- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 14 October 2014 16:43
- Hits: 1785
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ : DJIA -223.03, NASDAQ -62.58, S&P -31.39, FTSE +26.27, CAC +4.49 และ DAX +23.62 โดยดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯลดลงแรงต่อเนื่องติดต่อกัน 3 วัน จากความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งกระทบต่อหุ้นในกลุ่มขนส่ง ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน
......ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย หลังจากลดลงแรงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่หุ้นในกลุ่มสายการบินฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากการลดลงของราคาน้ำมันสำเร็จรูป
…..ราคาปิดน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ย. -US$0.08 อยู่ที่ US$85.74 ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการที่ซาอุไม่ปรับลดกำลังการผลิตและออกมาให้ข่าวว่าสามารถยอมรับกับราคาน้ำมันดิบที่ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้
....ทางด้านราคาทองคำ ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$8.3 อยู่ที่ US$1,230.0 ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,875 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ต้นปี -8,025 ล้านบาท (สิ้นปี’56 มียอดขายสุทธิสะสม 193,911 ลบ)
ทิศทางตลาด
ทิศทางตลาด : ยังถูกกดดันต่อเนื่องจากการลดลงของตลาดหุ้นต่างประเทศ? เราคาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับลดลงตามต่างประเทศ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงแรงเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน จากความกังวลเกี่ยวกับการภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป โดยตลาดยังคงจับตาดู ECB ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบาย QE ออกมาอีกหรือไม่? ในขณะที่นักลงทุนเริ่มมีความกังวลว่าหากวงเงิน QE ของสหรัฐฯ หมดลงในเดือนตุลาคม จะไม่มีปัจจัยมากระตุ้นการลงทุนในตลาด ประกอบกับตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสอีโบลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มขนส่ง
....ทางด้านปัจจัยในประเทศ ยังไม่มีประเด็นใหม่ โดยตลาดยังคงรอดูแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้มากน้อยแค่ไหน ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกยังไม่เห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจน ดังนั้นรัฐบาลจึงมุ่งเน้นที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
.....ประกอบกับการที่รัฐบาลและ คสช. ยังไม่ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก และการแพร่กระจายของไวรัสอีโบลาและภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่ซบเซามากกว่าคาด ส่งผลกระทบทำให้ฤดูท่องเที่ยวในช่วง 4Q/57 ที่เป็นไฮซีซั่นอาจเกิดภาวะซบเซา
.....นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ หลังมีการยื่นซองประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางหมอชิต – คูคต เมื่อ 30/9/57 ซึ่งมีผู้ยื่นซองทั้งหมด 4 ราย (ITD, CK, STEC และ UNIQ) คาดใช้ระยะเวลา 1 – 3 เดือน ทราบผลการประมูล คาดอย่างเร็วคาดสามารถลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างในช่วง 1H/58
.....ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงแรงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ 86 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบทางลบต่อ PTTEP และหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นทั้ง TOP, PTTGC, IRPC, BCP และ ESSO จะมีขาดทุนจากสต็อกน้ำมันจำนวนมากในช่วง 3Q/57
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.29% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) และดัชนีความเสี่ยง (VIX) +3.40 อยู่ที่ 24.64
หุ้นแนะนำ : CPF
ประเด็นที่ต้องติดตาม (14-17 ตค.’57)
14/10/57 : ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ
15/10/57 : 1) เฟดสาขานิวยอร์คเปิดเผยดัชนีการผลิตเดือน ต.ค. 2) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน ก.ย. 3) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 4) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน ต.ค. 5) EIA เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
16/10/57 : 1) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
2) เฟดเปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย.
3) สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ต.ค.
4) เฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเปิดเผยผลสำรวจดัชนีกิจกรรมการผลิตเดือน ต.ค.
17/10/57 : 1) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน ก.ย.
2) สหรัฐฯเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือน ต.ค.
นักวิเคราะห์ : ศักดิ์นรินทร์ ศศานนท์ 02-684-8789