- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 15 April 2020 14:21
- Hits: 3648
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 15-4-2020
กลยุทธ์การลงทุน
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศเริ่มผ่อนคลาย ขณะที่แรงกดดันให้รัฐพิจารณาเพิ่ม กิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีมากขึ้น เป็นไปได้ที่จะเห็นการผ่อนคลายมาตรการในการควบคุมบางประการลง ซึ่งอาจเป็นผลดีกับผู้ประกอบการศูนย์การค้า แนะนำปรับพอร์ต โดยขายทำกำไร DIF, BGRIM และ INTUCH และให้นำเงินลงทุนใน DOHOME และ SF หุ้น Top Picks เลือก DCC (FV@B 2.28), DOHOME (FV@B 7.90) และ SF (FV@B 8)… สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนในแดนบวกตลอดวันตามตลาดหุ้นในภูมิภาค จากการรายงานเรื่องการแพร่ระบาด COVID-19 ในหลายประเทศ ซึ่งพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอัตรชะลอลง จนทำให้ SET Index ปิดในแดนบวกที่ระดับ 1,256.35 จุด เพิ่มขึ้น 19.57 จุด หรือ +1.58% มูลค่าการซื้อขาย 7.64 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มธ.พ.ได้แก่ BBL(+6.88%) SCB(+3.60%) KBANK(+3.95%) กลุ่มการแพทย์เช่น BDMS(+5.91%) BCH(+6.11%) BH(+6.87%)และกลุ่มอาหาร อาทิ CPF(+3.88%) MINT(+9.95%) CBG(+1.74%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น AOT(+0.90%) PTT(+0.70%) และ BTS(+4.59%) เป็นต้น
ความเห็นต่างในเรื่องคาดการณ์ GDP Growth ของไทยปี 2563 มีมากขึ้น โดยล่าสุด IMF คาดว่าจะเห็นการติดลบประมาณ 6% ขณะที่ S&P คาดว่าจะติดลบเพียง 2.5% เช่นเดียวกับหลายค่ายในประเทศที่มีความแตกต่างในเชิงตัวเลขคาดการณ์มาก ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเห็นว่าข้อแตกต่างของความเห็นสำคัญประการหนึ่งได้แก่ แรงหนุนที่มาจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มีมูลค่าราว 2 ล้านล้านบาท ว่าจะมีส่วนช่วยบรรเทาการหดตัวของเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ในความเห็นของฝ่ายวิจัยเชื่อว่าน่าจะมีส่วนช่วยอย่างมีนัยสำคัญ จึงคาดการณ์ว่า GDP Growth ปี 2563 น่าจะติดลบเพียง 1.4%
ทั้งนี้ยังจะต้องติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์เฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจตามมาตรการฟื้นฟู ว่าจะทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด สำหรับ Fund Flow ที่จะเข้ามาขับเคลื่อน SET Index ในช่วงเวลานี้น่าจะมีเพียงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนในประเทศ ซึ่งด้วยข้อจำกัดอาจส่งผลทำให้เห็นแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะๆ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงเวลานี้ ฝ่ายวิจัยให้ความสำคํญกับ 2 มุมมอง โดยมุมมองแรกที่ได้นำเสนอออไปแล้ว เป็นการคัดกรองหุ้นที่เห็นว่าราคาปรับตัวลดลงไปมาก ขณะที่การดีดตัวกลับยังเกิดขึ้นน้อยกว่าตลาดมาก อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่พื้นฐานแข็งแรง และให้ Dividend Yield ที่น่าสนใจ ซึ่งได้นำเสนอหุ้น DCC, LH และ RS ส่วนอีกมุมมองหนึ่ง เป็นหุ้นที่ฝ่ายวิจัยเห็นว่าน่าจะได้ประโยชน์หากเห็นการผ่อนคลายมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในประเทศ เพราะจากการติดตามสถานการณ์ในปัจจุบัน เห็นว่าระดับความตึงเครียดในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการที่ต้องหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และอาจทำให้เพิ่มโอกาสที่จะเห็นการผ่อนคลายมาตรการตามมาในระยะต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นฝ่ายวิจัยให้ความสนใจกับหุ้นในกลุ่มผู้ประกอบการ ศูนย์ฯการค้า ซึ่งหากนำไปพิจารณาประกอบกับ รูปแบบการดีดตัวกลับของราคาหุ้นที่ยังไม่รุนแรงแล้ว พบว่าหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ SF และ DOHOME ดังนั้นในวันนี้ ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำให้ปรับพอร์ต โดยการขายทำกำไรหุ้น 3 บริษัทได้แก่ DIF, BGRIM และ INTUCH ออกอย่างละ 5% ของพอร์ตการลงทุนและให้นำเงินไปลงทุนใน SF 5% และ DOHOME 10% ส่วนหุ้น Top Picks เลือก DCC, DOHOME และ SF
IMF ปรับลด GDP Growth โลก ปี 2563 เหลือ 3% และคาด +5.8% ปี 2564
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ปรับลด GDP Growth โลกปี 2563 ลงเป็น -3%yoyจากเดิมรอบ ก.พ. 2563 คาด 3.2% และปี 2564 กลับมาขยายตัว 5.8% ภายใต้สมมติฐานสำคัญคือ การระบาดของไวรัส COVID-19 จะคลี่คลายลงในช่วง 2Q63 และมาตรการควบคุมการระบาดต่างๆจะเริ่มค่อยผ่อนคลายลง
ASPS ตั้งข้อสังเกตุเห็นประเด็นสำคัญจากการรายงาน IMF ดังนี้ คือ
World GDP ปี 2563 ถือว่าติดลบมากที่สุดนับตั้งแต่ (นับเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2473 ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) เหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศ IMF ปรับลด GDP ปี 2563 ลงแรงเมื่อเทียบจากคาดการณ์รอบที่แล้ว ก.พ. 63 และประเทศทั้งหมดราว 73% GDP ปี 2563 GDP พลิกกลับมาติดลบ(-) ขณะที่ประเทศที่เหลืออีก 27% GDP ปี 2563 ยังขยายตัว(+)
เศรษฐกิจปี 2563 ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว GDP ติดลบมากกว่า ฝั่งประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากฝั่งประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่ปีนี้ยังขยายตัวได้ คือหลักๆ คือ จีนยังขยายตัว 1.2% อินเดีย + 1.9% และกลุ่มประเทศ TIPS อาทิ อินโดนีเซีย +0.5%, ฟิลิปปินส์ +0.6%
หากเทียบเฉพาะในประเทศกลุ่ม พบว่า IMF ประเมินเศรษฐกิจปี 2563 ไทย เป็นประเทศที่ติดลบมากที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่ม ,อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์คาดขยายตัว + ได้ เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งส่งออก และท่องเที่ยวในสัดส่วนรวมกันเกิน 70%ของ GDP สูงกว่าเพื่อนบ้านรวมถึงไทยปีนี้เผชิญภัยแล้งหนักสุดในรอบ 40 ปี กระทบการบริโภคครัวเรือนสัดส่วนราว 50% ของ GDP ปี 2564 จะเป็นปีที่ทั่วโลกจะพลิกกลับมาขยายตัวแรงอีกครั้ง จากฐานที่ต่ำในปี 2563
S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือ คาด GDP Growth ปี 63 ที่ -2.5% อยู่กรอบใกล้เคียงกับ ASPS คาด
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ที่แพร่ระบาด ทำให้สถาบันเศรษฐกิจมองไปในทิศทางเดียวกันคือ จะเข้าสู่ภาวะ Recession และ GDP จะพลิกกลับมาติดลบ โดยคาด GDP ติดลบตั้งแต่ ไตรมาส 1 และไตรมาส 2 คาดเป็นไตรมาสต่ำสุด และคาดจะกลับค่อยๆดีขึ้นในงวดไตรมาส 3 เป็นต้นไป
ดังที่กล่าวข้างต้น คือ IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2563 -6.7%yoy สอดคล้องกับล่าสุด คือ เมื่อวานนี้ สถาบันจัดอันดับเครดิตเรทติ้ง S&P ได้ปรับ GDP ไทยลดลงมาเหลือ -2.5% ปรับมุมมอง (Outlook) ของไทยลงเป็นคงที่(Stable) จากเดิมที่มีมุมมองเป็นบวก (Positive) แต่ยังคงระดับ Credit Rating ไว้ที่ BBB+ ตามเดิม เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 และความไม่แน่นอนทางการเมืองกดดันเศรษฐกิจไทย
หุ้นสื่อสารเผชิญแรงกดดันจากมาตรการขอให้ลดค่าบริการ 10%-30%
วันนี้ เลขาธิการ กสทช. มีแผนที่จะเรียกผู้ประกอบการมือถือเจ้าหลักมาหารือเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโทรคมนาคมแก่ประชาชนในอัตรา 10%-30% โดยรวมคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อราคาหุ้นต่อ ADVANC, DTAC และTRUE วันนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าบทสรุปมาตรการช่วยเหลือไม่น่าจะออกมาในรูปแบบให้ส่วนลดในอัตราสูงตามกระแสข่าว หากพิจารณาจาก
1) ฐานค่าบริการโทรคมนาคมของไทยปัจจุบันค่อนข้างถูกมากอยู่แล้ว โดยหากเปรียบเทียบในอาเซียน ค่าโทรและค่าอินเตอร์เนตไทยถูกเป็นลำดับที่ 2 และลำดับที่ 4 และ
2) แนวทางรัฐฯในการปรับลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ไม่ได้ปรับลดลงมาก กล่าวคือ ในส่วนค่าไฟฟ้า และค่าน้ำ รัฐฯปรับลดลงเพียง 3% และให้ส่วนลดระยะสั้นเฉพาะช่วง 2Q63
จากการศึกษาผลกระทบของฝ่ายวิจัย พบว่า ทุกๆ ARPU ปี 2563 1% ที่ลดลงจากสมมติฐานปัจจุบัน จะกระทบกำไร ADVANC,DTAC ลดลงที่ 2.5%, 8.7% ส่วน TRUE ขาดทุนเพิ่มขึ้น 51% ตามลำดับ และจะกระทบ Fair Value ที่ 1, 0.5 และ 0.1 บาท ตามลำดับ จากมูลค่าพื้นฐานปัจจุบันที่ 248, 43 และ 3.8 บาท ทั้งนี้ ด้วยมุมมองคาดว่าการปรับลดจะไม่สูงเช่นเดียวกับสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่มีมาตรการออกมาแล้ว สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เชื่อว่าหากหุ้นปรับตัวลงแรงรับความกังวล เชื่อว่าเป็นโอกาสทยอยสะสม ภายใต้จุดเด่นกระทบจาก COVID-19 จำกัดกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยมี INTUCH (FV@B>82.5) และ ADVANC(FV@B>248) เป็น Top Picks ขณะที่สามารถเก็งกำไร DTAC(FV@B>43) หากราคาลดลงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานจนมี Upside เปิดได้ ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำให้รอความชัดเจนการเจรจาก่อนพิจารณาเข้าลงทุน
แนะสะสมหุ้น Modern Trade Valuation เด่น ชอบ SF DOHOME
กลยุทธ์การลงทุนยามนี้ แบ่งออกเป็น 2 ธีม คือ
หุ้น Modern Trade พื้นฐานแข็งแกร่ง ราคา Laggard กลุ่มฯ น่าสะสม แนะนำ
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web