุ้นยาว
การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น 8% วานนี้ แม้แนวโน้มไตรมาส 2/63 คาด SPA จะขาดทุน สะท้อนว่าตลาดกำลังมองข้ามปีที่แย่ที่สุดของ SPA ไปแล้ว ซึ่งหากมองในอีกด้าน วิกฤติครั้งนี้ทำให้อุตสหากรรมสปานวดไทย เสมือนมีการคัดกรองผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานสูง ฐานะทางการเงินเข้มแข็งให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ และเป็นการปรับทัศนคติผู้บริโภคในการคำนึงถึงมาตรฐานการให้บริการเป็นสำคัญ ซึ่ง SPA เป็นคำตอบให้ผู้บริโภคได้ เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น “ซื้อเก็งกำไร” ราคาเหมาะสมปี 2563 ตามเดิม 7.80 บาท/ หุ้น แต่หากเอา P/E เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีที่ 33.7 เท่า มาพิจารณาร่วมกับ EPS ปีหน้าที่ 0.42 บาท ราคาเหมาะสมปีหน้าจะมีโอกาสน่าสนใจ 14.10 บาท/ หุ้น บนข้อแม้ COVID-19
คลี่คลายจบในปี 2563
Workpoint Entertainment (WORK)
ยังไม่ใช่ปีที่เวิร์ค….แต่เอาตัวรอดได้
Rating Change
ประเด็นการลงทุน
แม้กำไร 1Q63 จะออกมาดีกว่าคาด แต่จะเห็นได้ว่าธุรกิจ TV รายได้ -10%YoY ลดลงเป็นปีสามติดต่อกัน และมีแนวโน้มจะอ่อนแอช่วงที่เหลือของปี สิ่งที่ยังประคองผลกำไรได้ใน 2Q63 คือธุรกิจขายสินค้าที่มีโอกาสขายมากขึ้นในช่วง Lockdown เข้ามาทดแทนบางส่วน โดยรวมเรามองยังเป็นปีที่ท้าทายของ WORK โดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง ซึ่งเราประเมินภาพกำไรปีนี้ที่ 125 ลบ. -10%YoY ปรับคำแนะนำลงเป็น ถือ ราคาเหมาะสม 10 บาท ที่ P/BV 1 เท่า
ผลประกอบการที่ผ่านมา
รายงานกำไรสุทธิงวด 1Q63 เท่ากับ 46 ลบ. -38%YoY หากตัดรายการพิเศษมีกำไรหลักเท่ากับ 60 ลบ. ดีกว่าที่คาดว่าจะขาดทุนต่อเนื่อง QoQ จากรายได้ WPTV -10%YoY แม้เดือนมี.ค.จะเป็นช่วง high season ของธุรกิจ แต่ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ระบาดทำให้เม็ดเงินโฆษณาชะลอตัวลง ธุรกิจ Event และ Concert ลดลง -60/-26%YoY จากงานที่ถูกเลื่อนออกไป แต่รายได้การขายสินค้า +26%YoY คาดส่วนหนึ่งเติบโตจากสินค้าฝากขาย 1346 Hello shop ซึ่งร่วมพันธมิตรกับทาง RS ที่เริ่มตั้งแต่ 4Q62 ที่บริษัทได้ส่วนแบ่งกำไร ขณะไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม (แลกกับโฆษณาช่วง Non-prime time) ทำให้กำไรดีกว่าคาด
ครึ่งปีแรกยังประคองตัวได้ แต่ครึ่งปีหลังอาจจะลุ้นเหนือย
แนวโน้ม 2Q63 เบื้องต้นคาดยังมีกำไร แต่ลดลงทั้งเทียบ QoQ,YoY i) ธุรกิจสื่อยังชะลอตัว แม้เป็นช่วงที่คนอยู่บ้านมากขึ้นในช่วง Lockdown นีลเส็นฯเผยว่าเวลารับชมเพิ่มจาก 4.03 เป็น 4.31 ชม./วัน ขณะ rating (15+ ,18hr) จาก 0.88 เป็น 0.93 ในเดือน มี.ค.-เม.ย. แต่ก็ถูกหักลบเม็ดเงินโฆษณาที่ถูกชะลอการใช้ที่คาดหดตัว 5-10% ตลอดทั้งในปีนี้ ขณะคอนเสิร์ตและการแสดงถูกเลื่อนออกไปทั้งหมด ii) ธุรกิจขายสินค้ายังทรงตัวได้ QoQ จากโอกาสขายที่มากขึ้นตามจำนวนผู้ชม แต่ทั้งนี้เราคาดผลประกอบการจะชะลอตัวลงในช่วง 3Q-4Q63 ตามปัจจัยฤดูกาลของธุรกิจสื่อโฆษณา เราจึงปรับเป้ากำไรปีนี้ลงเหลือ 125 ลบ. -10%YoY
ปรับคำแนะนำลงเป็น ถือ ราคาเหมาะสม 10.00 บาท
WORK มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งและไม่มีหนี้ (Net cash) พร้อมจะประคองผ่านวิกฤตนี้ไปได้ แต่ผลประการในปีนี้จะยังไม่ใช่ปีที่โดดเด่น เราปรับราคาเหมาะสมลงเป็น 10 บาท/หุ้น อิง 12m Forward P/BV = 1x สะท้อนมุมมองแบบอนุรักษ์นิยม พร้อมปรับคำแนะนำลงเป็น ถือ ความเสี่ยงคือการแข่งขันที่สูง , การชะลอตัวของภาคการบริโภคและเม็ดเงินโฆษณา
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web