- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 05 May 2020 11:59
- Hits: 2229
บล.เออีซี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 5-5-2020
Market Outlook
วันนี้คาด SET Index ปรับฐาน หลังถูกดันจาก Sentiment ลบประเด็นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนเสี่ยงปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังผู้นำสหรัฐฯ ขู่เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน นอกจากนี้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปยังคงอ่อนแอ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,275-1,315 จุด
Market Factor
- • (-) สหรัฐฯ ขู่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน หลังสหรัฐฯกล่าวหาว่าจีนเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไวรัส COVID-19 แพร่กระจายไปทั่วโลกทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีนกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีความชัดเจนในมูลค่าสินค้าและระดับภาษีที่จะเรียกเก็บ
- • (+) สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย. และ Brent ส่งมอบเดือน ก.ค. เช้านี้ปรับบวก 5.3%DoD และ 2.7%DoD ตามลำดับ หลังกลุ่ม OPEC และพันธมิตรเริ่มปรับลดกำลังการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มวันที่ 1 พ.ค. 63 บวกกับ ทั่วโลกเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เพื่อเปิดให้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ เช่น สหรัฐฯ อิตาลี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ชะลอ
- • (0) ECB ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ระดับ -0.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% โดยไม่ได้ปรับเพิ่มวงเงิน QE แต่อย่างใด แต่พร้อมที่จะปรับเพิ่มวงเงิน QE หากมีความจำเป็น
- • (watch) ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ เช่น ตัวเลขดุลการค้าสหรัฐฯ ISM Non-Manufacturing PMI ประจำเดือน เม.ย. การจ้างงานภาคเอกชน สต็อกน้ำมันดิบ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และอัตราการว่างงาน
- • (+) อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.เผย ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน เป็นเวลา 1 ปี โดยให้มีผลใช้บังคับหลังพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจาฯ หรือคาดว่ามีผลบังคับใช้เร็วสุดต้นเดือน มิ.ย. 63 เบื้องต้นมีโรงงานที่ได้รับอานิสงส์ 56,598 ราย และคาดว่าภาครัฐจะเสียรายได้ประมาณ 231 ลบ. (ไทยโพสต์)
- • (-) IHS Markit เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI™) สาหรับภาคการผลิตในประเทศไทยลดลงจาก 46.7 ในเดือนมี.ค.มาอยู่ที่ 36.8 ในเดือนเม.ย.สะท้อนสภาวะของภาคส่วนปรับตัวลดลงใน ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มทาการสำรวจตั้งแต่เดือนธ.ค. 2015 ผลจากการแพร่ระบาดทั่วโลกของ COVID-19 กระทบต่อภาคการผลิตของประเทศไทยอย่างรุนแรง สภาวะอุปสงค์ปรับตัวลดลงใน ระดับสูง
- • (watch) ติดตามรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค CPI จากกระทรวงพาณิชย์เช้านี้
- • รายงาน สธ.ประจำวันที่ 4 พ.ค..พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18 ราย ยอดสะสมผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 2,987 ราย เสียชีวิตรวม 54 ราย
- • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยล่าสุดรุ่น 5 ปี อยู่ที่ 0.91% (-2.2%DoD) และรุ่น 10 ปี อยู่ที่ 1.21% (-3.2% DoD) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 0.63%(1.1% DoD)
- • ปรับลดประมาณการ EPS โดยข้อมูลจาก Bloomberg Consensus พบว่าเมื่อต้นปี EPS ปี 63 ที่ 101.9 บ. ขณะที่ปัจจุบันเหลือ 73.7 บ. หรือลดลง 27.7%YTD
- • Update Flow เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาต่างชาติขายสุทธิ 2,159.15 ลบ.ส่งผลปิดเดือนเม.ย.ขายสุทธิอยู่ที่ 46,975.85 ลบ. ขณะที่ นลท.สถาบันซื้อสุทธิ 4,975.1 ลบ.ปิดเดือนเม.ย..ซื้อสุทธิรวมอยู่ที่ 23,674.67 ลบ.
Investment Strategy
สัปดาห์นี้เราประเมิน SET มีโอกาสปรับฐาน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1,260- 1,320 จุด โดยแม้มีปัจจัยหนุนจาก 1) ธนาคารกลางทั้ง BOJ FED และ ECB เปิดความกว้างด้านมาตรการเพื่อพร้อมเข้าช่วยเหลือปัญหาสภาพคล่องต่อเนื่องจากผลกระทบ COVID-19 2) การทยอยกลับมาเริ่มเคลื่อนไหวกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านการผ่อนคลายมาตรการ Lock Down 3) สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกเริ่มลด Downside หลัง OPEC+ เริ่มต้นปรับลดกำลังผลิตลงตามข้อตกลงที่ระดับ 9.7 ล้านบาเรล/วัน คลายความกังวลด้านอุปทานส่วนเกินได้บางส่วน อย่างไรก็ดีคาดจะถูกกดดันด้วยปัจจัยเสี่ยงเก่าที่กลับมาปะทุใหม่อย่างประเด็นความตึงเครียดสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน หลังนายโดนัล ทรัมป์ขู่เก็บภาษีนำเข้าจากจีน รวมถึงการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั้งของทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ที่มีสัญญานอ่อนตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ปัจจัยในประเทศยังมีความเสี่ยงจากการเข้าสู่ช่วงรายงานผลประการบริษัทจดทะเบียนฯช่วง 1Q63 ที่มีแนวโน้มอ่อนแอตามสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ซึ่งจะกดดันต่อการปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิของ SET ในลำดับต่อมา แนะเลือกเก็งกำไรช่วงสั้น เน้นซื้อเมื่ออ่อนตัวใกล้โซนแนวรับ และทยอยลดพอร์ตเมื่อเข้าใกล้แนวต้าน พร้อมแนะนำหุ้นที่คาดมีผลประกอบการดีในหุ้น 2 กลุ่ม ดังนี้
หุ้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากแผนกระตุ้น ศก.และงานประมูลภาครัฐฯ: แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์และมี Upside ได้แก่ TEAMG: (กำไรสุทธิ 4Q62 ทำได้ 35 ลบ.โต 67% YoY ด้วยความเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งมากประสบการณ์ของธุรกิจออกแบบ ควบคุมงานโครงการกว่า 42 ปี บ.มีศักยภาพสูงหนุนเดินหน้าคว้าโปรเจคใหม่ต่อเนื่อง ปี 63 คาด Backlog ทำ New High หนุนรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีจากนี้ มอง TEAMG น่าสนใจหลัง ปจบ.เทรดที่ PE ระดับ 15.5X (ขณะที่อุตสาหกรรมเทรดที่ระดับ 50.2X) ล่าสุดประกาศรับงานใหม่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.เพิ่มทั้งหมด 5 โครงการ เป็นงานจากภาครัฐทั้งหมดโดยแบ่งเป็นงานที่ปรึกษา 2 โครงการ และงานจัดหาติดตั้งเครื่องมือ 3 โครงการโดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 180 วัน – 68เดือน รวมมูลค่างานที่ได้รับทั้งสิ้น 1.04 พันลบ.ขณะที่ความเสี่ยงภาระหนี้สินต่ำมาก โดยมีสัดส่วน Interest bearing debt/equity เพียง 0.04X นอกจากนี้ให้ Dividend Yield กว่า 6.5%), SEAFCO (กำไรสุทธิปี 62 อยู่ที่ 409 ลบ.เพิ่มขึ้น11.22%YoY ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 63 ทำ New High ปจบ.มี Backlog กว่า 2.7 พัน ลบ.บวกกับได้อานิสงส์บวกจากร่าง พรบ.งบประมาณฯ ที่ผ่านสภา และยังมี Upside จากงานประมูลใหม่ จากโครงการลงทุนทั้งจากรัฐและเอกชน), CPALL (กำไรปกติ 4Q62 ที่ 6 พัน ลบ. โต 10%YoY, +8%QoQ จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทั้งจาก 7-11 และ MAKRO ตั้งเป้าเปิด 7-11 เพิ่มอีก 700 สาขาในปี 63 และมีสาขาครบ 13,000 สาขาภายในปี 64 (จาก 11,712 สาขา ณ สิ้นปี 62) ประเด็นประกาศเข้าลงทุนซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซีย มูลค่าลงทุนราว 1 แสน ลบ. ในสัดส่วนลงทุน 40% ติดตามการจัดหาแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อ โดยบริษัทแจ้งว่าใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดและเงินกู้ โดยยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ระยะยาวมองเป็นบวกจาก Synergy ที่เกิดขึ้น จะทำให้กลุ่ม CP มีทั้งค้าส่ง ค้าปลีก และสะดวกซื้อครบวงจร
- • กลุ่มที่คาดผลดำเนินงานมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง: เหมาะกับการทยอยซื้อสะสมโดยเน้นหุ้นที่กำไรทั้งปี 62 โตดีและปี 63 โตต่อ แนะนำ SABINA: รายงานผลประกอบการปี 62 ออกมาดี โดยกำไร 413.2 ลบ. เติบโต 14.3%YoY จากยอดขายที่โต 6.1%YoY และอัตราการทำกำรที่ดีขึ้น GPM 54.4% NPM 12.5% เทียบกับปีก่อนหน้าที่ 51.6%,11.7% ตามลำดับสาเหตุจาก 1) ปรับสัดส่วนการจ้างผลิตจากภายนอกเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งทั้งปี และ 2) การขายออนไลน์ประสบความสำเร็จดีมากขณะที่ปี 63 คาดเติบโตต่อเนื่องจากการเน้นการขายผ่านช่องทางค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้าน บวกกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 100 SKU และการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มเติม, SSP ช่วง 4Q62 กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 134.2 ลบ. โต 23.1%YoY คาดรายได้และกำไรปี 63 ทำ New high จากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าที่เวียดนามและมองโกเลีย ขนาดรวม 55 MW ซึ่ง COD ตั้งแต่ มี.ค. 62 และ ก.ค. 62 ตามลำดับ ขณะที่ 2H63 เริ่ม COD โครงการยามากะที่ญี่ปุ่นขนาด 30 MW. หนุนกำลังผลิตรวมทั้งปีกว่า 158 MW. ล่าสุด SSP ประกาศจ่ายปันผล 0.11 บ/หุ้น (Yield1.5%)
- • Trading Idea
- • กลุ่มบริโภคภายในประเทศ CPALL, BJC สองหุ้นค้าปลีกที่ได้ประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ และการเตรียมผ่อนคลายให้กิจกรรมทางเศรษกิจกลับมาเริ่มเปิดตามปกติได้ในระยะถัดไป จะทำให้การบริโภคเริ่มฟื้นตัว CPALL มีสาขาครอบคลุมผู้บริโภคทั่วประเทศจะได้ประโยชน์ทั้งจากร้าน7-11 และ MAKRO ขณะที่ BJC จะได้ประโยชน์จากBIGC และยอดขายของธุรกิจ Health care มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการระบาดของCOVID-19 ที่จะมีการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อโรคเข้ามาเป็นอีกปัจจัยในการดำรงชีวิตจนกว่าจะมีวัคซีนออกมาใช้อย่างเป็นทางการ รวมถึงธุรกิจ บรรจุภัณฑ์เริ่มฟื้นตัวจากปีก่อน
- • กลุ่มส่งออกไก่ : เก็งกำไร CPF TFG GFPT หนุนด้วย 1) ก.พาณิชย์รายงานยอดส่งออกไก่สด และแปรรูปเดือน มี.ค.63 และช่วง 1Q63 ที่ 320 และ 882 ล้านเหรียญฯ +7.5%YoY และ +7.2%YoY ตามลำดับ และมีโอกาสโตต่อใน 2Q63 โดยได้รับอานิสงส์จากความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องของจีน และญี่ปุ่น รวมถึงความได้เปรียบด้านแข่งขันหลังคู่แข่งสำคัญบราซิลเผชิญปัญหา COVID-19 กระทบการส่งออก 2)ค่าเงินบาทช่วง 1Q63 อ่อนค่า 4%YoY และ8%YTD 3) ราคาขายไก่เฉลี่ยช่วง 1Q63 อยู่ที่ 34.5 บ/กก.ยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยปี 62 ที่ 33.7 บ/กก. และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์หลัก เช่น ข้าวโพด และกากถั่วเหลืองยังทรงตัวในระดับต่ำ เป็นปัจจัยหนุนผลประกอบการ
30-Apr-20 Change (pts.) 29-Apr-20
SET Index 1,301.66 18.98 1,282.68
SET50 Index 873.56 15.93 857.63
SET100 Index 1,913.35 34.02 1,879.33
High 1,301.66 Gainers 732
Low 1,292.97 Unchanged 340
Value (Bt m) 79,146.24 Losers 579
Volume (*000) 14,700,591
Market Valuation
SET Data 2019F 2020F Long Term
Fwd PER (x) 17.6 14.7 14.7
EPS Growth (%) 13.9 9.3 -16.8
EV/EBITDA (x) 11.2 10.0 9.3
FWD PBV (x) 1.4 1.4 1.3
Dividend Yield (%) 3.2 3.5 3.9
ROE 7.3 8.1 8.6
Net Buy/Sell by Investor Types
Unit : M Bt 30-Apr-20 WTD MTD YTD
Institution 4,975.10 4,814.17 4,975.10 49,748.08
Proprietary 82.06 989.88 82.06 (2,837.64)
Foreign (2,159.15) (3,095.61) (2,159.15) (162,330.77)
Individual (2,898.02) (2,708.44) (2,898.02) 115,420.33
AECS ( Fundamental and Strategic Team )
ภัทรพล จันทร์อินทร์ (ID. 089932) [email protected]
ธีรยุทธ ฤทธิเผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ชัยรัตน์ คงสุนทร
สุวรรณา อัศวเหล่าวรพงศ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
Data Support / Secretary
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web