- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 25 October 2019 11:43
- Hits: 2504
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562
คาดว่าจะเห็นการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทิศทางดังกล่าวทำให้ปริมาณเงินในระบบสูงขึ้น และมีโอกาสไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในระยะต่อไป แต่ระยะสั้นเงินบาทที่แข็งค่ามาก ทำให้ FX Risk ยังสูง ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่มีแรงหนุนจาก Fund Flow วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน Top Picks ยังคงเลือก CPN (FV@B 92), CK (FV@B 34) และ AMATA ([email protected])
SET Index 1,620.97
เปลี่ยนแปลง (จุด) -10.49
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 70,337
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิด Gapกว่า 5 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงแรงตลอดวันจนปิดในแดนลบ จากปัจจัยลบเฉพาะบางบริษัท เช่น KBANK, TU จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1620.97 จุด ลดลง 10.49 จุด (-0.64%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 7.03 หมื่นล้านบาท (สูงสุดในรอบ 2 เดือน) โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มธ.พ.ที่กดดันตลาดฯกว่า 7 จุดเช่น KBANK(-7.38%) SCB(-6.58%) BBL(-2.67%) KTB(-2.37%) กลุ่มค้าปลีกเช่น CPALL(-0.92%) BJC(-2.45%) BEAUTY(-5.00%) และอาหารเช่น CPF(-0.97%) TU(-7.24%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวเช่น SCC(-1.62%) IVL(-3.54%) และ AWC(-3.20%) เป็นต้น
การประชุมธนาคารกลางของหลายประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะเห็นการแสดงท่าทีใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยล่าสุด ECB จะเริ่มอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการซื้อพันบัตร 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เริ่ม 1 พ.ย.2562 และในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุม Fed ซึ่งนักลงทุนกว่า 90% ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ถูกคาดหมายว่าจะมีมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติม สำหรับประเทศไทย การประชุมธนาคารกลาง 6 พ.ย.62 ประเมินจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ บวกกับเงินบาทที่แข็งค่าก็เชื่อว่ามีความเป็นได้มากที่จะเห็นการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเช่นกับ ส่วนทิศทาง Fund Flow แม้เชื่อว่าในระยะกลาง–ยาว ด้วยปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มสูงขึ้น น่าจะทำให้เห็นการไหลกลับของเม็ดเงินลงทุนเข้ามาสู่ตลาดหุ้นได้ แต่ในระยะสั้นด้วยความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น อาจทำให้ SET Index กลับมาอยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลื่อน จึงคาดว่า SET Index ในช่วง 1–2 สัปดาห์นี้น่าจะผันผวนช่วง 1600–1640 จุด กลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน โดยเห็นว่าหุ้นในพอร์ตส่วนใหญ่อยู่ในสถานะที่ไม่แพงและมีโอกาสที่มีข่าวดีเข้ามากระตุ้นราคาให้ปรับขึ้นไปได้ อีกทั้งยังไม่มีหุ้นที่อยู่ภายใต้กระแสกดดันอย่างธนาคารพาณิชย์ ส่วนหุ้น Top Picks ยังคงเลือก CK , CPN และ AMATA
ธนาคารกลางทั่วโลกยังจำเป็นต้องผ่อนคลายทางการเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้าและ Brexit ที่ยังวนเวียน ทำให้เห็นธนาคารกลางสำคัญยังคงเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ล่าสุด วานนี้ ยุโรปธนาคารกลาง ECB ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาดที่ 0% และคงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของประเทศในยุโรปฝากกับ ECB ที่ -0.5% และปัจจุบัน ECB กลับมาเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตร QE วงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร/เดือนตั้งแต่ 1 พ.ย. 2562 (ปลายเปิด) และ 1 พ.ย. ประธาน ECB มาริโอ้ ดรากีจะลงจากตำแหน่ง และ คริสติน ลาการ์ด อดีตผู้อำนวยการ(IMF) จะขึ้นเป็นประธานคนใหม่ซึ่งมีแนวคิดใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Dovish) ASPS เชื่อว่าหากเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว มีโอกาสจะเดินหน้ากระตุ้นเพิ่มเติมผ่านการลดดอกเบี้ยฯหรือ เพิ่มวงเงิน QE ต่ออีก
ขณะที่สหรัฐ สัปดาห์หน้า 29-30 ต.ค.หลังจากดัชนีช้ำนำเศรษฐกิจมีบางสัญญาณชะลอตัว ทำให้ตลาดคาดโอกาส 90% ในรอบนี้ธนาคารกลาง (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงราว 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2% มาอยู่ที่ 1.75% ณ.ช่วงสิ้นปี และล่าสุด พึ่งประกาศเริ่มการเข้าซื้อ Treasury bills หรือตั๋วเงินคลัง ระยะสั้นที่มีอายุ < 1 ปี วงเงินรวม 6 หมื่นล้านเหรียญฯต่อเดือน มีผลตั้งแต่ 15 ต.ค. 2562 ไปจนถึง งวด 2Q63 และเข้าทำธุรกรรม Open Market Operations (OMOs) อาทิ ผ่าน Term Repo 2 ครั้ง/เดือน ครั้งละ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ และ Overnight Repo ทุกวันๆ ละ 7.5 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งจะทำให้งบดุลธนาคารกลางเพิ่มขึ้น
และ 30-31 ต.ค. ประชุม ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ซึ่งปัจจุบัน ยังคงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ -0.1% และยังคงซื้อพันธบัตร (QQE) เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี แต่รอบนี้มีความคาดหวัง BOJ จะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
เงินบาท/ดอลลาร์ที่ระดับ 30 คาดกดดัน กนง. ลดดอกเบี้ยฯ 6 พ.ย.
แนวโน้มทิศทางของค่าเงินบาทยังแข็งค่า ซึ่งล่าสุด แกว่งอยู่ที่ระดับ 30.25 บาท/ดอลลาร์ หากนับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่าไปราว 7%ytd (แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค เทียบกับเงินรูเปียอินโดนีเซียแข็งค่า 3.5%, เงินเปโซฟิลิปปินส์แข็งค่า 2.5%, เงินมาเลเซียริงกิตอ่อนค่า 0.7% และเงินรูปีอินเดียอ่อนค่า 1.5%) สาเหตุสำคัญมาจากทิศทางดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ประกอบกับไทยมีสถานะการเงินระหว่างประเทศแข็งแกร่ง เห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ล่าสุด มีจำนวน 2.2 แสนล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปี 2540 และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกัน 6 ปี ทำให้นักลงทุนต่างชาติมองเงินบาทเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Heaven)
อย่างไรก็ตาม ASPS มองว่าค่าเงินบาทไม่น่าจะลดลงต่ำกว่า 30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากลงมาแตะน่าจะฟื้นตัว หากพิจารณาในมุมมองทางเทคนิค ประเมินทิศทางค่าเงินบาท (ภาพรายสัปดาห์) ยังมีแนวโน้มแข็งค่าลงมาที่ 29.50 - 30.00 บาท/usd แต่อย่างไรก็ตามแนวรับบริเวณดังกล่าวถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 8 ปี ขณะที่หากค่าเงินบาทลงไปสู่ระดับนั้นจริงจะมีโอกาสมากที่ RSI จะเข้าบ่งชี้ถึงภาวะ Oversold ซึ่งจะทำให้ทิศทางค่าเงินบาทเริ่มชะลอการแข็งค่าภายหลังเข้าเขตดังกล่าว
แนวโน้มค่าเงินบาท/ดอลลาร์
และหากเงินบาทแข็งค่าลงไปใกล้ระดับ 30 บาท ดังกล่าว เชื่อว่าจะกระตุ้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดำเนินมาตรการดูแลค่าเงินบาทดังที่ ASPS เคยเขียนใน Market talk 10 ต.ค.2562 ว่าเบื้องต้น ธปท. จะออกมาตรการส่งเสริมเงินทุนไหลออก หรือ Capital Outflow (แถบสีเหลืองอ่อน ในตาราง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการใช้เวลาระยะยาว เช่น การผลักดันการนำเข้า, การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ และอาจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน จึงอาจมีความล่าช้าได้) หากต้องการให้เงินบาทอ่อนค่าแรง เชื่อว่า ธปท. จำเป็นต้องใช้มาตรการ แถบสีเหลืองเข้ม-สีแดงเป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ASPS เชื่อว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ จะช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดย ASPS ยังคงมุมมองเดิมคือ กนง. มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เป็น 1.25% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง คือ 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค. 2562 โดยให้น้ำหนักรอบวันที่ 6 พ.ย. 2562 มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และลดแรงกดดันจากค่าเงินบาท
MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน และค่าเงินบาทที่แข็งค่า ยังเหนี่ยวรั้งการไหลเข้าของ Fund Flow
ภาพรวม Fund Flow ตลาดหุ้นไทยในปี 2562 นี้ แม้ต่างชาติจะเคยซื้อสุทธิสะสมต่อเนื่องและทำจุดสูงสุดที่ 6.47 หมื่นล้านบาท ณ วันที่ 24 ก.ค. 2562 ขณะนั้นแม้ดัชนีอยู่ที่ 1730.71 จุด หรือตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10.33% นับตั้งแต่ต้นปี (ต่ำว่าระดับสูงสุดของปี ณ วันที่11 ก.ค. 62 เล็กน้อยที่ 1748.15 จุด) มิหนำซ้ำค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นมาเร็วทำให้นักลงทุนต่างชาติมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับเงินสกุลเงิน USD กว่า 5.09% ในช่วงเวลาเดียวกัน คิดเป็นผลตอบแทนรวมสูงถึง 15.93% ซึ่งสูงกว่าตลาดหุ้นประเทศอื่นๆในภูมิภาคมาก (ดังภาพทางด้านล่าง) บวกกับทาง MSCI มีการปรับเพิ่มนำหนัก 5% ของ China A-Share และ 50% ของตลาดหุ้นซาอุดิอาระเบีย ลงในดัชนี MSCI Emerging Market ในเดือน ส.ค. 2562 กดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค. 62 – ปัจจุบันกว่า 6.97 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ปัจจุบันค่าเงินบาทยังอยู่ในโซนแข็งค่ามากสุดในรอบ 6 ปี (ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้า) และในช่วงที่เหลือของปี ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าทางกนง. ยังมีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง โดยเฉพาะรอบที่จะถึง คือ 6 พ.ย. 2562 นี้ ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการแข็งค่า และยังสอดคล้องกับแนวรับสำคัญทางเทคนิคที่ 30 บาท/ดอลลาร์ รวมทั้งทาง MSCI จะมีการปรับเพิ่มน้ำหนัก 5% ใน China A-Share ลงในดัชนี MSCI Emerging Market ประกาศผลในเช้าวันที่ 8 พ.ย. 2562 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ย. 2562 คาดว่ากดดันให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสถูกเบียดให้มีสัดส่วนลดลง และ Fund Flow น่าจะชะลอการไหลเข้าดังเดือน ส.ค. 2562 ที่ผ่านมา สรุปประเด็นทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมามีโอกาสตัวเหนี่ยวรั้งการไหลเข้าของ Fund Flow อีกซักระยะ
เงินบาทแข็งค่า หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์
ประเด็นเงินบาทที่แข็งค่าดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
(-) กลุ่มที่เสียประโยชน์หลักๆ คือ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีรายได้เกือบทั้งหมดเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แต่มีต้นทุนเป็นสกุลเงินต่างประเทศในสัดส่วนที่น้อยกว่า จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาท ที่ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าสมมติฐานค่าเงินปี 2562 ที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะกระทบต่อคาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนฯลดลงราว 5.8% จากปัจจุบัน แต่เนื่องจากหุ้นทุกตัวที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาแนะนำ Sell อาทิ DELTA(FV@B53), HANA(FV@B26), KCE(FV@B13), SVI([email protected])
กลุ่มเกษตรและอาหาร มีสัดส่วนรายได้สกุลเงินสหรัฐฯ มากกว่าต้นทุนในการผลิต โดยต้นทุนส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าจากสมมติฐานกระทบกำไรกลุ่มปี 2562 ลดลง 4.6% จากคาดการณ์ปัจจุบัน หุ้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือ STA(FV@B13) (ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่ากำไรสุทธิลดลง 7.2%), KSL([email protected]) กระทบกำไร 6.7%, TU(FV@B23) 1 บาทที่แข็งค่า กำไรสุทธิลดลง 5.5% ขณะที่ CPF([email protected]) และ GFPT([email protected]) ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กระทบกำไรสุทธิลดลง 2.7% และ 2.4%ตามลำดับ
(+) ในทางตรงข้ามหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า คือ TFG([email protected]) มีการส่งออกไก่ไปต่างประเทศราว 22% ของรายได้รวม แต่ได้ประโยชน์จากต้นทุนนำเข้าที่ถูกลง คือมีการนำเข้ากากถั่วเหลืองราว 23%ของต้นทุนรวม โดยทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้ TFG มีกำไรเพิ่มราว 1% และเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 1.1% แต่คำแนะนำปัจจุบัน SELL
กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี เนื่องจากหุ้นในกลุ่มพลังงานส่วนใหญ่ จะมีภาระหนี้อยู่ในสกุลดอลลาร์ ซึ่งเงินบาท/ดอลลาร์ที่แข็งค่า ทำให้เงินต้นที่ต้องชำระดอกเบี้ยลดลง และมีโอกาสบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในงบกำไรขาดทุน โดย PTTEP(FV@B166) จะได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีที่จะลดลง ซึ่งทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าจะทำให้ PTTEP จ่ายค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีลดลงราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กลุ่มสายการบิน มีโครงสร้างต้นทุนเป็นเงินสกุลดอลลาร์ราว 60% ค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ต้นทุนลดลง แต่อย่างไรก็ตามจะถูกหักล้างจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ทรงตัวในระดับสูง และหุ้นในกลุ่มนี้เกือบทุกตัวคำแนะนำ Switch กับ SELL คือAAV(FV@B 3.47), THAI(FV@B 4.8), BA(FV@B 11.6)
เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ + ราคา Laggard ชอบ CK AMATA CPN
เชื่อว่า SET Index ยังอยู่ภายใต้แนวต้านบริเวณ 1640 จุด ขณะที่การปรับฐานยังคงให้น้ำหนักไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Market Cap. ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ วานนี้ปรับตัวลงแรงเนื่องจากความกังวลปัญหาเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังไม่เสถียร และการเร่งจัดชั้นหนี้เพื่อรองรับเกณฑ์ TFRS9 รวมถึงยังต้องติดตามการรายงานผลประกอบการของกลุ่ม Real sector คาด DELTA HMPRO SCC ประกาศงบในวันที่ 28 ต.ค. ตามด้วย PTTEP THCOM (30 ต.ค.) และ ADVANC (31 ต.ค.) เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมคาดการณ์ผลประกอบการงวด 3Q62 ได้ผลสรุปดังนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยความกังวลและแรงขาย sell on fact ไประดับหนึ่งแล้ว เชื่อว่ามาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน ควบคู่กับนโยบายการคลัง เช่น การเดินหน้าการลงทุนภาคเอกชนและรัฐบาล (I) จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) และช่วยผลักดันทิศทางตลาดหุ้น กลยุทธ์ยังชื่นชอบ 2 หุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในประเทศ และ 1 หุ้น ที่ราคามีโอกาสเคลื่อนไหวตามผลประกอบการที่สดใส คือ
หุ้นนิคม AMATA ([email protected]) เนื่องจากมีพื้นที่มากสุดใน EEC ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิในปี 2562 คาดว่าเติบโตสูงถึง 71.7% ขณะเดียวกันปัจจุบันยังมี Backlog ยอดขายที่ดินรอโอนทำ New High อยู่ที่ 3,750 ล้านบาท
หุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ CK (FV@B 34) หลังการสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเสร็จสิ้น backlog ของ CK มีโอกาสแตะ 1 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทย่อย 3 แห่ง (TTW, CKP, BEM) เข้ามาเสริมผลประกอบการในช่วงที่เหลือปี
และหุ้น CPN (FV@B 92.0) ราคาหุ้นปรับฐาน เนื่องจากประเด็นการปรับพอร์ตเพื่อเตรียมเงินไปลงทุน AWC ของสถาบันในประเทศ ไปหมดแล้ว ขณะพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง และในปี 2563 ยังได้แรงหนุนผลประกอบการเพิ่มเติม จากการหน่ายสิทธิการเช่า 5 ศูนย์การค้า มูลค่าไม่เกิน 4.86 หมื่นล้านบาท ให้แก่ CPNREIT คาดว่าจะมีการบันทึกกำไรและทยอยรับรู้เป็นรายได้ค่าเช่าจากการขายตลอดอายุสัญญาเช่า เริ่มตั้งแต่ 1Q63 โดยรวมช่วยหนุนกาไร CPN และยังสามารถนำกระแสเงินสดไปลงทุนต่อยอดโครงการใหม่ รวมถึงลดเงินกู้ได้ ราคาหุ้นมี Upside เปิดกว้าง ถือเป็นโอกาสในเข้าการลงทุน
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ