- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 29 October 2019 16:09
- Hits: 2732
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พัฒนาการเชิงบวกจากสงครามการค้า น่าจะทำให้ SET Index วันนี้กลับมายืนเหนือ 1600 จุดได้ ประเด็นที่จับตาต่อไปเป็นเรื่องของทิศทางดอกเบี้ย ซึ่งสัปดาห์นี้จะมีการประชุม Fed ต่อด้วยการประชุม กนง. 6 พ.ย. ที่จะถึงนี้โดยคาดจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้ แนะนำขายทำกำไร ROBINS และ สลับเข้า EA Top Picks เลือก CPN (FV@B 92), MCS ([email protected]) และ EA (FV@B 56)
SET Index 1,596.48
เปลี่ยนแปลง (จุด) 3.20
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 49,890
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าและแกว่งทรงตัวในกรอบแคบตลอดวัน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในแถบเอเชียที่ส่วนใหญ่ปิดตัวในแดนบวก จากการคาดหวังการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้สุดท้ายปิดที่ระดับ 1596.48 จุด เพิ่มขึ้น 3.20 จุด (+0.20%) ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย 4.98 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มขนส่งที่ผลักดันตลาดฯกว่า 1.5 จุดเช่น AOT(+1.64%) AAV(+0.80%) กลุ่มวัสดุก่อสร้างเช่น SCC(+1.41%) TOA(+3.28%) แต่โดนกดดันจากกลุ่มพลังงานเช่น BGRIM(-1.44%) EA(-1.05%) GULF(-1.74%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น CPF(-2.00%) CPN(-0.78%) และ TU(-3.57%) เป็นต้น
พัฒนาการเชิงบวกจากการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ที่อาจนำไปสู่การลงนามข้อตกลงบางประการ ทำให้ตลาดหุ้นสำคัญในโลกดีดตัวกลับขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของผลกระทบที่เป็นรูปธรรมยังคงมีให้เห็นอยู่ และน่าจะยังมีผลต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 สำหรับในส่วนของประเทศไทย ผลกระทบจากเรื่องสงครามการการค้าสร้างแรงกดดันต่อภาคการส่งออกเพิ่มขึ้นตามลำดับ และ ยังถูกทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกหลังจากที่ สหรัฐฯ ประกาศตัด GSP สินค้านำเข้าจากประเทศไทย 573 รายการ (มีผลในอีก 6 เดือนข้างหน้า) ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้สมมุติฐานของฝ่ายวิจัยที่กำหนดให้การส่งออกปี 2562 หดตัว 3% YoY และ GDP Growth อยู่ที่ 2.7% มีความเป็นไปได้มากขึ้น สำหรับแนวโน้มในปี 2563 ฝ่ายวิจัยยังเห็นว่าเป็นปีที่ยังค่อนข้างลำบากสำหรับภาคการส่งออก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน ครบทั้ง 4 รอบ เต็มทั้งปี ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะเห็นยอดการส่งออกไม่เติบโต ซึ่งก็น่าจะทำให้ GDP Growth ทรงตัวอยู่ที่บริเวณ 2.7 – 2.8% ซึ่งถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว เชื่อว่าน่าจะเห็นการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆ จากภาครัฐออกมาต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงของ กนง. ด้านกลยุทธ์การลงทุนวันนี้แนะนำ ขายทำกำไร ROBINS (น้ำหนักการลงทุน 15%) และให้นำเม็ดเงินที่ได้เข้าลงทุนใน EA ซึ่งเป็นหุ้นที่ฝ่ายวิจัยปรับคำแนะนำเป็นซื้อ และเชื่อว่าน่าจะเห็นการดีดตัวกลับของราคาหุ้นขึ้นมาได้ ส่วนหุ้น TOP Pick วันนี้เลือก EA และ CPN
Trade war ผ่อนคลายช่วงสั้น หนุนตลาดหุ้น S&P ทำจุดสูงสุด
วานนี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง คือ ดัชนี S&P500 ทำจุดสูงสุด All Time High หลักๆ มาจาก
1.)สงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ผ่อนคลาย คือ ประธานาธิบดีทรัมป์เผยว่าอาจมีการเซ็นสัญญาสงบศึกสงครามการค้ากับจีนเฟสที่ 1 เร็วกว่ากำหนดการเดิม ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 16-17 พ.ย. 2562 ระหว่างการประชุม APEC ที่ประเทศชิลี อย่างไรก็ตามทรัมป์ยังไม่ได้ระบุช่วงเวลาเซ็นสัญญาใหม่ชัดเจน อย่างไรตามก็ตาม ปัจจุบันทั้ง 2 ฝั่งยังคงจัดเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ย 25% ระหว่างกันรวม 4 รอบ ทำให้ ASPS ยังคงมุมมองต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกในปี 2562 และปี 2563
2.)ยุโรป(EU) เห็นชอบให้อังกฤษสามารถเลื่อนวันถอนตัวออกจากยุโรป(Brexit Day) ออกไปอีก 3 เดือน คือ 31 ม.ค. 2563 จากเดิมที่มีกำหนดวันออกคือ 31 ต.ค.2562 โดยความเสี่ยงที่จะเกิดที่อังกฤษจะออกแบบ No deal มีน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวไม่ได้ต่างจากที่ตลาดคาดไว้ ซึ่ง ASPS คาดว่าน่าจะเป็นการซื้อเวลาต่อไป ส่งผลให้ Brexit เป็นประเด็นที่ยังคงวนเวียนและกดดันเศรษฐกิจของอังกฤษต่อไป ขณะที่ผลต่อตลาดหุ้น ASPS คาดว่าตลาดได้รับรู้ประเด็นเรื่อง Brexit ไปพอสมควรแล้ว ส่งผลให้หลังจากนี้ Brexit จะมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นโลกน้อยลง
โดยรวมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากผลสงครามการค้า และ Brexit ที่ยังเวียนวนทำให้การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยังจำเป็น โดยเฉพาะในสหรัฐซึ่ง ASPS ให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางสำคัญในสัปดาห์นี้ คือ เริ่มจาก29-30 ต.ค. วันนี้เป็นวันแรกของการประชุมสหรัฐ(Fed) จะทราบผลเวลาตี 1 ตามเวลาในประเทศ ตลาดคาดว่า Fed มีโอกาสสูงถึง 92% ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.75% และ 30-31 ต.ค. ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ -0.1% และยังคงซื้อพันธบัตร (QQE) เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี แต่คาดว่ารอบนี้มีโอกาสที่จะมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม
เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ 3% คาดหวังดอกเบี้ยนโยบายกระตุ้นปลายปี
สงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ผ่อนคลายระยะสั้นดังกล่าว แต่ตราบที่ทั้ง 2 ฝั่งยังคงจัดเก็บภาษีนำเข้าระหว่างกันอัตราเฉลี่ย 25% รวม 4 รอบและมีโอกาสยืดเยื้อไปจนถึง 2563 ประกอบกับค่าเงินบาทที่ยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า ราว 7% นับตั้งแต่ต้นปี และตั้งต้นปีเฉลี่ยอยู่ที่ 30.2 บาท/ดอลลาร์ เชื่อว่าจะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2562 และปี 2563
โดยเฉพาะภาคส่งออกซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก คิดราว 68%ของ GDP หากพิจารณายอดส่งออก(X)ไทยในรูปดอลลาร์ เฉลี่ย 9M62 หดตัวเฉลี่ย 2.1% โดยแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้คือ งวด 4Q62 (ต.ค-ธ.ค. 2562) ASPS เชื่อว่าส่งออกจะยังหดตัวในต่อจากฐานที่สูงในปี 2561 ทำให้ทั้งปี 2562 คาดหดตัว 3%yoy และ GDP Growth อยู่ที่ 2.7% มีความเป็นไปได้มากขึ้น
ขณะที่ปี 2563 ASPS คาดแนวโน้มส่งออกจะทรงตัวหรือไม่เติบโต หรือ Flat ปริมาณ 0% ภายใต้ความเชื่อคือ หากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังมีอยู่ ทำให้เชื่อว่าได้รับผลกระทบจากการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีนครบทั้ง 4 รอบเต็มทั้งปี, เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว IMF คาด GDP Growth โลก ปี 2562-2563 ขยายตัว 3% และ 3.4% และเงินบาท/ดอลลาร์ทรงตัวแข็งค่าอยู่ที่ 31 บาท เป็นต้น ซึ่งก็น่าจะทำให้ GDP Growth ปี 2563 ทรงตัวอยู่ที่บริเวณ 2.7 – 2.8% ซึ่งถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ
โดยรวม ASPS เชื่อมั่นว่ารัฐบาลยังจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มเติม ทั้งมาตรการคลัง รวมถึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่านการลดดอกเบี้ย คือ คาดหวัง กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง คือ 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค. โดยให้น้ำหนักรอบ พ.ย.มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยฯ
หุ้นส่งออกส่วนใหญ่ กระทบจำกัดหลังจากสหรัฐฯตัดสิทธิ GSP ไทย
ดังที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอใน market talk เมื่อวานนี้ 28 ต.ค.2562 ถึงผลกระทบของสหรัฐจะตัดสิทธิภาษีศุลกากร GSP กับไทย(ทำให้ผู้ส่งไทยต้องเสียภาษีไปสหรัฐเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.5% และจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น) ใน 6 เดือนข้างหน้าจะให้ผล 25 เม.ย.63 สนค.ประเมินจะกระทบต่อการส่งออกในปี 2563 คือราว 0.01%ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดของไทยไปทั่วโลก
ขณะที่ผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาด Sector คือ กลุ่มส่งออกเกษตรและอาหาร และ กลุ่มกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดกระทบจำกัด หรือ กระทบน้อยมาก(รายละเอียดดังตาราง) แต่ผู้ที่จะกระทบคือ ผู้ส่งออกที่อยู่นอกตลาด
โดย ASPS ยังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มเกษตรและส่งออกอาหาร “เท่าตลาด” แนะนำสะสม CPF (FV@B35)และ TU (FV@B23) สำหรับการลงทุนระยะกลางถึงยาว ที่ราคาหุ้นปรับฐานจนมีค่า PER ปี 2563 เพียง 12 เท่า และยังสามารถคาดหวัง Div yields ได้ราว 3% ต่อปี
ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่เนื่องจากหุ้นทุกตัวที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาแนะนำ Sell อาทิ DELTA(FV@B53), HANA(FV@B26), KCE(FV@B13), SVI([email protected])
คาดตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัวหลังปรับฐานแรง
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 วันทำการ) ตลาดหุ้นไทยปรับฐานแรงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของตลาดหุ้น 94 ตลาดทั่วโลก (ข้อมูลจากทาง Bloomberg) โดยปรับตัวลดลงถึง 38 จุด หรือ 2.34% จากความกังวลคุณภาพสินทัพย์ของกลุ่ม ธ.พ. และผลประกอบการงวด 3Q62 บริษัทจดทะเบียนบางกลุ่มชะลอลง ขณะที่วานนี้ดัชนียังปรับฐานต่อในช่วงเช้า 14 จุด แต่สุดท้ายฟื้นขึ้นมาปิดบวก 3.2 จุด
อย่างไรก็ตามสังเกตได้ว่าแรงขายสุทธิเกิดขึ้นเฉพาะนักลงทุนสถาบันฯเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยตลอด 5 วันทำการที่ผ่านมา ขายสุทธิไปกว่า 7.0 พันล้านบาท แต่แรงซื้อ LTF ที่มักจะกระจุกตัวในช่วงท้ายของปี น่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง บวกกับนักลงทุนต่างชาติยังซื้อสุทธิ 3.7 พันล้านบาท (5 วันทำการ) อีกทั้งวานนี้ยังเปิด Long สัญญา SET50 Futures กว่า 2.15 หมื่นสัญญา น่าจะเป็นแรงส่งให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวตามตลาดหุ้นโลกได้
และหากพิจารณาในมุม Valuation ผ่านการประเมินเป้าหมาย SET Index ปี 2562 จากส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนจากตลาดทุนกับตลาดตราสารหนี้ หรือ Market Earning Yield Gap ที่ปัจจุบันกว้างขึ้นมาอยู่ที่ 4.85% (ใช้ Bond Yield 1 ปี ณ ปัจจุบัน ที่ 1.42%) ภายใต้ภาวะปกติบวกกับหากมี Fund Flow ช่วยหนุน คาดว่า Market Earning Yield Gap จะกลับมาซื้อขายที่ระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ที่ 4.28% (ใช้ Bond Yield 1 ปี ที่ 1.4%) สามารถคำนวณกลับมาเป็น PER ที่เหมาะสมที่ 17.6 เท่า จะหนุนให้ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2562 เดิมที่ 1,655 จุด (EPS62F 100.64 บาทต่อหุ้น คูณกับ PER ที่ 16.45 เท่า) ขยับขึ้นอยู่ที่ 1771 จุด
ยิ่งไปกว่านั้นหากในช่วงที่เหลือของปี หาก กนง. มีการลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง เหลือ 1.25% จะส่งผลให้ระดับ Market Earning Yield Gap ณ ปัจจุบัน กว้างขึ้นเกินกว่า 5% ตามกลไกปกติแล้วส่งผลให้ตลาดหุ้นซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้นไปอีก ประเมินว่าอยู่ที่ระดับ 18.08 เท่า หนุนให้เป้าหมาย SET Index ขึ้นไปแตะระดับ 1800 จุดได้
สรุปคือ ดัชนีหุ้นไทย ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับ Valuation ที่น่าสนใจมาก บวกกับกลไก Market Earning Yield Gap ที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะหนุนให้ตลาดมี Downside จำกัด รวมถึงซื้อ LTF ที่มักจะกระจุกตัวในช่วงท้ายของปี จะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ดัชนีกลับยืนเหนือ 1600 จุด อีกครั้ง ตามที่ฝ่ายวิจัยฯได้นำเสนอมาตลอด
กลยุทธ์ลงทุน เน้นหุ้นเติบโตดี ชอบ EA MCS
พัฒนาการเชิงบวกของการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน จะเป็นปัจจัยหนุนต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นโลก และไทย อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ เป็นช่วงของการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนงวด 3Q62 ซึ่งจะมีทั้งแรงเก็งกำไรและแรงขายหลังประกาศงบ ทำให้ SET Index แกว่งตัวผันผวน โดยประเมินกรอบดัชนี 1580-1604 จุด กลยุทธ์ลงทุน จึงเน้นไปในหุ้นที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตดี และราคาผ่านการปรับฐานจากปัจจัยแวดล้อมไปพอสมควรแล้ว อย่าง EA(FV’63@B 56) และ MCS(FV@B 11.30) โดยมีรายละเอียดดังนี้
EA (FV’63@B 56) จากสถิติ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า เดือน พ.ย. ราคาหุ้น EA จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 4.19% และให้ผลตอบแทนเป็นบวก 4 ใน 5 ปี ขณะที่ปัจจัยหนุน คาดกำไร 2H62 เติบโตมีนัยฯจาก 1H62 โดยคาดกำไรสุทธิ 3Q62 เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท เติบโต 7.2%qoq ผลจากกำไรปกติที่เพิ่มขึ้น 15.1%qoq จากธุรกิจไฟฟ้าพลังลม (รวม 385 MW) ได้ผลบวกจากฤดูมรสุม และการรับรู้โรงไฟฟ้าลมหนุมานเต็มไตรมาส ขณะที่แนวโน้มกำไรปกติ 4Q62 คาดเติบโตต่อจาก 3Q62 ทำระดับสูงสุดของปี หนุนหลักจากโรงไฟฟ้าโซลาร์ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 80% (สูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังลมซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 60%) จะกลับมาผลิตไฟได้สูงขึ้นตามฤดูกาลหลังหมดฤดูฝน นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากธุรกิจไบโอดีเซลที่คาดทั้งปริมาณและราคาขาย B100 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในช่วงปลายปี
MCS (FV@B 11.30) เนื่องจากได้รับงานใหม่เข้ามาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2562 รวม 7 โครงการ น้ำหนักรอส่งมอบกว่า 1.35 แสนตัน ขณะที่ปัจจุบัน MCS อยู่ระหว่างเจรจางานในญี่ปุ่นหลายโครงการ คาดช่วงที่เหลือของปีน่าจะได้เซ็นสัญญาเพิ่มเติม ทำให้ผลการดำเนินงาน 3Q62 คากกำไรเติบโตก้าวกระโดด เพิ่มขึ้นถึง 64 %QoQ และ 309%YoY เท่ากับ 195 ล้านบาท และน่าจะยังรักษาการเติบโตของกำไรไว้ได้ใน 4Q62 ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside กว่า 24.2% นอกจากนี้ยังลุ้นรับเงินปันผลระหว่างกาล 9M62 ตามนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิ ถือเป็นโอกาสลงทุน
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ