WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 20-5-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน

มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่ กนง.อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.25% ซึ่งโดยหลักการจะมีส่วนทำให้ SET Index สามารถซื้อขายบนค่า PER ที่สูงขึ้นได้ แต่อยางไรก็ตามแรงกดดันที่มาจากการปรับลดประมาณการกำไร บจ. อาจมีน้ำหนักมากกว่า เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วอาจทำให้เห็นแรงขายทำกำไรออกมาได้ แนะนำปรับพอร์ต โดยขายทำกำไร BCP และ นำเงินเข้าลงทุนใน ADVANC และ BDMS หุ้น Top Picks เลือก ADVANC (FV@B 210) และ BDMS (FV@B 23.80)

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปิดตัวในแดนบวกเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากมีการทดลองวัคซีนในเบื้องต้นของบริษัท Moderna บวกกับ จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำโดยเพิ่มขึ้น 2 ราย จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1309.95 จุด เพิ่มขึ้น 23.42 จุด หรือ +1.82% มูลค่าการซื้อขาย 7.88 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTT(+1.39%) PTTEP(+2.92%) GPSC(+2.45%) GULF(+2.01%) กลุ่มขนส่งอย่าง AOT(+2.56%) BEM(+2.62%) BTS(+2.56%)และกลุ่มธ.พ.เช่น BBL(+2.65%) KBANK(+5.78%) SCB(+4.12%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BDMS(+5.08%) CRC(+5.07%) และ PTTGC(+3.95%) เป็นต้น

ประเด็นหลักในประเทศวันนี้ติดตามผลการประชุม กนง. ซึ่งคาดหมายว่าน่าจะเห็นการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 0.5% ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงพยุงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะหดตัวรุนแรงในงวด 2Q63 ขณะที่ความไม่แน่นนอนเรื่องการแพร่ระบาดของ Covid-19 ก็ยังมีอยู่ สำหรับผลกระทบต่อ SET Index หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา ก็จะส่งผลทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหุ้น กับ พันธบัตร (Market Earning Yield Gap) ขยายตัวกว้างขึ้น หรือหากนักลงทุนยอมตรึง Market Earning Yield Gap ไว้เท่าเดิมก็จะทำให้ค่า PER เป้าหมายของตลาดหุ้นไทย ปรับตัวสูงขึ้นได้ราว 0.7-0.8 เท่า

ทั้งนี้ในสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยกำหนดเป้าหมาย Market Earning Yield Gap ไว้ที่ 5% ซึ่งคำนวนกลับมาเป็นค่า PER เป้าหมายได้ที่ 17.4 เท่า หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และยังคง Market Earning Yield Gap ไว้ที่ 5% ก็จะทำให้ค่า PER เป้าหมาย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 18.1 - 18.2 เท่า ซึ่งถือเป็นผลดี แต่อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่ง เราก็มองเห็น Downside ที่จะเกิดขึ้นต่อ SET Index เช่นกัน โดยประเด็นหลักอยู่ที่ประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งกำลังจะถูกปรับลดลงจากเดิมที่มีค่ากำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 72.6 บาท/หุ้น โดยเป็นไปได้ที่จะปรับลดลลงมาสู่ระดับ 66-67 บาท/หุ้น ถือเป็นการปรับลดที่รุนแรงอีกครั้งหนึ่ง และหากใช้ค่า SET Index ที่ 1300 จุด เป็นตัวคำนวน ก็จะทำให้มีค่า PER สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 19.7 - 20.3 เท่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าสูงกว่าค่า PER เป้าหมายใหม่กรณีปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหมายความว่าผลกระทบจากการปรับลดประมาณการแรงกว่า ผลบวกที่ได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ภาวะดังกล่าวทำให้เชื่อว่า SET Index อยู่ในภาวะที่มี Upside จำกัดและมีโอกาสที่จะถูกขายทำกำไรออกมาได้ กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ตโดย ขายทำกำไร BCP รับรู้กำไรกว่า 10% และให้นำเงินเข้าลงทุนใน ADVANC และ BDMS ซึ่งในวันนี้เลือกทั้ง 2 บริษัทเป็น Top Picks

ตลาดหุ้นโลกพักฐาน จากประเด็น COVID-19

ตลาดหุ้นโลกเมื่อคืนที่ผ่านมาพักฐานอีกครั้ง หลังจากเพิ่มขึ้นแรงในต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี Dow Jones ลดลง 1.6%, S&P 500 ลดลง 1% และ NASDAQ ลดลง 0.4% โดยมีปัจจัยกดดันจาก

STAT News เว็บไซต์ข่าวด้านสุขภาพสหรัฐรายงานว่า ผลทดลองวัคซีนของบริษัท Moderna ยังไม่ชัดเจนพอที่จะประเมินประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมเพียง 45 ราย (วันก่อนหน้าตลาดหุ้นสหรัฐตอบรับข่าวบวก เรื่องผลการทองลองของบริษัท Moderna ได้ผลดี)

รายงานงบการเงินของบริษัทในสหรัฐในงวด 1Q63 หลายตัวเมื่อวานนี้ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด อาทิ Walmart Home depo

ความกังวลไวรัส COVID-19 กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก ล่าสุดอยู่ที่ 4.97 ล้านราย โดยล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (New case) ประเทศฝั่งสหรัฐ ยุโรป และจีน ได้ผ่านจุด Peak ไปแล้ว แต่ล่าสุด การแพร่ระบาดบางประเทศกลับเพิ่มขึ้นสูง คือ ประเทศแถบอเมริกาใต้ คือ บราซิล ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% ต่อวัน และยังเพิ่มขึ้น 13% เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ฝั่งประเทศในเอเซีย ล่าสุด คือ อินเดีย จำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นสูงและมากที่สุดในเอเซีย ล่าสุดอยู่ 1.06 แสนราย ซึ่งเป็นประเด้นที่ต้องติดตามต่อ

บ่าย 2 วันนี้คาด กนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%

วันนี้ในประเทศให้น้ำหนักเวลาบ่าย 2 การประชุม กนง. ผลสำรวจนักวิเคราะห์ใน Bloomberg ราว 87.5% จากทั้งหมด 24 ท่าน คาดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25%เหลือ 0.5% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์)   สอดคล้องกับความเห็นของ ASP คาดปรับลงโดยประเมินจากปัจจัยแวดล้อม

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไทย (ดอกเบี้ยฯปัจจุบันหักเงินเฟ้อ) เป็นบวกอยู่ราว 3.7% ทำให้ยังมีช่องว่างในการลด (เงินเฟ้อ ล่าสุด ติดลบ 3% และในช่วงที่เหลือของปี เงินเฟ้อคาดจะยังติดลบต่อ)

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 1 ปี และ 2 ปี (Bond yield) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 0.63%และ 0.60%(ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.75%) บ่งชี้ว่านักลงทุนในตลาดคาดดอกเบี้ยฯจะลดลง

เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดหดตัวแรงสุดในงวด 2Q63 และยังมีความไม่แน่นอนเรื่องการแพร่ระบาดของ Covid-19 ละรอกที่ 2 ยังมีอยู่(แม้ปัจจุบัน บ้านเราจะควบคุมจไนวนผู้ติดเชื้อได้ดี)

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยฯที่ลดลงถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน แต่ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อ, อสังหาริมทรัพย์ (LH AP), หุ้นปันผล RATCH, DIF, TTW, DCC, PTT ฯลฯ

กลยุทธ์ลดความเสี่ยงพอร์ต เน้นหุ้นมั่นคง ชอบ ADVANC BDMS

วานนี้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวแรงกว่า 23.4 จุด หรือ 1.82% หนุนผลตอบแทนในเดือน พ.ค. พลิกกลับมาเป็นบวก 0.64% (mtd) มาอยู่ที่ 1309.95 จุด ตอบรับประเด็นบวกจากความคืบหน้าความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน COVD-19

ในเชิง Valuation พบว่าตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ปัจจุบันซื้อขายกันบน PER ที่สูงมาก แม้จะเทียบจาก P/E64F ที่ประเมินจาก Consensus เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐซื้อขายกันบน PER64F ที่สูงถึง 18.1 เท่า (ปีนี้ดัชนีปรับตัวลดลงเพียง %) ส่วนตลาดหุ้นไต้หวันและเกาหลีใต้ แม้ดัชนีจะฟื้นขึ้นมาแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังซื้อขายบน PER64F ที่ระดับต่ำเพียง 14.6 เท่า และ 9.8 เท่า ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นไทย ปัจจุบันซื้อขายกันบน PRE64F ที่สูงถึง 16.8 เท่า สูงสุดในภูมิภาค แสดงให้เห็นว่านักลงทุนมองข้ามเหตุการณ์ต่าง ณ ปัจจุบันไปถึงผลประกอบการณ์ปีหน้าแล้ว

ส่วนวันนี้ประเด็นที่ต้องติดตามผลการประชุม กนง. ซึ่งคาดหมายว่าน่าจะเห็นการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 0.5% จะส่งผลทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดหุ้น กับ พันธบัตร (Market Earning Yield Gap) ขยายตัวกว้างขึ้น หรือหากนักลงทุนยอมตรึง Market Earning Yield Gap ไว้เท่าเดิมก็จะทำให้ค่า PER เป้าหมายของตลาดหุ้นไทย ปรับตัวสูงขึ้นได้ราว 0.7-0.8 เท่า ทั้งนี้ในสมมุติฐานของฝ่ายวิจัยกำหนดเป้าหมาย Market Earning Yield Gap ไว้ที่ 5% ซึ่งคำนวนกลับมาเป็นค่า PER เป้าหมายได้ที่ 17.4 เท่า หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และยังคง Market Earning Yield Gap ไว้ที่ 5% ก็จะทำให้ค่า PER เป้าหมาย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 18.1 - 18.2 เท่า ซึ่งถือเป็นผลดี แต่อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่ง เราก็มองเห็น Downside ที่จะเกิดขึ้นต่อ SET Index เช่นกัน โดยประเด็นหลักอยู่ที่ประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งกำลังจะถูกปรับลดลงจากเดิมที่มีค่ากำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 72.6 บาท/หุ้น โดยเป็นไปได้ที่จะปรับลดลลงมาสู่ระดับ 66-67 บาท/หุ้น ถือเป็นการปรับลดที่รุนแรงอีกครั้งหนึ่ง และหากใช้ค่า SET Index ที่ 1300 จุด เป็นตัวคำนวณจะทำให้มีค่า PER สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 19.7 - 20.3 เท่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าสูงกว่าค่า PER เป้าหมายใหม่กรณีปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหมายความว่าผลกระทบจากการปรับลดประมาณการแรงกว่า ผลบวกที่ได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ภาวะดังกล่าวกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ลดความเสี่ยงพอร์ต แบ่งเงินลงทุนในหุ้น Defensive ชอบ ADVANC BDMS มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

ADVANC(FV @ 210.00) ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าเป็นหุ้นน่าสนใจลงทุนอีกครั้ง จาก 3 เหตุผลหลัก

  1. ราคาหุ้นปรับฐานตอบรับผลกระทบเชิงลบการแข่งขันและ COVID-19 ไปแล้ว ขณะที่ปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการแข่งขันในอุตสาหกรรมดีขึ้น จากการจำกัดปริมาณใช้ข้อมูลแพ็คเกจ Unlimted Data ของลูกค้าเติมเงิน ซึ่งบวกต่อ ADVANC ที่มีฐานลูกค้ามากสุด
  2. ระยะยาวมีโอกาสเรียกเก็บค่าบริการ 5G เพิ่มได้ หลัง TRUE แสดงจุดยืนที่จะเรียกเก็บค่าบริการ 5G สูงขึ้นเช่นเดียวกัน
  3. จุดเด่นที่มั่นคงสูง จากศักยภาพป็นผู้นำกลุ่มในระยะยาว จากการถือครองคลื่น 5G มากสุดและยังมีฐานะการเงินแข็งแกร่งกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูงปีละ 6.0-7.0 หมื่นล้านบาท พร้อมลงทุนเพื่อเติบโต และจ่ายเงินปันผลเกินปีละ 3% ต่อเนื่อง จูงใจในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ

BDMS (FV@B>23.8) แม้ภาพรวมอาจยังได้รับผลกระทบผู้ป่วย Fly-in (15% ของรายได้) ที่ลดลง แต่ฝ่ายวิจัยยังเห็นความน่าสนใจลงทุน จาก 3 ปัจจัย คือ

1)   ราคาหุ้นยัง Laggard หุ้น Big Cap โดย YTD ปรับตัวลดลง 21.1% เชื่อว่าสะท้อนผลกระทบ COVID-19 ไปมากแล้ว และข้อมูลจากที่ประชุมวานนี้ สร้างความเชื่อมั่นฝ่ายวิจัยว่าจะกระทบ COVID-19 ต่ำกว่าตลาดคาด จากการปรับตัวรวดเร็วทั้งการควบคุมต้นทุน, การติดต่อลูกค้าต่างชาติต่อเนื่อง ขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยไทยเริ่มเห็นการฟื้นตัว mom รวดเร็วในเดือนพ.ค.63

2)   การฟื้นตัวของผู้ป่วยต่างชาติระยะสั้น-กลางยังคาดหวังสูงและเร็ว จากจุดเด่น COVID-19 ในประเทศไทยที่ยังควบคุมได้ดี เทียบกับรพ.คู่แข่งการแพทย์ในอินเดีย + สิงคโปร์ ที่ยังไม่คลี่คลาย ประกอบกับ กลุ่มลูกค้าหลัก Fly-in ของ BDMS ที่ไม่ใช่ประเทศในกลุ่มที่มีการระบาดสูง ในกลุ่มตะวันออกกลาง ทำให้น่าจะเห็นการกลับมาอนุญาตเดินทางกลับเข้ามาเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ และคาดว่าการกลับมารักษาจะไม่เผชิญอุปสรรคหากต้องกักตัว เนื่องจากการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น แตกต่างจากกรณีท่องเที่ยว

3)   ระยะยาวจากจุดแข็งเป็นรพ.ที่มีความครอบคลุมต้นน้ำ ปลายน้ำ (ทั้งการป้องกัน, รักษา และฟื้นฟู) ประกอบกับ ภายใต้เครือรพในกลุ่มกว่า 48 แห่ง ทั่วประเทศ จึงเชื่อว่า BDMS จะเป็นหนึ่งในรพ.ที่รับประโยชน์มากสุด จากแนวโน้มความต้องการรักษาพยาบาลตามโครงสร้างผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และน่าจะคาดหวังได้ในระดับไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี

แนะนำปิดสถานะ Pairs Trade คู่ BCP-BCPG และ BTSGIF-BTS ยังได้ผลตอบแทนชนะตลาด

หลังจากแนะนำเปิดสถานะ Pairs Trade คู่ BCP-BCPG และ BTSGIF-BTS เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2563 เริ่มจาก

คู่ BCP-BCPG มีกำไรสูงถึง 10.42% ด้วยการฟื้นตัวแรงของหุ้นปิโตร ตามราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแรง แต่คาดว่าการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันเริ่มชะลอลง จึงแนะนำปิดสถานะในวันนี้ โดยการขาย BCP ที่ราคา 21.2 บาท และ ซื้อคืน BCPG ที่ราคา 16 บาท จะทำให้ได้ผลตอบแทน 10.42% ขณะที่ SET Index ที่ให้ผลตอบแทนราว 0.68% ในช่วงเวลาเดียวกัน

คู่ BTSGIF-BTS ล่าสุดขาดทุน -5.3% แนะนำปิดสถานะในวันนี้ โดยการขาย BTSGIF ที่ราคา 7.5 บาท และ ซื้อคืน BTS ที่ราคา 12 บาท จะทำให้ได้ผลตอบแทน -5.3% เนื่องจาก BTSGIF ยังมีความเสี่ยงจากผลประกอบการที่จะประกาศในช่วงปลายเดือน พ.ค. มีโอกาสพลิกเป็นขาดทุน เนื่องจากมีการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ลง

ตารางผลตอบแทนของ 2 คู่ Pair Trade ที่ฝ่ายวิจัยเคยนำเสนอ

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!