WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน        
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
คาดกรอบ SET Index ถูกจำกัดไว้ 1625–1610 จุด จากการเลื่อนเซ็นสัญญาสงบศึกสหรัฐ-จีนเฟส 1 เป็นต้นเดือนหน้า กดดันราคาน้ำมันลดลง ขณะที่ในประเทศ กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 1.25% รวมถึงออกมาตรการดูแลค่าเงินบาท กดดัน Fund Flow มีโอกาสชะลอการไหลเข้า กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นปันผลสูง ได้ประโยชน์ยามดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ MCS ([email protected]) และยังชื่นชอบหุ้นที่มีแรงขับเคลื่อนเฉพาะตัว EA(FV@B56), TTCL(FV@B 10) เป็น Top Picks
        SET Index    1,623.99
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    -2.88
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    62,182
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวัน หลังจากที่ดัชนีปรับตัวขึ้นมา 2 วันติดต่อกันกว่า 35 จุด โดยประเด็น กนง. ประกาศลดดอกเบี้ยลง 25 bps ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของฝ่ายวิจัย ASPและตลาดฯอยู่แล้ว จนทำให้ปิดระดับ 1623.99 จุด ลดลง 2.88 จุด (-0.18%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 6.21 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ PTT(-0.55%) GPSC(-4.11%) GULF(-3.14%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-0.95%) HMPRO(-1.73%) แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มธ.พ.เช่น BBL(+1.14%) KBANK(+1.37%) SCB(+0.43%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น AOT(+0.95%) และ SCC(+1.04%) เป็นต้น
ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวแรงจากจุดต่ำสุด ณ 28 ต.ค. 2562 ที่ 1579.13 จุด ขึ้นมาอย่างรวดเร็วกว่า 45 จุด ภายใน 8 วันทำการ อยู่ที่ 1623.99 จุด ด้วยแรงซื้อสุทธิจากสถาบันในประเทศเพียงผู้เดียวกว่า 1.81 หมื่นล้านบาท ขณะที่วันนี้คาดว่าการปรับตัวขึ้นของ SET Index จะถูกจำกัดไว้ในกรอบ 1625 – 1610 จุด จากประเด็นการเลื่อนเซ็นสัญญาสงบศึกสหรัฐ-จีนเฟส 1 เป็นต้นเดือนหน้า รวมถึงราคาน้ำมันลดลงแรง 2% จากสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด  (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2) ขณะที่ในประเทศ กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 1.25% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) ตามที่ฝ่ายวิจัย ASPS คาดและนำเสนอมาตลอด เนื่องจาก กนง. กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงจากภาคการส่งออก รวมถึงออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทเพิ่มเติม เช่น การยกเว้นการนำรายได้จากการส่งออกกลับประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นต้น กดดัน Fund Flow มีโอกาสชะลอการไหลเข้า กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์ยามดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ คือ หุ้นปันผลสูง อย่าง MCS ([email protected]) คาดหวังปันผลได้กว่า 6% ต่อปี และมีโอกาสที่บริษัทจะประกาศจ่ายปันผลงวด 9M62 หลังประกาศงบไตรมาสที่ 3 และยังชื่นชอบ หุ้นที่มีแรงขับเคลื่อนเฉพาะตัว TTCL (FV@B10) หลังจากราคาปรับฐานลงมาแรงในช่วง 1 – 2 เดือนที่ผ่านมา ตอบรับประเด็นผลประกอบการงวด 3Q62 อ่อนตัวไประดับหนึ่งแล้ว ขณะที่จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ใน 4Q62 ทั้งประเด็นการเซ็น PPA โรงไฟฟ้า Ahlone#2 และงานประมูล 2 โครงการใหญ่ที่จะประกาศผล และวันนี้นำ EA (FV@B56) กลับมาเป็น Top pick อีกครั้ง จากการปลดล็อคสามารถเดินหน้าสร้างโรงงานแบตเตอรี่เฟส 1 ขนาด 1 GW (คิดเป็น FV 7 บาท/หุ้น) ได้ตามแผน และจะ COD ได้ในช่วง 1H63 เนื่องจาก ครม. มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนสีพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จ.ฉะเชิงเทรา จากพื้นที่สีเขียว (พื้นที่เพื่อการเกษตร) เป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) แล้ว
การเซ็นสัญญาสงบศึกสหรัฐ-จีน เฟส 1 เลื่อนไปเป็น ต้นเดือน ธ.ค.
ประเด็นต่างประเทศซึ่งมีน้ำหนักต่อการลงทุนยังคงเป็นประเด็น ความคืบหน้าการเซ็นสัญญาสงบศึกระหว่างสหรัฐกับจีนเฟส 1 (ข้อตกลง คือ ฝั่งสหรัฐอาจจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ากับจีนในบางรอบ ขณะที่ฝั่งจีนสัญญญาจะนำเข้าสินค้าเกษตร)     ล่าสุด ส่อแววเลื่อนการเซ็นสัญญาอีกครั้ง หลังจากวานนี้สำนักข่าว CNBC เผยว่าทางการสหรัฐจะเลื่อนการเซ็นสัญญาเฟส 1 ไปที่การประชุม NATO ที่กรุง London ในวันที่ 3 ธ.ค.62 จากเดิมคาด กลางเดือน พ.ย.
ASPS ยังคงมุมมองเดิม คือ  ประเด็นสงครามการค้าจะยังคงมีอยู่จนถึงการเลืกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี 2563  โดยยังเชื่อว่า Pattern หรือวงจรสงครามการค้ายังมีโอกาสเกิดซ้ำๆ คือ ทั้ง 2 ฝั่ง ขู่-ตึงเครียด-ผ่อนคลาย สลับกันไปเรื่อยๆ  ดังที่เคยนำเสนอมาตลอด
โดยรวมประเด็นเรื่องสงครามการค้าดังกล่าวระยะสั้น เชื่อว่ากดดันสินทรัพย์เสี่ยง แต่ตลาดหุ้นโลกเมื่อวานนี้ปรับลงเล็กน้อย   แต่เป็นประเด็นกดดันราคาน้ำมันดิบโลก เห็นได้จาก ราคาน้ำมัน Brent ปรับลดลงราว 1.9% ดูไบลดลง 2.2%  และถูกกดดันอีกประเด็นคือ วานนี้  EIA รายงาน สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น  2  สัปดาห์ติดต่อ คือเพิ่มขึ้น 7.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากโรงกลั่นลดกำลังการผลิตน้ำมัน  คาดกดดันหุ้นพลังงานในวันนี้
กนง. ลดดอกเบี้ยฯตามคาด 25 bps.อยู่ที่ 1.25% และออกมาตรการชะลอบาทแข็งค่า
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้าในช่วงที่เหลือของปี 2562-2563    ทั้งภาคการส่งออกราว 68% ของ GDP ที่หดตัว (ส่งออกเฉลี่ย 9M62 หดตัวเฉลี่ย 2.1%) และเงินบาทที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค  ,ภัยแล้งที่มาเร็วกว่าคาด กระทบต่อการจ้างานและกำลังซื้อและการบริโภคครัวเรือน คิดราว 50% ของ GDP ทำให้เห็นการเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นทั้งการคลัง และล่าสุด วานนี้ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติมติ 5 ต่อ 2   ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ของปีนี้ตามคาด  คือปรับลดลง 25 bps อยู่ที่ 1.25% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หรือเท่ากับสมัยเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง)
อัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อของไทย
 
ASPS ประเมินว่าระดับดอกเบี้ยนโยบายที่  1.25% จะยังทรงตัวในระดับนี้ไปจนถึงต้นปี  2563   เนื่องจาก   1.)ทิศทางดอกเบี้ยโลกเริ่มชะลอขาลงแล้ว  เห็นได้จากสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี  2563       2.) เศรษฐกิจไทยปลายปี จนถึงปีหน้า จะมีแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการคลังของรัฐบาลที่ออกมาปลายปี อาทิ ชิมช็อปใช้, มาตรการกระตุ้นลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหา, มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว อาทิ ท่องเที่ยวทั่วไทย เป็นต้น  และการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ที่จะเริ่มได้ในช่วง เดือน ก.พ. จะเป็นแรงหนุน      3.) ถ้อยแถลงในรายงานการประชุมรอบนี้ กนง. ได้ตัดข้อความที่ว่า ”คณะกรรมการพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายอย่างเหมาะสม” ออกไป   โดยรวมทำให้เชื่อว่าดอกเบี้ยไทยจะทรงตัวในระดับนี้ไปอีกระยะหนึ่ง
และสำคัญอีกประเด็น คือ เงินบาทที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค หรือแข็งค่าราว 8%อยู่ที่ บริเวณ 30.2 บาท ธนาคารแห่งประเทศได้ออกมาตรการชะลอการแข็งค่าออกมา 4 มาตรการ ซึ่งมีความชัดเจนในรายละเอียด ซึ่งไม่ได้ผิดจากที่ตลาดคาด   ซึ่งฝ่ายวิจัยเคยนำเสนอไปแล้ว ใน Market talk วันที่ 25 ต.ค. 2562   ต.ค.  หลักๆ คือ 1. การยกเว้นการนำรายได้จากการส่งออกกลับประเทศ 2. การส่งเสริมการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ 3.การเปิดเสรีโอนเงินออกนอกประเทศ 4.การซื้อขายทองคำด้วยสกุลเงินต่างประเทศ (รายละเอียดดังตาราง) จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2562
มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โดยรวมทำให้ค่าเงินบาทวานนี้ เริ่มชะลอการแข็งค่าในช่วงสั้น  ภายหลังการลดดอกเบี้ย และการประกาศมาตรการดูแลค่าเงินบาทข้างต้น คือ อ่อนค่าขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 30.4 บาท/ดอลลาร์ หรืออ่อนค่า 0.53% ก่อนที่จะปิดที่ 30.3 บาท/ดอลลาร์  ซึ่งอ่อนค่าราว 0.2%
หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์และ เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
ดังที่ ASPS นำเสนอใน Market talk มื่อวานนี้ถึงหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง คือ
“กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง”  เพราะมีโครงสร้างสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่สูง ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ หรือเงินกู้จาก ธ.พ. ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงทำให้ต้นทุนของกลุ่มเช่าซื้อลงตาม โดยเฉพาะบริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินระยะสั้นต่อระยะยาวมากกว่ากลุ่ม ได้แก่ ASK, SAWAD, THANI ซึ่งจะได้รับ Sentiment บวก อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดแนะนำเป็น Switch ยกเว้น MTC ที่ฝ่ายวิจัยเตรียมปรับไปใช้ FV ปี 63 ที่ 71 บาท จะมี  Upside 20% ซึ่ง MTC ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
“กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก” ซึ่งมีโครงสร้างสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่สูง แต่มีโครงสร้างเงินฝากบางส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จึงเป็นบวกต่อ NIM   เลือก KKP([email protected])  เป็น Toppick ของกลุ่ม
 “หุ้นปันผลสูง”  การปรับลดดอกเบี้ยจะกดดันให้ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ลดลง และมีโอกาสที่เม็ดเงินจะย้ายมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น หุ้นปันผลสูง ซึ่งหุ้นที่ฝ่ายวิจัยแนะนำในพอร์ตจำลอง คาดหวัง Dividend Yield มากกว่า 6%  คือ   MCS([email protected])  รวมถึง  LH([email protected])  และ KKP([email protected]), MAJOR([email protected]), PTT([email protected]), PTTEP([email protected])  
“กลุ่มอสังหาริมทรัพย์”  อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้อัตราการผ่อนชำระต่องวดของผู้กู้ที่อยู่อาศัยลดลง ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และมี Sentiment บวกจากมาตรการกระตุ้นลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิม 2% ของราคาประเมิน และค่าจดจำนองจากเดิม 1% ของมูลค่าที่จำนองเหลือ 0.01% และล่าสุด รัฐบาลเตรียมออกแคมเปญจูงใจให้ผู้บริโภค ซื้อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท คาดจะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ เพื่อเป็นการระบายสต็อก 3.3 หมื่นยูนิต โดยรวมถือว่า ดีต่อ LH([email protected]), PSH([email protected]) และ SPALI([email protected])
ขณะที่หุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์ คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ ธ.พ. ต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา กระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยรับและ NIM โดยธ.พ.ขนาดใหญ่ อาทิ  BBL, KTB, KBANK, SCB
EA ปลดล๊อคความกังวล เดินหน้าสร้างโรงงานแบตเตอรี่ต่อ...
วานนี้ ครม. มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนสีพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จ.ฉะเชิงเทรา จากพื้นที่สีเขียว (พื้นที่เพื่อการเกษตร) เป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) แล้ว ถือเป็นปัจจัยบวกต่อ EA (FV@B56) ทำให้คาดว่าโครงการสร้างโรงงานแบตเตอรี่เฟส 1 ขนาด 1 GW จะสามารถเดินหน้าได้ตามแผนและจะ COD ได้ในช่วง 1H63 (โครงการแบตเตอรี่เฟส 1 คิดเป็น FV 7 บาท/หุ้น) และส่งผลให้ราคาหุ้น EA วานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2.91% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 1,381.55 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังใกล้เข้าสู่การประกาศผลประกอบการงวด 3Q62 เป็นแรงผลักดันราคาหุ้นต่อเนื่องให้กับ EA จากแนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q62 ที่คาดจะเติบโตถึง 7.2%qoq เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท ผลจากกำไรปกติที่เพิ่มขึ้น 15.1%qoq จากธุรกิจไฟฟ้าพลังลม (รวม 385 MW) ได้ผลบวกจากฤดูมรสุม และการรับรู้โรงไฟฟ้าลมหนุมานเต็มไตรมาส ขณะที่แนวโน้มกำไรปกติ 4Q62 คาดเติบโตต่อจาก 3Q62 ทำระดับสูงสุดของปี หนุนหลักจากโรงไฟฟ้าโซลาร์ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 80% (สูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังลมซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 60%) จะกลับมาผลิตไฟได้สูงขึ้นตามฤดูกาลหลังหมดฤดูฝน นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากธุรกิจไบโอดีเซลที่คาดทั้งปริมาณและราคาขาย B100 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในช่วงปลายปี ราคาหุ้นมี Upside เปิดกว้าง 26.6% จึงเป็นโอกาสทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุน
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!