WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 19-5-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน

Sentiment เชิงบวกจากตลาดุห้นต่างประเทศ น่าจะหนุน SET Index ให้ปรับขึ้นไปยืนเหนือ 1300 จุดได้ แต่ในชิงกลยุทธ์ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจาก Valuation ของตลาดหุ้นไทยที่ค่อนข้างแพงโดยมีค่า PER สิ้นปี 2563 สูงถึง 19.519.8 เท่า วานนี้พอร์ตจำลองได้ขาย DCC เพื่อ Stop Profit รับกำไร 18.2% แนะนำให้นำเงินที่ได้สลับเข้าลงทุนใน LH รอรับโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยที่กำลังเกิดขึ้น Top Picks เลือก PTT (FV@B 42) และ LH (FV@B 8)

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปิดตัวในแดนบวกเล็กน้อยเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากมีมาตรการคลาย Lockdown ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1286.76 จุด เพิ่มขึ้น 5.61 จุด หรือ +0.44%(จากที่บวกสูงสุดระหว่างวัน 15.1 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 5.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มค้าปลีก ได้อานิสงค์จากการคลายล็อคดาวน์ ,กลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี จากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และกลุ่มสื่อสาร เป็นต้น หุ้น Toppick ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ Outperform ตลาดฯมาก และให้ผลตอบแทนเป็นบวกทั้ง 3 บริษัท คือ COM7 +6.98%, CPN +3.19% และ PTT +1.4% ด้วยกลยุทธ์หุ้นเด่นธีม Reopen ดังนั้นหากลูกค้าลงทุนตามน่าจะได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจตามสมควร ส่วนกลยุทธ์ภาพรวมตลาดและหุ้น Toppick ที่น่าสนใจจะมีอะไรอีก สามารถติดตามได้ในบทวิเคราะห์ Market Talk ในวันพรุ่งนี้ ครับ

ตัวเลข GDP Growth ในงวด 1Q63 ติดลบเพียง 1.8% YoY และ -2.2% QoQ ซึ่งถือว่าดีกว่าความคาดหมายที่คาดว่าจะติดลบ 4% ทั้งนี้เป็นผลมาจากการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 เพียงช่วงครึ่งหลังของเดือน มี.ค.63 อีกทั้งยังมีการเร่งตัวจากการกักตุนสินค้า และการบริโภคพลังงานที่สูงขึ้นจากการทำ Work from Home อย่าไรก็ตามสภาพัฒน์ฯ ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP Growth งวดปี 2563 ลงมาเป็น ติดลบ 5-6% ซึ่งเป็นมุมมองที่สะท้อนการหดตัวอย่างรุนแรงของ GDP ในช่วงเวลาที่เหลือของปี เฉพาะอย่างยิ่งในงวด 2Q63 สำหรับการประชุม กนง. ในวันพรุ่งนี้ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% โดยปัจจุบัน Bond Yield 1 ปี ได้ปรับตัวลดลงไปรออยู่ที่บริเวณ 0.57% แล้ว ส่วนอีกประเด็นหนึ่งให้ความสนใจกับเรื่อง Valuation ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งหลังการประกาศงบการเงินงวด 1Q63 ออกมาหดตัวถึง 58% YoY แล้ว ทำให้เห็นภาพการปรับลดประมาณการกำไรงวดปี 2563 ลงมาอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจเห็น EPS ปรับลดลงมาจาก 72.62 บาท/หุ้น มาอยู่ที่บริเวณ 65-66 บาท/หุ้น ซึ่งที่ระดับ SET Index ปัจจุบัน จะให้ค่า PER สิ้นปี 2563 อยู่ในช่วง 19.5-19.8 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่สูง สำหรับทิศทางของ SET Index วันนี้ เชื่อว่าจะถูกขับเคลื่อนให้ปรับตัวขึ้นไปเหนือระดับ 1300 จุดได้ ด้วย Sentiment เชิงบวกของตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับขึ้นแรงหลังมีพัฒนาการเชิงบวกในเรื่องของวัคซีนป้องกัน Covid-19 ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน วานนี้พอร์ตจำลองได้ทำการขาย DCC เพื่อ Stop profit รับกำไร 18.2% วันนี้ให้นำเงินที่ได้จากการขาย เข้าลงทุนใน LH ทั้งนี้บนความคาดหวังว่า LH น่าจะได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกทั้งพบว่ายอดขาย Presale ในโครงการแนวราบเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังให้ Dividend Yield สูงกว่า 6% ต่อปี หุ้น Top Pick วันนี้เลือก LH และ PTT

ความคืบหน้าเรื่องวัคซีนป้องกัน Covid-19 หนุนตลาดหุ้นโลก ดีต่อตลาดหุ้นไทย และหุ้นพลังงาน

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นวานนี้ โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี Dow Jones เพิ่มขึ้น 3.85%, S&P 500 เพิ่มขึ้น 3.15% และ NASDAQ เพิ่มขึ้น 2.44% จากกระแสความคาดหวังเรื่องการพัฒนาวัคซีนรักษาไวรัส COVID-19 ภายหลังบริษัท Moderna รายงานผลการทดลองวัคซีนไวรัส COVID-19 เบื้องต้น พบว่าสมารถช่วยให้ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกัน (Antibody) ได้ อย่างไรก็ตาม การทดลองวัคซีนยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักต่อไป เนื่องจากเป็นเพียงการทดลองในระยะที่ 1 และมีจำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วมเพียง 45 ราย

เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบที่ได้อานิงค์บวกจากประเด็นดังกล่าว ต่อ นอกจากปัจจัยหนุนทางพื้นฐานทั้ง ฝั่งDemand น้ำมัน 1.)หลายประเทศเริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจมากขึ้น (Reopen) 2.เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณฟื้นตัว และฝั่ง Supply จาก กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้พมัน OPEC+ ที่ทำตามข้อตกลงปรับลดการผลิต และในวันนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า (Crude oil Future) เดือน มิ.ย. 2563 จะหมดอายุ คาดว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำแรง เหมือนในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

โดยรวมราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและฟื้นจากจุดต่ำสุดเมื่อช่วงกลางเดือน เม.ย. 2563 หรือเพิ่มขึ้นราว 80%   บวกต่อหุ้นพลังงาน โดยแนะนำลงทุน PTTEP (FV@B>100) และ PTT (FV@B>42) และกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ASPS คาด Spread โตรเคมีน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในเดือน เม.ย. โดยคาด 1Q63 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 2563 ยังคงเลือก IVL (FV@B>37)

GDP 1Q63 ติดลบเพียง 1.8%ดีกว่าคาด แต่งวด 2Q63 คาดหดตัวแรง

สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP งวด 1Q63 ออกมา -2.2%qoq และ -1.8%yoy ระดับต่ำสุดใน 24 ไตรมาส แต่ถือว่าดีกว่าที่ตลาดและ ASPS คาดซึ่งเป็นผลจาก

ส่วนฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจอื่นๆ ในงวด 1Q63 อาทิ การใช้จ่ายรัฐและการลงทุนภาครัฐ,การลงทุนเอกชน หดตัว ขณะที่อีกแง่มุมหนึ่งของ GDP คือ ด้านการผลิต (Supply-side GDP) พบว่ามีบางภาคเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Technical Recessionคือ GDP หดตัว %qoq ต่อกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส ภาคเศรษฐกิจที่เกิด หรือเข้าข่าย Technical Recession(สีเหลือง + แดง) สัดส่วนรวมกันคิดราว 60% ของ GDP เพิ่มขึ้นจากงวด 4Q62 ที่มีสัดส่วนราว 40% (ดังตารางด้านขวา)

GDP Growth ไทยรายไตรมาส

ที่มา : สศช.

อย่างไรก็ตามสภาพัฒน์ฯ ปรับลดคาดการณ์ GDP ทั้งปี 2563 หดตัว 5-6%yoy (จากรอบ ก.พ. คาดขยายตัว 1.5-2.5%) ใกล้เคียงกับ ธปท.ที่คาด -5.3%yoy โดยแนวโน้มเศรษฐกิจงวด 2Q63 คาดจะติดลบต่อและน่าจะเป็นจุดต่ำสุด(Bottom) ผลจากการ Lockdownระยะเวลาคือ เม.ย.-พ.ค.และคาดเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้นในงวด 3 เป็นต้นไป (หากอิงคาดการณ์ GDP ปี 2563 ของสภาพัฒฯ งวด 2Q63 เบื้องต้นคาด -10%yoy งวด 3Q-4Q63 จะเฉลี่ยติดลบ 4%)  

ขณะที่ ASPS เดิมคาด GDP ทั้งปี 2563 -1.4%yoy ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงทบทวนประมาณการณ์ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะปรับลดลงอี เนื่องจากประเมินจากสมมติฐาน (C, I , G, X, M) ทั้งปี 2563 เดิมที่คาดเทียบกับ ข้อมูลจริงที่ออกมางวด 1Q63 (ดังตาราง) ยังเห็น Downside ที่มีโอกาสต่ำกว่าคาด อาทิ การลงทุนเอกชน และ ภาคการค้าระหว่างประเทศ คือ ส่งออกและนำเข้า

สมมติฐานคาดการณ์ GDP ปี 2563

ที่มา : สภาพัฒน์, ธปท., ASPS

เศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในทิศชะลอตัว ทำให้เกิดความคาดหวังจะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยให้น้ำหนักการประชุม กนง. วันพรุ่งนี้ 20 พ.ค.2563 เวลา บ่าย 2 ซึ่งผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์จาก Bloomberg พบว่า มีนักเศรษฐศาสตร์ราว 87.5% จากทั้งหมด 24 ท่าน คาดว่า กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 0.5% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ไทย อายุ 1 ปี ที่ล่าสุดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.57% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 0.75% บ่งชี้ได้ว่าตลาดคาดจะมีการปรับลดดอกเบี้ย   แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยฯที่ลดลง ถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แนะนำหลีกเลี่ยงลงทุน แต่จะถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อ, อสังหาริมทรัพย์, หุ้นปันผล ฯลฯ

MINT เพิ่มทุนกว่า 1 พันล้านหุ้น

วานนี้บริษัทฯ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทจากเดิม 4,849,860,006 บาท (พาร์ 1 บาท) เป็น 5,887,815,947 บาท (ณ 31 มี.ค. 31 มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 4,619,004,860 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวนไม่เกิน 1,037,955,941 หุ้น (พาร์ 1 บาท) แบ่งเป็น

1.)หุ้นสามัญออกใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering : RO) ในอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 6.45 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญออกใหม่ จำนวนไม่เกิน 716,124,785 หุ้น คิดเป็น 15.5% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ สิ้นงวด 1Q63 กำหนดราคาเสนอขายจากราคาเฉลี่ย 715 วันทำการ ก่อนหน้าวันที่มีการกำหนดราคาเสนอขาย หักด้วยส่วนลดไม่เกิน 15% ของราคาตลาด ซึ่งจะกำหนดราคาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 8 ก.ค. 2563

2.)เพื่อรองรับการใช้สิทธิ MINT – W7 ซึ่งจะออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (ไม่คิดมูลค่า) จำนวนไม่เกิน 313,831,156 หุ้น (6.8% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ สิ้นงวด 1Q63) อัตราการจัดสรร 17 หุ้นสามัญต่อ 1 MINT-W7 ราคาใช้สิทธิเท่ากับราคาตลาด (ราคาเฉลี่ย 715 วันทำการ ก่อนวันกำหนดราคาใช้สิทธิ) บวกส่วนเพิ่มไม่เกิน 10% อัตราการใช้สิทธิ Warrant 1 : 1 โดยวันขึ้นเครื่องหมาย XW จะกำหนดในภายหลัง  

3.)เพื่อรองรับการปรับอัตราใช้สิทธิ MINT – W6 จำนวน 8 ล้านหุ้น  

ภายหลังการเพิ่มทุนในครั้งนี้ หากคำนวณ Fully Diluted เฉพาะหุ้นสามัญออกใหม่ (ไม่รวม Warrant) จะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นงวด 1Q63 เป็น 5,335,129,545 หุ้น ส่งผลกระทบต่อกำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น ภายใต้ประมาณการเดิม (อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ) ราว 12% (หากรวม MINT-W7 ทั้งจำนวนส่งผลประมาณ 16%) และมูลค่าพื้นฐานภายใต้วิธี DCF ต่ำลงในอัตราเดียวกัน (กำหนดให้เงินสิดจากเงินเพิ่มทุนนำไปใช้บริหารสภาพคล่อง ทำให้เงินสด ณ สิ้นปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเดิม)

ภายใต้ปัจจัยข้างต้น มองราคาหุ้นตอบสนองในเชิงลบ (ราคาวานนี้ปรับตัวลงราว 7% จากวันก่อนหน้า) โดยฝ่ายวิจัยมีโอกาสสูงที่จะปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น SWITCH (หรือขาย) เนื่องจากการดำเนินงานต่อหุ้นที่ถูก Diluted หลังกลับมามีกำไรในอนาคต และภาระหนี้ที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก Perp bond ที่ได้รับการผ่อนผันให้นับเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ถึงปี 2565

กลยุทธ์เด่น ธีมเปิดเมือง + ลดดอกเบี้ย ชอบหุ้น PTT และ LH

Valuation ตลาดเริ่มตึงๆ เนื่องจากกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q63 ที่ลดลงแรงเหลือเพียง 1.1 แสนล้านบาท (ลดลง 49%QoQ และ 59%YoY) ถือเป็น Downside ต่อประมาณการกำไรทั้งปี 2563 และกดดัน Upside ของตลาด ซึ่งล่าสุดฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิทั้งปี 2563 เหลือ 7.08 แสนล้านบาท (ลดลง 24%YoY) และมี EPS63F เหลือเพียง 65.84 บาท/หุ้น (ลดลง 25.2%YoY) เท่านั้น

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ยังมี Momentum ผลักดันตลาดอยู่ 2 ประเด็น คือ

  1. บางธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินงาน บวกกับความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน COVD-19 ที่ทางบริษัท Moderna ได้พัฒนาขึ้น หนุนหุ้นสหรัฐหลาย Sector ที่ถูกผลกระทบจาก Covid-19 โดยตรง กลับมาฟื้นตัวเด่นอีกครั้ง เช่น หุ้นกลุ่มพลังงานใน S&P500 วานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 7.6%, ตามมาด้วยกลุ่มอุตสาหกรรม 6.6%, กลุ่มการเงิน 5.3% และกลุ่มอสังหาฯ 4.9% เป็นต้น ประเด็นดังกล่าวถือว่าสร้างความหวังใหม่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และน่าจะหนุนให้หุ้นในไทยที่ Underperform ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง
  2. มีโอกาสสูงที่กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลง ในวันที่ 20 พ.ค. 63 สะท้อนตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังมีทิศทางชะลอตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 บวกกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 1ปี ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 0.57% (ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย) ซึ่งตามกลไกปกติถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากดอกเบี้ยฯลดลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น 0.79 เท่า ถือการเปิด Upside ของดัชนี SET index ราวๆ 52 จุด หากลดดอกเบี้ลง 0.25% เป้าหมาย SET มีโอกาสขยับขึ้น 52 จุด

ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS

ปัจจัยบวกทั้งจากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ย บวกกับประเด็น COVID-19 ที่ผ่อนคลายในช่วงสั้น กลยุทธ์เน้นลงทุนหุ้นปันผลสูง และมี Momentum จากปัจจัยภายนอกคอยขับเคลื่อน คือ PTT และ LH มีพื้นฐานที่น่าสนใจดังนี้

PTT(FV @ 42.00) ปัจจัยหนุนรอบด้าน ทั้งราคาน้ำมันดิบโลก WTI เริ่มฟื้นตัวแรงกว่า 63%(mtd) จนล่าสุดอยู่ที่ 33.05 เหรียญฯ จากฝั่ง Demand ที่ผ่อนคลายหลังผู้คนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติ และผลผลิตอุตสาหกรรมจีนที่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่หุ้นคาดหลังปันผลสูงถึง 4.5% ต่อปี ถือเป็นเป้าหมายของ Fund Flow ลำดับต้นๆ สำหรับกระแสการลดดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้

LH(FV @ 8.00) แม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา กดดันหุ้นกลุ่มอสังหาฯให้ Underperform ตลาดฯ แต่หุ้นกำไรงวด 1Q63 ของ LH กลับลดลงน้อยกว่าตลาด ลดลง 16% QoQ และ 13%YoY เท่านั้น ขณะที่ SET Index ลดลง ลดลง 49%QoQ และ 59%YoY แต่ราคาหุ้น LH กลับปรับตัวลงแรงมากในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ต้นปีลดลงกว่า 33% ขณะที่ SET Index ปรับตัวลงเพียง 18% แต่มาตรการคลาย Lockdown บวกกับหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ต่างประเทศเริ่มฟื้นตัว และแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ย หนุนให้หุ้นปันผลสูงอย่าง LH คาดหวัง Dividend Yield สูงกว่า 6% ต่อปี น่าจะกลับมา Outperform ตลาดได้ในช่วงนี้ ขณะเดียวกันบริษัทยังมีแผนเปิดโครงการใหม่ ตามเดิม 16 โครงการแนวราบและ โอนฯ 2 คอนโดฯ ใหม่ในปีนี้ หนุนให้กำไร 2H63 ฟื้นตัวขึ้น

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!