- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 27 April 2020 12:00
- Hits: 3021
บล.ทิสโก้ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 27-4-2020
สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET -13.75 จุด ผิดหวังยา “Remdesivir” ไม่มีประสิทธิภาพ
SET ผันผวนในกรอบ 1255-80 ภาคเช้าแกว่งไซด์เวย์อิงแดนบวกอานิสงส์ราคาน้ำมันพุ่งแรง 2 วันติด แต่ภาคบ่ายเผชิญแรงขาย หลังราคาน้ำมันล่วงหน้าพลิกสู่แดนลบและหุ้นยุโรปเปิดตลาดร่วง จากข่าวยา “Remdesivir” รักษา COVID-19 ได้ไม่ดี ต่างชาติขายสุทธิ 3.15 พันลบ. 13 วันติด และพลิก Short S50 Futures 1,602 สัญญา
ทิศทางตลาดวันนี้ : ไซด์เวย์กรอบ 1230-80 รอดูงบ, การประชุมธ.กลางตปท.
หุ้นโลกวันศุกร์ (24 เม.ย.) ปิดสวนทางกัน โดยหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับลงมากกว่า 1% เพิ่งรับรู้ข่าวยา “Remdesivir” ของบ. Gilead Sciences ไม่สามารถรักษาผู้ป่วย COVID-19 ให้มีอาการดีขึ้นได้ ซึ่งกดดันหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงท้ายตลาดไปแล้วในวันก่อนหน้า โดยหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาปิดบวกมากกว่า 1% นำโดยหุ้นเทคโนโลยี หลัง Facebook ออกลูกเล่นใหม่ในการประชุมแบบ Video Call รวมทั้งบางรัฐของสหรัฐฯ เริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่ง 3 วันติด +2.7% มาปิดที่ 16.94 $/บาร์เรล ขณะที่ Brent +0.5% อยู่ที่ 21.44 $/บาร์เรล หลังแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯ ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี มอง SET สัปดาห์นี้มีแนวโน้มแกว่งไซด์เวย์ในกรอบ 1230-80 รอติดตามหลายปัจจัย 1) การประชุมธ.กลางหลายแห่งในตปท. BOJ 27-28 เม.ย., FED 28-29 เม.ย. และ ECB 30 เม.ย. เราคาดว่ายังคงนโยบายการเงินต่างๆ ตามเดิม แต่ส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น 2) การประชุมครม. 28 เม.ย. พิจารณายกเลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในหลายๆ จังหวัด คงไว้แค่บางจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงเท่านั้น และแนวทางการทยอยเปิดศก. 3) การประกาศงบ โดยบ.ที่จะทยอยประกาศงบในสัปดาห์นี้ ได้แก่ HMPRO, DELTA, AEONTS, SCC, PTTEP เป็นต้น แนวรับ 1245-50, 1230-35 แนวต้าน 1263-65, 1270
กลยุทธ์การลงทุน : ขึ้นเน้นทยอยขายกระชับพอร์ต / เก็งกำไรอย่างระมัดระวัง
มอง SET มี Upside จำกัด ขึ้นยังมองเป็นจังหวะทยอยขายกระชับพอร์ต / การเก็งกำไรทำอย่างระมัดระวัง ใช้กรอบเทรดดิ้งสั้น 1230-80 ลงซื้อ-ขึ้นขาย และใช้ SET ปิดต่ำกว่าระดับ 1230 เป็นจุด Stop
- • ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick SMPC – คาดงบ 1Q20F ออกมาดี มีกำไรที่ 96 ลบ. +13% YoY และ 23% QoQ ตามทิศทางการส่งออกถังแก๊สปิโตรเลียมเหลวของไทยที่เพิ่มขึ้น 27% YoY ในแง่ของปริมาณ และ 21% YoY ในแง่ของมูลค่า นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท และสหรัฐฯ เข้มงวดการค้ากับจีนต่อเนื่อง คาดจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของ SMPC ในปีนี้ดีขึ้น, การประเมินมูลค่าหุ้นถูกมาก PER 7.5x ปีนี้ กำไร 2 ปีข้างหน้าโตเฉลี่ยปีละ 12% และมี Div. Yield ประมาณ 8%, เป้าพื้นฐาน 7.5 บ. / หุ้นที่คาดงบจะออกมาดี – CPF, EA, MEGA, PRM, PYLON, RBF, SMPC, TMB, TVO / หุ้นฐานะการเงินแข็งแกร่ง-ราคาลงลึก-ยังมี Upside สูง – PLANB, PYLON, SAT, VNT / อุตฯ ที่ได้รับผลกระทบน้อยจาก COVID-19 มีความทนทานสูงจากภาวะศก.หดตัวรุนแรง ชอบ กลุ่มค้าปลีก - CPALL, BJC กลุ่มอาหาร – CPF, RBF กลุ่มสื่อสาร – DTAC, INTUCH, TRUE กลุ่มรพ. – BDMS อื่นๆ – BAM, RATCH / หุ้นปันผลดี - AP, BTSGIF, DIF, INTUCH, KKP, NYT, SABINA, SMPC, SPALI, TVO / หุ้นบลูชิพที่คาดเป็นเป้าลงทุน SSF พิเศษ เด่น AOT, BAM, BDMS, BTS, CPALL, KBANK, PTT, SCC, VGI / หุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ดำเนินธุรกิจมากขึ้นหลังพ้นวิกฤติ COVID-19 – AIT, COM7, ITEL, SAMART, SYNEX / หุ้นคุณค่า – AEONTS, BBL, BCP, SEAFCO, SCC, SCCC / หุ้นรับอานิสงส์รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ-กระตุ้นศก.-เร่งรัดลงทุน การบริโภค AEONTS, CPALL รับเหมา-ก่อสร้าง CK, STEC, SEAFCO, PYLON, TASCO, BTS นิคมฯ AMATA, ROJNA, WHA
- • หุ้นเด่น เม.ย. (Smart Tactics) BAM, BJC, DTAC, PTTEP, RBF, SCC, TVO
ปัจจัยติดตาม
วันที่ ปท. เหตุการณ์
27 เม.ย. CH, US ผลกำไรภาคอุตฯ จีนใน มี.ค., ดัชนีชี้วัดกิจกรรมภาคอุตฯ Dallas สหรัฐฯ ใน เม.ย.
28 เม.ย. JP, US ประชุม BOJ, อัตราว่างงานญี่ปุ่นใน มี.ค., สต็อกสินค้าภาคค้าส่งสหรัฐฯ ใน มี.ค. (เบื้องต้น)
US ดัชนีราคาบ้าน (S&P/CaseShiller) สหรัฐฯ ใน ก.พ., ดัชนีชี้วัดภาคอุตฯ Richmond ใน เม.ย.
US ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conf. Board) สหรัฐฯ ใน เม.ย.
ที่มา : Bloomberg, TISCO Research
กลยุทธ์ ;
1. Port ลงทุน ; ขายแล้วนิ่ง – SET ขึ้นขายต่อที่ 1,310 จุด = รอซื้อคืน 1,200 & 1,120 จุด
2. หุ้นแนะนำ เม.ย. 63 ; BAM , BJC , DTAC , PTTEP , SCC , RBF & TVO
3. Port เก็งกำไร ; ลงซื้อแนวรับ 1,255 & 1,250 จุด ขึ้นขายแนวต้าน 1,265 & 1,270 จุด 4. หุ้นเด่นวันนี้ ; CENTEL , WORK , TKN , UV , ALL & DIF
คาดหุ้นโลก และ SET ใกล้จบ Rebound ใหญ่ ( Bear Market Rally ) ที่ 1,280 & 1,330 จุด SET Peak ขั่วคราว 1,280 จุด รวมขึ้น 30 วัน + 310 จุด ( + 32 % ) จาก Low 970 จุด แนวโน้ม SET = จบรอบ1,280 & 1,330 จุด แล้วลง - ต่ำสุดมิ.ย. 63 ที่ 1,200 & 1,120 จุด รับข่าวบวกธนาคารกลางทั่วโลกใช้ Fiscal Policies & Monetary Policies แบบจัดเต็ม! ไปแล้วดอกเบี้ย Floor - FED อัด 2.3 ล้านล้านเหรียญ - รัฐบาลไทยอัด 1.9 ล้านล้านบาท อุ้มตลาดตราสารหนี้ - ปัจจัยลบคือ หมดเทศกาลปันผล – ราคาหุ้นแพง - ผลประกอบการทรุด มิ.ย. 63 = ระวัง Corporate Debentures Crisis ( ถล่มไถ่ถอนหุ้นกู้เอกชน ) ทั่วโลกคาดสถาบันจัดอันดับ Moody's - S&P - Fitch Rating ปรับ Rating หุ้นกู้เอกชน = จะทำให้หุ้นกู้ทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนมากถูกปรับลงสู่ระดับ Non Rated Bond จากวิกฤติสภาพคล่อง จะทำให้หุ้นกู้ Non Rated ที่รัฐฯไม่อุ้ม จะถูกไถ่ถอนทั้งหมด = ฉุดหุ้นโลกและ SET ลงแรง !!! แนวโน้ม เดือน พ.ค. ; คาดทั่วโลกเตรียมเปิดเศรษฐกิจภายใน ( บางส่วน ) SET ดูแนวรับเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน ล่าสุด = 1,230 – 1,240 จุด
หาก SET ยืนเหนือ 1,240 จุด = ทรงกับขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,280 จุด ( ผ่านได้ไป 1,330 จุด ) โดย SET เปิด GAP ขาลง 60 จุด ที่ 1,300 – 1,360 จุด เป็นแนวต้านไปตลอด Q2 / 2020 แต่หาก SET ลง < 1,230 จุด ( สัญญาณขาย ) = SET ลงต่ออีก 30 จุด สู่แนวรับ 1,200 จุด
แนวโน้ม SET วันนี้ ; หุ้นใหญ่พักรบ – เล่นหุ้นเล็ก - SET = Sideways SET ปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 & 10 วัน เป็นแนวรับที่ 1,250 & 1,235 จุด ตามลำดับ คาด SET ลงทดสอบแนวรับ 1,255 & 1,250 จุด หากดีดกลับจะมีแนวต้านที่ 1,265 & 1,270 จุด
หุ้น DTAC ผลประกอบการตามคาด
DTAC รายงานผลประกอบการ 1Q20 ที่ 1.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% YoY และ 199.1% QoQ ดีกว่าที่เราและตลาดคาดที่ 1.36 พันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม หากหักรายการพิเศษออกแล้วผลประกอบการจะอยู่ที่ 1.377 พันล้านบาท ตามคาด จำนวนลูกค้าของ Pre และ Postpaid กลับมาชะลอตัวลง และหนี้สินเพิ่มขึ้น ยอดผู้ใช้บริการของ DTAC ลดลงกว่าล้านคนในช่วง 1Q20 โดยลูกค้าในกลุ่ม Postpaid ลดลง 2.72 แสนราย จากการปรับปรุงรายการ และกลุ่ม Prepaid ลดลง 7.44 แสนราย เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงเนื่องจากผลของ COVID-19 ในเชิงของรายการปกติแล้ว ผู้ใช้บริการลดลง 6.97 แสนราย แต่อย่างไรก็ตาม รายได้ของ DTAC เพิ่มขึ้น 4.8% YoY แต่ลดลง 0.9% QoQ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ลดลงจากฐานที่สูงใน 4Q19 และการย้ายพนักงาน 400 คนไปยัง Ericsson ด้านค่าการตลาดลดลง 10.7% YoY แต่อย่างไรก็ตาม DTAC มีการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้น 33% QoQ จากการใช้ TFRS9
คาดผลประกอบการลดลงไปจนถึง 4Q20
แม้ว่ารายได้ของ DTAC จะลดลง QoQ แต่เราเชื่อว่าผู้ใช้บริการที่ลดลงในเดือน ก.พ. – มี.ค. จะเห็นผลชัดเจนในเดือน เม.ย. และด้วยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้เราคาดว่าผลประกอบการจะชะลอตัวลงต่อในช่วง Q2 – 3 ก่อนที่จะฟื้นตัวใน Q4 หลังนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เรายังคงผลประกอบการปี 2020F ที่ 5.6 พันล้านบาท
เราแนะนำให้ “ซื้อ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 48 บาท (DCF)
RBF : คาดผลประกอบการ Q1 เติบโตดีทั้ง YoY และ QoQ
- • เราคาดผลประกอบการ 1Q20F ที่ 104 ล้านบาท
เราคาดยอดขายเพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยจ่ายที่หายไป ทำให้ผลประกอบการจะเพิ่มขึ้น 19% YoY และ 5% QoQ ด้านราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกว่า 55% ในเดือนที่ผ่านมาหลังได้รับผลกระทบจำกัดจาก COVID-19 สำหรับธุรกิจอาหาร แต่ในด้านธุรกิจโรงแรมผลประกอบการจะถูกกดดัน แต่คาดตลาดรับรู้ไปแล้ว เราแนะนำให้ “ซื้อ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 5.20 บาท จากธุรกิจอาหารที่แข็งแกร่ง เนื่องจาก 1) ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง 2) ความได้เปรียบด้านราคา และ 3) กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
คาดผลประกอบการ 1Q20F ที่ 104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% YoY
ด้วยรายได้ 775 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.3% YoY และ 1.5% QoQ หนุนโดยเครื่องแต่งสีและกลิ่น และยังได้ปัจจัยบวกจากการกักตุนสินค้าของผู้บริโภคทั้งอาหารแห้งและอาหารแช่แข็งในเดือน มี.ค. ด้านรายได้ของโรงแรมคาดลดลง 11% YoY เป็น 25 ล้านบาท มีอัตรากำไรรวมที่ 36.8% YoY และด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่คงที่ แต่ดอกเบี้ยหายไปจากการชำระคืนด้วยเงิน IPO ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 13.4% จากเดิมที่ 12.2% ในช่วง 1Q19
โรงงานเกล็ดขนมปังเริ่มดำเนินงานใน 2Q20F
เราเชื่อว่าตลาดรับรู้ปัจจัยลบของกลุ่มโรงแรมแล้ว และโรงงานเกล็ดขนมปังจะเริ่มดำเนินงานในเวียดนาม (รายได้ 150 ล้านบาทต่อปี) และอินโดนีเซีย (รายได้ 50 ล้านบาท) ทำให้รายได้จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ใน 2Q20F จากลูกค้าใหม่ และแผนในการลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ความสามารถในการแข่งขันของ RBF เพิ่มขึ้นจากความต้องการในการลดต้นทุนของบริษัทต่างๆ และการบริการอาหารแบบพร้อมส่งที่มากขึ้น
เราแนะนำให้ “ซื้อ” โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 5.20 บาท (PER ที่ 23.4 เท่าสำหรับปี 2020F) มีความเสี่ยงคือ 1) การปิดโรงแรมที่นานกว่าคาด (3% ของรายได้) 2) นโยบายการส่งออกระหว่างประเทศ
บมจ. พริมา มารีน แนวโน้มยังคงสดใส
แนวโน้มยังคงสดใส แนะนำ “ซื้อ”
เรายังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อการดำเนินงานของ PRM โดยล่าสุดเราได้จัด Group Conference call กับทางผู้บริหารของ PRM โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) ธุรกิจ FSU อยู่ในสถานะที่ดีจากความต้องการใช้เรือที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และรับรู้การปรับขึ้นอัตราค่าเช่าเรือ 5 ลำใน 2Q20 เป็นต้นไป 2) เรือขนส่งในประเทศได้รับผลกระทบบางส่วนจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (คิดเป็น 20%ของปริมาณการขนส่ง) ที่ลดลง บริษัทบริหารโดยการเพิ่มเส้นทางใหม่ และหาฐานลูกค้าใหม่ในเส้นทางภาคกลาง 3) ยังคงแผนการขยายการลงทุน โดยมีแผนเพิ่มเรือ FSU 1 ลำซึ่งอยู่ระหว่างการหาเรือที่เหมาะสม และเพิ่มเรือขนส่งระหว่างประเทศ 3 ลำ และในประเทศ 4 ลำ (สร้างใหม่ + ทดแทนเรือเดิม) และ 4) คาดกำไรจากการดำเนินงานหลักแข็งแกร่ง YoY และ QoQ ใน 1Q20F โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตใน FSU ที่เข้ามาช่วยชดเชยผลกระทบจาก COVID-19 ได้ทั้งหมด
ธุรกิจ FSU ปรับขึ้นค่าเช่ากับลูกค้าได้ และมีแผนเพิ่มเรือ
บริษัทปรับอัตราค่าเช่าเรือ FSU ขึ้น 20% จำนวน 3 ลำในเดือนมีนาคม และ 2 ลำในเดือนเมษายน จากความต้องการใช้เรือที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีแผนปรับขึ้นค่าเช่าเรือที่เหลือในกลางปีนี้ ส่งผลให้จะเห็นผลจากอัตราค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นใน 2Q20 เป็นต้นไป นอกจากนี้ จากสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกปัจจุบันที่ปริมาณการผลิตส่วนเกินสูงกว่าความต้องการใช้น้ำมันจากผลกระทบ COVID-19 และตลาดน้ำมันแบบ Contango ทำให้มีความต้องการกักเก็บน้ำมันทางเรือเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากรายงานของ IEA การเก็บน้ำมันในเรือ (floating storage) ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 22.9 mb (0.7 mb/d) มาที่ 103.1 mb และจากยังมีความต้องการจากลูกค้า บริษัทอยู่ระหว่างการจัดหาเรือเพื่อเพิ่มกองเรือ ซึ่งบริษัทได้รับใบอนุญาตสำหรับที่จอดเรือเพิ่มแล้ว 1 ลำ
เรือขนส่งน้ำมันในประเทศได้รับผลกระทบบางส่วนจากน้ำมันอากาศยานที่ลดลง
ธุรกิจขนส่งในประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 จากน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่คิดเป็นสัดส่วน 20% ของปริมาณการขนส่งทั้งหมดตามการยกเลิกเที่ยวบิน โดยเฉพาะอย่าวยิ่งในเดือนเมษายน ทางบริษัทบริหารโดยการเพิ่มเส้นทางและหาฐานลูกค้าใหม่ในเส้นทางภาคกลาง เพื่อรักษาระดับการใช้เรือไว้ที่ 80-90%
คาดกำไรจากการดำเนินงานโต YoY และ QoQ
เราคาดกำไรจากการดำเนินงานของ PRM ใน 1Q20F จะเติบโต 31% YoY และ 19% QoQ มาที่ 297 ล้านบาท ซึ่งแรงหนุนหลักมาจากธุรกิจ FSU ตามจำนวนเรือที่เพิ่มขึ้นจาก 5 ลำมาเป็น 8 ลำ และอัตราการใช้เรือที่สูงต่อเนื่อง 100% ซึ่งมาช่วยชดเชยผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อธุรกิจเรือขนส่งในประเทศ จากปริมาณการขนส่งน้ำมันที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ใน 1Q20F บริษัทจะมีบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเนื่องจากมีเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งเราคาดไว้ที่ 85 ล้านบาท ดังนั้น เราคาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 212 ล้านบาท ลดลง 4% YoY และลดลง 21% QoQ
CAZ : แบ็กล็อกแตะ 2.8 พันล. รุกชิงงาน-ปั๊มรายได้โต 30%
CAZ มือขึ้นคว้า 2 โครงการ โรงงานเม็ดพลาสติก-ติดตั้งอุปกรณ์ มูลค่าเกือบ 135 ล้านบาท หนุนแบ็กล็อกแตะ 2.8 พันล้านบาท ส่งซิกมีลุ้นชิงงานใหม่เข้าพอร์ตเพิ่ม 5 พันล้านบาท คาดคว้าได้ 50-60% ปักหมุดรายได้ปี 63 โต 30% เชื่อ EEC หนุนงานก่อสร้างเพิ่ม (ทันหุ้น)
DOD : ผลงานครึ่งปีกระโดด ออเดอร์เจลพุ่งหลายเท่าตัว
DOD บอร์ดอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท จ่อจ่ายปันผลวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ พร้อมตอกย้ำออเดอร์เจลแอลกอฮอล์ 3 เดือนแรก ถึงปัจจุบันพุ่งกระฉูดหลายเท่าตัว มั่นใจหนุนรายได้ครึ่งปีแรกโตก้าวกระโดด (ทันหุ้น)
EA : เตรียมขายหุ้นกู้ 1.5 หมื่นล้าน ปรับโครงสร้างทางการเงิน-ลุยสร้างรง.แบตฯ
EA ผู้ถือหุ้น EA ไฟเขียวให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ใหม่ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ปรับโครงสร้างทางการเงิน-ขยายลงทุนโครงการใหม่ พร้อมอนุมัติซื้อหุ้น "แลนด์ พรอสเพอริตี้ โฮลดิง" 19% ลุยสร้างโรงงานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
(ข่าวหุ้น)
ILINK : บุ๊กกำไรค่าเงิน 60 ล้าน หนุนงบ Q1 ฟันกำไร 108 ล้าน โต 222%
ILINK บุ๊กกำไรอัตราแลกเปลี่ยนราว 60 ล้านบาท หนุนไตรมาส 1/63 ฟาดกำไรสุทธิ 108 ล้านบาท โตกระฉูด 222% และรายได้รวมอยู่ที่ 1,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% เหตุรายได้ธุรกิจวิศวกรรมพุ่ง 55% ส่วนไตรมาส 2/63 กำไรทรงตัว (ข่าวหุ้น)
MBKET : ชูกำไรพุ่ง 318% ค่านายหน้าทะลุ 507 ล.
MBKET โชว์ผลงานไตรมาสแรกพุ่ง 318.39% ที่ 134.68 ล้านบาท รายได้ค่านายหน้าเพิ่มขึ้น 51.27% ที่ 507.94 ล้านบาท จากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 66,901 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% สัดส่วนนักลงทุนบุคคลเพิ่มขึ้น 37.81% (ทันหุ้น)
PLE : สนลงทุนธุรกิจไฟฟ้า ชูเป้าคว้างานกว่าหมื่นล.
PLE ศึกษาลงทุนโรงไฟฟ้าหวังสร้างรายได้ประจำต่อเนื่องเผยธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกระทบเล็กน้อยจากโควิด-19 เดินหน้าลุยงานก่อสร้างดัน Backlog ที่มีกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทยอยส่งมอบปี 2563-64 ส่วนปีนี้หากสถานการณ์กลับมาปกติเตรียมเข้าประมูลงาน 3-4 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าคว้างานใหม่ที่ 1 หมื่นล้านบาท (ทันหุ้น)
Ifo เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีเดือนเม.ย.ทรุดแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีดิ่งลงสู่ระดับ 74.3 จุดในเดือนเม.ย. จากระดับ 85.9 ในเดือนมี.ค. ร่วงลงหนักกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 80.0 จุด สำหรับดัชนีการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มทางธุรกิจร่วงลงแตะ 69.4 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 79.5 ในเดือนมี.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 77.0 ด้านดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะทางธุรกิจในปัจจุบัน ดิ่งลงสู่ระดับ 79.5 จากระดับ 92.9 และต่ำกว่าระดับคาดการณ์ที่ 80.8 นายคลีเมนส์ ฟูสต์ ประธาน Ifo ระบุว่า ไม่เคยเห็นบริษัทในเยอรมนีมีมุมมองที่เป็นลบมากขนาดนี้มาก่อน ทั้งนี้ ผลสำรวจ Ifo มาจากการสำรวจบริษัทในภาคการผลิต ก่อสร้าง ค้าส่งและค้าปลีก รวมทั้งภาคบริการ ประมาณ 9,000 แห่งในแต่ละเดือน (อินโฟเควสท์)
จีนเผยอุตสาหกรรมเกมทำรายได้พุ่ง 25% ใน Q1 หลังปชช.กักตัวอยู่บ้านช่วงโควิด-19 ระบาด
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า อุตสาหกรรมเกมเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยรายได้ของตลาดเกมใจีนในไตรมาส 1 พุ่งขึ้น 25% เทียบรายไตรมาส สู่ระดับ 7.32 หมื่นล้านหยวน (1.034 หมื่นล้านดอลลาร์) ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้านช่วงโควิด-19 ระบาด โดยรายได้ของตลาดเกมมือถือปรับตัวขึ้น 46.25% เทียบรายปี แตะที่ 5.537 หมื่นล้านหยวน ด้านเกมอี-สปอร์ตได้รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเช่นกัน โดยยอดผู้ใช้งานทะยานแตะ 482 ล้านคน (อินโฟเควสท์)
รมว.เศรษฐกิจญี่ปุ่นมั่นใจมาตรการกระตุ้นรอบใหม่ช่วยหนุน GDP ขยายตัว 4.4%
นายยาซูโตชิ นิชิมูระ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น คาดว่าจะช่วยหนุนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงของญี่ปุ่นให้ขยายตัวราว 4.4% นายนิชิมูระยังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมหารือว่าควรจะตัดสินใจขยายเวลาการใช้มาตรการฉุกเฉินทั่วประเทศออกไปจนถึงวันที่ 6 พ.ค.หรือไม่ อย่างไรก็ดี นายนิชิมูระไม่ได้ระบุว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นเมื่อใด รายงานระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้เพิ่มวงเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มขอบข่ายการจัดสรรเงินสดให้กับประชาชน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นทรุดตัวลงอย่างหนัก
(อินโฟเควสท์)
อังกฤษเผยยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ทรุดหนักเป็นประวัติการณ์ จากมาตรการล็อกดาวน์สกัดโควิด-19
สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ร่วงลง 5.1% จากเดือนก.พ. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า อาจจะลดลง 4% และทำสถิติทรุดตัวลงหนักสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากมาตรการชัตดาวน์ที่รัฐบาลประกาศใช้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้ธุรกิจจำนวนมากในอังกฤษต้องปิดการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี ยอดค้าปลีกออนไลน์ทะยานขึ้น 22.3% เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์และคำสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน ทำให้ผู้บริโภคหันไปจับจ่ายซื้อสินค้าทางออนไลน์
(อินโฟเควสท์)
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web