- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 18 May 2020 16:46
- Hits: 3405
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 18-5-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET แกว่ง sideway ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกจากการปลด Lockdown แต่ก็ยังมีความกังวลต่อ Valuation ที่ตึงตัว โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,280.76 (+0.36 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 5.1 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 4.7 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 2,651 ลบ. (นักลงทุนสถาบันขาย 1,249 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Short Futures ที่ 6,790 สัญญา)
PTTGC (ราคาเป้าหมาย 44.0 บาท) แรงหนุนเชิงบวกจากคาดราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีแนวโน้มแกว่งขึ้นจากอุปสงศ์ที่ฟื้นตัวหลังทั่วโลกคลาย Lockdown ขณะที่ต้นทุน gas ยังคงปรับขึ้นช้า ส่งผลบวกต่อ spread ของ PTTGC
จับตา GDP ไทย และสถานการณ์หลังปลด Lockdown ระยะสอง : สัปดาห์นี้ยังมีหลายปัจจัยที่คาดส่งผลต่อทิศทางการลงทุน โดยวันนี้แนะจับตาการรายงาน GDP ไทยประจำไตรมาส 1 ซึ่งเราและconsensus คาดตรงกันที่ -3.8%YoY อ่อนแอจากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 และสัญญาณอาจจะอ่อนแอต่อเนื่องในช่วง 2Q63 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการ Lockdown อย่างเต็มที่ในเดือนเมษายน แต่ในเชิงของราคาหุ้นเราก็เชื่อว่าได้รับผลกระทบไปในระดับหนึ่งแล้ว ส่วนสัปดาห์นี้เข้าสู่การปลด Lockdown ในระยะที่สอง คงตัองติดตามอย่างใกล้ชิดทั้งผลของตัวเลขการติดเชื้อใหม่ที่จะเร่งขึ้นมากน้อยเพียงใด และในทางกลับกันกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังการปลดล็อกที่อาจเข้าสู่ New Normal ในระดับใด ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญบวกสลับลบที่ส่งผลต่อการลงทุนทั้งสิ้น
ส่วนทางด้านสถานการณ์โลก แนะติดตามการปลด Lockdown เช่นกัน ซึ่งอาจเข้ามาช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงความต้องการในการใช้น้ำมันมากยิ่งขึ้น โดยเรายังคาดกลุ่ม ENERG&PETRO ยังเป็นกลุ่มที่น่าสนใจในการขับเคลื่อนดัชนี และปิดท้ายที่ความคืบหน้าของสงครามการค้า คงต้องติดตามท่าทีของโดนัล ทรัมป์ ซึ่งอาจจะมีการออกมาแถลงความคืบหน้าเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าทรัมป์ต้องพยายามเร่งคะแนนความนิยมให้มากยิ่งขึ้นให้ทันการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในช่วงปลายปีนี้
Investment Strategy : วันนี้คาด SET แกว่งขึ้น ประเมิน แนวรับ 1,270 ต้าน 1,300 จุด ยังคงแนะเก็งกำไรสัดส่วน 20% ของพอร์ต โดยวันนี้แนะนำ “PTTGC, TOP, GLOBAL, RBF”
ปัจจัยในประเทศ :
ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19
18 พ.ค. GDP 1Q63 ของไทย
20 พ.ค. การประชุม กนง.
22 พ.ค. การส่งออกไทย (เม.ย.)
SET Index : เลือกทางก่อน ค่อยเข้าทำ SET วันศุกร์ปิดเสมอตัว และอยู่ในโซนที่สุ่มเสี่ยง เหลือเพียง EMA10 วันที่ประคองการแท่งเทียนเพื่อเทรดระยะสั้น โดย SET ที่ 1280 จัดว่าอยู่กึ่งกลาง channel (1260-1300) และอยู่ระหว่างทางของการฟอร์มตัวโครงสร้าง Double Top หรือไม่ ดังนั้น R/R 50:50 คือ ได้-เสีย พอกัน เราแนะ ให้ SET เลือกทางก่อน ค่อยเข้าทำ
มีหุ้น : ระยะสั้น ทะลุ 1290 มีหุ้นถือต่อ แต่หากหลุด 1277 เน้นกระชับพอร์ต แล้วไปรอพิจารณาซื้อคืนแถว 1260
ไม่มีหุ้น : รอทะลุ 1290 ก่อนค่อยเล่นเก็งกำไรทางขึ้น หากไม่ทะลุ ให้รอเล่นหน้าเด้งแถว 1277 / 1260
CPF เร่งเครื่องกำลังผลิต รับออเดอร์จีน-สิงคโปร์ (ทันหุ้น)
ความเห็น : รายได้จากส่งออกไก่มีสัดส่วนไม่เกิน 5% ของรายได้รวม แต่เป็นประเด็นบวกเพิ่มเติมจากธุรกิจหมูในเวียดนามที่เป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตปีนี้จากราคาหมูที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังต่ำ แนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 40.20 บาท
HMPRO ปรับแผนลงทุนปีนี้ ขยาย 2 สาขาใหม่ครึ่งหลัง (ข่าวหุ้น)
ความเห็น : แผนขยายธุรกิจเป็นไปแบบระมัดระวัง โดยคาดว่าจะกลับมาขยายสาขามากขึ้นในปีหน้า คาดว่าผลประกอบการจะต่ำสุดใน 2Q63 แต่จะเริ่มฟื้นตัวใน 3Q63 หลังจากคลายล็อกดาวน์ แนะนำ ทยอยซื้อ ราคาเป้าหมาย 16 บาท
AAPICO Hitech (AH) กำไรปกติ 1Q63 ลดลง แต่กำไร FX สูงช่วยให้กำไรสุทธิดี
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
AH ประกาศผลประกอบการ 1Q63 มีกำไรสุทธิที่ดี 321 ล้านบาท ดีกว่าไตรมาก่อนที่ขาดทุน 742 ล้านบาท และ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 48%YoY แต่ถ้าหากหักกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 199 ล้านบาท จะมีกำไรปกติที่ลดลงเหลือ 122 ล้านบาท (-72%QoQ, -44%YoY) เนื่องจากรายได้อื่นที่ลดลงเหลือ 168 ล้านบาท (-29%QoQ, -32%YoY) จากดอกเบี้ยรับที่ลดลง และ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้นเป็น 389 ล้านบาท (+16%QoQ, +52%YoY) เนื่องจากมีการรวมงบ AAPICO Maia (โปตุเกส) และ ช่วยให้ยอดขายเติบโตได้จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,850 ล้านบาท (-7%QoQ, +15%YoY) อัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างทรงตัวจากปีก่อนที่ 8.9% ในขณะที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 10.9%
แนวโน้มผลประกอบการ
การแพร่ระบาดของ Covid-19 ไปทั่วโลก ส่งผลกระทบด้านลบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใน 2Q63 หลายประเทศมีการล็อกดาวน์ คาดจะฉุดยอดขายลดลงหนักมากกว่า 50% และ ทำให้ผลประกอบการพลิกมาขาดทุน สำหรับแนวโน้มรวมปี 2563 AH อ้างถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ที่ประเมินยอดผลิตรถยนต์จะลดลงเหลือ 1.33 ล้านคัน หรือ ติดลบ 33% ทำให้เราปรับประมาณลดลง ทั้งนี้การรวมงบ AAPICO Maia (โปตุเกส) ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายประมาณ 15% จะทำให้ยอดขายของAHปรับลดลงน้อยกว่าอุตสาหกรรมรวม เราประเมินยอดขายในปี 2563 จะลดลง 20% เหลือ 14,635 ล้านบาท และ คาดจะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 468 ล้านบาท ดีขึ้นจากปีก่อนที่ขาดทุน 181 ล้านบาท ในขณะที่กำไรปกติจะเท่ากับ 269 ล้านบาท จะลดลงถึง 74%YoY
คำแนะนำการลงทุน
ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 24.3 บาท โดย ซื้อขาย P/E ปี 2563 บนกำไรปกติเท่ากับ 10 เท่า เราประเมินราคาเป้าหมาย บนฐานค่าเฉลี่ย Forward P/E 10 ปี ประมาณ 9.3 เท่า โดยใช้กำไรปกติเฉลี่ยปี 2563 และ 2564 จะได้เท่ากับ 11 บาท ลดลงจาก 15 บาท จากประมาณการที่ปรับลดลง แนวโน้มกำไรของ AH ดูอ่อนแอ กว่า SAT, STANLY ที่เราออกบทวิเคราะห์ เราลดเกรดคำแนะนำลงเหลือ ถือ จากเดิม ซื้อ
ความเสี่ยง
การแพร่ระบาดของ Covid-19 / ภาวะชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในและต่างประเทศ
BJC Heavy Industries (BJCHI)
ขาดทุนจากการดำเนินงาน แต่กำไร FX สูงช่วยให้กำไรสุทธิดี
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
BJCHI ประกาศผลประกอบการมีกำไรสุทธิที่ดีเท่ากับ 109 ล้านบาท (+325%QoQ, +3,441%YoY) มากกว่าเราคาดจะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 60 ล้านบาท ถ้าหากหักกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงถึง 139 ล้านบาท จะมีผลการดำเนินงานปกติที่ขาดทุน 30 ล้านบาท เนื่องจาก อัตรากำไรขั้นต้นปรับลดลงเหลือ 15.7% จาก 19.1% ในไตรมาสก่อน และ 18% ในปีก่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารพุ่งขึ้นเป็น 151 ล้านบาท (+229%QoQ, +221%YoY) เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายพิเศษในช่วงการเตรียมงานโครงการใหม่ และ ค่าขนส่งงานงานโครงการขนาดใหญ่ไปต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาก ยอดรับรู้รายได้ในไตรมาสนี้เพิ่มเป็น 720 ล้านบาท (+59%QoQ, +89%YoY)
แนวโน้มผลประกอบการ
เดือน มี.ค.-เม.ย. 2563 ที่ผ่านมา BJCHI ได้งานใหม่ 4 โครงการ รวม 1,630 ล้านบาท ทำให้ Backlog เพิ่มเป็น 4.7 พันล้านบาท นอกจากนี้ BJCHI มีงาน Potential Project ที่กำลังประมูลประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท จะช่วยเติม Backlog โดยในช่วง 3Q63 มีแนวโน้มจะได้งานเพิ่มเติมอีกประมาณ 60 ล้านเหรียญ จากลูกค้าเดิม ทำให้ปีนี้ผู้บริหาร BJCHI ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2563 จะเพิ่มเป็น 3,000 ล้านบาท เติบโต 50% สำหรับประมาณการของเราประเมินรายได้ปีนี้ 2,750 ล้านบาท โต 36% และ มีกำไรเท่ากับ 268 ล้านบาท โต 468%
คำแนะนำการลงทุน
BJCHI มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ไม่มีหนี้เงินกู้ ในขณะที่มีเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว 423 ล้านบาท มีอัตราเงินปันผลตอบแทน 8.1% แนวโน้มผลประกอบการจะดีขึ้น เราแนะนำ TRADING BUY ช่วงอ่อนตัวจากผลการดำเนินงานปกติที่ขาดทุน ประเมินราคาเป้าหมาย 2.30 บาท เท่ากับ มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ลดลงจากเดิม 2.50 บาท ที่ให้มากกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นเล็กน้อย
ความเสี่ยง
ต้นทุนที่มากกว่าประมาณการ / การแข่งขันในงานประมูล
- Karnchang (CK)
1Q63 พลิกมาขาดทุน และต่ำกว่าคาด
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
CK ประกาศผลประกอบการ 1Q63 ที่พลิกมาขาดทุน 112 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีกำไร 256 ล้านบาท และ ปีก่อนที่มีกำไร 355 ล้านบาท ต่ำกว่าเราคาดจะมีกำไรเพียงเล็กน้อย 50 ล้านบาท เนื่องจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน BEM และ CKP ลดลงเหลือเพียง 15 ล้านบาท (-95%QoQ, -94%YoY) จาก BEM ได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และ CKP ขาดทุนหนักถึง 390 ล้านบาท ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และ จาก Backlog ที่ต่ำ ทำให้ 1Q63 มียอดรับรู้รายได้ในระดับต่ำเท่ากับ 5,357 ล้านบาท (+3%QoQ, -28%YoY) รวมถึงรายได้อื่นๆที่ปรับลดลงเหลือ 244 ล้านบาท (-24%QoQ, -20%YoY) จากดอกเบี้ยรับโครงการไซยะบุรีที่ลดลงเนื่องจากมีการคืนเงินกู้บางส่วน อัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างทรงตัว 8.9% จากไตรมาสก่อนที่ 9% จากเป็นงานต่อเนื่อง แต่ดีขึ้นจากปีก่อน 8.6% ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 551 ล้านบาท (+13%QoQ, +5%YoY) จากหลายโครงการแล้วเสร็จมีการโอนแรงงานกลับส่วนกลาง ภาระดอกเบี้ยจ่ายอยู่ในระดับสูง 306 ล้านบาท (+0%QoQ, +7%YoY)
แนวโน้มผลประกอบการ
Backlog ของ CK ค่อนข้างต่ำ 4.3 หมื่นล้านบาท ทำให้แนวโน้มการรับรู้รายได้งานรับเหมาก่อสร้างในปีนี้จะอยู่ในระดับต่ำ สำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 2.2 แสนล้านบาท คาดจะเจรจาแบ่งงานก่อสร้างเร็วๆนี้จะช่วยเพิ่มงาน สำหรับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน BEM และ CKP ปีนี้จะประสบปัญหา โดย BEM จำนวนผู้โดยสารได้ลดลงจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่วน CKP ประสบปัญหาจากภัยแล้งทำให้การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนลดลง เราประเมินรายได้ 21,007 ล้านบาท ลดลง 8.7% และ มีกำไร 1,297 ล้านบาท ลดลง 27%
คำแนะนำการลงทุน
ราคาหุ้น CK ปัจจุบันซื้อขายบน Valuation ที่ถูก คือ P/BV 0.9 เท่า ต่ำกว่า Forward P/BV-2SD ระยะ 10 ปี ที่ 1.13X ส่วนค่าเฉลี่ย 10 ปี เท่ากับ 2.0X ในขณะที่ CK มีเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของประเทศ คือ BEM, CKP และ TTW มีมูลค่าถึง 6.6 หมื่นล้านบาท หรือ คิดเป็น 39 บาทต่อหุ้น ซึ่งมีแนวโน้มเติมโตในระยะยาว และ ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน และเงินปันผล ประเมินเป้าหมาย โดยวิธี Sum of the Part เท่ากับ 24 บาท แนะนำ TRADING BUY ช่วงอ่อนตัว จากกำไรไตรมาส 1Q63 ที่น่าผิดหวังจะกดดันให้ราคาหุ้นปรับลดลง
ความเสี่ยง
อุปสรรคในการก่อสร้าง ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ปัญหาแรงงาน งานล่าช้า
CP All (CPALL)
กำไรชะลอระยะสั้น แต่ธุรกิจยังแข็งแกร่ง
Company Update
ประเด็นการลงทุน
กำไร 1Q63 ชะลอลงตามคาด ผลประกอบการได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มากขึ้นเดือน เม.ย. อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรจะฟื้นตัวดีขึ้นใน 2H63 หลังจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ขณะที่แผนเปิดสาขาร้านเซเว่นฯ ยังเป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนการขยายสาขาไปกัมพูชายังไม่กระทบในระยะสั้นแต่จะสนับสนุนการเติบโตระยะยาว แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF, WACC 7.2%, LTG 4%) 87 บาท
กำไร 1Q63 ชะลอตามคาด
กำไรสุทธิ 1Q63 เท่ากับ 5,645 ล้านบาท (-8% QoQ, -2% YoY) ใกล้เคียงกับที่คาด SSSG ลดลงมาที่ -4% (เทียบกับ +3.1% ใน 1Q62 และ 0% ใน 4Q62) จำนวนลูกค้าลดลง 6% YoY เป็น 1,122 คน/ร้าน/วัน เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว การระบาดของโควิด-19 และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง อย่างไรก็ดี ยอดขายรวมยังเพิ่มขึ้น 5% YoY จากการเปิดสาขา 684 สาขา YoY (เปิด 271 สาขา ใน 1Q63) และรายได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสเพิ่มขึ้นจากธุรกิจ Banking agent อีกทั้งยอดขายของ MAKRO เติบโตดี อัตรากำไรขั้นต้นลดลง 20 bps YoY เป็น 22.1% เนื่องจากสัดส่วนกำไรที่มาจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อลดลง ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจากการเริ่มใช้ TFRS16 ทำให้มีดอกเบี้ยจ่ายของหนี้สินตามสัญญาเช่า 308 ล้านบาท
แนวโน้มกำไรลดลงใน 2Q63 แต่จะฟื้นตัวใน 2H63
แนวโน้มกำไรลดลงใน 2Q63 โดยเฉพาะในช่วงเดือน เม.ย. คาดว่า SSSG จะติดลบมากกว่า 6% จากการยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ การมีเคอร์ฟิว (22.00-04.00 น.) และการเดินทางท่องเที่ยวลดลง แม้ยอดขายทางออนไลน์เติบโตเกิน 100% แต่สัดส่วนยอดขายยังน้อย (small single digit) เราคาดว่ากำไรจะฟื้นตัวขึ้นใน 2H63 จากการคลายล็อคดาวน์ ขณะที่เป้าหมายเปิดสาขาร้านเซเว่นฯ ยังคงเดิมที่ 700 สาขา/ปี ส่วนดีลลงทุน 30% ในเทสโก้ คาดว่าจะเสร็จภายใน 4Q63 ซึ่งบริษัทเตรียมเงินลงทุนไว้แล้วจากการกู้ยืมเงินระยะสั้น แล้วจึงทยอยรีไฟแนนซ์เป็นหนี้สินระยะยาวภายหลัง
ขยายสาขากัมพูชาสนับสนุนการเติบโตระยะยาว
CP ALL (Cambodia) Co., Ltd. บริษัทย่อยของ CPALL ได้ทำสัญญาแฟรนไชส์หลักสำหรับดำเนินการร้านเซเว่นฯ ในกัมพูชากับ 7-Eleven, Inc.โดยได้รับสิทธิ 30 ปี และต่ออายุสัญญาได้ 2 ครั้งๆละ 20 ปี เราคาดว่าจะเปิดสาขาแรกในปี 2564 โดยการขยายสาขาเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยังไม่มีกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของ CPALL ในระยะสั้น แต่จะสนับสนุนการเติบโตในระยะยาวภายใต้ Synergy กับ MAKRO ที่มีสาขาในกัมพูชา ในด้านการจัดหาสินค้าและการกระจายสินค้า
ความเสี่ยง: ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย / อากาศเย็นหรือฝนตกมากกว่าปกติ / รายได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสชะลอ
Minor International (MINT TB)
งบดุลไตรมาส 1Q20 อ่อนแอ ยังน่าห่วง
ลดคาดการณ์กำไรหลักและคำแนะนำ เนื่องจากงบ 1Q20 อ่อนแอ
MINT รายงานผลขาดทุนหลักที่ 3.2 พันล้านบาทในไตรมาส 1Q20 ซึ่งต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ เนื่องจาก EBITDA margin ที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลให้เรปรับลดประมาณการกำไรหลักและปรับเพิ่มส่วนลด WACC เป็น 8.7% จาก 7.9% เพื่อสะท้อนความเสี่ยงที่สูงขึ้น และได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 19 บาท ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” เนื่องจากงบดุลอ่อนแอ
บันทึกขาดทุนหลักที่ 3.2 พันล้านบาทในไตรมาส 1Q20
รายได้จากโรงแรมและธุรกิจมิกซ์ยูสลดลง 24% YoY เนื่องจาก RevPar ของโรงแรมที่เป็นเจ้าของลดลง 28% YoY โดย RevPar ของโรงแรมไทยลดลง 34% YoY ส่วนโรงแรมในยุโรปและละตินอเมริกาลดลง 24% YoY ขณะที่โรงแรมในมัลดีฟส์ลดลง 18% YoY รายได้จากธุรกิจมิกซ์ยูสลดลง 43% YoY จากยอดขายบ้านพักที่ลดลงและรายได้ AVC ที่อ่อนแอ สำหรับธุรกิจ F&B รายได้ลดลง 8% YoY โดย SSSG ลดลง 11% YoY เนื่องจากร้านอาหารในไทยลดลง 6% และร้านอาหารในจีนลดลง 59% หลังจากการปิดเมืองในเดือน ก.พ. EBITDA margin ของทั้งกลุ่มลดลง 15% ในไตรมาส 1Q19 เป็น -1% ในไตรมาส 1Q20 หากรวมผลจาก TFRS16, EBITDA margin จะเป็น 13% โดยรวมแล้ว MINT มีผลขาดทุนหลัก 3.2 พันล้านบาท ประกอบด้วยผลขาดทุนหลักประมาณ 1.9 พันล้านบาทจาก NH Hotel ซึ่งบันทึกขาดทุนหลัก 59 ล้านยูโรในไตรมาส 1Q20 รวมถึง 300 ล้านบาทจากผลกระทบจาก TFRS16 และส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านพันบาทจากธุรกิจเดิม หากรวมรายการพิเศษ ขาดทุนสุทธิเท่ากับ 1.8 พันล้านบาท
งบดุลมีความเสี่ยงสูง
เราห่วงเรื่องงบดุลของ MINT ซึ่งมีอัตราส่วน IBD/E เพิ่มขึ้นจาก 1.3 เท่า ณ 4Q19 เป็น 1.6 เท่า ณ 1Q20 ใกล้เคียงกับ debt covenant ที่ 1.75 เท่า แม้ว่า MINT วางแผนที่จะลดค่าใช้จ่ายลงครึ่งหนึ่งเป็น 1.1 หมื่นล้านบาทและเริ่มมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายในไตรมาส 2Q20 แต่เรายังคงกังวลเรื่องกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจโรงแรมเนื่องจากปัจจุบัน 80% ของโรงแรมปิดทำการชั่วคราว เราเชื่อว่า MINT กำลังพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ในการเพิ่มสภาพคล่องและปรับปรุงงบดุล รวมถึงเจรจากับธนาคารและผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเพิ่ม debt covenant มองหาโอกาสในการขายและเช่าสินทรัพย์กลับคืน และการเพิ่มทุนซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย
คาดขาดทุนหลัก 7.4 พันล้านบาทในปี 2563
เราปรับลดประมาณการกำไรเพื่อสะท้อนผลประกอบการไตรมาส 1Q20 ที่อ่อนแอ โดยเราคาดว่า MINT จะบันทึกขาดทุนหลักที่ 7.4 พันล้านบาทในปี 2563 เราคาดว่า RevPar จะลดลง 60% และ SSSG ลดลง 15% เราปรับลดคำแนะนำ MINT เป็น ถือ เนื่องจากงบดุลที่อ่อนแอ นอกจากนี้ เราไม่คาดหวังการฟื้นตัวของรายได้ที่รวดเร็ว อาจต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการเพิ่มกำไรสู่ระดับปกติในปี 2562 เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกน่าจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ
Thai Stanley El. (STANLY)
กำไร 4Q63 ทำสถิติใหม่ แต่ปีนี้จะทรุดลง
Results Review
ผลประกอบการ 4Q62/63
STANLY ประกาศผลประกอบการ 4Q62/63 (งวด ม.ค.-มี.ค. 2563) มีกำไรที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ 602 ล้านบาท (+30%QoQ, +11%YoY) แรงหนุนยอดขายของ STANLY ที่เติบโตสวนภาวะอุตสาหกรรมรวม 3,939 ล้านบาท (+6%QoQ, +4%YoY) จากได้รับคำสั่งซื้อใหม่ อัตรากำไรขั้นต้นพุ่งสูงขึ้น 22.2% จาก 17.9% ในไตรมาสก่อน และ 20.2% ในปีก่อน จากการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และ คาดจะมีการขายแม่พิมพ์ที่มีกำไรดีเข้ามาช่วยเสริม ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารควบคุมได้ดี 223 ล้านบาท (-5%QoQ, -3%YoY) รวมปี 2562/63 (เม.ย. 2562 – มี.ค. 2563) STANLY มียอดขาย 15,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4%YoY ดีกว่าอุตสาหกรรมรวมที่ติดลบ และ มีกำไรสุทธิ 1,997 ล้านบาท เติบโต 1%YoY
แนวโน้มผลประกอบการ
การแพร่ระบาด Covid-19 กระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างหนัก ทั้งตลาดต่างประเทศ และ ในประเทศ ทำให้ค่ายรถยนต์หลักของไทยหยุดผลิตในเดือน เม.ย. และ ลดกำลังการผลิตลงในเดือน พ.ค. สภาอุตสาหกรรมประเมินในกรณีสถานการณ์แพร่ระบาดยังยืดเยื้อถึงเดือน มิ.ย. ยอดผลิตรถยนต์จะปรับลดลง 30% เหลือ 1.4 ล้านคัน และ ถ้ายังยืดเยื้อไปถึงเดือน ก.ย. ยอดผลิตรถยนต์จะปรับลดลง 50% เหลือ 1 ล้านคัน สำหรับประมาณการของเราประเมินยอดผลิตรถยนต์จะลดลง 30% ดังนั้น เราจึงปรับประมาณการยอดขาย และ กำไรของ STANLY ลดลง คาดยอดขายปี 2563/64 เท่ากับ 10,605 ล้านบาท ลดลง 30%YoY และมีกำไรเท่ากับ 1,178 ล้านบาท ลดลง 41%YoY โดยปี 2564 คาดอุตสาหกรรมรถยนต์จะฟื้นตัว 1.7-1.8 ล้านคัน โต 21-28% แม้ว่ายังไม่กลับมาระดับปกติประมาณ 2 ล้านคัน ทำให้ กำไรปี 2564/65 คาดจะฟื้นตัว 1,591 ล้านบาท เติบโต 35%YoY ซึ่งยังต่ำกว่าระดับปกติที่เคยทำกำไรได้ประมาณ 1,900 ล้านบาท
คำแนะนำการลงทุน
STANLY มีเงินสดในมือและเงินลงทุนระยะสั้นสูงถึง 4.3 พันล้านบาท แม้ว่าในปีที่ผ่านมาจะใช้เงินลงทุนไปแล้ว 3.3 พันล้านบาท STANLY ได้ประกาศจ่ายปันผลกำไรปี 2562/63 เท่ากับ 8.25 บาท มีอัตราเงินปันผลตอบแทน 6.1% ประเมินราคาเป้าหมาย บนฐานค่าเฉลี่ย Forward P/E 10 ปี ประมาณ 10.5 เท่า โดยใช้กำไรเฉลี่ยปี 2563/64 และ 2564/63 จะได้เท่ากับ 190 บาท ลดลงจาก 260 บาท จากประมาณการที่ปรับลดลง คงแนะนำ ซื้อลงทุน ระยะยาว จากปีหน้าคาดจะฟื้นตัวดีขึ้น
ความเสี่ยง
การแพร่ระบาดของ Covid-19 / ภาวะชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในและต่างประเทศ
Sino-Thai Engineering (STEC)
กำไร 1Q63 ทรุดลง ต่ำกว่าคาด
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
STEC ประกาศผลประกอบการ 1Q63 มีกำไรสุทธิที่ทรุดลงเหลือ 209 ล้านบาท (-65%QoQ, -39%YoY) ต่ำกว่าที่เราคาดหมายจะมีกำไรเท่ากับ 339 ล้านบาท เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นปรับลดลงเหลือ 4.3% เทียบกับ 4.5% ในไตรมาสก่อน และ 7.3% ในปีก่อน ผลจากค่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้น 236 ล้านบาท (+63%QoQ, +37%YoY) นอกจากนี้ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูไตรมาสนี้ยังต่ำเพียง 6 ล้านบาท เทียบกับที่เราคาดไว้ 52 ล้านบาท สำหรับยอดรับรู้รายได้ 1Q63 จากโครงการหลักๆ คือ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู สายสีส้ม รวมถึงโครงการอื่นๆยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง 9,328ล้านบาท (+2%QoQ, +24%YoY)
แนวโน้มผลประกอบการ
STEC มี Backlog ร่วม 8.2 หมื่นล้านบาท จะทำให้ยอดรับรู้รายได้ในปีนี้เติบโต เราคาด 36,100 ล้านบาท เติบโต 9% แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของ Covid-19 และมีการล็อกดาวน์บางส่วน แต่กระทบงานก่อสร้างไม่มาก แต่อัตรากำไรขั้นต้นโครงการในมือต่ำประมาณ 5% จากอดีตที่เคยได้ 7-8% โดยการเปลี่ยนนโยบายบัญชีเงินลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือและชมพู จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนประมาณ200ล้านบาท เราคาดกำไรปกติ 1,312 ล้านบาท ติดลบเล็กน้อย 8% สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภามูลค่าโครงการ 2.9 แสนล้านบาท การเจรจามีความคืบหน้า คาดจะลงนามได้ในเดือน พ.ค.-มิ.ย. นี้ โดยเฟสแรกมีมูลค่าโครงการ 4 หมื่นล้านบาท จะมีงานก่อสร้างประมาณ 2 หมื่นล้านบาท คาดSTECจะได้งานก่อสร้างจะช่วยเสริม Backlog กำไร 1Q63 มีสัดส่วนเพียง 16% ของประมาณการทั้งปี แต่ปกติ STEC จะมีรายการพิเศษในช่วงปลายปีเข้ามาช่วย เรายังคงประมาณการ
คำแนะนำการลงทุน
ราคาหุ้น STEC ปัจจุบันซื้อขายบน Valuation ที่ถูก คือ P/BV 1.5 เท่า เท่ากับ Forward P/BV-2SD ระยะ 10ปีที่ 1.5X ส่วนค่าเฉลี่ย 10ปี เท่ากับ 3.39X ในขณะที่มีเงินสดในมือและเงินลงทุนระยะสั้นสูง 4.6 พันล้านบาท เราประเมินราคาเป้าหมายเท่ากับ 20 บาท อิงค่าเฉลี่ย10ปี Forward P/E = 25x แนะนำ TRADING BUY ช่วงอ่อนตัว จากกำไรไตรมาส 1Q63 ที่น่าผิดหวังจะกดดันให้ราคาหุ้นปรับลดลง
ความเสี่ยง
ปัญหาการก่อสร้าง ต้นทุนวัสดุและแรงงาน คดีถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web