- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 24 April 2020 15:38
- Hits: 1266
บล.เออีซี : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 24-4-2020
Market Outlook
- • วันนี้คาด SET Index แกว่งตัวขึ้นต่อ แต่ระวังแรงขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาด หลังวานนี้ตลาดตอบสนองเชิงบวกต่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ของสหรัฐฯ ที่ผ่านร่าง กม.จากทั้งสองสภาแล้ว บวกกับประเด็นราคาน้ำมันบวกขึ้นต่อเนื่องสองวันติดต่อกัน จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน แต่มีรายงานข่าวความล้มเหลวของการทดสอบยาRemdesivir ของ บ.Gilead ออกมาสร้างความผิดหวังให้แก่ตลาด ขณะที่ปัจจัยในประเทศหนุนด้วยประเด็นการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ได้ดีต่อเนื่อง นำไปสู่แผนผ่อนคลาย Lock down เพื่อเตรียมทยอยเปิดเศรษฐกิจ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว 1,255-1,280 จุด
- • Market Factor
- • (+) สัญญาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ส่งมอบเดือน มิ.ย. วานนี้ปรับขึ้นต่อ 19.7%DoD และ 4.7%DoD ตามลำดับ จากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังอิหร่านขู่ยิงเรือรบของสหรัฐฯ หากถูกคุกคาม
- • (-) ไฟแนนเชียลไทม์ มีรายงานข่าวจาก WHO เรื่องความล้มเหลวของการทดสอบยาต้านไวรัส COVID-19 ของบริษัท GILEAD ว่าไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ และมีผลค้างเคียงแบบมีนัยสำคัญ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าการรักษาแบบปกติ
- • (+) สภา ส.ส.ของสหรัฐฯ มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนการตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 ในวงเงิน 4.84 แสนล้านดอลลาร์ หลังโหวดผ่านสภาบนไปแล้วเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
- • (-) ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ 4.5 ล้านคน มากกว่าที่ตลาดคาดอยู่ที่ระดับ 4.4 ล้านคนซึ่งยังคงอยู่ในระดับมากกว่าปกติที่ระดับ 2-3 แสนคน จากผลกระทบของการปิดธุรกิจจำนวนมากเพื่อไม่ให้เชื้อไวรัส COVID-19 ระบาด แต่เริ่มชะลอตัวลงจากสองสัปดาห์ก่อนหน้า
- • (Watch) ติดตามตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ ตลาดคาดลดลง 12%YoY หากตัวเลขออกมาแย่กว่าที่คาดจะกระทบต่อSentimentของตลาด
- • (+) รมว.กระทรวงพลังงาน เผยหลังหารือรองนายกฯ นายสมคิด ในการประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) การยกเว้นการจัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำตามการใช้จริงเพื่อช่วยลดต้นทุนช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. ทั้งนี้อาจพิจารณาขยายต่อถึง ธ.ค.63 2) ผู้ประกอบการขอให้มีการผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้าให้กับภาคธุรกิจด้านบริการที่ได้รับผลกระทบฯ เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม 3) การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและใหญ่ (ประชาชาติธุรกิจ)
- • (-) ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.63 อยู่ที่ระดับ 88.0 (จากระดับ 90.2 เดือนก.พ.) ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 96.0 (จาก 98.1 เดือน ก.พ.) ต่ำสุดรอบ 10 ปี (อินโฟเควสท์)
- • (-) ส.อ.ท.รายงานตัวเลขยอดส่งออกรถยนต์เดือน มี.ค.63 อยู่ที่ 89,795 คัน ลดลง 23.71%YoY โดยยอดส่งออกลดลงทุกตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 49,112 ลบ. ลดลง 17.85%YoY ขณะที่การส่งออกรถยนต์ช่วง 1Q63 มียอดรวม 250,281 คัน ลดลง 16.53%YoY คิดเป็นมูลค่า 128,848 ลบ.ลดลง 13.90%YoY พร้อมประเมินหากสถานการณ์ COVID-19 ยืดเยื้อออกไปถึงเดือน ก.ย.63 อาจส่งผลกระทบต่อเป้าการผลิต การส่งออก และการขายรถยนต์ในปีนี้ปรับตัวลดลงถึง 50% แต่หากคลี่คลายภายในเดือน มิ.ย.63 จะส่งผลกระทบให้ปรับตัวลดลง 30% (อินโฟเควสท์)
- • รายงาน สธ.ประจำวันที่ 23 เม.ย.พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 13 ราย ยอดสะสมผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 2,839 ราย เสียชีวิต 50 ราย
- • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของไทยล่าสุดรุ่น 5 ปี อยู่ที่ 0.94% (+8.6%DoD) และรุ่น 10 ปี อยู่ที่ 1.29% (+2.9% DoD) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 0.60% (-2.1% DoD)
- • ปรับลดประมาณการ EPS โดยข้อมูลจาก Bloomberg Consensus พบว่าเมื่อต้นปี EPS ปี 63 ที่ 101.9 บ. ขณะที่ปัจจุบันเหลือ 75.1 บ. หรือลดลง 26.3%YTD
- • Update Flow เมื่อวานที่ผ่านมาต่างชาติขายสุทธิ 2,765.24 ลบ.ส่งผล MTD. ขายสุทธิอยู่ที่ 40,724.21 ลบ. ขณะที่ นลท.สถาบันซื้อสุทธิ 1,971.5 ลบ.MTD.ซื้อสุทธิรวมอยู่ที่ 19,544.47 ลบ.
Investment Strategy
สัปดาห์นี้เราประเมิน SET รีบาวด์ต่อเนื่อง หลัง Sentiment ทั้งใน และตปท. ได้ปัจจัยหนุน ดังนี้ 1) สถานการณ์ COVID-19 เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งในสหรัฐฯ ประเทศในยูโรโซนเริ่มเพิ่มในอัตราชะลอตัวลง รวมถึงไทยที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ทรงตัวในระดับต่ำ 2) การเดินหน้ามาตรการกระตุ้น และบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากบรรดาธนาคารกลาง และรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก 3) การเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังผ่านระยะคุมเข้ม Lockdown ก่อนหน้า 4) ปัจจัยในประเทศ มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับตามแผนการดูแลผู้ได้รับผลกระทบฯ และเสริมสภาพคล่องทั้งตลาดสารหนี้และทุน อย่างไรก็ดี ติดตามการรายงานผลประกอบการบริษัทฯ เริ่มด้วยกลุ่มธนาคารที่คาดออกมาอ่อนตัวเป็นปัจจัยกดดันการรรีบาวด์สัปดาห์นี้ เรามองกรอบการเทรดในสัปดาห์นี้ที่ 1,220-1,320 จุด แนะเลือกเก็งกำไรช่วงสั้นตาม Sentiment ตลาด พร้อมแนะนำหุ้นที่คาดมีผลประกอบการดีในหุ้น 2 กลุ่ม ดังนี้
- • หุ้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากแผนกระตุ้น ศก.และงานประมูลภาครัฐฯ: แนะนำหุ้นที่ได้ประโยชน์และมี Upside ได้แก่ TEAMG: (กำไรสุทธิ 4Q62 ทำได้ 35 ลบ.โต 67% YoY ด้วยความเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งมากประสบการณ์ของธุรกิจออกแบบ ควบคุมงานโครงการกว่า 42 ปี บ.มีศักยภาพสูงหนุนเดินหน้าคว้าโปรเจคใหม่ต่อเนื่อง ปี 63 คาด Backlog ทำ New High หนุนรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีจากนี้ มอง TEAMG น่าสนใจหลัง ปจบ.เทรดที่ PE ระดับ 15.5X (ขณะที่อุตสาหกรรมเทรดที่ระดับ 50.2X) ล่าสุดประกาศรับงานใหม่ในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.เพิ่มทั้งหมด 5 โครงการ เป็นงานจากภาครัฐทั้งหมดโดยแบ่งเป็นงานที่ปรึกษา 2 โครงการ และงานจัดหาติดตั้งเครื่องมือ 3 โครงการโดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 180วัน – 68เดือน รวมมูลค่างานที่ได้รับทั้งสิ้น 1.04 พันลบ.ขณะที่ความเสี่ยงภาระหนี้สินต่ำมาก โดยมีสัดส่วน Interest bearing debt/equity เพียง 0.04X นอกจากนี้ให้ Dividend Yield กว่า 6.5%), SEAFCO (กำไรสุทธิปี 62 อยู่ที่ 409 ลบ.เพิ่มขึ้น11.22%YoY ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 63 ทำ New High ปจบ.มี Backlog กว่า 2.7 พัน ลบ.บวกกับได้อานิสงส์บวกจากร่าง พรบ.งบประมาณฯ ที่ผ่านสภา และยังมี Upsideจากงานประมูลใหม่ จากโครงการลงทุนทั้งจากรัฐและเอกชน), CPALL (กำไรปกติ 4Q62 ที่ 6 พัน ลบ. โต 10%YoY, +8%QoQ จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทั้งจาก 7-11 และ MAKRO ตั้งเป้าเปิด 7-11 เพิ่มอีก 700 สาขาในปี 63 และมีสาขาครบ 13,000 สาขาภายในปี 64 (จาก 11,712 สาขา ณ สิ้นปี 62) ประเด็นประกาศเข้าลงทุนซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซีย มูลค่าลงทุนราว 1 แสน ลบ. ในสัดส่วนลงทุน 40% ติดตามการจัดหาแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อ โดยบริษัทแจ้งว่าใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดและเงินกู้ โดยยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ระยะยาวมองเป็นบวกจาก Synergy ที่เกิดขึ้น จะทำให้กลุ่ม CP มีทั้งค้าส่ง ค้าปลีก และสะดวกซื้อครบวงจร
- • กลุ่มที่คาดผลดำเนินงานมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง: เหมาะกับการทยอยซื้อสะสมโดยเน้นหุ้นที่กำไรทั้งปี 62 โตดีและปี 63 โตต่อ แนะนำ SABINA: รายงานผลประกอบการปี 62 ออกมาดี โดยกำไร 413.2 ลบ. เติบโต 14.3%YoY จากยอดขายที่โต 6.1%YoY และอัตราการทำกำรที่ดีขึ้น GPM 54.4% NPM 12.5% เทียบกับปีก่อนหน้าที่ 51.6%,11.7% ตามลำดับสาเหตุจาก 1) ปรับสัดส่วนการจ้างผลิตจากภายนอกเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งทั้งปี และ 2) การขายออนไลน์ประสบความสำเร็จดีมากขณะที่ปี 63 คาดเติบโตต่อเนื่องจากการเน้นการขายผ่านช่องทางค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้าน บวกกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 100 SKU และการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มเติม, SSP ช่วง 4Q62 กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 134.2 ลบ. โต 23.1%YoY คาดรายได้และกำไรปี 63 ทำ New high จากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าที่เวียดนามและมองโกเลีย ขนาดรวม 55 MW ซึ่ง COD ตั้งแต่ มี.ค. 62 และ ก.ค. 62 ตามลำดับ ขณะที่ 2H63 เริ่ม COD โครงการยามากะที่ญี่ปุ่นขนาด 30 MW. หนุนกำลังผลิตรวมทั้งปีกว่า 158 MW. ล่าสุด SSP ประกาศจ่ายปันผล 0.11 บ/หุ้น (Yield1.5%)
- • Trading Idea
- • กลุ่มบริโภคภายในประเทศ CPALL, BJC สองหุ้นค้าปลีกที่ได้ประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ และการเตรียมผ่อนคลายให้กิจกรรมทางเศรษกิจกลับมาเริ่มเปิดตามปกติได้ในระยะถัดไป จะทำให้การบริโภคเริ่มฟื้นตัว CPALL มีสาขาครอบคลุมผู้บริโภคทั่วประเทศจะได้ประโยชน์ทั้งจากร้าน7-11 และ MAKRO ขณะที่ BJC จะได้ประโยชน์จากBIGC และยอดขายของธุรกิจ Health care มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการระบาดของCOVID-19 ที่จะมีการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อโรคเข้ามาเป็นอีกปัจจัยในการดำรงชีวิตจนกว่าจะมีวัคซีนออกมาใช้อย่างเป็นทางการ รวมถึงธุรกิจ บรรจุภัณฑ์เริ่มฟื้นตัวจากปีก่อน
- • กลุ่มส่งออกไก่ : เก็งกำไร CPF TFG GFPT หนุนด้วย 1) ก.พาณิชย์รายงานยอดส่งออกไก่สด และแปรรูปเดือน มี.ค.63 และช่วง 1Q63 ที่ 320 และ 882 ล้านเหรียญฯ +7.5%YoY และ +7.2%YoY ตามลำดับ และมีโอกาสโตต่อใน 2Q63 โดยได้รับ อานิสงส์จากความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องของจีน และญี่ปุ่น รวมถึงความได้เปรียบด้านแจ่งขันหลังคู่แข่งสำคัญบราซิลเผชิญปัญหาCOVID19 กระทบการส่งออก 2)ค่าเงินบาทช่วง1Q63 อ่อนค่า 4%YoY และ8%YTD 3)ราคาขายไก่เฉลี่ยช่วง 1Q63 อยู่ที่ 34.5 บ/กก.ยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยปี 62 ที่ 33.7 บ/กก. และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักเช่นข้าวโพด และกากถั่วเหลืองยังทรงตัวในระดับต่ำ เป็นปัจจัยหนุนผลประกอบการ
23-Apr-20 Change (pts.) 22-Apr-20
SET Index 1,272.53 10.72 1,261.81
SET50 Index 854.09 5.28 848.81
SET100 Index 1,869.26 12.80 1,856.46
High 1,276.18 Gainers 778
Low 1,260.80 Unchanged 389
Value (Bt m) 69,265.94 Losers 514
Volume (*000) 14,621,344
Market Valuation
SET Data 2019F 2020F Long Term
Fwd PER (x) 16.9 14.1 14.1
EPS Growth (%) 13.9 9.3 -16.5
EV/EBITDA (x) 10.8 9.7 9.1
FWD PBV (x) 1.4 1.3 1.3
Dividend Yield (%) 3.3 3.6 4.0
ROE 7.4 8.2 8.6
Net Buy/Sell by Investor Types
Unit : M Bt 23-Apr-20 WTD MTD YTD
Institution 1,971.50 8,902.29 19,544.46 45,617.87
Proprietary (670.09) 1,029.81 3,798.20 (3,551.82)
Foreign (2,765.24) (13,453.59) (40,724.21) (156,079.12)
Individual 1,463.83 3,521.49 17,381.54 114,013.07
AECS ( Fundamental and Strategic Team )
ภัทรพล จันทร์อินทร์ (ID. 089932) [email protected]
ธีรยุทธ ฤทธิเผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ชัยรัตน์ คงสุนทร
สุวรรณา อัศวเหล่าวรพงศ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
Data Support / Secretary
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web