- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 19 November 2019 16:31
- Hits: 3443
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ในอีกด้านหนึ่งของการประกาศ GDP Growth ที่ต่ำกว่าคาด คือการสร้างความคาดหวังว่าจะเห็นการเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ทำให้ SET Index ดีดตัวกลับขึ้นมาได้ และด้วยแรงหนุนจาก LTF ที่จะเข้ามาช่วงปลายปี ทำให้เชื่อว่าจะสามารถยืนเหนือ 1600 จุด แนะนำปรับพอร์ตโดยลดน้ำหนัก STPI และสลับเข้าลงทุนใน RS ส่วนหุ้น Top Picks เลือก CPN (FV@B 94), FPT (FV@B 20.10) และ RS (FV@B 15.70)
SET Index 1,608.00
เปลี่ยนแปลง (จุด) 5.77
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 42,907
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยอปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากที่มีปัจจัยบวกหนุนตลาดทั้งความหวังเชิงบวกจากการตกลงการค้า สหรัฐฯ -จีนและแรงซื้อ LTF ของนักลงทุนในช่วงปลายปีของทุกปี จึงทำให้ปิดระดับ 1608.00 จุด เพิ่มขึ้น 5.77 จุด (+0.36%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 4.29 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่ผลักดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ GULF(+2.98%) GPSC(+2.05%) ACE(+8.10%) PTTEP(+0.83%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(+0.94%) BTS(+0.71%) และกลุ่มปิโตรเคมีเช่น IVL(+4.96%) PTTGC(+1.91%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น AWC(+4.50%) และ SCC(+1.06%)เป็นต้น
ตัวเลข GDP Growth งวด 3Q62 อยู่ที่ระดับ 2.4% YoY ต่ำกว่าความคาดหมายของตลาดฯ ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง 2.6 – 2.8% แต่ก็เป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อ SET Index ในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะถูกคาดหมายว่า น่าจะเห็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐออกมาอีกชุดหนึ่งในช่วงเวลาที่เหลือของปี ซึ่งจากการประเมินทางเลือกแล้วยังเชื่อว่า น่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในภาคครัวเรือน ซึงถือเป็นแนวทางที่จะอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้รวดเร็ว และเห็นผลในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2562 ได้มากที่สุด (เปรียบเสมือนกับการฉีดยาเข้าเส้นที่ออกฤทธ์รวดเร็ว) ส่วนทางเลือกอื่นๆ ที่อาจทำควบคู่กันไป คือการเร่งการลงทุนเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของรัฐวิสาหกิจ แต่ภายใต้กลไกนี้ก็มีข้อจำกัดว่าอาจจะไม่เห็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาสั้นๆ (เปรียบเสมือนการกินยาเม็ดที่ให้ผลช้ากว่าการฉีดยา) ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องส่งออก หากจะให้เห็นผลชัดเจนในช่วงที่เหลือของปี คงเป็นไปได้ยากมาก สำหรับแรงขับเคลื่อนจากเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดหุ้น ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเม็ดเงินลงทุนเป้าหมายได้แก่ เม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาซื้อ LTF ช่วงปลายปี และการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนโดยภาพใหญ่ที่น่าจะเห็นการไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย เข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น จากการประเมินสถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวข้างต้น ทำให้ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าน่าจะทำให้ SET Index สามารถยืนเหนือระดับ 1600 จุดได้ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ต โดยการลดน้ำหนักหุ้น STPI ออกจากพอร์ต และสลับเข้าไปลงทุนใน RS ซึ่งฝ่ายวิจัยได้ปรับคำแนะนำกลับมาซื้ออีกครั้ง ด้วยน้ำหนักเท่ากัน สำหรับหุ้น Top Pick เลือก CPN, FPT และ RS
สงครามการค้ายังคงสร้าง ทั้ง ข่าวบวก และลบ
ปัจจัยในต่างประเทศที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกผันผวนในช่วงนี้ คือ ประเด็นสงครามการค้า ที่ประกอบไปด้วยทั้ง ประเด็นบวก และประเด็นลบ สลับกัน
ประเด็นบวก(+) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐประกาศขยายเวลา ให้บริษัทสหรัฐสามารถทำธุรกิจ และซื้อสินค้าของบริษัท Huawei (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับ 1 ของโลกสัญชาติจีน) ไปอีก 90 วัน (จนถึงราววันที่ 16 ก.พ. 2563) นับเป็นครั้งที่ 2 ที่สหรัฐขยายเวลาให้ Huawei นับตั้งแต่ที่ทางบริษัทถูกขึ้นบัญชีดำในเดือน พ.ค. 2562 ส่งผลให้ตลาดผ่อนคลายความกังวลที่ว่า สงครามการค้า (Trade war) จะลุกลามเป็นสงครามเทคโนโลยี (Tech war) ลงไปได้
ประเด็นลบ(-) แหล่งข่าวจาก CNBC เผยว่า ทางจีนยังไม่เชื่อมั่นว่าสหรัฐจะยินยอมลงนามเซ็นสัญญาสงบศึกทางการค้าเฟส 1 ได้ ภายหลังประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ตอบตกลงว่าสหรัฐจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ประเด็นดังกล่าวสะท้อนว่าความเสี่ยงของสงครามการค้ายังมีอยู่
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2561 ที่ผ่านมา สหรัฐและจีนขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากฝ่ายตรงข้าม รวมแล้ว 4 รอบ อัตราภาษีเฉลี่ย 25% วงเงินรวมกว่า 3.6 แสนล้านเหรียญ กล่าวคือ การขึ้นภาษีรอบ 1-3 มีผลไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีรอบที่ 4 แบ่งออกเป็น 2 รอบย่อย คือ 4.1 และ 4.2 โดยรอบ 4.1 มีผลไปแล้วในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา และรอบ 4.2 จะเริ่มมีผลในวันที่ 15 ธ.ค. 2562 (ดังรูป)
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าตลาดหุ้นโลกยังเผชิญความเสี่ยงที่จะถูก Take profit ในช่วงสั้นได้ หากมีประเด็นหรือกระแสกดดัน อาทิ สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่ 4.2 หรือ สหรัฐอาจะขู่ด้วยการปรับเพิ่มอัตราภาษีให้สูงขึ้น เช่น 30% หรือ40% จากปัจจุบัน อัตรา 25% หรือออกมาตรการ Nontariff ใหม่ๆ เป็นต้น
GDP Growth ไทย 3Q62 ต่ำคาด เร่งให้รัฐออกมาตรการกระตุ้นปลายปี...
สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP Growth งวด 3Q62 ขยายตัว 2.4%yoy ต่ำกว่า ASPS คาดที่ 2.7% แต่ดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัว 2.3% เป็นที่สังเกตุว่า GDP งวดนี้ต่ำกว่าคาดมาจากภาคส่งออกที่หดตัวเฉลี่ย 0.5%yoyซึ่งยังถูกกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อ และค่าเงินบาทที่แข็งราว 6.8%yoy ในงวด 3Q62 กดดันต่อการลงทุนเอกชนขยายตัวต่ำกว่าที่คาดเพราะคำสั่งซื้อลดลงและขาดความเชื่อมั่น
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจงวด 4Q62 ASPS ประเมินปัจจัยแวดล้อมพบว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัจจัยกดดันการเติบโตมาจาก อาทิ สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ ,งบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายในส่วนของโครงการลงทุนที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน เป็นต้น
ASPS เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยเร่งให้รัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นการคลังออกมาเพิ่มเติม โดยคาด
กระตุ้นให้เห็นผลเร็ว คือ รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการมุ่งไปที่กระตุ้นการบริโภค แต่เชื่อว่าจะมุ่งไปที่มาตรการที่ไม่ใช้เม็ดเงินเพราะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ อาทิ การลดหย่อนภาษีเหมือนในช่วงปลายปีๆของทุกปีที่เคยทำมา คือ ช็อปช่วยชาติ ซึ่งยังไม่ออกมา คือ นำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาท เป็นต้น ซึ่งเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ออกมาตรการกระตุ้นอยู่แต่ไม่เพียงพอ คือ ชิมช็อปใช้เฟส 1-2 วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท ในช่วง ต.ค.62-ม.ค.63 โดยรวมเชื่อว่าจะบวกต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก โดย Top picks กลุ่มคือ CPALL(FV@B100)
กระตุ้นเห็นผลระยะกลาง-ยาว คือ เร่งเบิกจ่ายโครงการลงทุน แต่มุ่งไปที่โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ล่าสุด กระทรวงการคลัง เผยมีงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่เตรียมจะลงทุนใน พ.ย.-ธ.ค.62 วงเงิน 1แสนล้านบาท (คิดราว 0.7%ของ GDP ปี 2561) หลักๆ เป็นโครงการของ อาทิ รถไฟไทย, การบินไทย กฟน. เป็นต้น ASPS เชื่อว่าจะได้ Sentiment เชิงบวกต่อการลงทุนมากกว่า เพราะขั้นตอนการเบิกจ่ายงบต้องใช้เวลา มิไม่ได้มีเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจทันที
โดยรวม GDP Growth 9M62 ขยายตัวเฉลี่ย 2.5%yoyเทียบกับ ASPS คาดการณ์ทั้งปี 2562 ที่ 2.7% และหากพิจารณาสมมติฐานองค์ประกอบเศรษฐกิจ 9M62 เทียบกับที่ ASPS คาดรายตัวทั้งปี 2562 (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) ASPS คาดว่าสมมติฐานเกือบทุกตัวยังมีโอกาสเป็นไปได้ จึงยังคงคาดการ GDP Growth ปี 2562-2563 ที่เดิมคาด 2.7% และ 2.8% ยังถือว่าเติบโตต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (IMF คาด GDP Growth มาเลเซียปี 2562-2563 ขยายตัว 4.5% และ 4.4% ตามลำดับ , ฟิลิปปินส์ 5.7% , 6.2%)
คาดการณ์ GDP Growth ของไทย
Earning Momentum ชอบ CPN FPT และ RS
หลังผ่านพ้นช่วงประกาศช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 รายงานงบแล้วจำนวน 585 บริษัท คิดเป็น 92% ของ Market Cap. ทั้งตลาด (ไม่รวมงบรายปี อาทิ AOT จะประกาศวันที่ 29 พ.ย.) ทำกำไรสุทธิรวมกัน 2.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7%QoQ แต่ลดลง 17.3%YoY ส่งผลให้ภาพรวมกำไรสุทธิ 9M62 เท่ากับ 6.96 แสนล้านบาท ลดลง 15.20%yoy คิดเป็น 69.58% ของประมาณการฯ ปี 2562 จึงมีโอกาสปรับลดประมาญการฯ บวกกับความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว สะท้อนจากตัวเลข GDP งวด 3Q62 ที่ออกมาต่ำกว่าคาด อยู่ที่ 2.4% สร้างความผันผวนกับตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงถึง 35 จุด หรือ 2.17%
ปัจจัยภาพนอกที่ยังไม่แน่นอน กลยุทธ์การลงทุนโฟกัสไปที่หุ้นที่ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องนับแต่นี้ไป เช่น KKP, CPN, EA, CPALL, FPT และ RS เป็นต้น โดย Top Picks เลือก CPN(FV@B 94) FPT(FV@B 20.1) และเพิ่ม RS(FV@B 15.7) อีก 1 บริษัทในวันนี้ มีรายละเอียดพื้นฐานดังนี้
CPN(FV@B 94) ราคาหุ้นยัง laggard SET Index แนวโน้มการเติบโตจะชัดเจนขึ้น เริ่มจากผลประกอบการงวด 4Q62 ได้แรงหนุนจากการโอนฯ 4 คอนโดฯ ได้แก่ Escent เชียงใหม่ 2, เชียงราย, โคราช และ Phyll พหลฯ 32 บวกกับธุรกิจศูนย์การค้ายังมีแรงผลักดันจากการเปิดศูนย์ใหม่ฯทั้ง I-City และ Central Village เต็มไตรมาส โดยรวมคาดเป้าปี 2562 บริษัทคาดรายได้ดำเนินงานเติบโต 10% yoy และในปีหน้ายังมีการขายสิทธิการเช่า 5 ศูนย์การค้าให้ CPNREIT มูลค่าไม่เกิน 4.86 หมื่นล้านบาท ทำให้มีกำไรพิเศษเข้ามาหนุน รวมถึงเงินสดที่จะนำมาลงทุนเพิ่มเติมใน 17 โครงการในอนาคต โดยราคาหุ้นยังมี Upside เปิดกว้างกว่า 46.30% จึงถือเป็นโอกาสในเข้าการลงทุน
FPT(FV@B 20.1) ธุรกิจมีการฟื้นตัวเด่นชัดขึ้น สะท้อนได้จากกำไรสุทธิปี 2562 (ต.ค. 61 – ก.ย. 62) ทยานขึ้นเป็น 1.79 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 172%YoY) ขณะที่ผลประกอบการปี 2563 ของ FPT คาดว่าจะเติบโตยิ่งขึ้น เพราะจะควบรวมงบการเงิน GOLD เข้ามาเต็มปี ด้วยพอร์ตธุรกิจอสังหาฯที่ขนาดใหญ่และมีการกระจายตัวที่ดี ประกอบด้วย โครงการพัฒนาอสังหาฯเพื่อขาย เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ สำนักงานให้เช่า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และโรงงาน/คลังสินค้าให้เช่า รวมถึง FPT ได้ต่อยอดในธุรกิจใหม่ คือ Data Center และ Co-Working Space ทุกองค์ประกอบดังกล่าว จะเพิ่มศักยภาพการเติบโตอย่างสมบูรณ์ให้กับ FPT นับจากนี้ไป และในเดือน ธ.ค. 2562 นักลงทุนสามารถรอรับปันผลได้สูงถึง 0.46 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็น Dividend Yield สูงถึง 3% ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 24 ธ.ค. 2562 นี้
RS(FV@B 15.7) กำลังทรานฟอร์มสู่ Data Driven และเตรียมเปิดตัวพันธมิตรใหม่อีก 2 ช่อง ภายในปีนี้ จะทำให้ RS มีช่องทางการขายสินค้าผ่านทีวีดิจิตอลรวมทั้งหมด 4-5 ช่อง เข้าถึงฐานผู้ชมราว 40 ล้านคน/วัน คาดธุรกิจ MPC ใน 4Q62 จะเริ่มฟื้นตัวจากการจัด Grand Sales หนุนให้เดือน ธ.ค. น่าจะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดของปี และเติบโตต่อเนื่องในปี 63 หลังได้พันธมิตรใหม่เพิ่ม ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน คาดหวัง Upside ได้กว่า 23%
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ