- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 November 2019 16:09
- Hits: 974
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
สถานการณ์การเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ยังเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้น โดยที่สถานการณ์มีการเปลึ่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนปัจจัยในประเทศเป็นเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรอบนี้จะเน้นไปที่การช่วยเหลือประชาชนที่เป็นฐานราก ซึ่งอาจไม่ได้มีอิทธิพลต่อ Sentiment การซื้อขายของตลาดหุ้นมากนัก วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต Top Picks เลือก FPT (FV@B 20.10) และ RS (FV@B 15.70)
SET Index 1,597.72
เปลี่ยนแปลง (จุด) 5.86
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 42,224
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเปิด Gap กว่า 5 จุดก่อนที่จะทรงตัวในกรอบแคบตลอดวัน โดยปัจจัยหนุนมีเพียงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นกว่า 3% ส่วนด้านปัจจัยลบอย่าง สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3 ยังคงวนเวียนและสะท้อนผ่านดัชนีไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา จนอยู่ที่ระดับ 1597.72 จุด เพิ่มขึ้น 5.86 จุด (+0.37%) มีมูลค่าการซื้อขาย 4.22 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มธ.พ.ได้แก่ BBL(+0.56%) KBANK(+2.34%) SCB(+0.85%) กลุ่มปิโตรเคมีและพลังงานเช่น PTTGC(+2.42%) PTTEP(+1.71%) GPSC(+0.28%) แต่โดนกดดันจากหุ้นกลุ่มอสังหาฯอย่าง AMATA(-3.67%) WHA(-2.73%) CPN(-0.78%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น TU(-3.73%) และ BH(+1.52%) เป็นต้น
ประเด็นเรื่องสงครามการค้ายังคงเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดหุ้นโลก โดยล่าสุดปรากฎสัญญาณเชิงบวกกลับมา จากผู้นำทั้ง สหรัฐฯ และ จีน แต่ก็ยังไม่มีกำหนดการที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนดังกล่าว ส่วนภายในประเทศเป็นเรื่อง มาตการกระตุ้นเศรฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ ประเมินว่าน่าจะมีการขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจราว 5 หมื่นล้านบาท เน้นไปที่การช่วยเหลือกลุ่ม เกษตรกร และ ประชาชนฐานราก ทั้งนี้ยังไม่มีการกล่าวถึงมาตรการ ช้อปช่วยชาติ เหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา สำหรับกองทุน LTF ที่กำลังจะหมดอายุที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีในสิ้นปี 2562 นี้ คาดว่าในช่วงเดือน ธันวาคม น่าจะยังมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่องซึ่งน่าจะช่วยพยุงให้ SET Index เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 1600 จุดได้ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับในปี 2563 เป็นต้นไป ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องกองทุนใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่แทน LTF จึงน่าที่จะทำให้แรงซื้อที่เคยเข้ามาสนับสนุน SET Index ในส่วนนี้หายไป และอาจทำให้บทบาทของนักลงทุนสถาบันในตลาดหุ้นไทยลดน้ำหนักลงไป ส่วนประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน ฝ่ายวิจัยได้พิจารณาปรับลดประมาณการปี 2562 ลง โดยกำไรสุทธิต่อหุ้น ปรับลดลงจาก 100.64 บาท มาเป็น 92.11 บาท ซึ่งเป็นการปรับ 2 ส่วน คือปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง 3.6% ส่วนที่เหลือเป็นการปรับจำนวนหุ้นที่เป็นตัวหารเพิ่มขึ้น สะท้อนภาพ Dilution ที่เกิดจากการมีหุ้นเข้ามาซื้อขายใหม่ที่มีค่า PER สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นมาก ประเมินว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1580 – 1600 จุด กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต ส่วน Top Pick ได้แก่ RS และ FPT
Trade war ผ่อนคลายระยะสั้น, เริ่มให้น้ำหนักเลือกตั้งอังกฤษ และ สหรัฐ
ปัจจัยต่างประเทศที่หนุนตลาดหุ้นโลกปลายสัปดาห์ที่แล้วฟื้นตัว มาจากเรื่องเดิมๆ คือ ความคาดหวัง Trade war สหรัฐ-จีน จะสามารถได้ข้อยุติเฟส 1 (คาดยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าบางส่วน) หลังจากประธานาธิบดีของทั้ง 2 ฝั่งให้สัมภาษณ์ต่อสื่อตรงกันว่า จะบรรลุข้อตกลงการค้าในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตาม ขณะที่สัปดาห์นี้ประเด็นที่ให้น้ำหนัก คือ วันนี้ 25 พ.ย. ประธาน Fed เจอโรม พาวเวล จะมีการสุนทรพจน์ครั้งแรก หลังจากสัปดาห์ที่แล้วได้เข้าพบปะประธานาธิบดีทรัมป์ ตลาดให้น้ำหนักจะมีมุมมองต่อดอกเบี้ยอย่างไร หลังจากมุมมอง Consens คาดดอกเบี้ยสหรัฐจะคงไปจนถึง กลางปี 2563 27 พ.ย. รายงาน Fed Beige Book ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐประจำเดือน
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ การเลือกตั้งของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุน คือ
12 ธ.ค.2562เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักใครจะเป็นผู้ชนะ โดยปัจจุบันแกนนำสำคัญอยู่ในช่วงหาเสียง หลักๆ คือ พรรค Conservative เส้นสีฟ้า นำโดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นาย Borish Johnson (VS. นาย Jeremy Corbyn หัวหน้าพรรคแรงงาน Labour สีส้ม ซึ่งปัจจุบัน (จากรูปจะเห็นได้ว่า Poll สำรวจของ Bloomberg พบว่า คะแนนความนิยมของนายกอังกฤษปัจจุบันสูงกว่า
อย่างไรก็ตามไม่ว่าใครจะได้เป็นายกรัฐมนตรี ASPS คาดประเด็น(Brexit) จะเดินหน้าต่อตามกำหนดการเดิม 31 ม.ค. 2563 และความเสี่ยงอังกฤษจะออกจากยุโรปแบบ No deal น้อยลง
การเลือกตั้งสหรัฐ คือ 3 พ.ย.2563 แม้จะเหลือเวลาอีกราว 1 ปีก่อนจะมีการจัดการเลือกตั้ง แต่กระแสเริ่มร้อนแรงขึ้น โดย ฝั่งพรรค Republican แกนนำเดิม คือประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Donal Trump โดยนโยบายยังคงชูประเด็น American First อาทิ กีดกันการค้าต่างประเทศเพื่อให้สหรัฐขาดดุลการค้าลดลง ทำให้เชื่อว่าประเด็น Trade war สหรัฐ-จีนจะยังคงเป็นประเด็นที่กดดันต่อ และคาดจะร้อนแรงในช่วงหาเสียง ฝั่งพรรค Democrat ตัวเต็งคือ 1. Joe Biden อดีตรองประธานาธิบดี และ 2. Michael Bloombergเจ้าของบริษัท Bloomberg L.P. บริษัทให้บริการทางการเงิน ผู้ที่ตลาดคาดหวังจะสามารแข่งขันกับประธานาธิบดีทรัมป์ เบื้องต้นชูสโลกแกน Rebuild America ฯลฯ
โดยรวมเชื่อว่าประเด็นการเลือกตั้งของประเทศมหาอำนาจจะเริ่มมีน้ำหนัก และจะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ประชุม ครม.พรุ่งนี้ รัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
การประชุม ครม. วันพรุ่งนี้ จากแหล่งข่าวกระทรวงการคลังเผยว่า รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี เบื้องต้นเริ่มจากผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกร คาดเม็ดเงิน 6 หมื่นล้านบาท (0.4% ของ GDP ) คือ 1.มาตรการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวข้าวนาปี 2562/2563 2.) พักหนี้เงินต้นจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1 ปี 3.) สินเชื่อสำหรับปล่อยกู้ใหม่
โดยรวมมาตรการที่ออกมาคาดว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้แต่มากนัก และมาตรการอาจจะไม่ได้หนุนโดยตรงต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเชื่อว่ายังไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ บวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิเช่น CPALL(FV@B 100), RS(FV@B 15.70)
ความหวังเม็ดเงินจาก LTF ปีสุดท้ายช่วยพยุงตลาด
ในช่วงวันที่ 11 – 21 พ.ย. 2562 สถาบันฯในประเทศขายสุทธิหุ้นไทยทุกวัน มูลค่ารวมกว่า 1.55 หมื่นล้านบาท กดดัน SET index ลดลง 40 จุด หรือ 2.4% แต่เริ่มเห็นการกลับมาซื้อสุทธิในวันศุกร์ที่ผานมา 2.1 พันล้านบาท และเชื่อว่าน่าจะมีแรงซื้อจากสถาบันฯต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีช่วยพยุงตลาดฯ เนื่องจากปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่กองทุน LTF จะได้สิทธิในการลดหย่อนภาษี จึงน่าจะเห็นแรงซื้อที่เข้ามากระจุกตัวช่วงท้ายของปี ซึ่งสอดคล้องกับสถิติในอดีตที่แรงซื้อ LTF กว่า 57.3% มักจะกระจุกตัวในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี และแรงซื้อมักจะสูงขึ้นทุกปี โดยปี 2561 เป็นปีที่มียอดซื้อ LTF สูงสุดถึง 7.6 หมื่นล้านบาท
ดังนั้นแรงชับเคลื่อนที่มาจากเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาซื้อ LTF จากนี้ไปจะเหลืออีกเพียง 24 วันทำการ (นับวันนี้) ก่อนสิ้นปี ซึ่งธุรกรรมการซื้อ LTF น่าจะคึกคักขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปี 2563 และ 2564 จะไม่มีเม็ดเงิน LTF ที่ครบกำหนดการถือครองใหม่ (7 ปีปฎิทิน) ออกมา ทำให้ผู้จัดการกองทุนไม่จำเป็นต้องสำรองเม็ดเงินไว้รองรับการไถ่ถอน ดังเช่นทุกๆ ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเชื่อว่าในช่วงปลายปีนี้ จึงน่าจะเห็นแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันเข้ามาขับเคลื่อนตลาดหุ้นได้
อย่างไรก็ตามในสัปดาห์นี้ น่าจะเห็นรายละเอียดและความชัดเจนของกองทุน LTF ใหม่ ซึ่งจากกระแสข่าวเบี้องต้น คาดว่ามีการขยายระยะเวลาการถือครองจาก 7 ปี เป็น 10 – 15 ปี และกำหนดวงเงินลงทุนเมื่อรวมกับการลงทุนในกองทุน RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี หรือไม่เกิน 30% ของรายได้ เพื่อจูงใจให้คนรุ่นใหม่ออมระยะยาวมากขึ้น โดยในวันนี้นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง จะมีการหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุป และคาดเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในสัปดาห์ถัดไป หากเป็นตามข้อกำหนดนี้จริงจะกดดันให้แรงซื้อ LTF ในปีถัดไปลดลงอย่างมีนัยฯ แต่ยังมีความโชคดีจากในช่วงปี 2563 และ 2564 ไม่มีเม็ดเงิน LTF ที่ครบกำหนดขาย เนื่องจากผู้ที่ซื้อ LTF ปี 2559 มีการครบกำหนดขายได้อีกที่ในปี 2565
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ