WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 5-5-2020dbs

กลับมากังวลสงครามการค้า-ระวังหุ้นสายการบิน

  • หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : CENTEL (จากถือเป็น Fully Valued) / ERW, MINT, PTTEP, SC (จากซื้อเป็นถือ)

ภาวะตลาดและปัจจัยก่อนหน้า : SET วันพฤหัสทะยาน ปัจจัยต่างประเทศบวก คลายล็อคดาวน์ น้ำมันขึ้น ปิด +18.98 จุด ที่ 1301.66 จุด ทะลุระดับ1300จุดได้ มูลค่าซื้อขายหนาแน่นขึ้น 79 พันลบ.แต่ช่วงวันหยุดยาวตลาดหุ้นสหรัฐไม่สดใสนัก ทรัมป์กลับมาโทษจีนเรื่องไวรัสโควิด-19 อาจทำให้เกิดสงครามการค้าปะทุขึ้นมาอีก และผิดหวังอเมซอนจะขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรก ซื้อสุทธิมาก-สถาบัน ขายสุทธิมาก-รายย่อย ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติขายสูงเป็น 162 พันลบ.แล้ว

# ปัจจัยและกลยุทธ์: SET ช่วงสั้นไซด์เวย์มีปัจจัยลบใหม่ สงครามการค้า แต่แรงหนุนคือ น้ำมันและผู้ตืดเชื้อไทยน้อยลง ปัจจัยบวกคือ ดาวโจนส์วานนี้ฟื้นตัว 26 จุด จากแรงซื้อหุ้นเทคโนฯและพลังงาน ราคาน้ำมันฟื้นตัวดี WTI มากกว่า 20 เหรียญ โอเปกและพันธมิตรเริ่มลดการผลิต ผู้ติดเชื้อไทยแม้เพิ่ม 18 ราย แต่เป็นแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น เช้านี้ตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ดาวโจนส์และน้ำมันล่วงหน้าปรับขึ้น ด้านปัจจัยลบคือ สหรัฐจะก่อสงครามการค้ากับจีน โทษจีนเรื่องโควิด-19ดาวโจนส์วันศุกร์ปรับลงถึง 622 จุด ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐแย่ลง ทั้งคำสั่งซื้อภาคโรงงานและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลง ช่วงนี้ยังเข้าหาทองคำ ด้านเศรษฐกิจไทย มี.ค.หดตัวสูง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ล่าสุดฝ่ายวิจัยฯปรับลดเป็น ถ่วงน้ำหนักน้อย และปรับลดคำแนะนำหุ้น ดัชนีกังวลเพิ่ม กลยุทธ์ระยะสั้นเข้าไว-ออกไว เล่นรอบ

คาดดัชนีซื้อ-ขายในกรอบ 1280-1320 จุด สัปดาห์นี้ระวังหุ้นสายการบิน หลังวอร์เรน บับเฟตขายหุ้นออกไปหมด แต่เก็งกำไรหุ้นค้าปลีก MAKRO CPALL หลังเหล้า เบียร์ขายดีมาก ด้านกลยุทธ์ระยะกลาง-ยาว คือ ทยอยถอยรับหลักทรัพย์พื้นฐานดีที่แนะนำซื้อ Defensive-ADVANC,CHG ปันผลสูง-KKP,TISCO,AP,LH เติบโต-ฟื้นตัว- MTC,STEC,DELTA กลุ่มพาณิชย์เด่นจากนโยบายรัฐแจก 5 พันบาท- CPALL,HMPRO(จำหน่ายสินค้าจำเป็นฟื้นตัวเร็วกว่าวัสดุก่อสร้าง) บาทอ่อน-ส่งออกดี- CPF ขนส่ง- หุ้นปรับลงมากไป กลับมาฟื้นตัวเร็ว BEM,BTS ระยะนี้เก็งกำไรหุ้นเข้า MSCI คือ AWC,KTC,TOA ส่วนหุ้นออกเป็นลบคือ BANPU แนวต้าน 1310-1320 จุด และแนวรับคือ 1230 หรือ 1200 จุด ส่วนตัดขาดทุนต่ำกว่า 1280 จุด

# Stock Pick Today : MEGA มั่งคั่ง...ล้อไปกับกระแสโลก แบรนด์เวชภัณฑ์แข็งแกร่งคอนเซ็ปท์ “Mega We Care” ใน 30 ประเทศ ได้ประโยชน์เจาะตลาดสังคมที่จะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ (Aging Society) ในอนาคต ระยะสั้นได้รับประโยชน์มีสินค้าที่ตอบสนองต่อการป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ค่าเฉลี่ย CAGR กำไรเติบโตระหว่างปี 62-67 อยู่ที่ประมาณ 8% มีงบดุลที่แข็งแกร่ง เป็นเงินสดสุทธิ คำแนะนำ ซื้อ กำหนดราคาพื้นฐานเป็น 32.00 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCFการวิเคราะห์ทางเทคนิค: สั้น...ภาพเป็นบวกเล็กๆ อาจมีรีบาวด์สั้นๆได้ ส่วนระยะกลางยังเป็นโครงสร้างขาลงกดดัน ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick& Indicators มีสถานะ(เพียง)บวกเล็กๆ {“ปิดบวกเหนือ“SMA10วัน” (โดยยังอยู่ใต้อิทธิพลของโครงสร้างขาลงระยะกลางที่กดดัน)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯสัปดาห์นี้แกว่งแบบให้น้ำหนักกับการลง แต่ ค่าบวก” (มี“SMA10หนุน) จะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1310 (หรือ 1320) จุด{แนวตัดขาดทุน ต่ำกว่า 1280” (แนวรับย่อย 1230 / 1200”) จุด}

Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com

Inside Story

Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ

Monthly Update : เดือนพฤษภา : Sell in May and Go Away?

Industry Focus : อุตสาหกรรมโรงแรม

Company Guide : CENTEL (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 19.00)

ERW (ถือ -ราคาพื้นฐาน 3.20)

MINT (ถือ -ราคาพื้นฐาน 24.00)

PTTEP (ถือ -ราคาพื้นฐาน 85.00)

SPALI (ถือ -ราคาพื้นฐาน 14.60)

SC (ถือ -ราคาพื้นฐาน 2.08)

Turnover List Watch : สัปดาห์นี้ไม่มีหลักทรัพย์ติด Cash Balance ไม่ต่ออายุ DW

Key Drivers TODAY

ปัจจัยต่างประเทศ

- สหรัฐ: วิตกทรัมป์ขู่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน เพราะเป็นสาเหตุเกิดโรคโควิด-19

# ปธน.ทรัมป์เปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐกำลังเตรียมมาตรการตอบโต้จีนเพื่อลงโทษที่จีนเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19ระบาดทั่วโลก โดยบรรดานักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการขู่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนซึ่งเคยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดาวโจนส์วันศุกร์ปรับลดลงถึง 622 จุดทีเดียว

-สหรัฐ: คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 10.3% ในเดือนมี.ค. ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 10.3% ในเดือนมี.ค. จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งปรับตัวลดลงในอัตราที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 9.7% หลังจากหดตัวลง 0.1% ในเดือนก.พ.

-/+ สหรัฐ: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เม.ย.ลดลง แต่การใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง มี.ค.ปรับตัวขึ้น

# ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายประจำเดือนเม.ย.ของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 36.1 จากรายงานเบื้องต้นที่ 36.9 และลดลงจากระดับ 48.5 ในเดือนมี.ค. โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคการผลิต

# ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างปรับตัวขึ้น 0.9% ในเดือนมี.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลดลง 3.5% โดยการดีดตัวขึ้นผิดความคาดหมายนี้ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในโครงการของรัฐบาล

+ ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดาวโจนส์ปิดบวก 26.07 จุด รับแรงซื้อหุ้นเทคโนฯ,พลังงาน

# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มพลังงานที่นักลงทุนส่งเข้ามาในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากความตึงเครียดด้านการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน

+ น้ำมัน : WTI เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือ 3.1% โอเปกและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสเริ่มปรับลดการผลิต

# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 20 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) ขานรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ที่เริ่มปรับลดการผลิตเพื่อรับมือกับภาวะน้ำมันล้นตลาดซึ่งเกิดจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้แรงหนุนจากการที่บริษัทพลังงานของสหรัฐได้ลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันลงเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน

  • ทองคำ: COMEX เพิ่มขึ้น 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.73% วิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้ารอบใหม่

# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

  • ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้

# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดุลการค้าเดือนมี.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนเม.ย.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค.

ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์

-/+ ศบค.เผยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 18 คน เป็นแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

# ศบค.เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 18 รายซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแรงงานต่างด้าวในศูนย์กักกัน จ.สงขลา ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมรวมทั้งสิ้น 2,987 ราย ผู้ป่วยที่กลับบ้านได้แล้ว 2,740 ราย โดยวันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมยังคงอยู่ที่ 54 ราย

# ผลกระทบ: แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้น แต่หากไม่นับแรงงานต่างด้าว ถือว่าเป็น 0 ราย มีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามตัวเลขทางภาคใต้ที่กำลังตรวจซ้ำเป็นครั้งที่สาม จำนวนราว 40 ราย

- ธปท.คาดเศรษฐกิจไทย Q2/63 หดตัวต่อเนื่อง ประเมินฟื้นแบบ U หรือ V Shape

# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/63 หดตัวแน่นอน ส่วนตัวเลขจริงจะหดตัวมากน้อยเพียงใดนั้นต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ และคาดว่าจะเห็นการหดตัวที่มากขึ้นในช่วงไตรมาส 2

# ส่วนไตรมาสถัดไปจากนั้นต้องติดตามจากหลายปัจจัย เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ,จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ, ภาวะเศรษฐกิจโลก และผลจากมาตรการของภาครัฐ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาส 3/63 ส่วนการฟื้นตัวจะเป็น U หรือ V Shape ขึ้นกับหลายปัจจัย หากเป็น W คือ โรคกลับมาระบาดเป็นครั้งที่สอง

-เศรษฐกิจไทยในมี.ค.63 หดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว

# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค.63 หดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวรุนแรง หลังหลายประเทศ รวมถึงไทยประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ด้านการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าและราคาน้ำมัน สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวตามปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่อ่อนแอลง และมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น

นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]

Montly Update

เดือนพฤษภา : Sell in May and Go Away?

  • ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลง -18%YTD อยู่ในค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นโลก ดัชนีตลาดหุ้นหลักที่ลดลงน้อยสุด คือดัชนีตลาดหุ้นจีน (-7%YTD) รองลงมาเป็นดัชนี S&P500 (-12%YTD) ส่วนดัชนีตลาดหุ้นที่ร่วงมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีนี้ คือ ดัชนีตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ (-27%YTD) รองลงมาเป็น ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซีย (-25%YTD)
  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่ดัชนีร่วงแรงที่สุดในตลาดหุ้นไทย คือ ดัชนีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (-37%YTD) รองลงมาเป็น ดัชนีกลุ่มปิโตรเคมี (-25%YTD), ดัชนีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (-21%YTD), ดัชนีกลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์(-20%YTD) ขณะที่ SET Index ลดลง -18%YTD
  • ส่วนดัชนีกลุ่มที่ลดลงน้อยกว่าตลาด (Outperform SET) มากที่สุด คือ ดัชนีกลุ่มค้าปลีก (-9%YTD)รองลงมาเป็นดัชนีกลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม (-10%YTD), กลุ่มอาหาร (-11%YTD) ซึ่งเป็นกลุ่มที่อิงกับความต้องการใช้ที่สูงในช่วงการทำงานที่บ้าน (WFH) และ Lockdown ซึ่งต้องใช้การโทรและอินเตอร์เน็ตมากทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียน การค้าขาย การทำงาน การประชุมต่างๆ ฯลฯ และกลุ่มที่อิงกับการอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน
  • ปัจจัยภายนอกสำคัญในเดือนพ.ค.63 ประกอบด้วย

1) สถานการณ์ COVID-19 ยังกดดันมากในสหรัฐและยุโรป ณ 3 พ.ค.63 เว็บไชด์ Worldometer ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 3.5 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 2.45 แสนคน (7% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด) โดยสหรัฐมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก 1.16 ล้านคน คิดเป็น 33% ของทั้งโลก รองลงมาอันดับ 2 เป็นสเปน ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 2.45 แสนคนคิดเป็น 7% ส่วนอันดับ 3-6 ก็อยู่ในสหภาพยุโรป คือ อิตาลี, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี ส่วนอันดับ 7-8 เป็นรัสเซีย และตุรกี

2) ตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอลงมากทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี PMI ภาคผลิต & บริการสหรัฐเดือนมี.ค.63 ดิ่งลงเป็น 27.4 (จาก 40.9 เดือนก่อนหน้า) ซึ่งเป็น Record low สำนักงบประมาณสภาคองเกรสสหรัฐคาดว่า GDP2Q63 สหรัฐจะหดตัวมากถึง -40%YoY และอัตราว่างงานปีนี้จะ Peak ที่ 16% แต่บางสำนักวิจัยมองว่าอาจจะถึง 20%

3) ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการกระตุ้นและเยียวยาผลกระทบ COVID-19 กันเป็นจำนวนมาก ยกเว้น อินเดียที่ยังค่อนข้างต่ำ

4) การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเกณฑ์ที่รัดกุม เพราะต้องระวังเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่อาจจะกลับมาเพิ่มขึ้น (ถ้าหากกลับมาเพิ่มจำนวนมาก ก็จะบั่นทอนความเชื่อมั่นที่เพิ่งเริ่มๆฟื้นขึ้นมาบ้างแล้ว)

5) ทรัมป์ขู่จะทำสงครามการค้ารอบใหม่กับจีน โดยกล่าวว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีน เพราะไม่พอใจในการรับมือไวรัสโควิดที่มีต้นกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่นของจีน

6) ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำ แท่นจุดเจาะสหรัฐทยอยปิดหรือผลิตน้อยลง แรงกดดันหลักคืออุปสงค์ลดมากแม้ลดอุปทานแต่ก็ยังมีส่วนเกิน ในเดือนพ.ค.63 ทางซาอุดิ อาราโค ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดในซาอุดิอาระเบียประกาศให้ส่วนลดราคาน้ำมัน -7.4 US$/bbl เพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย.63 ที่ -3.1 US$/bbl

  • ส่วนปัจจัยหลักภายในประเทศเดือนพ.ค.63 ได้แก่

1) เศรษฐกิจไทยมีอาจอ่อนแอลงหลังจบมาตรการเงินช่วยเหลือ 5 พันบาท/เดือน 3 เดือน และผ่อนปรนชำระหนี้ 3-6 เดือน ซึ่งจะไปเห็นใน 2H63 ถ้าภาครัฐไม่ได้ออกมาตรการเพิ่มเติม

2) แนวโน้ม Core profit งวด 2Q63F จะแย่ยิ่งกว่า 1Q63F เพราะได้รับผลกระทบโควิดเต็มไตรมาส ส่วนกำไรสุทธิ 1Q63 กำลังทยอยออกมา คาดว่ากลุ่มโรงกลั่น&ปิโตรเคมีจะขาดทุนสุทธิเพราะ Stock loss แต่พลังงงานต้นน้ำคือ PTTEP และธุรกิจลูกผสมอย่าง SCC ยังมีกำไรสุทธิ

3) มาตรการซอฟท์โลนผ่านแบงค์ออมสิน 1.5 แสนล้านบาทยอดจองเต็มแล้ว โดยปล่อยกู้ให้แบงค์และนอนแบงค์ 0.01% ให้ปล่อยกู้ต่อให้ลูกค้า 2% ต่อปี

4) การขึ้นเครื่องหมาย XD บจ.ในเดือนพ.ค.63 แต่คาดว่ารอบนี้จะกระทบไม่มาก เพราะส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลาง-เล็ก (หุ้นใหญ่ๆ ขึ้น XD ไปก่อนหน้านี้แล้ว)

5) ติดตามสถานการณ์ของบ.ขนาดเล็กที่ออกตราสารหนี้ Non rate และต่ำกว่า Investment grade ว่าจะมีผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งกลุ่มนี้ ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการ BSF ของธปท. หากมีบ.ใดDefault ขึ้นมาก็อาจมี Panic ในตลาดเงินตลาดทุนได้

6) จับตาปัญหาภัยแล้ง ที่จะเป็นอีกปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทย

  • เดือนพ.ค.เป็นเดือนที่ให้ผลตอบแทนติดลบมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกๆ เดือนในปี เราได้ทำการศึกษาย้อนหลังไป 10 ปี พบว่าเดือนพ.ค.เป็นเดือนที่มีจำนวนครั้งของหุ้นลงมากที่สุด คือ 70% (ลง 7 ครั้งในปี 10ครั้ง) และให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ -2.0%MoM ส่วนเดือนที่มีจำนวนครั้งของการปรับขึ้นมากที่สุด คือ ก.พ.,เม.ย.,ต.ค. โดยมีจำนวนครั้งของหุ้นขึ้นเป็นสัดส่วน 80-85% ของจำนวนครั้งทั้งหมด มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวก +1.2% ถึง +2.2% MoM อย่างไรก็ตาม ต้องหมายเหตุไว้ว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ได้หมายความว่าในเดือนพ.ค.63 และในอนาคตจะต้องเป็นเช่นนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์
  • โดยสรุป : มองว่าตลาดเดือนพ.ค.63 จะยังผันผวน ถึงแม้ว่าจะมีหลายปัจจัยบวกเข้ามา แต่ก็มีความไม่แน่นอนหลายเรื่องเช่นกัน โดยปัจจัยบวก คือ 1) จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยลดลงเป็นเลขหลักเดียว, 2) การผ่อนคลายมาตรการLockdown, 3) ทุกประเทศใช้มาตรการครั้งใหญ่เพื่อเยียวยาผลกระทบโควิด, 4) บริษัท Gilead Sciences แถลงว่าการใช้ยาต้านไวรัส remdesivir รักษาผู้ป่วยได้ผลดี หลังศึกษาการใช้ยาร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ, 5) อุปสงค์น้ำมันน่าจะ Bottom out แล้ว หลังจากนี้น่าจะค่อยๆขยับขึ้นเมื่อประเทศต่างๆ ทยอยปลดการLockdown ทำให้ราคาน้ำมันดิบจะขยับขึ้นได้ ซึ่งเป็นบวกกับหุ้นกลุ่มพลังงาน & ปิโตรเคมี ที่มี Market Cap ราว 1/3ของตลาดหุ้นไทย

ส่วนปัจจัยเสี่ยง/ไม่แน่นอน คือ

1) จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่อาจจะกลับมาเพิ่มขึ้น หลังการผ่อนคลาย Lockdown,

2) ผลประกอบการ 2Q63F ที่จะย่ำแย่ลงอีกจาก 1Q63, 3) ราคาน้ำมันต่ำกดดันกลุ่มพลังงานและนำไปสู่การล้มละลายของบางบริษัท ที่ขาดทุนจากการดำเนินงาน & เก็งกำไรราคาน้ำมัน (เช่น ซิงหลงของสิงคโปร์) ซึ่งลามไปถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้และผู้ลงทุนในตราสารหนี้บริษัทด้วย, 4) ปัญหาภัยแล้งที่จะชัดเจนขึ้น, 5) ปัญหาสภาพคล่องการเงินของบริษัทที่ออกตราสารหนี้แบบ Non-rate หรือมีอันดับเครดิตต่ำกว่า Investment grade

  • ยังคงเป้าหมาย SET Index ปี 63 ไว้ที่ 1161 จุด โดยประมาณการว่า EPS ตลาดหุ้นไทยปีนี้จะ -18% เป็น 74หน่วย และให้เป้าหมาย P/E ปีนี้ไว้ที่ 15.7 เท่า (+0.5SD) และอิงกับสมมติฐานว่ามีการปลด Lockdown ในสิ้นมิ.ย.63

ในการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) พบว่าถ้าการแพร่ระบาดโควิดยังรุนแรง ทำให้การปลดLockdown ต้องเลื่อนออกไปเป็นสิ้นก.ย.63 หรือสิ้นธ.ค.63 ก็จะทำให้ EPS ตลาดหุ้นไทยหดตัวมากขึ้นเป็น -30%และ -50% ยังผลให้ดัชนีเป้าหมายก็จะลดลงตามไปเป็น 992 จุด และ 709 จุด ตามลำดับ

  • กลยุทธ์เดือนพ.ค.63 : แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และได้รับ

ผลกระทบจาก COVID-19 น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งกลุ่มและหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่

# กลุ่มไอซีทีและดิจิตอล หุ้นเด่นเป็น ADVANC, DIF

# กลุ่มอุปโภคบริโภค หุ้นเด่นเป็น CPALL, OSP

# กลุ่มไฟแนนซ์ หุ้นเด่นเป็น AEONTS

# กลุ่มโรงไฟฟ้า หุ้นเด่นเป็น EA

# กลุ่ม REIT หุ้นเด่นเป็น AIMIRT

นักวิเคราะห์&กลยุทธ์: อาภาภรณ์ แสวงพรรค : [email protected]

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!