- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 30 October 2019 16:07
- Hits: 2068
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562
คาด SET Index ยังผันผวนภายใต้ระดับ 1600 จุด โดยนักลงทุนรอฟังผลการประชุม Fed ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดหรือไม่ ส่วนปัจจยในประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่ที่จะส่งผลต่อภาพใหญ่ของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยพิจารณา Cut Loss หุ้น SPALI หลังนักวิเคราะห์ปรับลดประมาณการ และให้ลงทุนเพิ่มใน JWD Top Picks วันนี้เลือก JWD (FV@B 12.30) และ EA (FV@B 56)
SET Index 1,591.21
เปลี่ยนแปลง (จุด) -5.27
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 57,421
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวันจนหลุดแนวรับ 1,600 จุด และสุดท้ายปิดที่ระดับ 1591.21 จุด ลดลง 5.27 จุด (-0.33%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 5.74 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานที่กดดันตลาดฯเกือบ 5 จุดซึ่งส่วนใหญ่มาจากพลังงานทดแทนเช่น GULF(-2.95%) GPSC(-8.17%) RATCH(-3.18%) BGRIM(-4.88%) กลุ่มธ.พ.เช่น KBANK(-3.68%) SCB(-1.36%) และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่โดนกดดันจากประเด็นการตัดสิทธิ GSP ของไทยเช่น DELTA(-9.57%) HANA(-4.95%) KCE(-2.17%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น CPALL(-1.58%) และ BJC(-2.06%) เป็นต้น
ปัจจัยในต่างประเทศมี 2 เรื่องหลักที่ต้องติดตามเริ่มจาก Brexit คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วง 31 ม.ค.63 และมีโอกาสที่จะเห็นการจัดการเลือกตั้งในอังกฤษ 12 ธ.ค.62 ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระดับที่ไม่มีนัยสำคัญ แต่ก็ต้องติดตามผลกระทบที่อาจเกี่ยวเนื่องกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องการประชุม Fed ซึ่งนักลงทุนคาดหมายว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% โดยน่าจะรู้ผลการประชุมในเช้าวันพรุ่งนี้ (เวลาในประเทศไทย) น้ำหนักของปัจจัยต่างประเทศ 2 เรื่องดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีผลต่อ SET Index มากนักในวันนี้ ส่วนในประเทศมีประเด็นที่ถูกกล่าวถึ่ง EEC ต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เกี่ยวกับเขตปลอดอากรสำหรับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตพื้นที่ EEC ส่งเสริมให้พื้นที่ EEC กลายเป็นศูนย์กลางของธุรกิจ E commerce ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลดีต่อหลายภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม คลังสินค้า รวมถึงระบบ Logistic และเป็นผลดีต่อราคาหุ้นของหุ้นอย่างเช่น AMATA, WHA, FPT และ JWD สำหรับทิศทางของ SET Index วันนี้ น่าจะยังผันผวนภายใต้ระดับ 1600 จุด กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ปรับพอร์ต โดย Cut Loss หุ้น SPALI หลัง นักวิเคราะห์ปรับลดประมาณการกำไรปี 2562 และ 2563 ลง และให้นำเม็ดเงินที่ได้ ไปลงทุนในหุ้น JWD แทน ส่วนหุ้น TOP Picks วันนี้เลือก EA และ JWD
ประชุม Fed คาดลดดอกเบี้ยฯ 25bps และอังกฤษจัดเลือกตั้งเดือน ธ.ค.62
ปัจจัยในต่างประเทศ เรื่องที่ตลาดสนใจในช่วงนี้ ยังคงประเด็น 1.) การถอนตัวออกจากยุโรปของอังกฤษ (Brexit) หลังจากต้นสัปดาห์ฝั่งยุโรป(EU) เห็นชอบให้อังกฤษสามารถเลื่อนวันถอนตัวออกจากยุโรป(Brexit Day) ไปอีก 3 เดือน คือ 31 ม.ค. 2563 จากเดิม 31 ต.ค. 2562 ล่าสุดวานนี้สภาล่าง (House of Commons ของอังกฤษมีมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 438 ต่อ 20 เสียง ให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธ.ค. 2562 ตามที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษเสนอ ส่งผลให้ขั้นตอนต่อไป ร่างกฎหมายเลือกตั้งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาสูง(House of Lords) ซึ่งคาดว่าสภาสูงจะเห็นชอบตาม และจะมีการยุบสภาในสัปดาห์หน้าต่อไป ประเด็นดังกล่าว ASPS มองว่าน่าจะไม่มีน้ำหนักมากนัก เนื่องจากกำหนดการ Brexit Day ยังเป็นวันที่ 31 ม.ค. 2563 ตามเดิม และความเสี่ยงของ No Deal Brexit มีน้อยลง ทำให้ ASPS คาดว่าน่าจะเป็นการซื้อเวลาต่อไป ส่งผลให้ Brexit ส่งผลให้หลังจากนี้ Brexit จะมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นโลกน้อยลง
2.)ฝั่งสหรัฐวันนี้เป็นการประชุมวันสุดท้ายของธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) จะทราบผลราวตี 1 ตามเวลาในประเทศ ตลาดคาดโอกาสถึง 94% Fedจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% อยู่ที่ 1.75% และ 30-31 ต.ค. ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ -0.1% และยังคงซื้อพันธบัตร (QQE) เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี แต่คาดว่ารอบนี้มีโอกาสที่จะมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม
เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยชะลอ หวังดอกเบี้ยกระตุ้นปลายปี
ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยฯไทย ASPS ยังคงมุมมองเดิมคือ คาดหวัง ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง คือ 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค. กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% โดยให้น้ำหนักรอบ พ.ย.มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยฯ โดยมีเหตุผลสำคัญ คือ
เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562-2563 ชะลอตัวหลักๆ คือ ภาคส่งออกราว 68% ของ GDP ที่ชะลอจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน (ส่งออกเฉลี่ย 9M62 หดตัวเฉลี่ย 2.1% และการบริโภคครัวเรือน(C) ราว 49%ของ GDP เชื่อว่ายังได้รับผลกระทบจากภาคส่งออกที่ชะลอ เห็นได้จากการจ้างงานในภาคการผลิตที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ ม.ค. 2562 – ปัจจุบัน และหนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูงราว 78.7% ของ GDP และ ปัญหาภัยแล้งกลับมาเร็วกว่าคาด ล่าสุด รัฐบาลประกาศจะเข้าสู่ภัยแล้ง 1 พ.ย.62 โดยจะทำให้ มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และกาทำการเกษตร แบ่งเป็นในพื้นที่เขตประปาภูมิภาค 22 จังหวัด อาทิ ภาคเหนือ 7 จังหวัดคือ เชียงใหม่, ลำปาง, พะเยา ฯลฯ, ภาคใต้ 4 จังหวัด คือ พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี และภาคตะวันออกมี 1 จังหวัด คือ ชลบุรี เป็นต้น ซึ่งจะกระทบต่อภาคการเกษตร และกำลังซื้อของครัวเรือน
แนวโน้มทิศทางของค่าเงินบาทยังแข็งค่า ซึ่งล่าสุด แกว่งอยู่ที่ระดับ 30.2 บาท/ดอลลาร์ หากนับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่าไปราว 7%ytd (แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค เทียบกับเงินรูเปียอินโดนีเซียแข็งค่า 3%, เงินเปโซฟิลิปปินส์แข็งค่า 2.5%,ขณะที่เงินมาเลเซียริงกิต และเงินรูปีอินเดียอยู่ในทิศทางอ่อนค่า
รัฐออกกฎหมายปลอดภาษีในพื้นที่ EEC กระตุ้นการลงทุนเอกชน ดีต่อ JWD
ความคาดหวังตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะมาจาก การลงทุน(I) ราว 23%ของ GDP หลังจากกลางปี 2562 รัฐบาลยังคงเดินหน้าออกมาตรการเพื่อดึงดูดการลงทุนการลงทุนเอกชนอาทิ Thailand Plus Package อาทิ มาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป้นเวลา 5 ปีแต่ต้องยื่นขอ BOI ปี 2563 , การปรับปรุง พรบ. คนต่างด้าว และการจัดหาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับต่างชาติ และ ล่าสุด วานนี้ ราชกิจจานุเบกษาประกาศ วิธีปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ. เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) ภายในเขตพื้นที่ EEC 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ASPS เชื่อว่าจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน อำนวยความสะดวก และดึงดูดต่อภาคธุรกิจ Logistic, คลังสินค้า
ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าธุรกิจ Ecomerce คือ การทำธุรกิจผ่านสื่อออนไลน์ เช่น การซื้อขายสินค้า-บริการ, การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ในไทย ปี 2561เพิ่มขึ้น 14%yoy อยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากแบ่งตามประเภทสินค้า คือ ธุรกิจห้างสรรพสินค้าสัดส่วนมากที่สุดราว 11.3%ของมูลค่า E-Commerce ทั้งหมดในไทย ปี 2561 รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม ราว 6.4% ตามมาด้วย กลุ่มเครื่องสำอาง ราว 4.8% เป็นต้น
หากพิจารณาผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดหลักๆจะเป็นชาวต่างชาติ อาทิ Shoppee, LAZADA, AMAZON เป็นต้น ในประเทศ อาทิ Central online, ROBINS online เป็นต้น
JWD (FV@B 12.30) ฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top Pick ในวันนี้ เนื่องจากประกาศดังกล่าว คาดว่าจะเห็นปริมาณสินค้าหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น ขณะที่ JWD เป็นผู้ประกอบการโลจิสติกครบวงจร น่าจะได้ประโยชน์ในการส่งขนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ JWD ยังมีการปรับกลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าเพื่อเสริมสร้าง Value Added รวมถึงขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากกาทำ M&A และ JV กับต่างประเทศ และล่าสุดรุกเข้าสู่การรับฝากสินค้าชนิดใหม่ที่เฉพาะทาง อย่าง ธุรกิจจัดเก็บสิ่งของล้ำค่า ส่วนในปี 2563 มีแผนลงทุนขยายคลังเคมี JCS และขยายคลังเย็นอาคาร 9 ระบบอัตโนมัติ ความจุราว 15,000 Pallet โดยรวมส่งผลให้ภาพธุรกิจของ JWD สดใสอย่างมาก โดยคาดกำไรปี 2562 เติบโตสูงถึง 37% YoY และเติบโตต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้า คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี CAGR 13% ด้านราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside เปิดกว้างกว่า 30.9% ยังเป็นโอกาสเข้าลงทุน
หุ้นโรงไฟฟ้าลงแรง แต่ยังมีหุ้นที่น่าสนใจลงทุนอยู่ EA GUNKUL
วานนี้หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ากดดันตลาดฯ โดยปรับฐานลงแรงเกือบทั้งกลุ่ม เช่น GPSC -8.2% BGRIM -4.9% EGCO -3.5% EA -3.2% RATCH 3.2% และ GULF 3.0% เป็นต้น เนื่องจากถูกขายทำกำไร หลังจากตลอดปี หุ้นหลายบริษัทในกลุ่มนี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทั้งจากความคาดหวังต่อการเติบโตของกำไร บวกกับการหลบเลี่ยงเข้ามาลงทุนในหุ้น Domestic ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นสงครามทางการค้า หนุนให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างโดดเด่น โดยหากพิจารณาผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี 2562 ของแต่ละบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างร้อนแรงดังนี้ GULF ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากสุด 102%, BGRIM 84%, RATCH 50% EGCO 46% GPSC 44% CKP 26% เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการเข้าลงทุน และขายทำกำไรจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาจากมูลค่าทางพื้นฐานเป็นหลัก ดังนั้นในเบื้องต้นฝ่ายวิจัยจึงทำการคัดกรองหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ราคาปรับตัวขึ้นมาแรงจนเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว โดยใช้เงือนไขดังนี้
• เป็นหุ้นกลุ่มโรงที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ “Sell” หรือ “Switch”
• ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงเกิน 20% ytd
• และที่สำคัญราคาหุ้น ณ ปัจจุบันเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2562 ทั้งสิ้น หรือมี Upside < 0
ได้ผลลัพธ์ดังนี้
หุ้นดังกล่าวปัจจุบันมีการซื้อขายบนค่า P/E สูงกว่า ณ สิ้นปี 2561 พอสมควร และคาดหวัง Dividend Yield ได้น้อยลงเช่นกัน
รวมถึงหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ยังน่าลงทุน คือ มี Upside สูง, ราคายัง Laggard กว่ากลุ่มฯ พร้อมกับแนวโน้มกำไรในช่วงที่เหลือของปียังเติบโตได้ดี คือ Valuation หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่น่าสนใจ
สรุปคือ หุ้นโรงไฟฟ้าเกือบทุกบริษัทที่ปรับฐานลงมาแรงในวานนี้ มีทั้งหุ้นแพงและหุ้นถูกผสมกันอยู่ โดยเฉพาะหุ้นที่ยังมี Upside สูง แนวโนมกำไรเติบโตได้ดีต่อจากนึ้ อย่าง EA และ GUNKUL ฝ่ายวิจัยฯยังเชื่อว่าเป็นโอกาสเข้าละลมลงทุน และมีโอกาสได้รับเม็ดเงินลงทุนจากหุ้นที่เกินมูลค่าพื้นฐานเข้ามาเสริมอีกแรง โดยรายละเอียดทางพื้นฐานแต่ละบริษัทมีดังนี้
GUNKUL (FV’[email protected]) ราคาหุ้นมี upside เกือบ 25% ขณะที่ PER ปี 62 และ 63 ต่ำเพียง 13 และ 12 เท่า ตามลำดับ โดยระยะสั้นมีปัจจัยบวก 2 ประเด็น ได้แก่ (1) คาดกำไรสุทธิ 3Q62 จะเติบโตมีนัยฯถึง 94.5%qoq มาอยู่ที่ 850 ล้านบาท หนุนหลักจากกำไรโรงไฟฟ้าพลังลมรวม 170 MW ที่ในปีนี้ได้รับผลบวกจากพายุหลายลูก จึงทำให้แรงลมสูงกว่าปกติเกือบตลอดทั้งไตรมาส (2) GUNKUL กำลังเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าโซลาร์เวียดนามที่ COD แล้ว (ราว 60 MW) ซึ่งจะสามารรับรู้รายได้ได้ทันที คาดจะเห็นความชัดเจนในเดือน พ.ย. นี้
EA (FV’63@B 56) ยังคงเลือกเจากสถิติ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า เดือน พ.ย. ราคาหุ้น EA จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 4.19% และให้ผลตอบแทนเป็นบวก 4 ใน 5 ปี ขณะที่ปัจจัยหนุน คาดกำไร 2H62 เติบโตมีนัยฯจาก 1H62 โดยคาดกำไรสุทธิ 3Q62 เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท เติบโต 7.2%qoq ผลจากกำไรปกติที่เพิ่มขึ้น 15.1%qoq จากธุรกิจไฟฟ้าพลังลม (รวม 385 MW) ได้ผลบวกจากฤดูมรสุม และการรับรู้โรงไฟฟ้าลมหนุมานเต็มไตรมาส ขณะที่แนวโน้มกำไรปกติ 4Q62 คาดเติบโตต่อจาก 3Q62 ทำระดับสูงสุดของปี หนุนหลักจากโรงไฟฟ้าโซลาร์จะกลับมาผลิตไฟได้สูงขึ้นตามฤดูกาลหลังหมดฤดูฝน นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากธุรกิจไบโอดีเซลที่คาดทั้งปริมาณและราคาขาย B100 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในช่วงปลายปี
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ