- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 13 May 2020 16:40
- Hits: 3231
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง: บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 13-5-2020
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
วานนี้ SET แกว่งขึ้น แรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาพลังงาน รวมถึงความคาดหวังเชิงบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะกลับมา โดย ณ. สิ้นวัน SET ปิดที่ 1,299.69 (12.39 จุด) มูลค่าการซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท (เทียบกับวันก่อนหน้า 5.7 หมื่นล้านบาท)
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทย 3,205 ลบ. (นักลงทุนสถาบันซื้อ 2,996 ลบ.) ส่วนตลาด TFEX นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Futures ที่ 331 สัญญา)
BAM (ราคาเป้าหมาย 25.0 บาท) เป็นผู้นำกลุ่มบริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีฐานสินทรัพย์แข็งแกร่งที่คิดเป็น 47% ของอุตสาหกรรม และโมเดลธุรกิจยังมีความทนทานต่อภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวน ผสานกับอัตราการจ่ายปันผลสูง รวมถึงได้รับคัดเลือกเข้า MSCI Global Standard เพิ่มจิตวิทยาเชิงบวกต่อการสะสมของนักลงทุนสถาบัน
เมื่อถึงสถานี 1300 … ไปต่อหรือพอแค่นี้ : ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องขานรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ผสานกับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทั้งด้านมาตรการการเงินและการคลังจากภาครัฐฯ เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับต่ำ, การใช้นโยบาย QE, และการอัดฉีดงบประมาณของภาครัฐฯด้วยเม็ดเงินที่สูง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อภาพเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ดีพบว่าบางมาตรการอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด เช่น การใช้ QE ที่ธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรอง ส่งผลให้เม็ดเงินเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์ แต่ธนาคารพาณิชย์อาจมีความกังวลต่อปัญหา NPL จึงไม่อัดฉีดเงินเข้าระบบได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นการแก้ปัญหาเช่นนี้ อาจใช้ทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (Modern Monetary Theory หรือ MMT) ซึ่งเป็นการให้ธนาคารกลางเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดแรกจากรัฐบาลโดยตรง ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินส่วนนี้เข้าสู่รัฐบาล เพื่อนำไปฟื้นเศรษฐกิจได้ตรงจุด ดังนั้นเราเชื่อว่า ในสภาวะเช่นนี้ ที่สภาพคล่องยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ยังคงเอื้อต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น “หุ้น” ดังนั้นเราจึงเชื่อว่า SET ณ ระดับปัจจุบันที่ 1300 จุด ยังมีโอกาสในการไปต่อได้ในระยะกลาง จังหวะย่อเป็นโอกาสในการทยอยสะสม โดยกลุ่มที่น่าลงทุนระยะกลาง ได้แก่ 1) กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ : พลังงาน (SPRC), ปิโตรเคมี (IVL), อิเล็กทรอนิกส์ (KCE) 2) กลุ่มที่ได้อานิสงส์บวกจากดอกเบี้ยต่ำ : ไฟฟ้า (GULF), ขนส่ง (BEM) 3) กลุ่มที่รับอานิสงส์การฟื้นตัวของภาคการบริโภค : ค้าปลีก (CPALL, JMART) 4) กลุ่มที่มีกระแสเงินสดดี จ่ายปันผลสูง : (BAM, DIF, INTUCH)
Investment Strategy :
วันนี้คาด SET ย่อ ประเมิน แนวรับ 1,280 ต้าน 1,310 จุด สำหรับนักลงทุนระยะกลางแนะย่อเป็นโอกาสสะสมกลุ่มที่น่าสนใจดัง List ข้างต้น ส่วนหุ้นวันนี้แนะนำ “BAM, SPRC, KCE, JMT”
ปัจจัยในประเทศ :
ติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19
การรายงานงบ 1Q63
MSCI Rebalance
แนวรับ : 1288/1293
แนวต้าน : 1300/131
SET Index : มา 1300 ไวกว่าคาด แต่ทว่า volume ไม่นำพา น่าจะลังเล วานนี้ SET ขึ้นไปทดสอบ 1300 ตามคาด แต่ volume กลับไม่เร่งตัวดันขึ้นตามมา ทำให้การขึ้นยังดูไม่แข็งแรง ขณะที่การประกาศงบหุ้นใหญ่หุ้นหลักได้ประกาศไปเกือบหมดแล้ว จึงดูเหมือนว่ายังขาด Catalyst ช่วยดันหุ้นต่อ คาดดัชนีจะกลับมาลังเล และ sideway อีกครั้ง โดยตอนนี้ SET ยังสร้างเทรนด์ไม่ได้ ยังเป็นการเทรดในกรอบ 1260-1300
กลยุทธ์การลงทุน
มีหุ้น : ถือต่อ เพราะยังไม่เกิดสัญญาณขาย จะเริ่ม lock profit บางส่วนเมื่อหลุด 1288
ไม่มีหุ้น : ใช้จังหวะย่อระหว่
CPALL ชูกำไร 5.64 พันล. ทั่วไทยมี 11,983 สาขา (ทันหุ้น)
ความเห็น : กำไรสุทธิ 1Q63 ใกล้เคียงกับที่คาด โดยกำไรลดลงเล็กน้อยเนื่องจาก SSSG -4% และผลกระทบจาก TFRS16 แนวโน้มกำไรชะลอลงใน 2Q63 โดยเฉพาะในช่วงเดือน เม.ย. จากการยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ อีกทั้งมีเคอร์ฟิว และจำนวนนักท่องเที่ยวลง แต่คาดว่ากำไรจะฟื้นตัวขึ้นในช่วง 2H63 จากการคลายล็อคดาวน์ แนะนำ ซื้อ เป้าหมาย (DCF) 87 บาท
ค่ายรถทยอยเปิดสายการผลิต โตโยต้าเดินเครื่องครบ 3 โรงงาน (กรุงเทพธุรกิจ)
ความเห็น : สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ไปทั่วโลก กระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ อุตสาหกรรมรถยนต์อย่างหนัก เราคาดยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้จะลดลงเหลือ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE)
Bangkok Bank (BBL TB)
ปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอน ลูกค้าภาคท่องเที่ยวและบริการสัดส่วนต่ำ แนะนำ ซื้อ
เรายังคงประมาณการกำไรปี 63-64 หลังจากปรับเพิ่มคาดการณ์ NIM และต้นทุนเครดิตขึ้นเพื่อสะท้อนผลกระทบจาก TFRS9 และ Covid-19 เรามอง BBL เป็นหุ้น "ปลอดภัย" เนื่องจากรับมือกับคุณภาพสินทรัพย์ที่แย่ลงได้ดีที่สุด ด้วยอัตรา LLR / สินเชื่อ ที่ 8.2% เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 4.3% ในไตรมาส 1Q20 ธนาคารมีสินเชื่อ ในภาคการท่องเที่ยวและบริการประมาณ 8% ผบห.ระบุส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีงบดุลแกร่ง คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 130 บาท (P/BV ปี 63 ที่ 0.56 เท่า ROE 7.7%) ราคาหุ้นน่าสนใจ P/BV ปี 63 ที่ 0.4 เท่า และ PE 6 เท่า ความเสี่ยง คือ NIM ที่อ่อนแอกว่าที่คาดและการลดลงของคุณภาพสินทรัพย์
NIM จะลดลง 20-30bps จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน 2Q20
เราเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์กับผู้บริหารเมื่อวานนี้ BBL ยังคงเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อปี 63 ที่ 3-4% (+2.7% QoQ ในไตรมาส 1Q20) และ NIM ที่ 2.20% (2.46% ในไตรมาส 1Q20) ผู้บริหารคาดว่า NIM จะลดลง 20-30bp ในไตรมาส 2Q20 เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 40bp ทั้งนี้ BBL ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 12.5bp ในเดือนมีนาคม 2563
คาดสัดส่วน NPL และตั้งสำรองสูงขึ้น
BBL ปรับเพิ่มคาดการณ์การตั้งสำรองปี 63 เป็น 1.5 - 2 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.2 -1.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจาก Covid-19 และการปิดเมือง ผบห.ระบุคุณภาพสินทรัพย์จะแย่ลงในไตรมาส 3 นี้ แต่เชื่อมั่นว่าระดับ LLR ปัจจุบันน่าจะเพียงพอสำหรับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราคาดการณ์อัตราส่วน NPL จะสูงขึ้น 4.84% และตั้งสำรองเพิ่มเป็น 2.05 หมื่นล้านบาทในปี 63
ตั้งเป้าซื้อแบงก์ Permata ภายใน มิ.ย.63 นี้
BBL วางแผนที่จะปิดดีลการเข้าซื้อกิจการของธนาคาร Permata (BNLI IJ, Not Rated) ในช่วงปลายไตรมาส 2 เนื่องจากราคาซื้อจะปรับลดลงเป็น P/BV 1.63 เท่า (จาก P / BV 1.77 เท่า) ณ สิ้นไตรมาส 1Q20 ซึ่ง BV ได้รับผลกระทบแล้วจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 ธนาคารทั้งสองแห่งได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ขณะนี้รอเพียงการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น
Muangthai Capital PCL (MTC TB) มาช้าแต่ชัวร์
ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรและราคาเป้าหมาย ซื้อ
เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 63-64 ขึ้น 5-6% หลังจากปรับลดการเติบโตของ OPEX และต้นทุนสินเชื่อเพื่อสะท้อนผลประกอบการไตรมาส 1Q20 ยังคงคำแนะนำ ซื้อ และปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 55 บาทจาก 45 บาท (P/E ปี 63 ที่ 24 เท่า P/BV 5.8 เท่า และ LT ROE 27%) ความเสี่ยงที่สำคัญคือการเสื่อมคุณภาพของสินทรัพย์และการเติบโตของสินเชื่อที่ช้ากว่าคาด เราไม่กังวลเรื่องสภาพคล่องเนื่องจาก MTC มีวงเงินสินเชื่อของธนาคารที่ยังไม่ได้ใช้ 7 พันล้านบาทและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอีก 5 พันล้านบาท
ความต้องการสินเชื่อจะเลื่อนไปครึ่งปีหลังจากไตรมาส 2Q20
ผู้บริหารคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อที่ 20-25% และวางแผนที่จะเพิ่มสาขาใหม่ 600 แห่งในปีนี้ (+187 สาขาในไตรมาส 1Q20) เราคาดว่าความต้องการสินเชื่อจะชะลอตัวในไตรมาส 2Q20 และฟื้นตัวในครึ่งปีหลังเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวหลังจากล็อคดาวน์ นอกจากนี้เทศกาลสงกรานต์ (วันหยุดยาว) และการเปิดโรงเรียนได้เลื่อนออกไปจาก 2Q20 เป็นครึ่งปีหลัง
คาดกระทบ 30 ลบ.จากการลดดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลใน 2Q20
MTC ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลเป็น 22% จาก 25% ต่อปีสำหรับลูกค้าที่ชำระเงินตรงเวลาในไตรมาส 2Q20 บริษัทจะบันทึกรายการเพียงครั้งเดียวนี้เป็น OPEX เพิ่มเติม เราประเมินว่าน่าจะนำไปสู่ OPEX ที่สูงขึ้น 30 ล้านบาทในไตรมาส 2Q20 จากสมมติฐาน 1) สินเชื่อส่วนบุคคลคิดเป็น 10% ของสินเชื่อรวมและ 2) 70% ของลูกค้าชำระเงินตรงเวลา โดย MTC ระบุมีลูกค้า 1.4 แสนราย มียอดสินเชื่อรวมอยู่ที่ 1 พันล้านบาทซึ่งขอผ่อนชำระหนี้ 3 เดือนหรือลด 30% สำหรับการผ่อนชำระรายเดือน
ผลกระทบจาก TFRS9
ณ สิ้นปี 2562 MTC มีการกันสำรองหนี้สูญ (LLR) ที่ 1.71 พันล้านบาทเทียบกับความต้องการที่แท้จริงภายใต้มาตรฐาน TFRS9 ที่ 1.28 พันล้านบาท ดังนั้น บริษัทได้เปลี่ยนกลับเป็น LLR 162 ล้านบาทเพื่อรักษากำไรและระดับ LLR ส่วนเกินไว้ที่ 272 ล้านบาทในการบริหารจัดการ โดย MTC ได้บันทึกการตั้งสำรองจำนวน 62 ล้านบาทในไตรมาส 1Q20 โดยรวมแล้ว การตั้งสำรองภายใต้ ECL อยู่ที่ 131 ล้านบาทและการกันสำรองส่วนเกินกลับเป็น 69 ล้านบาท (ดูราย
ผลประกอบการ 1Q20 ดีกว่าคาด จากตั้งสำรองต่ำกว่าคาด
- • กำไรสุทธิ 1Q20 อยู่ที่ 1.24 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% YoY และ 6% QoQ สูงกว่าที่เราคาด 6% จากตั้งสำรองที่ต่ำกว่าคาด กำไร 1Q20 คิดเป็น 27% ของประมาณการทั้งปี
- • สินเชื่อขยายตัว 24% YoY และ 4% QoQ เป็น 6.27 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1Q20 จากการขยายสาขาอย่างก้าวกระโดดเป็น 4,294 สาขาจาก 4,107 แห่งใน 4Q19
- • NIM ลดลง 20 bps QoQ เป็น 18.9% เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง NII เติบโต 24% YoY ในระดับเดียวกับการเติบโตของสินเชื่อและสอดคล้องกับประมาณการของเรา
- • OPEX เพิ่มขึ้น 29% YoY เป็น 1.5 พันล้านบาทซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของเรา อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 48.0% ใน 1Q20 จาก 45.7% ใน 1Q19
- • อัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้นเป็น 1.18% ใน 1Q20 จาก 1.03% ใน 4Q19 ขณะที่ NPL coverage ลดลงเป็น 201% ใน 1Q20 จาก 276% ใน 4Q19
- • MTC บันทึกค่าใช้จ่ายสำรอง 62 ล้านบาท (ต้นทุนเครดิต 41bp) ต่ำกว่าที่เราคาด 57% เนื่องจากบริษัทกลับรายการสำรองส่วนเกิน 69 ล้านบาทตาม TFRS9 ใน 1Q20
Osotspa (OSP) แนวโน้มยังดี แม้ 1Q63 ต่ำกว่าคาด
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 13% QoQ และ 4% YoY เป็น 926 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรจากการซื้อธุรกิจคาลพิส กำไรปกติลดลง 4% YoY เป็น 855 ล้านบาท ต่ำกว่าที่เราคาดเล็กน้อย เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงกว่าคาดจากค่าโฆษณา&การตลาด และการขยายธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นตามคาด 63 bps YoY เป็น 35.4% จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และภาษีความหวานลดลงจากการปรับสูตร M-150 ทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลง แม้เศรษฐกิจชะลอและมีการระบาดของโควิด-19 แต่ยอดขายเพิ่มขึ้น 5% YoY จากการที่ M-150 และ C-vitt มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น การส่งออกเครื่องดื่มเติบโต 11% จากการส่งออกไป CLMV และตะวันออกกลาง ขณะที่ยอดขายสินค้าของใช้ส่วนบุคคลลดลง 5% จากผลกระทบของโควิด-19
แนวโน้มผลประกอบการ
กำไร 2Q63 มีแนวโน้มชะลอลง QoQ เนื่องจากการส่งออกไป CLMV เริ่มได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรยังเติบโตได้ในเกณฑ์ดี YoY จากยอดขาย M-150 เพิ่มขึ้น รวมทั้ง C-vitt ยังเติบโตสูงหลังจากขยายกำลังการผลิตเมื่อกลางปีก่อน ขณะที่กลุ่มสินค้าของใช้ส่วนบุคคลเริ่มฟื้นตัวจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับสุขอนามัย อัตรากำไรขั้นต้นได้ผลบวกจากต้นทุนพลังงานที่ลดลง การผลิตขวดแก้วน้ำหนักเบา และภาษีน้ำตาลลดลง
คำแนะนำการลงทุน
กำไร 1Q63 คิดเป็น 23% ของประมาณการกำไรปีนี้ที่ 3,708 ล้านบาท (+12% YoY) จากยอดขายเติบโตจากการขยายกำลังการผลิตเครื่องดื่ม 10-15% ใน 2H63 และอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นจากโครงการลดต้นทุน Fit Fast Firm คาดจะทำได้ตามเป้าหมายการลดต้นทุน 500-800 ล้านบาท/ปี ฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็นเงินสดสุทธิ เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (DCF) 50 บาท
ความเสี่ยง
ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น การเพิ่มภาษีเครื่องดื่ม เงินบาทแข็งค่าอย่างมีนัยยะ การขยายไปต่างประเทศไม่ประสบความสำเร็จ
Syntec Construction (SYNTEC)
1Q63 ดีขึ้น Covid-19 จะกระทบด้านลบ
Results Review
ผลประกอบการ 1Q63
SYNTEC ประกาศผลประกอบการ 1Q63 มีกำไรที่ดีขึ้นจากปีก่อน 85 ล้านบาท (+27%YoY) ใกล้เคียงกับที่เราคาดจะมีกำไรเท่ากับ 80 ล้านบาท แรงหนุนจาก ยอดรับรู้รายได้จากงานก่อสร้าง รวมค่าเช่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8%YoY สู่ระดับ 2,091 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น 11.8% เทียบกับ 10.2% ในปีก่อน จากเป็นช่วงส่งมอบงานหลายโครงการสามารถทำต้นทุนได้ดี รวมถึงควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดี 136 ล้านบาท (-4%QoQ, -10%YoY) และ กำไรสุทธิเพิ่มจากไตรมาสก่อน 510%QoQ แต่ถ้าหากหักการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มสำหรับหนี้ที่ค้างชำระตามกฏหมายใหม่ที่สูงถึง 127 ล้านบาทใน 4Q62 จะมีกำไรปกติที่ลดลง 35%QoQ จากยอดรับรู้รายได้ที่ลดลง 3% อัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาสก่อนที่ดีกว่า 11.9% และ ไตรมาสก่อนมีรายได้อื่นที่สูง
แนวโน้มผลประกอบการ
SYNTEC ยังเหลือ Backlog งานก่อสร้างอาคารปัจจุบันประมาณ 8 พันล้านบาท แต่ในส่วนรายได้ค่าเช่าจากเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ได้ลดลงเหลือ 40% จากปกติจะมีรายได้ค่าเช่าปีละประมาณ 460 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลลบจากจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 สำหรับการเซ็นสัญญางานก่อสร้างอาคารใหม่ในปีนี้นับตั้งแต่ต้นปีได้เพียง 2 งาน 187 ล้านบาท เทียบกับเป้าหมายในปีนี้ 7,000 ล้านบาท จากภาวะซบเซาของตลาดคอนโดมิเนียม และ อาคารสูง และการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้ประกอบการเปิดโครงการน้อยลง เราคาดปี 2563 จะมีรายได้ 7,505 ล้านบาท ลดลง 10%YoY และ มีกำไรสุทธิ 280 ล้านบาท ลดลง 5%YoY โดยกำไรปกติจะลดลง 29%YoY
คำแนะนำการลงทุน
ราคาหุ้นปัจจุบัน ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นซึ่งเท่ากับ 3.6 บาท และ P/E ปี 2563 ที่ต่ำเพียง 7.4 เท่า เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2563 เท่ากับ 1.75 บาท ซึ่งเป็นบริเวณ ค่าเฉลี่ย Forward P/E 10 ปี ประมาณ 10 เท่า แม้ว่าราคาหุ้นจะซื้อขายต่ำกว่าราคาเป้าหมายมาก เราคงแนะนำ ถือ เนื่องจาก Covid-19 ส่งผลกระทบหนักต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์
ความเสี่ยง
แรงงาน, คดีความ การฟ้องร้องในงานก่อสร้าง, ต้นทุนก่อสร้าง
Tipco Asphalt (TASCO) 1Q63 ขาดทุน 784 ลบ. แนวโน้มฟื้นตัว
Company Update
ประเด็นการลงทุน
1Q63 ขาดทุนหนัก 784 ล้านบาท จากขาดทุนในสต็อก แนวโน้มฟื้นตัวจากราคายางมะตอยเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ชัพพลายยางมะตอยตึงตัว ตลาดหลัก คือ จีน และ ไทย เริ่มกลับมาฟื้นตัวดี ในระยะยาวจะได้ประโยชน์จาก ต้นทุนน้ำมันดิบที่ต่ำ เราคงแนะนำ ซื้อ แต่รอจังหวะในช่วงอ่อนตัวหลังจากที่เมื่อวานหุ้นขึ้นมาแรง6% ประเมินราคาเป้าหมายบนค่าเฉลี่ยกำไรปี2563และ2564 และบนฐาน10ปี Forward P/E+1SD = 13.8 เท่า ได้เท่ากับ 20 บาท ตามดัชนีกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และ แนวโน้มที่ดีในอนาคต
1Q63 ขาดทุน 784 ล้านบาท จากขาดทุนสต็อก และ Covid-19
TASCO ประกาศผลประกอบการ 1Q63 ขาดทุนสุทธิเท่ากับ -784 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีกำไร 641 ล้านบาท และ ปีก่อนที่มีกำไร 718 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาดหมายไว้จะขาดทุนเท่ากับ -850 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาสนี้ขาดทุนในสต็อกสูงถึง 2,163 ล้าบาท ในขณะที่มีกำไรจาก Hedging เข้ามาช่วย 1,313 ล้านบาท ซึ่งสองรายการนี้รวมในต้นทุนขาย ถ้าหากตัดรายการพิเศษต่างๆ จะมีกำไรปกติเล็กน้อย 99 ล้านบาท ถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก รวมถึงความล่าช้าของงบประมาณปี2563
ราคายางมะตอยฟื้นตัว ตลาดหลักจีนและไทยเริ่มกลับมาดี
แนวโน้มไตรมาส 2Q63 คาดจะดีขึ้น จะมีการบวกกลับขาดทุนในสต็อกเข้ามา ซึ่ง ราคายางมะตอยที่ใช้คำนวณขาดทุนสต็อก ณ สิ้นเดือนมี.ค.เท่ากับ 170 เหรียญ/ตัน ในขณะที่ปัจจุบันราคาขึ้นมา 192 เหรียญ/ตัน โดยภาพชัพพลายยางมะตอยเริ่มตึงตัว เพราะ โรงกลั่นลดกำลังการผลิตลง ทำให้แนวโน้มราคายางมะตอยจะปรับขึ้นไปถึงระดับ 230-300 เหรียญ/ตัน ด้านตลาดหลักคือส่งออกไปจีนเริ่มกลับมาโดยเดือน เม.ย. ยังไม่เต็มที่นัก ในขณะที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ค.-มิ.ย. ในขณะที่มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย มีการล็อกดาวน์ กระทบงานก่อสร้างถนน สำหรับตลาดในไทย หลังจากที่งบประมาณปี 2563 มีผลบังคับใข้ในเดือน มี.ค. เดือน เม.ย. มีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา ทำให้เดือน พ.ค.-มิ.ย. และ ต่อเนื่องถึงไตรมาส 3Q63 ผู้รับเหมาจะมีการเร่งซ่อมสร้างงานถนน ทำให้ยางมะตอยในประเทศเริ่มขาดแคลน ส่งผลบวกต่อ TASCO
คาดกำไรช่วงที่เหลือจะฟื้นตัวดี คงประมาณการ
เราประเมินผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีจะฟื้นตัวดีมีกำไรประมาณ 500-800 ล้านบาทต่อไตรมาส เรายังคงประมาณการประเมิน ยอดขาย 30,873 ล้านบาท ลดลง 16% และ มีกำไรปกติ 1,541 ล้านบาท ลดลง 37% และ คาดปี 2564 สถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ และ ได้ประโยชน์จาก IMO 2020ทำให้กำไรปกติเพิ่มเป็น 2,805 ล้านบาท เติบโต 82%
ความเสี่ยง : ปัญหาชัพพลายน้ำมันดิบ / ราคาวัตถุดิบและยางมะตอยผันผวน
Thailand Energy Sector
Spread & Margins สัปดาห์นี้
ซาอุฯ ลดกำลังผลิต 1 ล้านบาร์เรล/วัน มิ.ย.นี้ หนุนพลังงานปลายน้ำเด่น
ซาอุดิอาระเบียอาสาลดกำลังการผลิตอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนมิถุนายน ส่งผลกำลังการผลิตลดลงเหลือ 7.49 ล้านบาร์เรล/วัน ตามมาด้วยยูเออีและคูเวตซึ่งให้คำมั่นว่าจะลดลง 100,000 บาร์เรล/วัน และ 80,000 บาร์เรล/วัน แม้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นไปในเชิงบวก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของอุปสงค์และอาจเป็นมาตรการในการชดเชยการที่สมาชิกอื่นไม่ปฏิบัติตาม (โดยเฉพาะอิรัก) ตลาดตอบรับโดยราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ดีด 2% แต่ไม่สามารถยืนระยะได้นาน เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลดกำลังการผลิตจะยืดเวลาออกไปอีกหลังจากเดือนมิถุนายนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาน้ำมันดิบและการลดกำลังผลิตน่าจะทำให้ราคาสมดุลมากขึ้น S&P Platts ประเมินว่ามีการปิดระบบโดย 48 รัฐ (US) คิดเป็น 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยสต็อกน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล / วัน เป็น 537 ล้านบาร์เรล ตามความต้องกาการกลั่นที่เพิ่มขึ้น กำไรสุทธิไตรมาสแรกของ Aramco ลดลง 25% YoY แต่ยังคงคาดว่าจะจ่ายเงินปันผล 1.875 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 (รัฐเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด)
SGRM เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล (+3.4 เหรียญสหรัฐ /บาร์เรล WoW) นำโดยส่วนต่างราคาน้ำมันเบนซิน ขณะที่ส่วนต่างน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานดีขึ้น แต่ยังคงติดลบ เนื่องจากโรงกลั่นปรับการผลิตน้ำมันดีเซลให้เหมาะสมแทนน้ำมันเครื่องบิน (ทั้งคู่เป็นน้ำมันชนิดกลาง) ซึ่งนำไปสู่อุปทานส่วนเกิน โดยที่สเปรดดีเซลอาจยังคงอยู่ที่ระดับ 3-4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในระยะสั้น สต็อกน้ำมันสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.1 ล้านบาร์เรลเป็น 155.6 ล้านบาร์เรล สวนทางความต้องการตามฤดูกาล (สัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน) ทั้งนี้ ตลาดกำลังมองข้ามสเปรดที่อ่อนแอในอดีตโดยคาดว่ามาตรการ Covid19 จะผ่อนคลาย ประเทศจีนพบว่าการจราจรฟื้นตัวแรง 90% ของระดับก่อนโควิดระบาด การส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 190,000 บาร์เรล/วัน (เทียบกับ 420,000 บาร์เรล/วันในช่วง ม.ค.ถึง มี.ค.) เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและคลายความกดดันต่อตลาดเอเชีย นอกจากนี้ เรายังเห็นว่าโรงกลั่นของอินเดียเพิ่มกำลังการแปรรูปน้ำมันดิบเป็น 60% (45% ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน) ความเชื่อมั่นต่อ SPRC (น้ำมันเบนซิน: อัตราผลตอบแทน 24%) ยังคงเป็นบวก
ราคาเคมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสัญญาณบวกอ่อนก่อนการผ่อนคลาย เราเชื่อว่าราคาน่าจะผ่านพ้นเส้นราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจของจีนเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม เรามีแนวโน้มที่จะเห็นส่วนต่างราคาลดลงเนื่องจากราคาเคมีภัณฑ์จะชะลอตัวลง (อุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียยังคงอ่อนแอ) ราคาแนฟทา สเปรด PE, PP และ PX ต่ำกว่า 8%, 7% และ 9% WoW โดย PTTGC น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดเนื่องจากใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ตลาดรถยนต์ของจีนที่ติดลบติดต่อกัน 21 เดือนกลับฟื้นตัว 4.4% MoM ในเดือนเมษายน แนวโน้มยังคงไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม จีนเป็นผู้บริโภค ABS รายใหญ่ที่สุด (ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์) IRPC รับอานิสงส์สูงสุดจากการเพิ่มขึ้นของราคา ABS โดยทุก 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน ที่เพิ่มขึ้น กำไรหลักจะเพิ่มขึ้น 300 ล้านบาท
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web