WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 24-4-2020May

Home Product Center (HMPRO) กำไรลดลงก่อนจะฟื้นตัวเมื่อเปิดสาขา

TP Revision

ประเด็นการลงทุน

เราประเมินกำไรสุทธิ 1Q63 ลดลง 22% YoY จากการปิดสาขาส่วนใหญ่ทำให้ SSSG คาดว่าลดลงเป็น -7% ผลประกอบการจะต่ำสุดใน 2Q63 เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2563-2564 ลง 39% และ 14% ราคาเป้าหมาย (DCF) ปรับลงจาก 17 บาท เป็น 16 บาท อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาที่ -1 SD ของ PE เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ขณะที่ HMPRO ยังมีฐานะการเงินและกระแสเงินสดแข็งแกร่ง รวมทั้งมีแนวโน้มฟื้นตัวสูงหลังการระบาดคลี่คลาย เราปรับคำแนะนำจาก Trading Buy มาเป็นทยอยซื้อ  

คาดกำไรสุทธิ 1Q63 ลดลง 22% YoY

SSSG ของโฮมโปรในช่วงเดือน ม.ค. ก.พ. อยู่ที่ -3% แต่การปิดสาขาส่วนใหญ่ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. จากการระบาดของโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลให้ SSSG ใน 1Q63 ลดลงมาที่ -7% (เทียบกับ +2.5% ใน 1Q62 และ -3.0% ใน 4Q62) อีกทั้งมีการเลื่อนงาน Home Pro Expo จากปกติที่จัดในเดือน มี.ค. เราจึงคาดว่ายอดขาย HMPRO ลดลง 8% YoY เป็น 14,140 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น 22.5% ตามยอดขายที่ลดลงและสัดส่วนสินค้า Private brand ที่คาดว่าลดลง โดยรวมแล้วคาดว่ากำไรสุทธิลดลง 36% QoQ และ 22% YoY เป็น 1,110 ล้านบาท

ผลประกอบการต่ำสุดใน 2Q63

แม้การขายสินค้าออนไลน์ของ HMPRO เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่สามารถชดเชยยอดขายที่ลดลงจากการปิดสาขามากกว่า 70 สาขา คิดเป็นประมาณ 80% ของสาขาในไทย และปิดสาขาทั้งหมด 6 แห่งในมาเลเซีย ขณะที่ยังคงมีค่าใช้จ่ายด้านพนักงานซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่คิดเป็น 35-40% ของค่าใช้จ่ายบริษัท

ปรับลดประมาณการสะท้อนการปิดสาขา แต่จะฟื้นตัวสูงในปีหน้า

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2563-2564 ลง 39% และ 14% ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐานการปิดสาขาในกรุงเทพฯและปริมณฑล (สัดส่วน 45% ของยอดขาย) ไปถึงสิ้น 2Q63 แต่มีการเปิดสาขาในบางจังหวัด คาดกำไรสุทธิปีนี้ลดลง 34% YoY เป็น 4,105 ล้านบาท แต่จะฟื้นตัว 52% YoY เป็น 6,242 ล้านบาทในปี 2564 จากการมีฐานลูกค้าหลักที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปซึ่งยังมีกำลังซื้อและพร้อมจะกลับมาใช้จ่ายเมื่อการระบาดคลี่คลาย HMPRO ยังมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง คาดอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.6 เท่าในปี 2563  

ความเสี่ยง:

การปิดสาขา เศรษฐกิจชะลอ สาขาที่มาเลเซียไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

Kiatnakin Bank (KKP TB) รายได้ตลาดทุน ช่วยลดผลกระทบคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง

ผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแบงก์ใหญ่ ซื้อ

เรายังคงประมาณการกำไรต่อหุ้นปี 2563 ของเราและคาดว่า KKP จะมีผลกระทบน้อยกว่าจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และค่าธรรมเนียม FDIF เนื่องจากดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ HP (44% ของสินเชื่อ) เป็นอัตราคงที่ ส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากตลาดทุนเทียบกับธนาคารอื่น ๆ คาดช่วยลดผลกระทบเชิงลบจากคุณภาพของสินทรัพยที่ลดลง คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 60 บาท (P/BV ปี 2563 ที่ 1.1 เท่า ROE 12.1%) ความเสี่ยงคือคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง และผลขาดทุนที่สูงเกินคาดจากยอดขายรถยนต์ที่ถูกยึดคืน

ค่าธรรมเนียมตลาดทุนและ NII ที่แข็งแกร่ง หนุนกำไรไตรมาส 1/63

กำไรที่แข็งแกร่งในไตรมาส 1/63 เป็นผลมาจาก NII ที่สูงขึ้นและค่าธรรมเนียมที่แข็งแกร่งจากตลาดทุน ตลาดทุนมีสัดส่วน 22% ของรายได้ แต่ 39% ของกำไรในไตรมาส 1/63 มาจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของค่านายหน้า ธุรกิจการลงทุนและค่าธรรมเนียม IB นอกจากนี้ KKP ยังบันทึกการด้อยค่าในครั้งเดียวจำนวน 665 ล้านบาทจากการตีราคาทรัพย์สินรอการขายและขาดทุน 439 ล้านบาทจากการขายรถยนต์ที่ยึดคืนในไตรมาส 1/63 ภายใต้มาตรฐาน TFRS9 KKP ยังมีสำรองหนี้สูญส่วนเกินที่ 1.8 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารมีแผนที่จะทยอยลดลงภายใน 5 ปีหรือ 94 ล้านบาทต่อไตรมาสจากปี 2563 ถึง 2567

คาด NPL และขาดทุนจากการขายรถยนต์ที่สูงขึ้น

เนื่องจากมีการระบาดของไวรัสและการปิดเมืองในช่วงปลายไตรมาส 1/63 เราคาดว่า NPLs และผลขาดทุนจากยอดขายรถยนต์ที่ยึดคืนจะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 2/63 โดยธนาคาระบุว่าอัตราขาดทุนจากการขายรถยนต์อยู่ที่ 38% ในไตรมาส 1/63 เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ 42% ในช่วงนโยบายรถยนต์คันแรก เราคาดว่าอัตราขาดทุนจะยังอยู่ในระดับสูงเนื่องจากสต็อกรถยนต์ที่ถูกยึดคืนมีจำนวนมากในขณะนี้และอาจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 4/63 หลังจากสิ้นสุดการพักชำระหนี้ระยะเวลา 3-6 เดือนสำหรับสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ทั้งนี้ KKP ไม่ได้ใช้มาตรการผ่อนปรนหนี้ของ ธปท. ในไตรมาส 1/63 ดังนั้นอัตราส่วน NPL จึงสะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่แท้จริง

NII จะลดลงจากการลดดอกเบี้ยในไตรมาส 2/63

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเปิดเผยว่าสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อ HP ระยะที่ 2 ต่อสินเชื่อรวมทรงตัว QoQ ที่ 10.9% ในไตรมาส 1/63 แต่เพิ่มขึ้น 90bp MoM จากเดือนก.พ. 63 โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ลดลงในสินเชื่อเช่าซื้อส่วนใหญ่มาจากการใช้มาตรฐาน TFRS9 ไม่ใช่คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น เงินให้สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 4% ของสินเชื่อรวม ซึ่งต่ำกว่าธนาคารใหญ่มาก เราคาดว่าเงินให้สินเชื่อแก่ผู้กู้ที่ขอเข้าโครงการบรรเทาหนี้จะมีถึง 20% ของสินเชื่อรวม ซึ่งสอดคล้องกับธนาคารอื่น หากรวมสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งจะกดดันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากไตรมาส 2/63 เป็นต้นไป

ผลประกอบการไตรมาส 1/63 ดีกว่าคาดจากการเติบโตของรายได้ คุณภาพสินทรัพย์ทรงตัว QoQ

KKP รายงานกำไรสุทธิ 1.5 พันล้านบาทในไตรมาส 1/63 เพิ่มขึ้น 21% YoY จาก NII ที่สูงขึ้น แต่ลดลง 12% QoQ จากผลขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์รอการขาย ผลประกอบการไตรมาส 1/63 คิดเป็น 30% ของประมาณการทั้งปีของเรา

                สินเชื่อขยายตัว 7.2% YoY และ 5.0% QoQ หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อธุรกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่ NIM เพิ่มขึ้น 38bp QoQ เป็น 4.62% เนื่องจากการคำนวณรายได้ดอกเบี้ยตามมาตรฐาน TFRS 9 ใช้วิธีดอกเบี้ยที่แท้จริงและการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจาก NPL รวมถึงค่าธรรมเนียม FIDF ที่ลดลง เป็นผลให้ NII เพิ่มขึ้น 16% YoY

                Non-NII เพิ่มขึ้น 48% YoY เนื่องจาก KKP บันทึกกำไรสุทธิ 459 ล้านบาทจากหนี้สินทางการเงินที่กำหนดตามมูลค่ายุติธรรมผ่าน P/L จากธุรกิจค้าหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ นอกจากนี้ KKP ยังมีการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่แข็งแกร่งจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (+68% YoY) และค่าธรรมเนียมการประกันผ่านธนาคาร (+11% YoY) โดย KKP ได้บันทึกค่าธรรมเนียม IB จำนวน 167 ล้านบาทในไตรมาส 1/63

                OPEX เพิ่มขึ้น 36% YoY จากการขาดทุนที่สูงขึ้นจากการขายรถยนต์ยึดคืนในปี 2562 ในแง่ลบ ผลขาดทุนจากการขายรถยนต์ยึดคืน (439 ล้านบาทในไตรมาส 1/63 เทียบกับ 296 ล้านบาท) นอกจากนี้ KKP ยังบันทึกการด้อยค่าเพิ่มเติมอีก 665 ล้านบาทจากการตีราคาสินทรัพย์รอการขายในไตรมาส 1/63

                อัตราส่วน NPL ลดลง 8bp QoQ เป็น 3.95% ในไตรมาส 1/63 ขณะที่ NPL coverage ลดลง 5bp QoQ เป็น 106% KKP บันทึกต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้น (รวมขาดทุนจากการขายรถยนต์ยึดคืน) ที่ 115bp เทียบกับ 136bp ในไตรมาส 1/62

                จากการปฏิบัติตาม TFRS9 KKP ยังมีสำรองหนี้สูญส่วนเกินที่ 1.8 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารมีแผนที่จะทยอยลดภายใน 5 ปีหรือ 94 ล้านบาทต่อไตรมาสจากปี 2563 ถึง 2567

Thailand Automotive ตัวเลขรถยนต์เดือน มี.ค. ทรุดลง Covid-19 ส่งผลกระทบหนัก

ประเด็นการลงทุน

ตัวเลขอุตสาหกรรมรถยนต์เดือน มี.ค. ทรุดลง แบ่งเป็น ยอดผลิตรถยนต์ ติดลบจากปีก่อนต่อเป็นเดือนที่สิบเอ็ด 146,812 คัน (-3%MoM, -26%YoY) ตลาดรถยนต์ในประเทศติดลบต่อเดือนที่สิบ 60,105 คัน (-12%MoM, -42%YoY) และ ยอดส่งออกลดลง 89,795 คัน (-6%MoM, -24%YoY) สำหรับตัวเลขสามเดือนแรก ปี 2563 ยอดผลิตรถยนต์ 453,6820 คัน ลดลงจากปีก่อน 19% ยอดขายในประเทศ 200,064 คัน ลดลง 24%YoY และ ยอดส่งออก 250,281 คัน ติดลบ 17%YoY สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ไปทั่วโลก กระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ อุตสาหกรรมรถยนต์อย่างหนัก เราปรับลดประมาณการยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ลงเหลือ 1.4 ล้านคัน ลดลง 30% ลดลงจากประมาณการเดิม 1.9 ล้านคัน ลดลง 5.6% เราให้น้ำหนักการลงทุนต่ำกว่าตลาด (NEGATIVE) แต่หุ้นที่เราศึกษาหลัก คือ AH, SAT, STANLY ปัจจุบันซื้อขายบน Valuation ที่ถูก ต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีอย่างมาก 0.3-0.6 เท่า โดยเฉพาะลงมาซื้อขายต่ำกว่าช่วงน้ำท่วมปี 2544 ถ้าสถานการณ์ Covid-19 ของโลกผ่อนคลายจะเป็นจังหวะเข้าซื้อลงทุน

ยอดผลิตรถยนต์ มี.ค. ทรุดลง 146,812 คัน (-3%MoM, -26%YoY)

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ประจำเดือน มี.ค. ทรุดลงเหลือ 146,812 คัน (-3%MoM, -26%YoY) เนื่องจากขายในประเทศและส่งออกลดลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมสามเดือนแรกของปี 2563 มียอดผลิตรถยนต์รวม 453,682 คัน ลดลงจากปีก่อน 19%

ตลาดรถยนต์ในประเทศ มี.ค. ดิ่งลง 60,105 คัน (-12%MoM, -42%YoY)

ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน มี.ค. ดิ่งลงเหลือ 60,105 คัน (-12%MoM, -42%YoY) จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึง งาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ปีนี้ได้เลื่อนออกไป เทียบกับปี 2562 มียอดจองจากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 40 กว่า 37,000 คัน ทำให้ฐานเดือน มี.ค. 2562 สูง รวมสามเดือนแรกของปี 2563 ตลาดรถยนต์ในประเทศมียอดขายรวม 200,064 คัน ลดลง 24%YoY

การส่งออกรถยนต์ มี.ค. ลดลง 89,795 คัน (-6%MoM, -24%YoY)

ยอดส่งออกรถยนต์เดือน มี.ค. ติดลบจากปีก่อนเหลือ 89,795 คัน (-6%MoM, -24%YoY) โดยยอดส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และยุโรป เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมสามเดือนแรกปี 2563 การส่งออกรถยนต์ 250,281 คัน ลดลง 17%YoY

ยอดผลิตรถยนต์ปีนี้มีแนวโน้มติดลบ 30-50%

ค่ายรถยนต์หลักของประเทศได้หยุดสายการผลิตชั่วคราวในเดือน เม.ย. นี้ สภาอุตสาหกรรมประเมิน ถ้าหากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ยืดเยื้อถึงเดือน มิ.ย. 2563 ยอดผลิตรถยนต์จะติดลบ 30% เหลือ 1.4 ล้านคัน แต่หากยืดเยื้อไปถึงเดือน ก.ย. 2563 ยอดผลิตรถยนต์จะติดลบ 50% เหลือ 1 ล้านคัน

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!