- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 12 May 2020 14:27
- Hits: 3376
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 12-5-2020
กลยุทธ์การลงทุน
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ประเมินว่า SET Index น่าจะผันผวนที่บริเวณ 1300 +/-20 จุดต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังเป็นการซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ แต่ก็น่าจะมีน้ำหนักเบาลงเมื่อเทียบกับในอดีต ส่วนในเชิงของ Valuation ปัจจุบันค่า PER วิ่งเข้าใกล้ 18 เท่า มุมเดียวที่จะทำให้ SET Index ปรับขึ้นไปต่อได้คือต้องมองข้ามไปที่ EPS ปี 2564 วันนี้ปรับพอร์ตโดย ขายทำกำไร STA และย้ายเงินเข้า BCH หุ้น Top Picks เลือก BCP (FV@B 22) และ BCH (FV@B 18.68)
SET Index 1,287.30 เปลี่ยนแปลง (จุด) 21.28 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 56,801
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเพียง 6 รายทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะคลายล็อคดาวน์เฟส 2 มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปตามกำหนดการเดิมในวันที่ 17 พ.ค.63 จึงทำให้ตลาดหุ้นปิดตัวในแดนบวกที่ระดับ 1287.30 จุด เพิ่มขึ้น 21.28 จุด หรือ +1.68% มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(+0.71%) GULF(+3.29%) GPSC(+6.25%) BGRIM(+5.81%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(+2.78%) HMPRO(+4.51%) BJC(+6.12%) และกลุ่มอาหารอาทิ CPF(+0.92%) CBG(+8.01%) MINT(+1.58%) OSP(+3.07%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BDMS(+2.59%) CPN(+3.83%) และ PTTGC(+5.19%) เป็นต้น
ประเมินสถานะของตลาดหุ้นไทยใน 2 มุมมอง โดยในมุมมองที่ 1 เป็นเรื่องของแรงขับเคลื่อนตลาดที่มาจาก Fund Flow พบว่าแรงซื้อที่ขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยมาโดยตลอดในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมา คือนักลงทุนสถาบันในประเทศ (ขณะที่แรงขายหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติ) ทั้งนี้แรงซื้อที่มาจากนักลงทุนสถาบันในประเทศต้นทางหลักน่าจะเกิดจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินที่ต้องการวิ่งเข้าหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น หลังจากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตร และตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ สำหรับแนวโน้มจากนี้เป็นไปได้ที่แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศอาจเบาลง หลังสภาพคล่องส่วนเกินบางส่วนถูกดูดออกมาเพื่อนำเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) ผ่าน พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้เยียวยาภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 อีกมุมมองหนึ่ง เป็นเรื่องของ Valuation ซึ่งตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ได้แก่ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ที่ถูกคาดหมายว่าEPS Growth จะหดตัวลง 17% YoY ในปี 2563 มาอยู่ที่ 72.6 บาท/หุ้น แต่จากการติดตามการประกาศผลประกอบการ 1Q63 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีบริษัทฯ ที่ประกาศออกมาแล้ว 44% ของ Market Cap มีกำไรสุทธิลดลง 59% YoY และ 46% QoQ ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ลงอีกครั้งหนึ่ง หลังการประกาศตัวเลข 1Q63 ครบ ซึ่งก็เท่ากับว่าที่ระดับ SET Index ปัจจุบันมีค่า PER อยู่ที่บริเวณ 18 เท่า และหากมองข้ามไปในปี 2564 ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเห็นการฟื้นตัวกลับของการทำกำไรบริษัทจดทะเบียน เบื้องต้นคาดฐานกำไรสุทธิรวม 8.45 แสนล้านบาท คิดเป็น 78.6 บาท/หุ้น ก็จะทำให้ค่า PER ปี 2564 ลดลงมาอยู่ที่ราว 16.4 เท่า ดังนั้นในมุมมองนี้หากคิดว่า SET Index จะปรับตัวขึ้นไปได้ต่อ ก็ต้องมองข้ามผลประกอบการที่คาดว่าจะหดตัวแรงในปี 2563 ไป แล้วไปคาดหวังบนคาดการณ์ EPS ปี 2564 อย่างไรก็ตามในระยะสั้น เชื่อว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวผันวผนบริเวณ 1300 +/- 20 จุด ต่อไปอีกระยะหนึ่ง กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ ขายทำกำไรหุ้น STA หลังราคาหุ้น ปรับขึ้นมาแตะ Fair Value และให้นำเงินสลับเข้าลงทุนใน BCH ซึ่งยัง Laggard ส่วนหุ้น Top Pick วันนี้เลือก BCP และ BCH
ซาอุฯ จะตัดลดการผลิตน้ำมันเพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรล ดีต่อ PTT
ราคาน้ำมันดิบโลกคาดยังแกว่งตัว 30 เหรียญฯ และมีโอกาสปรับขึ้นต่อ โดยมีปัจจัยหนุนจาก ฝั่ง Demand น้ำมันที่เริ่มกลับมา หลังจากในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. หลายประเทศทั่วโลกเริ่ม Reopen ประเทศ และทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจ แม้ในช่วงที่ผ่านมาการ Lockdown ประเทศทั่วโลก ทำให้ Demand น้ำมันดิบโลก เดือน เม.ย.หายไป 30 ล้านบาร์เรล/วัน มาอยู่ราว 70 ล้านบาร์เรล/วัน เช่นเดียวกับฝั่ง Supply หลังจากมติกลุ่ม OPEC+ (หลักๆคือ ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย) เริ่มปรับลดกำลังการผลิตลงถึง 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ตามแผนตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. และล่าสุด เมื่อวานนี้ ซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มการตัดลดการผลิตลงอีก 1 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ 7.5 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน
โดยรวม ASPS เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบโลกมีโอกาสปรับขึ้นต่อจากปัจจัยหนุนดังกล่าวบวกต่อหุ้นพลังงาน โดยแนะนำลงทุน PTTEP (FV@B>100) และ PTT (FV@B>42)
ส่วนกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี ASPS คาด spread ของทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในเดือน เม.ย. โดยคาด 1Q63 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี 2563 จากนี้ไปน่าจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในทิศทางขาขึ้นช่วงที่เหลือของปี ยังคงเลือก IVL (FV@B>28)
ในประเทศ ติดตามผ่อนคลายกิจการเฟส 2 และจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่
ในประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่เพิ่มเติม เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนัก
ตลาดหุ้นขาดแรงหนุนจากต่างชาติ ขณะที่แรงหนุนจากสถาบันปีนี้แผ่วลงอย่างเห็นได้ชัด
- สภาพคล่องส่วนเกินอาจถูกดึงออกไปช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) มากยิ่งขึ้น ภายหลัง พ.รก. กระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะ พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 1 ล้านล้านบาท (พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน) และ พ.ร.ก. ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่ง พ.ร.ก. ข้างต้นจะเป็นการจัดสรรเม็ดเงินเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการเงิน (Financial Sector) มีน้อยลง
- เม็ดเงินกองทุน LTF ที่หายไปกว่า 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี แม้มีกองทุน SSFX มาช่วยพยุงแต่ยังไม่มากพอ สังเกตได้จาก กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวเงื่อนไขพิเศษ (SSFX) ทั้งหมด 17 กองทุน ที่มีการอัพเดทข้อมูลกับทางตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 11 พ.ค. 2563 พบว่า ยังไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเท่าที่ควร เนื่องจากมียอดซื้อสะสมเพียง 1.36 พันล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัด คือ ต้องมีระยะเวลาการถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ นานกว่าเงื่อนไขกองทุน LTF พอสมควร และยังสามารถซื้อได้เฉพาะช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 2563 เท่านั้น (ระยะเวลา 3 เดือน)
เป้าหมาย SET ปี 63 เริ่มตึง แต่เป้าหมายปีหน้า 1367 จุด ยังพอไหว
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web