WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 21-4-2020FSS

กลยุทธ์วันนี้ >> Short-term Trading//Accumulate and DCA on Dip

 ตลาดหุ้นวานนี้ :  SET Index ปรับตัวขึ้นแรงกว่าที่เราและตลาดคาดโดยระหว่างวันทะลุแนวต้าน High เดิมบริเวณ 1,267 จุดขึ้นไปก่อนจะออ่อนตัวลงเล็กน้อยและปิดบวก 27.16 จุด ณ สิ้นวัน กลุ่มที่หนุนตลาดได้แก่พลังงาน ธนาคาร รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง AOT เป็นต้น สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิสูงต่อเนื่องอีก 4.8 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.8 พันลบ. (ต่างชาติ Short Index Futures เล็กน้อย ขณะที่สถาบัน Long 4.8 พันสัญญา)

 แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะแกว่งพักตัวในกรอบ 1,240-1,270 จุดพลังจากปรับตัวขึ้นแรงติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า กล่มพลังงานคาดว่าจะถ่วงตลาดหลังราคาน้ำมันดิบผันผวนหนักและร่วงแรง ทำให้คาดว่าจะมีแรงขายทำกำไรและเป็นกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นอันดับต้นๆในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ส่วนประเด็นที่ประคองตลาดและต้องติดตามคือตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ที่ชะลอทำให้หลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง อย่างไรก็ตามต้องติดตามว่าจะส่งผลให้ตัวเลขกลับมาพุ่งขึ้นหรือเกิด 2nd Wave หรือไม่ ส่วนผลประกอบการกลุ่มธนาคารโดยรวมไม่แย่อย่างที่ตลาดกังลเนื่องจากผลของมาตรฐานบัญชีใหม่และ COVID-19 ที่ยังกระทบไม่เต็มที่ แต่ฝั่ง Real Sector ที่จะทยอยประกาศตามหลังจะเห็นผลกระทบชัดเจนกว่า เราประเมินว่าดัชนียังมีโอกาสพักตัวระยะสั้นและเป็นจังหวะสะสมหุ้นหรือเก็งกำไรรอบใหม่

      กลยุทธ์ : รอทยอยสะสมและทำ DCA ในช่วงตลาดปรับฐานหลังทำกำไรไปแล้ว

      หุ้นเด่นเดือน เม.ย. :  BCH, BEM, CPALL, RBF, SFLEX

หุ้นเด่นวันนี้: IVL

      - แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 32  บาท

      - ความต้องการผลิตภัณฑ์ PET ผลิตภัณฑ์เส้นใย Hygiene และ personal care ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตและปริมาณขายสูงขึ้น

      - ขณะที่ต้นทุนน้ำมันต่ำ ทำให้สเปรดของ PET, PTA เพิ่มสูงขึ้น คาดกำไรปกติ 1Q20 ที่ 2 พันลบ. ดีสุดในกลุ่มปิโตรฯ แต่มี stock loss ทางบัญชี

      - รักษาสภาพคล่องโดยปรับให้เป็นเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น ลด CAPEX ปีนี้ราว $300 ล้าน ปัจจุบัน Net IBD/E ยังแข็งแรงที่ 1 เท่า

      - IVL จะขึ้น XD 23 เม.ย. จำนวน 0.175 บ/หุ้น (Yield 0.65%)

        Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนพลิกกลับมาไหลออกจากภูมิภาค US$472ล้าน โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$429ล้าน ส่วนไทยไหลออก US$56ล้าน มีเพียงไต้หวันที่มีเม็ดเงินไหลเข้า US$77ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะอยู่ในทิศทางไหลออก โดยนักลงทุนจับตาการทยอยผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ของหลายๆประเทศทั่วโลก ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ร่วงแรงกดดันบรรยากาศการลงทุน

ประเด็นสำคัญวันนี้

          (0) ราคาน้ำมันต่ำสุดในรอบ 21 ปี WTI ส่งมอบเดือน พ.ค. ร่วง 40% เหลือต่ำกว่า US$11/บาร์เรล ราคาถูกกดดันจากการที่คลังเก็บน้ำมันทั่วโลกปัจจุบันเกินระดับ 70% ใกล้เต็มความจุแล้ว หุ้นที่ได้อานิสงส์จากต้นทุนน้ำมันตกต่ำได้แก่ IVL, EPG, TASCO, PRM, กลุ่มวัสดุและรับเหมาก่อสร้าง และโรงไฟฟ้า

          (+) รมว.พลังงานจะเสนอมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าภาคครัวเรือนในช่วง 3 เดือน (มี.ค.-พ.ค.) เข้าครม.วันนี้ เม็ดเงินที่ใช้ดูแล กกพ. เป็นผู้บริหารจัดการ การบรรเทาภาระประชาชนช่วยให้ไม่กระทบกำลังซื้อมากไปกว่าที่เป็นอยู่ ส่งผลดีทางอ้อมต่อกลุ่มค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค และอาหาร นอกเหนือไปจากมีแรงเก็งกำไรกลับมาเปิดสถานที่ 

          (0) ผลประกอบการแบงก์ดีกว่าคาด ธนาคาร 4 แห่ง (SCB, KKP, TISCO, TMB) รายงานกำไรสุทธิ 1Q20 ที่ 16,382 ลบ. +54% Q-Q, +20% Y-Y ดีกว่าคาด 17% ส่วนใหญ่มาจากต้นทุนลดลงจากเงินนำส่ง FIDF ที่ลดลงจาก 0.46% เหลือ 0.23% รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่โตจากการขายประกันโควิด-19 ในช่วงที่สาขายังไม่ปิด NPL ที่ไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็นจากมาตรการธปท. ที่ให้ช่วยลูกหนี้ ขณะที่ผลของโควิด-19 ที่เกิดกับลูกหนี้ยังเห็นไม่เต็มที่ในไตรมาสนี้ กำไร 1Q20 ของ 4 ธนาคารคิดเป็น 31% ของคาดการณ์ทั้งปี แนวโน้ม 2Q20 จะลดลงเพราะถูกกระทบจากโควิด-19 และการปิดสาขาแบงก์เต็มที่ ถูกกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ และ NPL จะเพิ่มขึ้น แม้ว่าหุ้นแบงก์แบงก์ปัจจุบันจะเทรดที่ PBV 0.5 เท่าแต่ story การฟื้นตัวจะช้ากว่ากลุ่มอื่น ยังไม่แนะนำหุ้นแบงก์ใหญ่ แนะนำเพียง TISCO เพราะปันผล 7.75 บ/หุ้น Yield 9.5% XD 27 เม.ย.  

          (-) ZEN ถูกกระทบจาก COVID-19 หนัก เราคาด 1Q20 พลิกเป็นขาดทุนราว 30 ลบ. จาก 4Q19 ที่มีกำไร 19 ลบ. และ 1Q19 ที่กำไร 32 ลบ. เพราะ SSSG น่าจะหดตัวสูง -23% Y-Y และปิดสาขา 40% ของสาขาทั้งหมดตั้งแต่ 23 มี.ค. ที่เหลือ 60% (ราว 100 สาขา) เปิดให้บริการซื้อกลับบ้านและ Delivery เท่านั้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าเช่าและเงินเดือน) ยังลดไม่ทัน เดือน เม.ย. ยิ่งหนัก ยอดขายเหลือเพียง 50-60 ลบ. (ก่อนโควิด-19 ขายได้ 260-270 ลบ./เดือน) ต้องติดตามว่าจะกลับมาเปิดสาขา 1 พ.ค. ได้หรือไม่ เราอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ ปกติธุรกิจร้านอาหารเทรดที่ PBV 2-3 เท่า ปัจจุบัน ZEN เทรดที่ PBV 2.2 เท่า ไม่ถูกและเสี่ยงสูงหากฟื้นช้ากว่าคาด ซื้ออ่อน

          (-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 592.05 จุด ปิดที่ 23,650.44 จุด แม้มีปัจจัยบวกจากรายงานว่าทำเนียบขาวและสภาคองเกรสใกล้บรรลุข้อตกลงในการปล่อยสินเชื่อรอบที่ 2 ให้กับธุรกิจรายย่อย รวมถึงรัฐบาลหลายประเทศเตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ อย่างไรก็ตาม ถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับลงติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายสัญญาน้ำมันในตลาด NYMEX

          (+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก หนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ หลังจากมีข่าวว่าบริษัทโนวาร์ติสของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ให้ทดลองยา hydroxychloroquine ซึ่งเป็นยารักษาโรคมาลาเรียในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

          (-) ตลาดเอเชียปรับลง ถูกกดดันจากการปรับลงแรงของราคาน้ำมันดิบ ขณะที่ติดตามธนาคารกลางออสเตรเลียเปิดเผยรายงานการประชุมเช้านี้ เวลา 8.30 น. ตามเวลาไทย

          (-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.56 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

          (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 55.90 ดอลลาร์ หรือ 306% ปิดที่ -37.63 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับลงสู่ระดับติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายสัญญาน้ำมันในตลาด NYMEX ท่ามกลางความกังวลว่ามาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลทั่วโลกใช้จะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง รวมถึงคลังน้ำมันของสหรัฐกำลังกักเก็บน้ำมันใกล้เต็มความจุ ท่ามกลางภาวะน้ำมันล้นตลาด ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เดือนพ.ค.จะครบกำหนดส่งมอบในวันที่ 21 เม.ย.

          (+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.73% ปิดที่ 1,711.2 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังตลาดดาวโจนส์และราคาน้ำมันดิบปรับลง   SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1029.59 / +7.9

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

17-24 เม.ย.   - ไทย: ผลประกอบการกลุ่มแบงก์

21 เม.ย.    - ยูโรโซน: Zew survey expectations (เม.ย.)

              - สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (มี.ค.)

22 เม.ย.    - ไทย: ส่งออก-นำเข้า (มี.ค.)

23 เม.ย.    - เกาหลีใต้: 1Q20 GDP

              - สหรัฐ: Markit US Manufacturing PMI (เม.ย.)

              - ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (เม.ย.)

27 เม.ย.    - ฮ่องกง: ส่งออก-นำเข้า (มี.ค.)

 Contact person : Jitra  Amornthum  Register : 014530

 Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077

www.fnsyrus.com

 FB: Finansia Syrus Research

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!