- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 November 2019 17:17
- Hits: 1614
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
คาดว่า SET Index น่าจะอยู่ในช่วงปรับฐานต่อเนื่อง โดยมีราคาน้ำมันที่ปรับลดลงแรงจากความกังวลทั้งในฝั่งของ Supply และ Demand เป็นแรงกดดัน แต่อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยเรื่องเม็ดเงิน LTF ที่ไหลเข้าสู่ตลาดในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีเป็นแรงหนุน ทำให้ SET Index ยืนเหนือ 1600 จุดได้ กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วนหุ้น Top Picks เลือก FPT (FV@B 20.10) และ RS (FV@B 15.70)
SET Index 1,607.25
เปลี่ยนแปลง (จุด) -0.75
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 48,491
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนในกรอบแคบเพียง 10 จุด จากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่มีทั้งปัจจัยบวกและลบ โดยสุดท้ายปิดตัวในแดนลบเล็กน้อยที่ระดับ 1607.25 จุด ลดลง 0.75 จุด (-0.05%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 4.84 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTTEP(-1.23%) PTT(-1.69%) EGCO(-0.28%) ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสารอย่าง ADVANC(-1.30%) INTUCH(-2.66%) TRUE(-1.80%) DTAC(-2.45%) และกลุ่มค้าปลีกเช่น COM7(-1.75%) GLOBAL(-1.78%) แต่ยังได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่บางตัวเช่น AWC(+4.31%) KBANK(+1.71%) และ KTC(+3.75%) เป็นต้น
ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง จากความกังวลเรื่อง Supply หลังมีการคาดหมายว่า Opec อาจพิจารณาคงอัตรากำลังการผลิตไว้ที่ระดับเดิม อีกทั้งมีประเด็นเข้ามากดดันในฝั่ง Demand เพิ่มเติม โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐสภาสหรัฐฯ ผ่าน กฎหมาย HK Bill ที่ทำให้ถูกมองว่าเป็นการเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าแทรกแซง ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง Hong Kong กับ จีน ทิศทางดังกล่าวอาจจะขยายวงไปสู่บรรยากาศการเจรจาการค้า ระหว่าง สหรัฐฯ – จีน ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้สถานการณ์พลิกผลันและถูกมองในมุมที่เป็นลบ สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และน่าจะมีอิทธิพลทำให้ SET Index วันนี้ยังต้องอยู่ในช่วงการปรับฐานราคาต่อไป ส่วนปัจจัยในประเทศที่อยู่ในความสนใจ คือภาพรวมเศรษฐกิจ โดยหลังการประกาศตัวเลข GDP Growth งวด 3Q62 ออกมาที่ 2.4% YoY ต่ำกว่าความคาดหมายของตลาดฯ มาก ทำให้เห็นสำนักวิจัยต่างๆ ออกมาปรับลดประมาณการ GDP Growth ปี 2562 ลงมาอยู่ในช่วง 2.5 – 2.7% (ฝ่ายวิจัย ASPS ยังคงประมาณการไว้ที่เดิม 2.7%) ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าน่าจะทำให้ภาครัฐ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่การกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือน โดยเป็นไปได้ที่จะเห็นมาตาการภาษีเพื่อกระตุ้นให้เม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจ อย่างเช่น ช้อปช่วยชาติ ซึ่งในช่วงปี 2558 – 2560 มีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 800 – 1200 ล้านบาท/วัน ในช่วงอายุของมาตรการ ประเมินน้ำหนักของปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวมาข้างต้น คาดว่า SET Index วันนี้น่าจะยังอยู่ในช่วงการปรับฐาน แต่ก็เชื่อว่าน่าจะยืนอยู่เหนือ 1600 จุดได้ โดยแรงหนุนสำคัญมาจากเม็ดเงิน LTF ที่ไหลเข้าสู่ระบบในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ไม่มีการปรับพอร์ต ส่วนหุ้น Top Pick เลือก FPT และ RS ซึ่งมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุน
ราคาน้ำมันปรับฐานแรงจาก รัสเซียจะคงการผลิตและ Hongkong ACT
ราคาน้ำมันโลกปรับฐานลงแรง โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 2.5% และราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 3.2% หลักๆถูกกดดันมาจาก
ฝั่ง Supply ความกังวลที่คือ รัสเซีย (กำลังการผลิตราว 12%ของการผลิตทั้งโลก) เผยว่าจะยังคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบไปจนถึงปี 2563 อย่าไรก็ตาม ให้น้ำหนักการประชุม OPEC และ Non-OPEC ในวันที่ 3-4 ธ.ค. 2562 ว่าจะมีการตัดลดกำลังการผลิตหรือไม่
ฝั่ง Demand ถูกดดันจากประเด็นเรื่องสงครามหารค้าสหรัฐ-จีน จากล่าสุด นี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวเน้นย้ำว่า สหรัฐจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าวสินค้าจากจีนต่อไป หากการเจรจาการค้าไม่สามารถตกลงกันได้ และล่าสุด เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายปกป้องสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง (Protect Hongkong ACT) ซึ่งหลักๆ คือสหรัฐอาจดำเนินมาตรการคว่ำบาตรได้ หากพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง เช่นหยุดการส่งออกสินค้าบางชนิดไปยังฮ่องกง อาทิเช่น แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง เป็นต้น ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้ประธานาธิบดีลงนาม ก่อนจะบังคับใช้ต่อไป
ประเด็นดังกล่าว ASPS เชื่อว่าอาจทำให้จีนไม่พอใจได้ และอาจส่งผลให้บรรยากาศการเจรจาการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุม NATO ที่กรุง London วันที่ 3-4 ธ.ค. 2562 หาข้อสรุปได้ยากขึ้น ASPS จึงยังคงมุมมองเดิมคือ สงครามการค้ายังมีโอกาสยืดเยื้อต่อไปจนกว่าจะถึงช่วงปลายปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
กระแสการปรับลด GDP Growth ไทยปี 2562 ลงเหลือ 2.6%
สำนักเศรษฐกิจหลายแห่งทยอยปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย(GDP Growth) ปี 2562 ลง หลังจากสภาพัฒน์รายงาน GDP Growth งวด 3Q62 ขยายตัว 2.4%yoy ต่ำกว่าที่คาด ทำให้ 9M62 ขยายตัวเฉลี่ย 2.5%yoy โดยล่าสุด Consensus คาดเฉลี่ยเหลือขยายตัว 2.6%yoy VS. ASPS คาด 2.7%, IMF คาด 2.9% ซึ่งเป็นที่สังเกตุว่าเป็นการปรับลดลงหลายครั้งและปรับบลดรวมกันลงมาเกิน 1%จ ากต้นปีส่วนใหญ่สำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่คาดการเติบโตดี 3.4-4% ดังรูป
ขณะที่แนวโน้ม GDP Growth ปี 2563 เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีทำให้สำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังมีมุมมองการเติบโตปีหน้าขยายตัวเกิน 3%(ดังตาราง) ซึ่งถือว่าเป็นมุมมองที่ดีซึ่งเป็นปกติ ขณะที่ ASPS คาดการณ์แตกต่างกันคือ คาดจะขยายตัวเล็กน้อยเพียง 2.8%yoy โดยประเมินยังมี Down side ทั้งนี้แตกต่างจากสมมติฐาน หลักๆ คือ ภาคส่งออก(X) ที่คาดทรงตัวและต่ำกว่าสำนักเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่คาดจะขยายตัว 1.7-2.3%
โดย ASPS เชื่อว่าภาคส่งออกจะยังถูกกดดันจากปัจจัยสำคัญ ภายใต้สมมติฐานคือ สงครามการค้าสหรัฐ-จีนคาดยังคงยืดเยื้อ และผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ-จีนรอบ 4.1 ซึ่งมีมีผลไปแล้วในเดือน ก.ย. และรอบ 4.2 สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้ากับจีน 15 ธ.ค.62 ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ ทำให้ส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบตรงๆเฉพาะ เพียงงวด 4Q62 เท่านั้น แต่ปี 2563 ส่งออกจะกระทบเต็มๆทั้งปี รวมถึงยังมีความเสี่ยงจากสหรัฐตัดสิทธิ GSP ไทย จะมีผลเดือน เม.ย.2563 จะกระทบส่งออกราว 0.05% ของยอดของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของไทยไปทั่วโลก ขณะที่ประเด็นเรื่องงบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายในส่วนของโครงการลงทุนที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพันคือ กว่าจะเริ่ม เบิกจ่ายได้ คือ เดือน ก.พ.2563
เชื่อว่ารัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี ...ยังเหลือ ช็อปช่วยชาติ
ASPS เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ยังมีสัญญาณชะลอตัวดังกล่าว จะเร่งให้รัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นการคลังออกมาเพิ่มเติมจากปัจจุบัน ทั้งนี้ดังที่ ASPS เชื่อว่าหากต้องการกระตุ้น ให้เห็นผลเร็ว เห็นได้จากรัฐบาลได้เร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาตั้งแต่ ต.ค. เป็นต้นมา โดยรัฐบาลมุ่งไปที่กระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยว เป็นหลักๆ อาทิ ชิมช็อปใช้เฟส 1-2 วงเงินรวม 1.3 หมื่นล้านบาท , 100 เดียวเที่ยวทั่วไทย แต่เชื่อว่าไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตามยังมีอีก 1 มาตรการกระตุ้นการบริโภคที่เชื่อว่ารัฐบาลได้เคยนำมาใช้ทุกๆ ปีในช่วงปลาย ตั้งแต่ปี 2558-2561 คือ มาตรการช็อปช่วยชาติ คือ นำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ อาทิซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ เครื่องสำอาง ค่าบริการนวดสปา มาลดหย่อนภาษีสูงสุด 1.5 หมื่นบาท เป็นต้น ซึ่งจุดเด่น คือ มีความสะดวกกว่ามาตรการชิมช็อปใช้ และยังสามารถกระตุ้นให้เม็ดเงินสะพัดได้สูงเฉลี่ยราว 1พันล้านบาท/วัน แต่รัฐสูญเสียรายรับภาษีเพียง 1-2 พันล้านบาท/โครงการ แต่รัฐจะได้รับรายรับจาก VAT มาชดเชย และรัฐไม่ต้องใช้เม็ดเงินอัดฉีด ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการที่ดีและจูงใจให้ออกมาตรการ โดย ASPS ยังคาดหวังต่อมาตรการนี้ ซึ่งหากรัฐออกมาจริงเชื่อว่าจะบวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL , RS
รับแรงกระเพื่อม จากต่างชาติปรับพอร์ตเตรียมซื้อหุ้น Saudi Aramco
ประเด็นหุ้น IPO บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ อย่าง Saudi Aramco เข้าซื้อขาย IPO 1.5% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และคาดว่ามูลค่ากิจการอยู่ในช่วง 1.6 – 1.7 ล้านล้านเหรียญฯ (ใหญ่กว่า SET Index 3 เท่ากว่า หรือใหญ่กว่า PTT ราว 40 เท่า) รวมถึงคาดว่าจะเข้าซื้อขายได้ในเดือน ธ.ค. 2562 นี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจองซื้อกำหนดส่งแบบฟอร์มเสนอซื้อสำหรับนักลงทุนต่างชาติ คือ วันที่ 4 ธ.ค. 2562 ขณะที่นักลงทุนรายย่อย กำหนดภายในวันที่ 28 พ.ย. 2562
และที่สำคัญคือ ทาง MSCI ได้มีการประกาศว่าจะนำหุ้น Saudi Aramco เริ่มเข้ามาคำนวณในดัชนีเป็นกรณีพิเศษ ในวันที่ 17 ธ.ค. 2562 หากเริ่มการซื้อขายภายในวันที่ 12 ธ.ค. 2562 แต่หากเกิดขึ้นหลังวันที่ 12 ธ.ค. 2562 ทาง MSCI จะเลื่อนการรวมหุ้นดังกล่าวในดัชนีไปหลังวันที่ 5 ม.ค. 2563 เนื่องจากช่วงท้ายของปีเป็นวันหยุดเทศกาลคริสต์มาส ทำให้มีการซื้อขายน้อยกว่าปกติ
ในเชิงปริมาณเริ่มเห็นการเร่งตัวปรับพอร์ตเตรียมเงินซื้อหุ้น Saudi Aramco หากประเมินสถานะการณ์ Top – Down มีรายละเอียดดังนี้
1.ในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) ปรับตัวขึ้นได้เพียง 0.97% (mtd) น้อยกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอยู่มาก ที่ให้ผลตอบแทนถึง 2.34% (mtd) สาเหตุหนึ่งในนั้น คือ กองทุนต่างประเทศอยู่ในช่วงเตรียมเงินบางส่วนมาลงทุนในหุ้น IPO ขนาดใหญ่นี้ รวมถึงเพื่อรองรับสัดส่วนของดัชนี MSCI ที่จะเปลี่ยนแปลงไป
2.นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าหุ้นน้ำมันในหลายๆประเทศปรับตัวขึ้นได้น้อยกว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้ สะท้อนจากผลตอบแทนดัชนี MSCI ACWI Energy Sector ให้ผลตอบแทนเพียง 1.68% (mtd) น้อยกว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 4.39% (mtd)
3.ที่สำคัญคือ หากกลับมาวิเคราะห์หุ้นน้ำมันในประเทศ พบว่า เริ่มเห็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่มีการเร่งตัวอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นในเดือน พ.ย. นี้ จากหุ้นกลุ่มพลังงานที่อยู่ในดัชนี MSCI เช่น PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, IVL, BANPU และ IRPC ซึ่งถูกขายสุทธิเกือบทุกบริษัท ดังตารางทางด้านล่าง
สรุปคือ ด้วยราคาน้ำมันที่ยังผันผวนจากหลากหลายประเด็น ทั้งความไม่แน่นอนในการสงบศึกสงครามทางการค้าจีนกับสหรัฐ รวมถึงกลุ่ม OPEC กับ Non-OPEC จะจับมือกันลดกำลังหรือไม่? และที่สำคัญอาจจะเห็นการเตรียมปรับพอร์ต (rebalance) ของกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนตามดัชนี MSCI โดยเฉพาะหุ้นพลังงานที่อยู่ในดัชนี MSCI ในช่วงที่เหลือของปี เช่น PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, IVL, BANPU และ IRPC มีความเสี่ยงเป็นลำดับต้นๆ ที่จะได้รับผลกระทบ จากสถานะการณ์ดังกล่าว เพื่อจองซื้อหุ้น IPO Saudi Aramco พร้อมกับรองรับสัดส่วนของดัชนี MSCI ที่เปลี่ยนแปลงไป และน่าจะเป็นการกีดกันการปรับตัวขึ้นของ SET เนื่องจากหุ้นกลุ่มพลังงาน บวกกับปิโตร มีสัดส่วน Market Cap. รวมกันสูงถึง 26.4% ของหุ้นทั้งหมดในตลาดฯ
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ