- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 May 2020 12:00
- Hits: 1837
บล.ทิสโก้ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 20-5-2020
สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET +23.42 จุด ทะลุ 1300 คาดหวังวัคซีน COVID-19
SET เปิดกระโดดขึ้นผ่านระดับ 1300 ไปเลย ตามบรรยากาศหุ้นโลก-น้ำมันพุ่งแรง จากความหวังวัคซีน COVID-19 ของบ.Moderna ที่ได้ผลทดสอบเฟส 1 ในเชิงบวก นอกจากนี้ ปธ.FED มองยังมีเครื่องมือทางการเงินอีกมากที่จะช่วยกระตุ้นศก. ต่างชาติขายสุทธิ 12 วันติด แต่แผ่วลง 892 ลบ., Short S50 Futures 6,649 สัญญา 3 วันติด
ทิศทางตลาดวันนี้ : แกว่งไซด์เวย์ ลุ้นผลประชุม กนง.ช่วยหนุนหุ้นแบงก์ขยับขึ้น
หุ้นโลกเมื่อวาน (19 พ.ค.) อ่อนตัวลง เนื่องจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีน COVID-19 อาจไม่รวดเร็วอย่างที่นลท.คาดหวังไว้ ขณะที่รมว.คลังสหรัฐฯ เผยศก.จะเสียหายถาวรหากมาตรการล็อกดาวน์ต้องลากยาวออกไป จึงจำเป็นต้องทยอยเปิดศก.อย่างระมัดระวัง กระตุ้นแรงขายล็อกกำไรหลังขึ้นแรงวันก่อนหน้า ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI บวก 4 วันติด โดยสัญญาส่งมอบเดือน มิ.ย. ซึ่งซื้อขายเป็นวันสุดท้าย +68 เซนต์ ปิดที่ 32.50 $/บาร์เรล สูงสุดใหม่ในรอบ 2 เดือน ส่วนราคาน้ำมันส่งมอบเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นซีรีย์ถัดไป +31 เซนต์ ปิดที่ 31.96 $/บาร์เรล จากการปรับลดกำลังการผลิตลงทั่วโลก และมีสัญญาณอุปสงค์ฟื้นตัวจากการคลายล็อกดาวน์ มอง SET มีแนวโน้มแกว่งไซด์เวย์ +/- ในกรอบจำกัด รอผลการประชุม กนง. วันนี้ ซึ่งเกือบ 90% ของตลาดคาดว่าจะลดดบ.ลง 0.25% เป็น 0.50% ขณะที่เราคาดจะคงดบ.ที่ระดับ 0.75% หาก กนง.คงดบ.คาดจะช่วยหนุนหุ้นแบงก์ขยับขึ้นและหนุนเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากปัจจุบันที่แข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือน น่าจะช่วยลดแรงขายต่างชาติแผ่วลงหรือมีลุ้นพลิกเป็นซื้อสุทธิได้ แนวรับ 1300-1305 แนวต้าน 1320, 1330
กลยุทธ์การลงทุน : เทรดดิ้งสั้นในกรอบ 1280-1330 หาจังหวะซื้อช่วงอ่อนตัว
ด้วยระดับการประเมินมูลค่าหุ้นไทยที่ตึงตัว ช่วงนี้จึงแนะนำแค่เทรดดิ้งสั้น ลงซื้อ-ขึ้นขาย เล็งเป้า SET ขึ้นทดสอบ 1320-30 และปรับ Trailing Stop ขึ้นจาก 1270 เป็น 1280, หาก SET ถอยปิดต่ำกว่า 1300 จะเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ดี
- • ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick TMB – เป็นหนึ่งในหุ้นที่เราชอบมากที่สุดในกลุ่มแบงก์ จากแนวโน้มกำไรที่คาดว่าจะเติบโตสวนภาวะอุตฯ ได้จากการประหยัดค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์จากการควบรวมกับ TBANK, การประเมินมูลค่าหุ้นถูก PER ปีนี้ 6.5 เท่า, PBV 0.5 เท่า และมี Div. Yield 7%, ลุ้นกนง.คงดบ.วันนี้ช่วยกระตุ้นราคาหุ้นกลุ่มแบงก์, เป้าพื้นฐาน 1.25 บ. / หุ้นรับอานิสงส์รัฐบาลทยอยเปิดศก. และราคายังมี upside ชอบ CPALL, HMPRO, BEM, BTS / หุ้นงบดีกว่าคาด ตลาดมีโอกาสปรับประมาณการกำไร-เป้าราคาหุ้นขึ้น – CBG, COTTO, CPF, GLOBAL, LPH, PYLON, SMPC, SYNEX / หุ้นที่แนวโน้มกำไร Q2 ดีขึ้นจาก Q1 ที่น่าจะเป็นจุดต่ำ ชอบ AP, PRM, PTTEP, TASCO, TWPC / หุ้นเก็งเข้า SET50 ชอบ TTW / SET100 ชอบ ACE, TVO, WHAUP / หุ้นเข้า MSCI Global Standard 3 ตัว – AWC, BAM, KTC ออก 1 ตัว BANPU / MSCI Small Cap เข้า 1 ตัว – BANPU ออก 16 ตัว – ANAN, BEAUTY, BEC, ERW, GGC, ITD, LPN, PLAT, PSL, GLOBAL, SVI, TTA, U, UNIQ, UV, WORK / อุตฯ ที่ได้รับผลกระทบน้อยจาก COVID-19 ทนทานสูงจากภาวะศก.หดตัวแรง ชอบ กลุ่มค้าปลีก - CPALL, BJC, HMPRO กลุ่มอาหาร – CPF, RBF กลุ่มสื่อสาร – DTAC, INTUCH, TRUE กลุ่มรพ. – BDMS อื่นๆ – BAM, RATCH / หุ้นปันผลดี - AP, BTSGIF, DIF, INTUCH, KKP, NYT, SABINA, SMPC, SPALI, TVO / หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ดำเนินธุรกิจมากขึ้นหลังพ้นวิกฤติ COVID-19 – AIT, COM7, ITEL, SAMART, SYNEX / หุ้นคุณค่า – AEONTS, BBL, BCP, SEAFCO, SCC, SCCC
- • หุ้นเด่น พ.ค. (Smart Tactics) BAM, BEM, CPALL, CPN, HMPRO, RBF, SMPC
ปัจจัยติดตาม
วันที่ ปท. เหตุการณ์
18-20 พ.ค. TH ตัวเลขยอดขายรถยนต์ของไทยในเดือน เม.ย.
20 พ.ค. TH, JP,CH ประชุม BOT, คำสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นใน มี.ค., อัตราดบ.เงินกู้ (LPR) 1 ปี และ 5 ปี ของจีน
EU ดัชนีราคาผู้บริโภคสหภาพยุโรปใน เม.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใน พ.ค. (เบื้องต้น)
US รายงานประชุม FED ครั้งก่อน
ที่มา : Bloomberg, TISCO Research
กระแสข่าวเด่นในประเทศ
CHAYO : ลั่น! ผลงาน Q2 โตต่อ ลุยซื้อหนี้อีกกว่า 1 หมื่นล้าน
CHAYO คาดผลงานไตรมาส 2 โตต่อ หลังธุรกิจบริหารหนี้ยังดี พร้อมยันเป้ารายได้ปี 63 โต 20% เผยปีนี้ลุยธุรกิจขายสินค้าร่วมกับพันธมิตร-ให้บริการคอลเซ็นเตอร์ ชะลอแผนลงทุนธุรกิจอสังหาฯ เหตุเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น (ข่าวหุ้น)
CHG : ผลงานครึ่งปีแรกสดใส มั่นใจตัวเลขรายได้โต 2 หลัก
CHG ครึ่งปีแรกยังมีการขยายตัวที่ดี หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มเบาบาง เชื่อการรักษาสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็น พร้อมปูพรมรับรายได้ประกันสังคมเต็มสูบ คงเป้าปีนี้เติบโต 2 หลัก ด้านโบรกมองผลงานโค้ง 2/2563 รับแรงกดดันจากโควิด-19 แต่ยังมองบวก เชื่อผลงานปี 2563 โดดเด่นยืนเหนือกลุ่ม (ทันหุ้น)
CPALL : ดีลเทสโก้ใกล้จบ เร่งคุยลุยสาขากัมพูชา
CPALL ยอมรับยอดขาย Q2/2563 ชะลอตัวจากโควิด-19 เร่งพัฒนาระบบสั่งสินค้าออนไลน์ กระตุ้นยอดขาย ระบุเซ็นสัญญาซื้อเทสโก้ เอเซียแล้ว พร้อมเดินหน้าเปิดสาขาในกัมพูชาเต็มสูบ ฟากโบรกคาดกำไรจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง จากการคลายล็อกดาวน์ (ทันหุ้น)
ICN : คาดผลงาน Q2 ดีกว่า Q1 จ่อเซ็นงานใหม่กว่า 1 พันล้านต้นมิ.ย.นี้
ICN แย้มงบไตรมาส 2 ดีกว่าไตรมาส 1 เหตุเลื่อนรับรู้รายได้จากไตรมาส 1 มาเป็นไตรมาส 2 จ่อเซ็นงานใหม่มูลค่า กว่า 1 พันล้านบาทในช่วงมิ.ย.นี้ เล็งประมูลงานครึ่งปีหลัง 1 พันล้านบาท คาดได้งาน 50% ย้ำเป้ารายได้ปีนี้โต 20% (ข่าวหุ้น)
ORI : ลุยปั๊มยอดครึ่งปีหลัง ขยายฐานแนวราบทำเงิน
ORI แย้ม 4 เดือนแรกปี 2563 โกยยอดขายกว่า 8 พันล้านบาท เคาะทั้งปี 2563 เป้ายอดขายที่ 2.15 หมื่นล้านบาท ตุน Backlog กว่า 4.01 หมื่นล้านบาท ทยอยรับรู้ถึงปี 2567 ลุยครึ่งปีหลังเดินหน้าเปิด 12 โครงการ เน้นขยายฐานโครงการแนวราบทำเงิน เล็งตลาดมีการเติบโตต่อเนื่อง (ทันหุ้น)
PTTGC : หั่นงบลดต้นทุน ผลิตดีเซลแทน Jet Fuel
PTTGC เล็งหั่นงบลงทุนปี 2563 ลงราว 1 พันล้านบาท จากเดิมที่วางไว้ราว 3-4 หมื่นล้านบาท หวังรักษาสภาพคล่องสู้ปัญหาโควิด พร้อมปรับแผนการผลิตลุยน้ำมันดีเซลแทนน้ำมันอากาศยาน แถมลุ้นราคาฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุนครึ่งหลังปี 2563 กำไรจากสต๊อกน้ำมัน (ทันหุ้น)
RS : ปรับเปลี่ยนโฉมโลโก้ใหม่ ยึดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เมิร์ซ
RS เปลี่ยนโฉมโลโก้ใหม่ ยึดโมเดลธุรกิจ "เอ็นเตอร์เทนเมิร์ซ" ผสานเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่แข็งแกร่งเข้ากับคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต สร้างอัตลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีใหม่ของอาร์เอส กรุ๊ป (ข่าวหุ้น)
TPCH : บุ๊กอีก 23 MW โรงไฟฟ้าปัตตานี
TPCH ได้ฤกษ์ COD โรงไฟฟ้าชีวมวลปัตตานี 23 เมกะวัตต์เรียบร้อยแล้ว หนุนกำลังผลิตไฟฟ้าชีวมวลพุ่ง 83 เมกะวัตต์ จากเดิม 60 เมกะวัตต์ ขณะที่จ่อ COD โรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 3 แห่งภายในไตรมาสนี้ พร้อมลุยโรงไฟฟ้าชุมชนฯ (ข่าวหุ้น)
"ยูโรมอนิเตอร์" คาดพิษโควิด-19 ฉุดยอดค้าปลีกสหรัฐร่วง 6.5% ปีนี้
ยูโรมอนิเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านตลาด คาดการณ์ว่า ยอดค้าปลีกในสหรัฐอาจร่วงลงรุนแรงถึง 6.5% ในปี 2563 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) รายงานระบุว่า ขณะนี้ยังมีปัจจัยที่ยังไม่ทราบอีกมากเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 และการคาดการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรการรับมือของรัฐบาล การปรับตัวของผู้ค้าปลีก และอัตราการขยายตัวของผู้บริโภคที่จะกลับมาเดินห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้ออีกครั้ง ยูโรมอนิเตอร์วิเคราะห์ว่า ธุรกิจค้าปลีกที่คาดว่าจะมีผลประกอบการที่ดีในปีนี้คือกลุ่มร้านขายของชำ อีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มการให้บริการส่งอาหาร และแบรนด์ร้านอาหารขนาดใหญ่ ส่วนธุรกิจที่คาดว่าจะเสียหายมากที่สุดคือ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า สินค้าแบรนด์หรู และแบรนด์ที่ขายผ่านหน้าร้านตัวเองโดยตรง รายงานระบุว่า ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่สิ้นสุดลงนั้น ยอดค้าปลีกในสหรัฐปรับตัวลดลงเพียง 2.2% ส่วนในปี 2562 ยอดค้าปลีกของสหรัฐมีการขยายตัว 3.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี (อินโฟเควสท์)
รัสเซียเผยเศรษฐกิจชะลอตัวสู่ 1.6% ใน Q1/63 ขณะคาดหดตัวใน Q2
สำนักงานสถิติแห่งชาติรัสเซีย (FSS) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจรัสเซียชะลอตัวสู่ระดับ 1.6% ในไตรมาสแรก และคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในไตรมาส 2 โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียมีการขยายตัว 1.9% ในไตรมาสแรก หลังจากดีดตัว 2.1% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ธนาคารกลางรัสเซียระบุว่า เศรษฐกิจรัสเซียอาจหดตัวลง 8% ในไตรมาส 2 เมื่อเทียบรายปี และจะหดตัวลง 4-6% สำหรับตลอดทั้งปีนี้ (อินโฟเควสท์)
สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านต่ำสุด 5 ปีจากพิษโควิด
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลง 30.2% ในเดือนเม.ย. สู่ระดับ 891,000 ยูนิต จากระดับ 1.276 ล้านยูนิตในเดือนมี.ค. ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดังกล่าวแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558 โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านจะลดลงสู่ระดับ 927,000 ยูนิตในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านร่วงลง 29.7% ในเดือนเม.ย. ทั้งนี้ การเริ่มต้นสร้างบ้านปรับตัวลงในทุกภูมิภาคของสหรัฐ ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวร่วงลง 25.4% สู่ระดับ 650,000 ยูนิต ส่วนการก่อสร้างบ้านสำหรับหลายครอบครัว ซึ่งรวมถึงอพาร์ทเมนท์และคอนโดมิเนียม ดิ่งลง 40.5% สู่ระดับ 241,000 ยูนิต (อินโฟเควสท์)
อังกฤษเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหราชอาณาจักรพุ่งขึ้นแตะ 2.1 ล้านรายในเดือนเม.ย. จาก 1.2 ล้านรายในเดือนมี.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 856,500 รายจากเดือนมี.ค. หรือคิดเป็น 70% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 2514 ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการเดือนเม.ย. นับเป็นสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2539 ตัวเลขดังกล่าวตอกย้ำให้เห็นถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร แม้รัฐบาลได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่เตือนว่า ตัวเลขเหล่านี้อาจไม่ได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในด้านการจ้างงาน เนื่องจากรัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนที่ยังมีงานทำแต่มีรายได้ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ยื่นขอรับสวัสดิการได้ด้วยเช่นกัน (อินโฟเควสท์)
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web