- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 30 October 2019 15:52
- Hits: 914
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ติดตามเจรจาการค้า-ถ้อยแถลงของเฟด กังวลหนี้ TFI”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -5.27 จุด ปิดที่ 1591.21 จุด มูลค่าการซื้อขายบางลงเป็น 57.4 พันล้านบาท ดัชนีอ่อนกว่าภูมิภาค หลักทรัพย์ที่ฉุดดัชนีฯ คือ หุ้นโรงไฟฟ้า KBANK และ DELTA ซื้อสุทธิคือ สถาบัน และรายย่อย ขายสุทธิเป็น ต่างชาติและโบรกเกอร์ ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบาทด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ไม่แน่ใจลงนามการค้าทันประชุมเอเปค รอถ้อยแถลงเฟด กังวลหนี้ TFI แม้คาดว่าเฟดลดดอกเบี้ย แต่ทั่วโลกติดตามถ้อยแถลงเฟดต่อภาวะเศรษฐกิจ ตัวเลข GDP ไตรมาส 3 และตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลง ราคาน้ำมันดิบปรับลง ด้านปัจจัยลบในประเทศคือดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ก.ย.ปรับลง ตลาดที่อยู่อาศัยไทยไม่สดใส ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ และดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับลง จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนปัจจัยบวกคือ 1 ก.ย.ครมเศรษฐกิจประชุมช่วย SME และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ด้านปัญหาการชำระหนี้รายล่าสุดคือ TFI ค้างหนี้รวมดอกเบี้ยเป็น 1.04 พันล้านบาท ทำให้กังลหุ้นกลุ่มแบ็งค์
# ระยะสั้นคาด SET- มีโอกาสซึมๆ sideways รอความคืบหน้าเจรจาการค้า ลงนามเฟส 1 และถ้อยแถลงเฟด ระยะสั้น ข่าวหนี้ TFI อาจกระทบหุ้นกลุ่มแบ็งค์ติดตามกำไร 3Q62 ตัวใหญ่คือ PTTEP และ ADVANC ที่คาดว่าออกมาจะอยู่ในเกณฑ์ดี ยังต้องระวังหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัย การปฎิเสธสินเชื่อสูง และการเร่งระบายสต็อค ทำให้อัตรากำไรปรับลง การลงทุนยังเน้นหุ้น Defensive ปันผลสูง และ Domestic Play หลังเศรษฐฺกิจชะลอ คาด SET ซื้อขายในกรอบ 1580-1610 จุด แนวต้านเป็น 1600-1610 จุด แนวรับอยู่ที่ 1580-1560 จุด Stop Loss ต่ำกว่า 1590 จุด การเข้าเก็งกำไรควรเข้าไว-ออกไว กลยุทธ์ คือ เลือกลงทุนทยอยสะสม เป็นรายกลุ่มและรายตัว (Selective) ตาม Theme เป้าหมายดัชนีปีนี้ 1680 ปีหน้า 1725 จุด หุ้นได้ประโยชน์มาตรการรัฐ-CPALL,BJC,AMATA,WHA,CK,STEC ดอกเบี้ยขาลง-DIF,CRYSTAL,TPRIME,MTC,SAWAD ปันผลสูง- KKP,TISCO,AP,ORI หุ้น DEFENSIVE- ADVANC,BTS,BEM ได้ประโยชน์ IMO 2020- TOP ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัว รัฐกระตุ้นท่องเที่ยว- AOT,ERW,MINT กลุ่มการแพทย์ 3Q ฤดูกาลดีที่สุดในรอบปี อากาศผันผวนสูง - CHG,RJH,RPH
# Stock Pick Today : CHG คาดกำไรสุทธิ 3Q62 แข็งแกร่งที่ 190 ล้านบาท (+26%YoY, +54%QoQ) ซึ่งมาจากรายได้ +14%YoY เพราะ U Rate สูงขึ้น & โรงพยาบาลใหม่ 2 แห่งทำรายได้เพิ่มขึ้น และ EBITDA margin สูงขึ้นหลังโรงพยาบาลเปิดใหม่ขาดทุนน้อยลง คาดกำไรสุทธิปี 63F เติบโตสูง 15%YoY เพราะโรงพยาบาลใหม่ 2 แห่งจะคุ้มทุน รวมทั้งโรงพยาบาลที่ทำมีกำไรอยู่แล้วก็มีรายได้เติบโต & มี Economy of scale ที่ดีขึ้น มีโอกาสได้เงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่ม คงคำแนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 2.70 บาท (DCF)
การวิเคราะห์ทางเทคนิค: ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เปลี่ยนกลับมาเป็น“ลบ” {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน”ต่อ (โดยยังถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง –ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่“ค่าบวก”(มี“Oversold”ในกราฟรายนาที“หนุน”) จะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1600 (หรือ 1610) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1590” (แนวรับย่อย “1580 / 1560 – 1550” จุด)} หุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคทำ New High เข้ามาใหม่คือSAWAD ที่ยังอยู่ใน List คือ DIF,CHG,TOA,KBANK,OSP,BCH,RPH หุ้นหลุด List คือ GCAP,MAJOR,GPSC หุ้นอยู่ในพื้นที่ Take Profit คือ BEM,AOT
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : AP (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 8.20)
SPALI (ถือ -ราคาพื้นฐาน 18.50)
TEAMG (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 3.15)
Flash Note : HMPRO (ถือ -ราคาพื้นฐาน 17.50)
In The News : ตั้งกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาวทดแทนกองทุน LTF
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจโมเดิร์นเทรดลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส
AOT(ราคาปิด 78.25 บาท) : เดินหน้าพัฒนา Terminal 2 สุวรรณภูมิคาดสรุป พ.ย.นี้
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- เจรจาการค้า: ปธน.ทรัมป์และปธน.สี จิ้นผิง อาจจะไม่ลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกในการประชุมเอเปค
# สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐรายหนึ่งว่า ปธน.ทรัมป์และปธน.สี จิ้นผิงอาจจะไม่มีการลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกในการประชุมเอเปค ที่ประเทศชิลีในเดือนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการที่ทั้งสองฝ่ายยังคงต้องใช้เวลาในการเจรจามากขึ้น
# รายงานข่าวดังกล่าวสวนทางกับทำเนียบขาวที่ได้แถลงก่อนหน้านี้ว่า ปธน.ทรัมป์และปธน.สี จิ้นผิงจะลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรก นอกรอบการประชุมเอเปคซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 16-17 พ.ย.
-/+ สหรัฐ: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลง แต่ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเพิ่ม
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลงสู่ระดับ 125.9 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ขณะที่สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย(pending home sales) เพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.9%
+/• เฟด: มีโอกาสสูงปรับลดอัตราดอกเบี้ย 30 ต.ค.นี้ ติดตามถ้อยแถลง
# นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วานนี้ และวันนี้ 30 ต.ค.นี้ ขณะที่ FedWatchTool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า มีโอกาส 94.1% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้
- ดัชนีหุ้นสหรัฐ: ปรับลง กังวลลงนามการค้าไม่ทันประชุม เอเปค
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,071.42 จุด ลดลง 19.30 จุด หรือ -0.07% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่3,036.89 จุด ลดลง 2.53 จุด หรือ -0.08% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,276.85 จุด ลดลง 49.13 จุด หรือ -0.59%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวรายงานข่าวที่ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน อาจไม่มีการลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกในการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่ประเทศชิลีในเดือนหน้า ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนต.ค.จาก ADP,ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2562, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนก.ย., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เขตชิคาโกเดือนต.ค., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนต.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนต.ค.
-/+ น้ำมัน: WTI ปรับลง แต่เบรนท์ปรับขึ้น
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 27 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 55.54 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 2 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 61.59 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) หลังจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ช่วยให้สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงไม่มากนัก
+ ทองคำ: ปรับลง ความต้องการจากอินเดียปรับตัวลดลง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 5.1 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่1,490.7 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากคำสั่งขายทำกำไร รวมทั้งรายงานที่ว่าความต้องการทองคำในช่วงเทศกาลทิวาลีของอินเดียปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
-ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ย. 2562 อยู่ที่ 97.50 หดตัว 4.73% y-o-y
# สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ย. 2562 อยู่ที่ 97.50 หดตัว4.73% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องส่งผลให้ ดัชนี MPI ในไตรมาส 3/62 หดตัว 4.15% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
+ ติดตามประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันที่ 1 พ.ย.62 ส่งเสริม SME และประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว
# ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันที่ 1 พ.ย.62 จะมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ คือ มาตรการส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และประเด็นเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว
-ไนท์แฟรงค์เห็นว่าตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
# กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตามอุปสงค์ที่ลดลงของผู้ซื้อทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ
# ผลกระทบ: ยังต้องระวังหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัย การปฎิเสธสินเชื่อสูง และการเร่งระบายสต็อคงวด 4Q62 ทำให้อัตรากำไรปรับลง ส่วนมาตรการกระตุ้นบ้านต่ำกว่า 3 ล้านบาทยังไม่กำหนดวัน ทำให้โอนล่าช้า เพื่อจะได้ประหยัดเงินค่าโอนและจดจำนอง ขึ้นกับการประกาศราชกิจจานุเบกษา มาตรการกระตุ้นฯ หากมีผลทันทีก็จะยังบรรเทา ซึ่งคาดว่าจะเป็นปลาย พ.ย.62 แต่หากไปเริ่ม 1 ม.ค.63 ก็อาจจะกระทบผลการดำเนินงานบริษัทที่มีสินค้าบ้าน-คอนโดต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในงวด4Q62 ได้
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]