WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 15-5-2020ASP

กลยุทธ์การลงทุน      

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สัปดาห์หน้าจะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 รายการได้แก่ GDP Growth งวด 1Q63 ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะหดตัวทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่กลางสัปดาห์จะมีการประชุม กนง. โดยมีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทำให้ SET Index วันนี้น่าจะผันผวนรอข่าว วันนี้ต้องมีการปรับพอร์ตหลัง BTSGIF ถูก Cut Loss โดยแบ่งเงินเข้าลงทุนใน SCC และ DIF หุ้น Top Pick วันนี้เลือก COM7 (FV@B 23.50) ,CPN (FV@B 66) และ SCC (FV@B 396)

SET Index   1,280.40 เปลี่ยนแปลง (จุด)   -14.15 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)   46,654

          

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย จับสัญญาณวันนี้

วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเป็นวันที่ 2 ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคหลังจากขาดประเด็นบวกใหม่ บวกกับกำไรบริษัทจดทะเบียนที่รายงานมาแล้วทั้ง สิ้น 268 บริษัท (คิดเป็น 65.4%ของมูลค่าตลาด) มีกำไรสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 7.5 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง50.8%QoQ และ 64.5%YoY ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงต่อประมาณการกำไร 2563 เพิ่มเติมแม้ จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดตัวในแดนลบที่ระดับ 1280.40 จุด ลดลง 14.15 จุด หรือ -1.09% มูลค่าการซื้อขาย 4.66 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-1.39%) PTTEP(-2.10%) GPSC(-0.69%) GULF(-0.65%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-2.09%) BJC(-3.87%) CRC(-4.64%) และกลุ่มธ.พ.อาทิ BBL(-0.78%) KTB(-4.76%) KBANK(-1.17%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AOT(-0.83%) AWC(-3.53%) และ BEM(-3.06%) เป็นต้น

นอกจากประเด็นเรื่องการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แล้ว ในสัปดาห์หน้าบ้านเราจะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ 2 รายการ เริ่มจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ค.2563 จะมีการรายงานตัวเลข GDP Growth งวด 1Q63 ซึ่งคาดหมายว่าจะเห็นตัวเลขที่ติดลบทั้ง QoQ และ YoY โดยตัวเลข YoY ถูกคาดว่าจะติดลบตั้งแต่ 2-7% (Consensus คาดเฉลี่ย -4.5%QoQ และ -3.8%yoy) และถือเป็นการติดลบเป็นไตรมาสแรก ขณะที่งวด 2Q63 ถูกคาดหมายว่าจะเห็นการหดตัวต่อเนื่องจาก 1Q63 ซึ่งเท่ากับว่าเรากำลังเดินเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ถัดมาในวันที่ 20 พ.ค.2563 จะมีการประชุม กนง. ซึ่งผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่คาดหมายว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 0.75% ลงอีก 0.25% ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงพยุงเศรษฐกิจ เชื่อว่า SET Index วันนี้น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพี่อรอดูความชัดเจนของตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวช่วง 12701300 จุด

สำหรับกลยุทธการลงทุนวันนี้ ต้องทำการปรับพอร์ตจำลอง หลังจากกลไกที่เรากำหนดไว้เรื่องการตั้งจุด Stop Profit / Cut Loss ทำงาน โดยวันนี้ได้ทำการ Cut loss หุ้น BTSGIF สร้างผลขาดทุน 3.9% ให้กับพอร์ตจำลอง ทั้งนี้เป็นผลกระทบจากการที่ BTSGIF มีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ ลดลง 4.84 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลทำให้งบการเงินงวดปีที่จะประกาศปลายเดือน พ.ค.2563 นี้ ต้องรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าว สำหรับเม็ดเงินที่ได้รับจากการขาย BTSGIF สัดส่วนราว 25% ของพอร์ตการลงทุน ฝ่ายวิจัยพิจารณาจัดสรรเข้าไปลงทุนใน SCC ซึ่งเห็นว่าเป็นหุ้น Laggard ด้วยน้ำหนัก15% และให้เข้าไปพักเงินใน DIF น้ำหนัก 10% สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือก SCC , COM7 และ CPN

ประกาศ GDP Growth งวด 1Q63 วันจันทร์ คาดติดลบทั้ง YoY และ QoQ

วันจันทร์ 18 พ.ค. ให้น้ำหนัก สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP งวด 1Q63 ASPS คาดจะพลิกกลับมาหดตัวครั้งแรก คือ -5.5%QoQ และ -7%yoy (Consensus คาดเฉลี่ย -4.5%QoQ และ -3.8%yoy) และหากมองไปงวด 2Q63 คาดจะเป็นงวดที่ GDP จะติดลบมากที่สุด และน่าจะเป็น Bottom ของปี ทั้งนี้หาก GDP ไทย หดตัวต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส ในทางทฎษฎีจะถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอย (Technical Recession)

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยไทยจะค่อยๆดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอย Reopen ธุรกิจ โดยวันนี้ให้น้ำหนัก การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.ชุดใหญ่) พิจารณาผ่อนคลายระยะที่ 2(ดังรูป) และผ่อนปรนมาตรการ Curfewเลื่อนเวลาเป็น 23.00-04.00 จาก 22.00-04.00

การผ่อนคลายให้กิจการกลับมาดำเนินงานในแต่ละระยะ

ที่มา: ASPS รวบรวม

การผ่อนคลายธุรกิจรอบที่ 2 ดังกล่าว ASPS คาดว่าจะดีต่อเศรษฐกิจและธุรกิจที่สามารถกลับมาดำเนินการได้ อาทิ ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าปลีก เป็นต้น ซึ่ง ASPS คาดจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องดังนี้

กลุ่มศูนย์การค้า เช่น CPN(FV@B>66) คาดได้ Sentiment เชิงบวกจากการกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า เนื่องจากมีการปิดห้างสรรพสินค้าต่อเนื่องในเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายให้ห้างกลับมาดำเนินธุรกิจดังกล่าว คาดห้างสรรพสินค้าต้องมีการให้ส่วนลดค่าเช่าแก่ผู้เช่าต่อเนื่อง แม้รายได้ค่าเช่าบริการฟื้นตัวขึ้นใน 2H63 เทียบกับ 1H63 แต่ยังไม่กลับสู่ระดับปกติ

กลุ่มค้าปลีก ASPS ประเมินร้านค้าปลีกที่ปิดสาขาในช่วงก่อนหน้า เริ่มกลับมาเปิดสาขาได้แล้วราว 50% ของสาขาทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นสาขาต่างจังหวัด และส่วนที่เหลือคาดจะกลับมาเปิดได้ในวันที่ 17 พ.ค. 2563 การเข้าลงทุนจึงเน้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์กลับมาเปิดสาขาสูง เช่น COM7 (FV@B23.5) และ DOHOME (FV@B>7.9)

กระแสคาด กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้ามีมากขึ้น

การประชุม กนง. ครั้งที่ 3 ของปีนี้ ที่จะจัดขึ้นวันที่ 20 พ.ค. ล่าสุด ตลาดคาด กนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในรอบนี้อีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.5%(ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) สะท้อนจากผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ใน Bloomberg ราว 70% คาดจะปรับลงในรอบนี้ อีก 30% คาดยังคงอัตราดอกเบี้ยที่เดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

ที่มา Bloomberg

โดย ASPS คาดในช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ ลง เนื่องจาก Net Interest Rate กว้างมาก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ เดือน ล่าสุด ติดลบ 3% และในช่วงที่เหลือของปี เงินเฟ้อคาดจะยังติดลบต่อ ในภาวะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและมีโอกาสปรับลดลงดังกล่าว ตามกลไกถือว่าส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากดอกเบี้ยฯลดลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น 0.79 เท่า ถือการเปิด Upside ของดัชนี SET index ราวๆ 57 จุด

ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS

ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นแรง ดีต่อ PTT

วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 9%, Dubai เพิ่มขึ้น 6.9% และ Brent 6.7% และยืนเหนือ 30 เหรียญฯ โดยมีปัจจัยหนุนมาจากฝั่ง Supply ภายหลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุว่าสต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกจะมีแนวโน้มลดลงในช่วง 2H63 ราว 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สอดคล้องกับรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ พบว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 700,000 บาร์เรล (ลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 4 เดือน)

ขณะที่ทางฝั่ง Demand IEA ระบุว่าในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. ที่หลายประเทศเริ่มทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจมากขึ้น หนุนความต้องการใช้ (Demand) น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม โดย IEA ได้ปรับประมาณการ Demand น้ำมันโลกเพิ่มขึ้น 6.9 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ปัจจุบัน IEA คาด Demand น้ำมันจะลดลง 8.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่คาด Demand ลงลด 9.29 ล้านบาร์เรลต่อวัน

โดยรวม ASPS เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบโลกมีโอกาสปรับขึ้นต่อจากปัจจัยหนุนดังกล่าวบวกต่อหุ้นพลังงาน โดยแนะนำลงทุน PTTEP (FV@B>100) และ PTT (FV@B>42)

ส่วนกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ASPS คาด Spread โตรเคมีน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในเดือน เม.ย. โดยคาด 1Q63 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 2563 จากนี้ไปน่าจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในทิศทางขาขึ้นช่วงที่เหลือของปี ยังคงเลือก IVL (FV@B>37)

Stop Profit / Cut Loss หนึ่งในตัวช่วยรักษาเสถียรภาพให้พอร์ตจำลอง

ในช่วงที่ผ่านมา ทางฝ่ายวิจัยฯมีการเพิ่มเงื่อนไขในการกำหนดจุด Stop Profit และ Cut Loss ทันทีในระหว่างวันไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนก็ตาม เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับภาพรวมของพอร์ตจำลอง ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวมีความน่าสนใจน้อยลงหรือมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆเข้ามาระหว่างวัน โดยให้นักลงทุนเก็บเงินสดไว้ แล้วลงทุนต่อในวันที่ฝ่ายวิจัยฯมีคำแนะนำหลักทรัพย์อื่นๆเพิ่มเติม

รายชื่อหุ้นทั้งหมดในพอร์ตจำลองฝ่ายวิจัยฯ ASPS

ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS

หุ้นตัวใดสีน้ำเงินเอียง คือ ปรับราคา Cut loss หรือ Stop profit

ช่วงที่ผ่านมา มีการล็อคกำไร (Stop Profit) หุ้น CPALL (10% ของพอร์ต) ในวันที่ 13 พ.ค. 63 ที่ราคา 72 บาท (ล่าสุด 70.25 บาท) มีกำไร 10% รวมถึงวานนี้นี้มีการ Stop Loss หุ้น BTSGIF ที่ 7.3 บาท (25% ของพอร์ต) ขาดทุน 3.9%

เนื่องจากคืนวานนี้ทาง BTSGIF มีการรายงานปรับลดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิใหม่จาก 5.83 หมื่นล้านบาท (ธ.ค. 62) เหลือ 5.34 หมื่นล้านบาท (มี.ค. 62) ลดลง 4.8 พันล้านบาท โดยมูลค่าทางบัญชีจาก 10.12 บาท/หุ้น (ธ.ค. 62) ลดลงมาอยู่ที่ 9.2273 บาท/หุ้น (มี.ค. 62) ลดลง 0.9 บาท/หุ้น เนื่องจาก ถูกผลกระทบจาก COVID-19 ดังนี้ ทั้งนี้ หากพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ BTSGIF นำมาพิจารณามูลค่าสินทรัพย์ จะพบว่าหลายปัจจัยมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น

ทำให้ผลประกอบการในไตรมาสแรกของ BTSGIF มีโอกาศพลิกกลับมาเป็นขาดทุนจากประเด็นดังกล่าว ดังนั้นเงื่อนไข Stop Profit ระหว่างวันของพอร์ตจำลองถือว่าช่วยบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

เพราะฉะนั้นสัดส่วนเงินสดที่เหลือ 25% ในวันนี้ แบ่งลงทุน 15% ลงทุนใน SCC และอีก 10% ลงทุนใน DIF มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

SCC การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรม รวมถึงตัวบริษัทเอง จึงทำให้ ราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า13%(ytd) อย่างไรก็ตามความต้องการปูนเม็ดในตลาดต่างประเทศที่ลดลง จึงทำให้บริษัทปิดเตาโรงงาน 1 กำลังผลิต 1.3 ล้านตัน/ปี ในเดือน เม.ย 63 โดยเตาดังกล่าว เป็นเตาเล็กที่สุดและมีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิต/หน่วยในระยะยาวลดลง หากพิจารณามูลค่าทางพื้นฐานอยู่ที่ 176 บาท ยังมี Upside สูงกว่า 50% และยังคาดหวัง Dividend Yield ได้อีก 6% ถือเป็นโอกาสสะสม

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!