- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 14 May 2020 12:06
- Hits: 5403
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 14-5-2020
กลยุทธ์การลงทุน
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
การปรับตัวลดลงแรงของดัชนีดาวโจนส์ น่าจะส่ง Sentiment เชิงลบให้กับตลาดหุ้นไทย และเมื่อพิจารณาประกอบกับ Valuation ที่มีค่า PER สูง 18-20 เท่า ก็น่าจะทำให้ SET Index มีโอกาสปรับฐาน ส่วนประเด็นที่น่าสนใจวันนี้อยู่ที่การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ซึ่งน่าจะทำให้เกิดกระแสการเก็งกำไรในหุ้นที่เกี่ยวข้อง วันนี้ปรับพอร์ต โดยการเข้าลงทุนใน CPN และ COM7 เพิ่ม Top Picks วันนี้เลือก COM7 (FV@B 23.50) และ CPN (FV@B 66)
SET Index 1,294.55 เปลี่ยนแปลง (จุด) -5.14 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 62,241
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวัน แม้ไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในบ้านเราเพิ่มเติม จนทำให้การกลับมาเปิดดำเนินธุรกิจในวันที่ 17 พ.ค.63 ดูมีความเป็นไปได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม SET Index ทยอยปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เห็นแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดตัวในแดนลบที่ระดับ 1294.55 จุด ลดลง 5.14 จุด หรือ -0.40% มูลค่าการซื้อขาย 6.22 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-0.69%) PTTEP(-0.60%) GPSC(-3.03%) GULF(-3.14%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-2.38%) BJC(-0.64%) และกลุ่มขนส่งอาทิ AOT(-1.23%) BA(-1.79%) THAI(-8.77%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AWC(-1.92%) TU(-4.58%) และ CPF(-0.88%) เป็นต้น
ดัชนีราคาหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 516 จุด ซึ่งประเมินว่ามาจาก 2 สาเหตุได้แก่ ความกังวลสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ยังรุนแรง ขณะที่ทางการเดินหน้าผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อีกเรื่องหนึ่งมาจากถ้อยแถลงของประธาน Fed ที่ไม่แสดงท่าทีเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่อง อัตรดอกเบี้ยนโยบายติดลบ ทำให้เม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้นกลับเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งเชื่อว่า Sentiment การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นในตลาดต่างประเทศดังกล่าว น่าจะมีส่วนเร่งให้ตลาดหุ้นไทย ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในภาวะตึงตัวในมุมของ Valuation ปรับฐานลงมาต่อเนื่องได้ สำหรับประเด็นในประเทศที่น่าสนใจมากสุด น่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ในประเทศ ที่วานนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่ และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ผลดังกล่าวทำให้ถูกคาดหมายว่าจะเห็นการประกาศผ่อนคลายมาตการ Lockdown ให้ภาคธุรกิจหลายประเภทมากขึ้นสามารถกลับมาทำธุรกิจได้อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้า และธุรกิจต่างๆ ในศูนย์การค้า , กิจการร้านอาหาร และ สปา (บางประเภท) เป็นต้น และด้วยกระแสดังกล่าว น่าจะทำให้เกิดกระแสการเก็งกำไรในหุ้นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวันนี้ ฝ่ายวิจัยเลือก 2 บริษัท ที่น่าจะได้รับผลเชิงบวกได้แก่ CPN และ COM7 เป็นหุ้น Top Pick สำหรับพอร์ตการลงทุน วานนี้ CPALL ราคาปรับลงมาแตะจุด Stop Profit ทำให้ต้องขายรับกำไรไป 10% ทำให้วันนี้ต้องทำการปรับพอร์ต โดยการนำเงินที่ได้จากการขาย CPALL 15% ของพอร์ต บวกกับการลดน้ำหนักการลงทุนใน BTSGIF 5% (จาก 30% เหลือ 25%) เข้าลงทุนใน CPN และ CPALL อย่างละ 10% ทั้งนี้ในการติดตามปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับพอร์ตจำลอง ขอให้นักลงทุน พิจารณา จุด Stop Profit / Cut Loss ที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอเพิ่มไว้ในตารางประกอบการตัดสินใจด้ว เพื่อลดความเสี่ยง และ Lock ผลตอบแทนในอยู่ในระดับที่เหมาะสม
Fed เดินหน้า ผ่อนคลาย แต่ไม่ไปถึง จุดที่ ดอกเบี้ยนโยบายติดลบ
การแถลงข่าวของประธาน Fed นาย Jerome Powell เวลาประมาณหัวค่ำ ตามเวลาไทยโดยติดตามว่าจะมีมุมมองด้านการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ อย่างไร หลังจากมีกระแสประธานาธิบดีทรัมป์ กดดันให้ Fed ควรใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ดังเช่น ยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ธนาคารกลางต่างๆจำเป็นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย คือ มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็น + (Net Interest Rate) ซึ่งคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยลบอัตราเงินเฟ้อ พบว่า ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่มี Net Interest Rate ติดลบ และเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของหลายประเทศอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว เช่น สหรัฐ, อังกฤษ ฯล เป็นต้น ASPS จึงประเมินว่าโอกาสที่ประเทศพัฒนาแล้วจะลดดอกเบี้ยลงอีกจะมีไม่มาก
ฝั่งประเทศกำลังพัฒนา โดยส่วนใหญ่มี Net Interest Rate กว้างมาก หรือเป็น + มาก บ่งชี้ได้ว่ามีช่องว่างในการการลดดอกเบี้ย คาดว่ายังมีโอกาสลดได้อีก อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ของแต่ละประเทศ
ที่มา: Bloomberg,
หมายเหตุ อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันของญี่ปุ่น, สหรัฐ, อังกฤษ, มาเลเซีย และอินเดีย เป็นข้อมูลเดือน มี.ค. 63
ขณะที่ไทย ASPS คาดในช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯ ลงจากปัจจุบัน 0.75% ลงอีก 1 ครั้ง ราว 0.25% เนื่องจาก Net Interest Rate กว้างมาก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ เดือน ล่าสุด ติดลบ 3% และในช่วงที่เหลือของปี เงินเฟ้อคาดจะยังติดลบต่อ
ในภาวะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตามกลไกถือว่าส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากดอกเบี้ยฯลดลงทุกๆ 0.25% จะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น 0.79 เท่า ถือการเปิด Upside ของดัชนี SET index ราวๆ 57 จุด (ดังตาราง) บวกกับการอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบ หนุนให้ตลาดหุ้นเกือบไทยฟื้นขึ้นเกินกว่าครึ่งของที่ปรับฐานลงไปในปีนี้ (จาก -39% เหลือ -18%ytd) อยู่ที่ 1294 จุด (ระดับ P/E ที่ 17.8 เท่า)
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับประมาณการลง สะท้อนจากกำไรงวด 1Q63 ที่ล่าสุดมีการรายงานมาแล้วทั้งสิ้น 268 บริษัท (คิดเป็น 65.4% ของมูลค่าตลาด) มีกำไรสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 7.5 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 50.8%QoQ และ 64.5%YoY ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของตลาด
ตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศ 0 ราย สร้างโอกาสที่จะผ่อนคลาย Lockdown มากขึ้น
สถานการณ์ไวรัส COVID-19ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด วานนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ (ครั้งแรกในรอบ 4 เดือน) ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,017 ราย และผู้ติดเชื้อทีอยู่ระหว่างรักษา (Active case) ล่าสุดเหลือ 117 ราย
สถานการณ์ในประเทศที่ดีขึ้นดังกล่าว เชื่อว่าจะหนุนความเชื่อให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนคลายให้กิจการต่างๆ กลับมาดำเนินการ (Reopen) เร็วขึ้น โดยล่าสุด การผ่อนคลายในระยะที่ 2 (Phase 2) คาดจะเริ่ม 17 พ.ค. 2563 (กรณีไม่มีผู้ติดเชื้อระลอก 2)
ที่มา: ASPS รวบรวม
กระแสการผ่อนคลายธุรกิจรอบที่ 2 ดังกล่าว ASPS คาดว่าจะดีต่อธุรกิจที่สามารถกลับมาดำเนินการได้ อาทิเช่น ห้างสรรพสินค้า และ Community Mall, ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าปลีก, สปา เป็นต้น แต่ทว่าการผ่อนคลายดังกล่าวน่าจะยังไม่ทำให้กำไรของบริษัทในกลุ่มฯ กลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ ASPS จึงมองว่าการผ่อนคลายน่าจะส่งผลบวกในเชิง Sentiment เป็นหลัก ดังนี้
กลุ่มค้าปลีก ASPS ประเมินร้านค้าปลีกที่ปิดสาขาในช่วงก่อนหน้า เริ่มกลับมาเปิดสาขาได้แล้วราว 50% ของสาขาทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นสาขาต่างจังหวัด และส่วนที่เหลือคาดจะกลับมาเปิดได้ในวันที่ 17 พ.ค. 2563 การเข้าลงทุนจึงเน้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์กลับมาเปิดสาขาสูง เช่น COM7 (FV@B23.5) และ DOHOME (FV@B>7.9)
กลยุทธ์เน้นลงทุนหุ้นกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้ง ชอบ CPN COM7
COM7 ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจลงทุนในธีม Reopening ซึ่งได้ประโยชน์ใน 2 มุม คือ
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web