- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 November 2019 20:29
- Hits: 1979
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หลายปัจจัยลบสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ทำให้เชื่อว่าน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1600 จุด ไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยมุมมองดังกล่าวทำให้ต้องพิจารณาปรับพอร์ตให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยย้ายน้ำหนักการลงทุนใน AMATA (10% ของพอร์ต) ไปไว้ใน POPF ซึ่งเป็น Property Fund ที่มี Premium ไม่สูง และมีสินทรัพย์สร้างรายได้ปลอดภัย ส่วนหุ้น Top Picks เลือก FPT (FV@B 20.10) และ RS (FV@B 15.70)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิด Gap ลงเกือบ 10 จุด ก่อนที่จะทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากปัจจัยกดดันอย่าง ราคาน้ำมันดิบโลก(Brent Oil)ปรับตัวลงแรงเกิน 2% และ ประเด็นการปรับพอร์ตเพื่อเตรียมซื้อหุ้นขนาดใหญ่อย่าง Saudi Aramco จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยปิดต่ำกว่าแนวรับสำคัญที่ 1600 จุด จนอยู่ที่ระดับ 1596.83 จุด ลดลง 10.42 จุด (-0.65%) มีมูลค่าการซื้อขาย 4.77 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-1.71%) PTTEP(-1.67%) BGRIM(-0.46%) กลุ่มอสังหาฯเช่น AWC(-2.48%) CPN(-1.16%) WHA(-3.06%) และกลุ่มปิโตรเคมีเช่น IVL(-3.91%) PTTGC(-1.89%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวเช่น TRUE(-4.59%) และ CPALL(-1.63%)เป็นต้น
ตลาดหุ้นวันนี้ยังถูกปกคลุมด้วยปัจจัยลบในเชิงมหภาค เริ่มจากสถานการณ์เรื่องการเจรจาการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน ซึ่งในช่วงกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฎสัญญาณเชิงลบ ที่ทำให้ถูกคาดหมายว่าการลงนามในสัญญาที่เคยกำหนดไว้เบื้องต้น 3 – 4 ธ.ค.62 อาจไม่เกิดขึ้น ส่วนภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ก็ยังปรากฎสัญญารการชะลอตัวต่อเนื่อง หลังการประกาศ GDP Growth งวด 3Q62 ต่ำกว่าความคาดหมายอยู่ที่ 2.4% YoY ล่าสุด ปรากฎว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 2562 ต่ำสุดในรอบ 1 ปี 5 เดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของ หอการค้าไทย ออกมาต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ซึ่งสภาพแวดล้อมเชิงมหภาคดังกล่าวน่าจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนภาพที่เล็กลงมาระดับหนึ่งได้แก่ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งงวด 9M62 ออกมาอยู่ที่ 6.69 แสนล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าคาด ทำให้นักวิเคราะห์ต้องปรับลดประมาณการกำไรสุทธิ ปี 2562 ลงราว 3.6% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9.99 แสนล้านบาท นอกจากนี้หากคำนวนเป็น EPS แล้ว จะถูกปรับลดลงในอัตราที่แรงกว่า เนื่องจากในช่วงหลังมีหุ้น IPO ที่เข้ามา โดยที่มีค่า PER สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดเป็นจำนวนมาก สะท้อนภาพจำนวนหุ้นที่เป็นตัวหาร กำไรสุทธิของตลาดที่เพิ่มขึ้นในระดับที่สูง การปรับลดประมาณการดังกล่าวทำให้เป้าหมาย SET Index ต้องถูกปรับลดลง และเป็นไปได้มากขึ้นที่จะทำให้ระดับ 1600 จุด กลายเป็นกรอบแนวต้านที่สำคัญ (หมายความว่า SET Index ในช่วงจากนี้จนถึงสิ้นปี อาจเคลื่อนไหวต่ำกวา 1600 จุด) ภายใต้มุมมองดังกล่าว ทำให้ฝ่ายวิจัยพิจารณาปรับพอร์ตให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยการเพิ่มน้ำหนักในหุ้นที่ Beta ต่ำ และให้ผลตอบแทนจาก Dividend Yield ระดับสูง แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักใน POPF ซึ่งเป็น Property Fund ที่ราคามี Premium เหนือ NAV ไม่มาก และมีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้อย่างปลอดภัย โดยย้ายน้ำหนักการลงทุนจาก AMATA ไปไว้ใน POPF แทน ส่วนหุ้น Top Pick ยังเลือก FPT และ RS
สงครามการค้ายังคงกดดัน แต่ราคาน้ำมันโลกฟื้นตัวแรง 3%
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังถูก Take profit โดยยังมีปัจจัยกดดันจากประเด็นเดิมที่ยังวนเวียน คือ Trade war ซึ่งตลาดกังวลว่าการจะเซ็นสัญญาสงบศึกสหรัฐ-จีนเฟส 1 จะไม่เกิดขึ้นในการประชุม NATO วันที่ 3-4 ธ.ค.นี้ คือ อาจจะไม่สามารถเว็นสัญญากันได้จนถึงปี 2563 หลังจากวุฒิสภาสหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายปกป้องสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง (Protect Hongkong ACT) ซึ่งประธานาธิบดีเผยว่าจะลงนาม บังคับใช้ต่อไป ทำให้ฝั่งจีนไม่พอใจ กระทบต่อการเจรจาการค้าในอนาคต
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโลก เมื่อวานนี้พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง สวนทางสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อาทิ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 2.45% และราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 3.44% ซึ่งมีปัจจัยหนุนเฉพาะจาก
ฝั่ง Supply คือ วานนี้สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ(EIA) รายงานสต็อคน้ำมันดิบ ล่าสุด แม้จะเพิ่มขึ้นติดต่อกันสัปดาห์ที่ 4 ที่ 1.37 ล้านบาร์เรล แต่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด 1.54 ล้านบาร์เรล และความกังวล Supplyประเทศกลุ่มผลิตน้ำมัน OPEC จะหายไปหลังจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น คือ 1.ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศในอิรัก-อิหร่าน ทำให้มีการประท้วง มีผู้เสียชีวิต 250 ราย เกิดการโจมตีสถานกงศุล นัดหยุดงาน 2.ซาอุดิอาระเบีย ล่าสุด กลุ่มกบฎฮูติ Yemen สนับสนุนโดยอิหร่าน ได้อ้างว่าได้ยิงสสกัดกั้นเครื่องบินรบ F-15ของซาอุฯ และ ให้น้ำหนักการประชุม OPEC และ Non-OPEC ในวันที่ 3-4 ธ.ค. 2562 คาดหวังว่าจะมีตัดลดกำลังการผลิตเพิ่ม
ขณะที่ฝั่ง Demand ยังคงถูกกดดันจากประเด็นเรื่องสงครามกรค้าดังกล่าว แต่น้ำหนักฝั่ง Supply มีมากกว่า
โดยรวมแม้ราคาน้ำมันดิบโลกจะปรับขึ้นแรงวันนี้น่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกระยะสั้น ต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน แต่อย่างไรก็ตามยังมีหปัจจัยสำคัญที่น่าจะกดดันให้หุ้นกลุ่มพลังงาน คือ ประเด็น MSCI มีการประกาศว่าจะนำหุ้น Saudi Aramco เริ่มเข้ามาคำนวณในดัชนีเป็นกรณีพิเศษ ดังที่ ASPS นำเสนอใน Market talk เมื่อวานนี้
ดัชนีเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยชะลอ เร่งรัฐออก Packkage กระตุ้นช่วงปีใหม่
ดังที่ ASPS นำเสนอถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยงวด 4Q62 มีสัญญาณชะลอตัว ตอกย้ำอีกครั้งจากเมื่อวาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. ปรับตัวลดลง 1%mom เหลือ 91.2 จุด (ะดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 5 เดือน) สอดคล้องกับ ม. หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในเดือนเดียวกันที่ลดลงอยุ่ที่ 46.0 จุด แตะระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือน จากผลกระทบของกังวลสงครามการค้าสหรัฐกับจีนที่ยืดเยื้อ กดดันเศรษฐกิจชะลอตัว และเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ความสามารถการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการลดลง
สัญญาเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวดังกล่าวข้างต้น ASPS คาดว่าจะเร่งให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งล่าสุด คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังเผยว่า เตรียมออก Packkage กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งจะเน้นไปที่ 3 กลุ่ม คือ
1.) กระตุ้นการบริโภค แม้จะยังไม่เปิดเผยรายละเอียด แต่เผยว่าจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคช่วงปลาย-ปีใหม่ (ASPS คาดหวัง ช็อปช่วยชาติ ที่รัฐเคยออกทุกปลายปี อ่านรายละเอียดเพิ่มใน Market talk เมื่อวานนี้)
2. มาตรการช่วยเหลือ SME 3.) มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เบื้องต้นเผย คือ โครงการบ้านในฝัน รับปีใหม่ ที่จะมีการให้สินเชื่อ ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยมาตรการต่างๆคาดว่าจะเสนอที่ประชุม ครม. เศรษฐกิจได้ในเร็วๆนี้ และหากมาตรการต่างๆออกมาจริงเชื่อว่าจะบวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิเช่น CPALL(FV@B 100), RS(FV@B 15.70) และกลุ่มอสังหาฯ เช่น CPN (FV@B 94.00), LH (FV@B 12.0)
เลือกลงทุนหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตเหนือตลาด RS FPT
หลังการรายงานผลประกอบการและประชุมนักวิเคราะห์สิ้นเสร็จ เชื่อว่าจะเห็นการปรับลดประมาณการฯ อย่างชัดเจน เนื่องจากกำไรสุทธิ 9M62 ออกมาอยู่ที่ 6.96 แสนล้านบาท คิดเป็น 69.58% ของประมาณการฯ ปี 2562 เดิมที่ประเมินไว้ที่ 9.99 แสนล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 8.21 แสนล้านบาท หรือลดลงถึง 15.20%yoy ดังรูปทางด้านล่าง
กำไรบริษัทจดทะเบียนรายไตรมาส
ที่มา รวบรวมโดย ฝ่ายวิจัย ASPS
ประกอบกับในปี 2562 นี้ มีหุ้น IPO เข้าในดัชนี SET กว่า 14 บริษัท คือ AWC ACE SEG DOHOME SHR RBF ILM SUPEREIF SPRIME ZEN TTT AIMCG VRANDA และ CPW สังเกตได้ว่าหุ้นที่เข้าใหม่ส่วนใหญ่มี P/E อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่อย่าง AWC มี Market Cap. 1.89 แสนล้านบาท และมี P/E ย้อนหลัง 4 ไตรมาส 223 เท่า, และ ACE มี Market Cap. 4.66 ล้านบาท มี P/E ย้อนหลัง 4 ไตรมาส 68 เท่า เป็นต้น โดยรวมหุ้นที่เข้าใหม่มี Market Cap รวมกันสูงถึง 3.4 แสนล้านบาท และส่วนใหญ่ซื้อขายกันบน P/E ที่สูงกว่าตลาดมาก ยิ่งผลักดันให้ตลาดขึ้นไปซื้อขายบน PE ที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีหุ้นอยู่หลายบริษัทที่ทางฝ่ายวิจัยฯมีการปรับเพิ่มประมาณการ หรือมูลค่าทางพื้นฐานเพิ่มขึ้น และยังมี Upside รวมถึงแนะนำ ”ซื้อ” 10 บริษัทดังนี้
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ