- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 16 April 2020 13:47
- Hits: 3275
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 16-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน
ภาพรวมของ SET Index มีโอกาสปรับฐานระยะสั้นจากแรงกดดันของตัวเลขเศรษฐกิจ และผลประกอบการที่ชะลอตัว แต่ความคาดหวังเชิงบวกว่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลบวกต่อหุ้นในบางอุตสาหกรรม เช่น ศูนย๋การค้า อาหาร บันเทิง Top Picks เลือก DCC (FV@B 2.28) จากจุดเด่นเรื่องเงินปันผลและกำไรที่โตสวนเศรษฐกิจ DOHOME (FV@B 7.90) ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเข้าคำนวณใน SET100 ในรอบที่จะถึง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนตลอดวันทั้งแดนบวกและลบ โดย SET Index ปรับตัวขึ้นกว่า 30% จากจุดต่ำสุด ณ 13 มี.ค.63 จึงทำให้เห็นแรงขายทำกำไรของนักลงทุนออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งประเด็นกดดันมาจากการปรับลด GDP Growth ปี 2563 ของ IMF ลงจากผลกระทบของ COVID-19 จนทำให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคย่อตัวเป็นส่วนมากเช่นเดียวกันตลาดหุ้นไทยปิดในแดนลบที่ระดับ 1,236.10 จุด ลดลง 20.25 จุด หรือ -1.61% มูลค่าการซื้อขาย 6.94 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-1.39%) PTTEP(-2.80%) GULF(-0.29%) GPSC(-2.32%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-1.54%) CRC(-3.79%) COM7(-6.28%) และกลุ่มขนส่ง อาทิ AOT(-2.67%) BEM(-4.30%) BTS(-3.51%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BDMS(-3.72%) CPF(-3.74%) และ AWC(-5.35%) เป็นต้น
ผลกระทบจาก Covid-19 ต่อภาพรวมเศรษฐกิจถูกสะท้อนภาพออกมาชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเศรษฐกิจ รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ และในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการประกาศ GDP Growth งวด 1Q63 ของจีนที่ถูกคาดหมายว่าจะหดตัวมากกว่า 6% ในส่วนของบ้านเรา ผลประกอบการงวด 1Q63 จะเริ่มทยอยประกาศออกมาตั้งแต่ สัปดาห์หน้า เริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าภาพรวมของกำไรบริษัทจดทะเบียนน่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคํญ โดยอาจเห็นตัวเลขรวมไม่ถึง 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามยังมีความคาดหวังเชิงบวกในเรื่องของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่รัฐบาลประกาศออกมา โดยจากการติดตามข้อมูล คาดว่า พ.ร.ก. ที่เกี่ยวข้องทั้วง 3 ฉบับ (ของกระทรวงการคลัง 1 ฉบับ และ ธปท. 2 ฉบับ) จะสามารถประกาศใช้ได้ในช่วงปลายเดือน เม.ย.63 หรือ อย่างช้า ต้นเดือน พ.ค. 63 ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เห็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ส่วนในเรื่องของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ปัจจุบันหลายฝ่ายเสนอให้ผ่อนคลายลง เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าน่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์หน้า โดยพิจารณาจากท่าทีของ ครม. ในวันอังคารที่ 21 เม.ย.63 ว่าจะมีการพิจาณาต่ออายุการใข้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ หากไม่มีการต่อก็จะถือเป็นการส่งสัญญาณเรื่องการผ่อนคลายมาตาการ ทั้งนี้ หากมีการผ่อนคลายมาตาการในการควบคุมการแพร่ระบาด ก็เชื่อว่าน่าจะทำให้หุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ตอบสนองเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้า กลุ่มอาหาร กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมถึงกลุ่มบันเทิง ซึ่งฝ่ายวิจัยทำการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อรองรับกรณีดังกล่าวไว้แล้ว วันนี้จึงยังไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุนเพิ่มเติม สำหรับหุ้น Top Picks เลือก DOHOME ซึ่งมีความโดดเด่นในหลายมิติ และบังเป็นหุ้นที่คาดหมายว่าน่าจะถูกนำเข้าคำนวนใน SET100 ในรอบที่จะถึงนี้ อีกบริษัทได้แก่ DCC ซึ่งให้ Dividend Yield สูง และผลประกอบการยังเติบโตสวนเศรษฐกิจ
ตัวเลขเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีน รวมถึงทั่วโลก ย่ำแย่หวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วย
Fund Flow มีแนวโน้มไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง สังเกตได้จากตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลง เช่น ดัชนี Dow Jones ลดลง 1.9% S&P 500 ลดลง 2.2% และ NASDAQ ลดลง 1.4% โดยตลาดหุ้นสหรัฐยังได้รับแรงกดดันจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาณชะลอตัว ล่าสุด คือ ยอดค้าปลีก (Retail Sale) เดือน มี.ค. 2563 หดตัว 8.7%mom (แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) สอดคล้องกับผลผลิตอุตสหากรรม (Industrial Production) เดือนเดียวกัน หดตัว 5.4%mom (แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์)
การรายงานผลประกอบการงวด 1Q63 ในสหรัฐ เมื่อวานนี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กำไรปรับลดลงเฉลี่ย 40% เช่น Goldman Sach, Citigroup, Bank of America เป็นต้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลงเช่นกัน (ราคาน้ำมัน WTI ลดลง 1.2%, Brent ลดลง 6.4%) จากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกข้างต้น ประกอบทางฝั่ง Supply วานนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 12 จำนวน 19.25 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 11.68 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สถานการณ์ไวรัส COVID-19 จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก ล่าสุดรวมกันเกิน 2 ล้านรายแล้ว โดยวานนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 76,130 ราย ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกอยู่ที่ 2,069,410 ราย โดยสหรัฐมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลกอยู่ที่ 636,350 ราย (เพิ่มขึ้น 27,110 ราย ), สเปนมีผู้ติดเชื้อ 177,644ราย (เพิ่มขึ้น 3,584 ราย), อิตาลีมีผู้ติดเชื้อ 165,155 ราย (เพิ่มขึ้น 2,667 ราย), เยอรมนีมีผู้ติดเชื้อ 134,753 ราย (เพิ่มขึ้น 2,543 ราย) เป็นต้น
วันพรุ่งนี้ ให้น้ำหนักการรายงาน GDP Growth ของจีนงวด 1Q63 ซึ่งตลาดคาดว่าจะหดตัว 6.5%yoy จากงวด 4Q63 ที่ขยายตัว 6% สาเหตุสำคัญมาจากจีนเผชิญการระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี แม้ว่า GDP Growth จีนงวด 1Q63 อาจจะดูสวนทางกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบางตัวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง เช่น ดัชนี PMI (ดังรูป) แต่ทว่าการฟื้นตัวอาจไม่หนักแน่นเพียงพอ เพราะเป็นการฟื้นตัวมาเพียง 1 เดือนเท่านั้น ทำให้ทิศทางของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจีน ยังเป็นประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักต่อไป ทั้งนี้ภายใต้สภาวะแวดล้อมดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะที่ต้องการใข้ มาตการกระตุ้น – ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่รุนแรงเข้ามาช่วยลดผลกระทบ
คาด พ.ร.ก. 3ฉบับประกาศใช้ ปลาย เม.ย.63 จุดเริ่มต้นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ
ตลาดหุ้นไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุน ASPS เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนัก 2 ประเด็น หลักๆ คือ Timeline ของรัฐบาลที่จะมีผลใช้มาตรการพยุงเศรษฐกิจเฟส 3 ซึ่งดำเนินการผ่านการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ (กระทรวการคลัง 1 และ ธปท. 2 ฉบับ) อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องแนวทางในการควบคุมการระบาดของ Covid-19 ซึ่งพิจารณาผ่าน พรก. ฉุกเฉินฯ ซึ่งต้องติดตามแนวโน้มต่อไป ดังนี้
Timeline พ.ร.ก.พยุงเศรษฐกิจ 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านราว 10% ของ GDP หลักๆคือ 1.) พ.ร.ก.กู้เงินวงเงิน 1 ล้านล้านบาทของกระทรวงการคลัง (รัฐกำลังพิจารณาจะออกพันธบัตร หรือกู้เงินจากแหล่งใด) และอีก 2 ฉบับของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พ.ร.ก.ให้อำนาจ ธปท. ออก Soft Loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท และพ.ร.ก.ตั้งกองทุนรวม (BSF) ดูแลเสถียรภาพภาคการเงินวงเงิน 4 แสนล้านบาท รายละเอียดดังที่เคยนำเสนอใน Market talk วันที่ 8 เม.ย. โดยทั้ง 3 ฉบับได้ผ่าน ครม.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ และคาดจะมีผลราวสิ้นเดือน เม.ย.หรือ ต้น เดือน พ.ค.2563 ASPS ประเมินว่า จุดเริ่มต้นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ และพยุงไม่ให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 ติดลบมาก
แนวคิดเรื่องผ่อนคลายมาตรการมีมากขึ้น ขั้นแรก ลุ้นต่อหรือไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สัปดาห์หน้า
อีกประเด็นสำคัญ คือ กระแสแนวคิดจากภาคเอกชนและรัฐบาลเรื่องผ่อนคลายมาตรการการควบคุมีน้ำหนักมากขึ้น โดยให้น้ำหนัก สัปดาห์หน้า วันที่ 21 เม.ย. จะเป็นวันที่ รัฐบาลพิจารณา ต่อหรือไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ รวมถึงพิจารณาว่าจะอนุญาตให้สถานประกอบการต่าง ๆ กลับมาเปิดร้านได้ตามปกติหรือไม่ หากมีการผ่อนคลายจริง ASPS ประเมินว่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย และหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อาทิ ห้างสรรพสินค้า และปรับฐฐานมาแรงมในช่วงก่อนหน้า
ซึ่งตั้งแต่ 26 มี.ค.-30 เม.ย. มีการเคอร์ฟิวห้ามประชาชนออกจากบ้านช่วง 4 ทุ่ม ตี 4 โดยล่าสุด สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ในไทยเห็นสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่อง พิจารณาจาก 1.)ผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ล่าสุด วานนี้เพิ่มขึ้น 30 ราย ต่ำกว่า 50 รายติดต่อกัน 5 วัน 2.) จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเทียบกับจำนวนผู้รักษาหายต่อวัน พบว่าจำนวนผู้รักษาหายต่อวันเพิ่มขึ้นสูง (ดังรูป)
GULF ประกาศแตกพาร์วันแรกจะเป็นอย่างไร?
GULF ประกาศเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 5 บาท/หุ้น เหลือ 1 บาท/หุ้น (ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น 5 เท่า และราคาปิดวานนี้เปลี่ยนแปลงจาก 174.5 บาท เหลือ 34.9 บาท) การแตกพาร์ดังกล่าว แม้ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อผลประกอบการ หรือ Valuation แต่ถือเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี บวกกับยังช่วยผู้ลงทุนบริหารจัดการพอร์ตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตามราคาหุ้น GULF มีความเสี่ยงชั่วคราว ที่จะทำให้ราคาอ่อนตัวลงอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ
1.มีนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรก่อนการแตกพาร์เป็นจำนวนมาก สะท้อนได้จาก 2 ส่วน คือ
1.1 มูลค่าซื้อขายช่วงก่อนแตกพาร์กลับสูงผิดปกติ คือ มูลค่าซื้อขายของหุ้น GULF ก่อนการแตกพาร์ โดยเฉพาะช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา สูงถึง 5.6 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป้นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่ GULF เข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ตั้งแต่ปลายปี 2560
1.2 ราคาหุ้น GULF Outperform ตลาดมากช่วงก่อนการแตกพาร์ เป็นการตอกย้ำชัดเจนขึ้น หากเปรียบเทียบผลตอบแทน GULF นับตั้งแต่มีข่าวว่าจะแตกพาร์ถึงปัจจุบัน (24 ก.พ. – 15 เม.ย. 63) พบว่า ปรับตัวลงเพียง 4% เท่านั้น ขณะที่ SET Index ลดลงถึง 17.3% ทำให้มีโอกาสถูกขายทำกำไรบ้าง หลังจากแตกพาร์
2.หุ้นส่วนใหญ่มักย่อตัวลงหลังแตกพาร์ ซึ่งจากสถิติในอดีต บ่งชี้ว่า ราคาหุ้นหลังจากแตกพาร์ มักย่อตัวเสมอ เฉลี่ยลดลงราว 1% ในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังแตกพาร์
สรุปคือ หุ้นโรงไฟฟ้ามักจะเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนในยามที่ตลาดผันผวน หนึ่งในนั้น คือ GULF ซึ่งมีพื้นฐานที่น่าสนใจ จากทิศทางกำไร 8 ปีข้างหน้า (2563-70) คาดเติบโตทำ New High ทุกปีเฉลี่ยต่อปี 20% (CAGR) จากการรับรู้กำลังการผลิตในมือที่รอทยอย COD อีกกว่า 5,080 MWe จากทั้งหมดที่มี 7,781 MWe (COD ไปแล้ว 2,701 MWe) แต่ราคามีโอกาสย่อตัว จากการเข้ามาเก็งกำไรก่อนการแตกพาร์ ดังนั้นแนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะเข้าซื้อ เมื่อราคาอ่อนตัวจะปลอดภัยกว่า
DOHOME หุ้นเด่น Exit Strategy เตรียมตบเท้าเข้าดัชนี SET100
- มี Free Float อยู่ที่ 28.05% (เกณฑ์ > 20%)
- มีสภาพคล่อง หรือมูลค่าซื้อขายต่อเดือนสูงมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตลาดกำหนดทุกเดือนตั้งแต่เข้าตลาดมา (เกณฑ์ Turnover ต่อเดือน > 5%)
- ระยะเวลาในการเข้ามาซื้อขายในตลาด 9 เดือน (เกณฑ์ >= 6 เดือน)
- ล่าสุดมีอันดับ Market Cap สูงเป็นอันดับที่ 92 เมื่อเทียบกับหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET100 ณ ปัจจุบัน (หุ้นที่ผ่านเกณฑืทั้งหมดต้องมี Market Cap เฉลี่ย 3 เดือน มี.ค. – พ.ค. 63 อยู่ใน 100 ลำดับแรก)
กลยุทธ์ยังคงเน้นหุ้น Modern Trade Valuation เด่น ชอบ DCC DOHOME
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web